cover_1

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ

เงินบริจาคของคุณจะบริจาคเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)ให้กับสวนสาธารณะ และอบรมเจ้าหน้าที่ในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน2เครื่อง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
2 ก.พ. 2567

อัปเดตโครงการมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

2 ก.พ. 2567 - 2 ก.พ. 2567

ตั้งแต่โครงการเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ ระดมทุนสำเร็จ นำโดย ผศ. นพ. มล. ทยา กิติยากร และทีมงาน ได้จัดซื้อเครื่องกระตุกไฟฟ้า (AED) จำนวน 8 เครื่อง พร้อมแนะนำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR) เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่งมอบให้แก่ 5 สวนสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่อไปนี้

 

1. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนหลวง ร.9 จำนวน 3 เครื่อง 

2. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนรถไฟ จำนวน 2 เครื่อง 

3. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนบางแคภิรมย์ จำนวน 1 เครื่อง 

4. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนบางบอน จำนวน 1 เครื่อง 

5. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนเบญจกิติ จำนวน 1 เครื่อง 


และจากการดำเนินการมีเงินคงเหลืออีก 27,830 บาท ทางโครงการฯ จะนำไปส่งเสริมกิจกรรมการช่วยเหลือการฟื้นคืนชีพ (CPR) ในโครงการวิ่ง 1669 CPR run และกิจกรรมฝึกสอน CPR ร่วมกับ Park run Thailand ต่อไป 

5 มี.ค. 2561

อัปเดตโครงการฝึกการทำ CPR และการใช้เครื่อง AED

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

5 มี.ค. 2561 - 5 มี.ค. 2561

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางโครงการ “เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ” ได้อาสาสมัคร อาทิอาจารย์พญ.ปิยะกานต์ ต้องประสิทธิ์ กับ อ. อาจารย์ นพ. ธนดล โรจนศานติกุล แพทย์ specialist ด้านฉุกเฉิน และทีมหมอที่มาช่วยสนับสนุนด้วยครับ ผศ.นพ.กำพล สุวรรณพิมลกุล คุณหมอโอ๋ ณัฐฐาภณิตา รพีพงษ์พัฒนา ไปอบรมการทำ CPR กับการใช้เครื่องAED ให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สวนเบญจกิตติ

ทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้ความสนใจดีทีเดียว มีจดรายละเอียดวิธีการปฏิบัติเมื่อเจอสถานการณ์ฉุกเฉิน ฝึกปั้มหัวใจและใช้เครื่องกระตุกหัวใจกับหุ่น ตอนนี้เรียกได้ว่าเจ้าหน้าที่มีความรู้แล้ว ส่วนเรื่องการติดตั้งเครื่องอยู่ระหว่างการรอขออนุมัติการติดตั้งเครื่องจากสำนักงานกรุงเทพมหานคร ดังนั้นถ้าได้วันที่แน่นอนในการมอบเครื่อง เราจะทำการอบรมกันอีกสักรอบและนำภาพมาฝากกัน หรือ ท่านใดสนใจจะร่วมอบรมกับเราก็ได้ 

 

จากที่อาจารย์ Piyakarn Tongprasit Tanadol Na Rojanasarntikul สอนวันนี้

  1. ถ้าคนล้มแล้วหยุดหายใจ ... พยายามปลุกโดยการเขย่าไหล่และตะโกนเรียก
  2. ถ้าไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือไม่แน่ใจว่าหายใจไหม ให้เรียกขอความช่วยเหลือกับโทร.1669 เรียกรถพยาบาล 
  3. และให้เริ่มกดหน้าอกปั้มหัวใจได้เลย
  4. ปั้มหัวใจโดยการกดที่กลางกรดูกกลางหน้าอก ระดับราวนม ด้วย2 มือทับกันสอกตรง (ตามรูปในคลิป)
  5. ความเร็ว ประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาที
  6. ปั้มไป 2 นาที ไม่ต้องหยุด พอสองนาทีแล้วหยุดประเมินว่าหายใจไหมสัก 10 วิ
  7. ถ้ายังไม่หายใจ ก็ปั้มต่อไป ทำอย่างนี้ไปจนมีรถพยาบาลหรือเครื่องกระตุกหัวใจมา ..ระยะหลังนี้ ไม่ต้องผายปอด ไม่ต้องตรวจชีพจร สำหรับการกู้ชีพขั้นต้น
  8. ถ้าได้เครื่องกระตุกหัวใจมา ก็มี 5 ขั้นตอนเพิ่มเติม.. (1. เปิดเครื่อง 2. ติด pad กับเครื่อง/กับตัวคนตามรูป, 3. หยุดปั้มหัวใจเมื่อเครื่องบอก,4. หลบออกไม่แตะร่างกาย และกดปุ่มช๊อตหัวใจเมื่อเครื่องบอก,5. CPR ต่อหลังช๊อตเสร็จ)

ขอบคุณภาพจาก ผศ. นพ. มล. ทยา กิติยากร และทีมงานทุกท่าน