เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยาสามัญประจำบ้านให้กับผู้สูงอายุยากไร้ที่ถูกทอดทิ้ง500คน
โครงการ ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย เฟส 2 ดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อระดมทุนผ่านแพลทฟอร์มเทใจในการปันสุขให้ผู้สูงวัยจำนวน 500 คน ด้วยการสนับสนุนค่าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาวะอากาศ และยาสามัญประจำบ้านแก่สูงอายุยากไร้ และผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการดูแล เดือนละ 350 บาทหรือ 4,200 บาทต่อปี
ดำเนินงานในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 97 ชุมชน กลไกการเยี่ยมบ้าน โครงการจะดำเนินงานโดย บั๊ดดี้โฮมแคร์ ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจเพื่อสังคมของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเขตเมืองเชียงใหม่ หรือ ช.อ.บ. อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีกิจกรรมหลัก 3 อย่างด้วยกันคือ
โครงการ ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย เฟสที่ 2 ดำเนินการระหว่าง พ.ค. 2563 – พ.ค. 2564 ระยะเวลา 1 ปี เพื่อปันสุขให้ผู้สูงวัย ด้วยการสนับสนุนค่าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาวะอากาศ และยาสามัญประจำบ้านแก่สูงอายุยากไร้ที่ถูกทอดทิ้ง เดือนละ 300 บาท หรือ 3,600 บาทต่อปี ดำเนินงานใน 3 พื้นที่รวมทั้งสิ้น 600 คน ได้แก่
กลไกการเยี่ยมบ้าน โครงการจะดำเนินงานโดย บั๊ดดี้โฮมแคร์ ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจเพื่อสังคมของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเขตเมืองเชียงใหม่ หรือ ช.อ.บ. จำนวน 111 คน และกลุ่มอาสาสมัครในพื้นที่นอกเขตเทศบาล เฉลี่ยพื้นที่ละ 20 คน รวมจำนวนอาสาสมัครทั้งสิ้น 251 คน โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อย่างด้วยกันคือ
ทีมงานบั๊ดดี้โฮมแคร์ มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ปรุงอาหารสุกลงพื้นที่มอบให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนเชียงยืน และชุมชนป่าเป้า เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 10 ราย โดยใช้งบประมาณจาก โครงการ Adopt A Granny ปันสุขผู้สูงวัย ในธีม อาหารจากคนเฒ่าถึงคนเฒ่า
โดยอาหารที่ปรุงเป็น แกงส้มปลาทับทิมใส่ดอกแค ผัดบ่ะห่อย (มะระขี้นก) ทานกับข้าวกล้อง และตบท้ายด้วยผลไม้ แอปเปิ้ล ส้ม และองุ่น
ทีมงานบั๊ดดี้โฮมแคร์ได้รับประสานจาก ไทยพีบีเอส เพื่อเข้าขอสัมภาษณ์ทีมงาน และผู้สูงอายุ ในประเด็นการเข้าไปดูแลที่บ้านในช่วงรักษาระยะห่างทางสังคม โดยน้องแบงค์เป็นผู้ให้สัมภาษณ์เล่าถึงที่มาของโครงการ และการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อหรือแพร่กระจายในภาวะแพร่ระบาดของโควิด-19
จากการลงเยี่ยมในชุมชน พบว่าผู้สูงอายุ และคนในชุมชน ส่วนใหญ่มีความตื่นตัวต่อสถานการณ์โควิด แต่ยังคงต้องดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติต่อไป ด้วยภาวะความยากจน รายได้ไม่เพียงพอ รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกัน ทางทีมงานพยายามใช้เวลากับแต่ละเคสสั้นๆ เพียง 3-5 นาที เพื่อลดความเสี่ยงจากการสนทนาใกล้ชิดนานเกินไป
ข้อควรระวังอีกอย่างคือ เนื่องจากผู้สูงอายุ มีความผูกพันธ์ และรู้จักสนิทสนมกับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี จึงยังคงจับไม้จับมือ กับอาสา และเจ้าหน้าที่ จึงต้องมีการชวนผู้สูงอายุใช้เจลล้างมือให้สะอาดหลังการสัมผัสทุกครั้ง
สำหรับชุดเสื้อกันฝน ที่ทีมงานสวมเพื่อป้องกัน ทั้งป้องกันที่จะเสี่ยงแพร่เชื้อให้ผู้สูงอายุ/ป้องกันไม่ให้รับเชื้อเข้าสู่ตนเอง ทำได้เพียงช่วงสั้นๆ เนื่องจากหลังเข้าไปพบผู้สูงอายุแต่ละเคส ถูกสัมผัสตัวทุกเคส ซึ่งทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้งที่ไปแต่ละบ้าน อาจสิ้นเปลืองและเกินความจำเป็น จึงใช้วิธีล้างมือฆ่าเชื้อทุกครั้งแทน
ผลจากการลงเยี่ยม ผู้สูงอายุยินดี ดีใจ และมีความสุขจากการที่อาสาและทีมงาน ยังระลึกถึง ลงไปเยี่ยม ส่วนทีมงานนั้นเป็นลมจากการสวมชุดป้องกัน ที่รับรองได้ว่า ไม่มีเหงื่อและสารคัดหลั่งหลุดรอดออกไปจากเสื้อฝนและถุงมือได้
โครงการ ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย ในการดำเนินการระหว่างเดือน พ.ค. 2562 - มี.ค. 2563 ระยะเวลา 1 ปี เพื่อระดมทุนผ่านแพลทฟอร์มเทใจในการปันสุขให้ผู้สูงวัย 220 คน ด้วยการสนับสนุนค่าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาวะอากาศ และยาสามัญประจำบ้านแก่สูงอายุยากไร้ที่ถูกทอดทิ้ง เดือนละ 350 บาทหรือ 4,200 บาทต่อปี ดำเนินงานในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 97 ชุมชน
กลไกการเยี่ยมบ้าน โครงการจะดำเนินงานโดย บั๊ดดี้โฮมแคร์ ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจเพื่อสังคมของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเขตเมืองเชียงใหม่ หรือ ช.อ.บ. จำนวน 111 คน โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อย่างด้วยกันคือ
ในระยะดำเนินงาน (พ.ค. 2562 - มี.ค. 2563) ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 214 คน (จากเป้าหมาย 220 คน) และในการลงเยี่ยมนี้ มีการเก็บข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าร้อยละ 44 เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 33 เป็นผู้สูงอายุวัยกลาง อายุระหว่าง 70-79 ปี ร้อยละ 21 เป็นผู้สูงอายุวัยต้น อายุระหว่าง 60-69 ปี และที่น่าสนใจคือ มีผู้ที่ยังอายุไม่ถึง 60 ปี ยังไม่เป็นผู้สูงอายุ แต่มีภาวะพึ่งพิง มีความชราภาพ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อยู่ในกลุ่มนี้ ร้อยละ 1 โดยเป็นกลุ่มที่อาสาสมัครในชุมชนลงความเห็นว่าเป็นผู้ยากไร้ต้องการคนช่วยเหลือดูแล
จากการวิเคราะห์ภาวะพึ่งพิงโดยใช้เกณฑ์การดำเนินกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง (ADL) พบว่าร้อยละ 81 (174 คน กลุ่มสีเขียว) ยังสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่มีความเสี่ยงจากภาวะความยากจน และอาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม กลุ่มนี้สามารถเตรียมตัวเพื่อลดภาวะพึ่งพิงในอนาคตได้ ร้อยละ 16 (33 คน กลุ่มสีแสดและสีแดง) มีภาวะพึ่งพิงโดยสมบูรณ์ ต้องการการสนับสนุนเยี่ยมบ้านช่วยเหลือด้านสุขภาพและกิจวัตรประจำวัน ร้อยละ 3 (7 คน กลุ่มสีเหลือง) มีภาวะพึ่งพิง แต่หากได้รับการดูแลฟื้นฟูสุขภาพที่เหมาะสม สม่ำเสมอ จะสามารถกลับมาช่วยเหลือตนเองได้ หรือยืดระยะเวลาไม่ให้ตกไปเป็นกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงโดยสมบูรณ์ได้
การลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุยากไร้ ด้วยการเข้าไปถามไถ่พูดคุย ทำให้ได้ข้อมูลปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ จากนั้นบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์จัดกิจกรรมให้เหมาะสมต่อไป
จากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุยากไร้ และสอบถามปัญหาด้านสุขภาพ วิเคราะห์ความชุกของปัญหาจากข้อมูลผู้สูงอายุ 214 คน พบว่า
ผู้สูงอายุร้อยละ 74 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 19 มีไขมันในเลือดสูง และร้อยละ 11 เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ส่วนโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายพบ โรคอัลไซเมอร์/สมองเสื่อม ร้อยละ 15 และข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 7
นอกจากภาวะโรคของผู้สูงอายุแล้ว ยังมีอาการทางกายที่มีความชุกในกลุ่มผู้สูงอายุตามฐานข้อมูลของโครงการคือ ร้อยละ 28 มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร้อยละ 26 มีภาวะกระดูกเสื่อม และ ร้อยละ 15 มีอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ส่วนอาการทางจิตที่พบมี ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 11 และผู้ที่มีอาการกังวลและอารมณ์แปรปรวน ร้อยละ 6
เมื่อวิเคราะห์ความชุกของโรคประจำตัว และอาการทางกาย/จิต ของกลุ่มผู้สูงอายุที่โครงการดูแล จึงได้วางแผนจัดกิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ เฉลี่ย เดือนละ 1 ครั้ง สำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถพึ่งพาตนเองได้ (174 คน กลุ่มสีเขียว) และ 2 ครั้งต่อเดือน สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (7 คน กลุ่มสีเหลือง) และ 4 ครั้งต่อเดือน สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยสมบูรณ์ (33 คน กลุ่มสีแสดและสีแดง)
กระบวนการตรวจและประเมินภาวะสุขภาพ จะเข้าไปตั้งโต๊ะประเมินที่ศูนย์ของชุมชน เพื่อให้กลุ่มสีเขียว สามารถเข้ามาตรวจรวมกันที่ศูนย์ได้ครั้งละ 20-60 คน โดยกลุ่มนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเฝ้าระวังสุขภาวะให้สามารถเตรียมตัวเพื่อลดภาวะพึ่งพิงในอนาคตได้ จะมีกิจกรรมวัดสมรรถภาพต่างๆ เช่น การบีบลูกบอลวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การคัดกรองภาวะซึมเศร้า ความเครียด ชั่งน้ำหนัก คำนวณค่า BMI เพื่อทราบภาวะอ้วนหรือผอมเกินไป ประเมินภาวะทุพโภชนาการ วัดความดันโลหิต วันส่วนสูง รวมถึงประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และให้คำปรึกษาในการดูแลตนเอง
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (7 คน กลุ่มสีเหลือง) และ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยสมบูรณ์ (33 คน กลุ่มสีแสดและสีแดง) จะใช้กระบวนการลงไปตรวจและประเมินภาวะสุขภาพที่บ้าน โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงลึกเพื่อติดตามประเมินการเปลี่ยนแปลงทางภาวะสุขภาพ และใช้กิจกรรมต่างๆ มาส่งเสริม ฟื้นฟู ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย/จิต ดีขึ้น หรือคงสภาพให้ลดภาวะการพึ่งพิงได้มากที่สุด โดย
การให้คำแนะนำด้านการ ดูแลเรื่องสุขอนามัย
เนื่องจากผู้สูงอายุกลุ่มนี้รวม 40 คน มีภาวะพึ่งพิง ต้องการคนดูแล โครงการ ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย สามารถลงพื้นที่เข้ามาเยี่ยมได้เพียง 2-4 ครั้งต่อเดือน จึงมีการกำหนดแผนการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลร่วมกับอาสาสมัคร และญาติ เพื่อช่วยกันดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าไปอบรมเสริมทักษะให้อาสาสมัครและญาติในการดูแลที่ถูกวิธี
การช่วยเหลือทำความสะอาด
ภาวะสุขภาพที่ไม่ดีของผู้สูงอายุ หลายกรณีเกิดจากความสกปรก สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อากาศอับชื้น แสงสว่างในบ้านไม่เพียงพอ และรวมถึงมีสิ่งของเกะกะขวางทางเดิน ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มได้ นอกจากให้คำแนะนำแล้ว ทางโครงการยังต้องช่วยผู้สูงอายุจัดบ้าน ทำความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการบาดเจ็บ
การช่วยเหลือดูแลเรื่องอาหาร และโภชนาการ
ผู้สูงอายุ 40 คน ที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งหมดมีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน รวมถึงได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โครงการจึงจัดกิจกรรมร่วมกับอาสาสมัครในการปรุงอาหารสุกใหม่ เป็นอาหารพื้นเมืองที่มีส่วนประกอบของผักพื้นบ้านที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร เพื่อช่วยเสริมโภชนาการให้เหมาะกับโรค มีการจัดกิจกรรม กับข้าวคุณตา-อาหารคุณยาย แล้วนำไปมอบให้ผู้สูงอายุแล้ว 4 ครั้ง จำนวน 40 คน
การช่วยเหลือดูแลเรื่องกายภาพบำบัด
เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตและกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวม 33 คน ต้องการการทำกายภาพ และฝึกเดิน ทางโครงการจึงจัดกิจกรรมฝึกเดิน และนวดผ่อนคลาย ทุกๆ ครั้งที่ลงเยี่ยม และบรรจุกิจกรรมกายภาพ และฝึกเดินลงในแผนดูแลสุขภาพส่วนบุคคลตามอาการของผู้สูงอายุ
การช่วยเหลือปรับปรุงที่อยู่อาศัย
ในระหว่างการเยี่ยมบ้าน โครงการพบกรณีที่ผู้สูงอายุอยู่ลำพัง หรืออยู่ในครอบครัวที่ผู้สูงอายุดูแลกันเอง ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก หรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย อาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่ปลอดภัย เช่น พื้นต่างระดับ ห้องน้ำลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ จึงได้เข้าปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ ให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในบ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัย
การมอบสิ่งช่วยเหลือตามความจำเป็น
ในระหว่างดำเนินงานโครงการ มีสถานการณ์ที่ยิ่งทำให้ผู้สูงอายุมีความเปราะบางยิ่งขึ้น ได้แก่สถานการณ์ฝุ่นควัน หรือภาวะความยากจน ขาดปัจจัยด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ มุ้ง ยารักษาโรค หรือไม้เท้าพยุงเดิน โครงการได้จัดสรรสิ่งของช่วยเหลือตามจำเป็นต่อสถานการณ์นั้น
ขอบคุณเทใจจ้าดนักเจ้า