cover_1

สร้างอาชีพให้ 90 ครอบครัวเปราะบางใน จ.ยะลา สู้ภัยโควิด

เงินบริจาคของคุณจะจ้างงานมีรายได้เสริมซึ่งจะช่วยลดความเครียดและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่จำเป็นให้กับครอบครัวที่ยากจน90ครอบครัว

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

2 พ.ค. 2563 - 30 พ.ค. 2563

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.ยะลา

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ครอบครัวที่ยากจน
90ครัวเรือน

หัวหน้าครอบครัวที่เคยเดินทางไปทำงานนอกหมู่บ้าน นอกจังหวัด และนอกประเทศต้องตกงานเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด

 ทำให้ครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้วมีความลำบากมากขึ้น ลูกเหรียงช่วย 90 ครอบครัวในจ.ยะลาที่ภาวะความลำบากพิเศษได้รับการจ้างงานมีรายได้เสริมซึ่งจะช่วยลดความเครียดและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่จำเป็น เกิดการหมุนเวียนเงินเพิ่มเติมในชุมชน

ปัญหาสังคม

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 นอกจากจะมีความน่ากังวลในเชิงสุขภาพ ทั้งในแง่ของ Physical และ Mental Health แล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประชากร โดยเฉพาะประชากรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือเรื่องของเศรษฐกิจ นโยบายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทั้งเรื่องของการปิดกิจการหลายประเภท, การห้ามรวมตัว, การห้ามเดินทางข้ามจังหวัด, อำเภอ หรือบางกรณีมีการปิดหมู่บ้านที่มีการระบาดรุนแรง ทำให้ทั้งเจ้าของกิจการต้องปิดกิจการ ลูกจ้างในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ รวมทั้งแรงงาชาวไทยที่ข้ามไปทำงานฝั่งมาเลเซีย รวมทั้งจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศ ประสบกับภาวะตกงานกระทันหันพร้อม ๆ กัน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งยากจนอยู่แล้ว ยิ่งยากจนมากขึ้นไปอีก จากการสำรวจของกลุ่มลูกเหรียงในตำบลนำร่อง 3 แห่งคือ ตำบลบาโงยซิแน, ท่าสาปและปุโรง ในช่วงเดือนเมษายน 2563 พบว่า จำนวนเด็กที่ได้รับอาหารไม่ครบ 3 มื้อ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา จำนวนคนต่อครัวเรือนที่อยู่เป็นประจำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี 2562เนื่องจากนักศึกษาที่สถาบันประกาศปิดการศึกษา, แรงงานที่เดินทางไปทำงานนอกหมู่บ้าน นอกจังหวัด และนอกประเทศ เดินทางกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้าน เนื่องจากกิจการต่าง ๆ ปิดลง โดยคนเหล่านี้เคยเป็นผู้หารายได้หลัก แต่ปัจจุบันกลับไม่มีรายได้

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ลูกเหรียงจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาส ต่อการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานเร่งด่วนในชุมชน โดยมุ่งเน้นจ้างงานกลุ่มที่ยากจนและมีความยากลำบากเป็นพิเศษก่อน ซึ่งการสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานนี้ ช่วยให้ครอบครัวที่ได้รับการจ้างงานมีรายได้เสริมซึ่งจะช่วยลดภาวะยากจนและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่จำเป็น เกิดการหมุนเวียนเงินเพิ่มเติมในชุมชน ชาวชุมชนรวมทั้งผู้ที่ได้รับการจ้างงาน มองเห็นความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพในชุมชน และที่สำคัญที่สุดการช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางในลักษณะนี้จะช่วยดำรงค์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ และการออกไปทำงานสร้างรายได้จะช่วยลดความเครียดให้กับตัวของผู้ได้รับการจ้างงานและครอบครัวอีกด้วย

แผนการดำเนินงาน

  1. คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีความยากลำบากเป็นพิเศษจากฐานข้อมูลซึ่งสำรวจโดยกลุ่มลูกเหรียง ร่วมกับกลไกระดับตำบล จำนวน 90 คน

  2. ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคน เลือกอาชีพตามทักษะ ความสนใจ ของตนเอง โดยมีกลุ่มอาชีพเบื้องต้น 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มอาชีพเกษตร, กสิกรรมและอาชีพอิสระ เช่น การเพาะปลูก, จับปลา, เผาถ่าน, ทำน้ำตาลโตนด กลุ่มอาชีพด้านศิลปะหัตถกรรม เช่น การทำผลิตภัณฑ์ชุมชน, ทำหน้ากากอนามัย กลุ่มอาชีพด้านการบริการสังคม เช่น การช่วยสนับสนุนงานของสาธารณสุข, การทำอาหารเลี้ยงผู้ยากไร้ในชุมชน, ทำสื่อเพื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพ, โควิด-19 กลุ่มอาชีพด้านการศึกษา/การเรียนรู้ เช่น การสอนพิเศษเด็ก การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ เป็นต้น

  3. ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องโควิด-19 ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อครอบครัวของตนเองและชุมชน

  4. ลูกเหรียงจะลงพื้นที่ติดตามการทำงาน การมอบความช่วยเหลือ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
.ค่าจ้าง 90 คน x 150 บาท x 14 วัน

90คน162,000.00
ค่าลงพื้นที่ติดตาม และบริหารจัดการ

0011,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด173,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)17,300.00
ยอดระดมทุน
190,300.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

“ลูกเหรียง” สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ปี 2547 ลูกเหรียง เติบโตภายใต้การรวมตัวของเด็กและเยาวชนที่สูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักในครอบครัว รวมตัวกันเพื่อเยียวยาและดูแลตัวเองจนเข้มแข็ง ครั้งหนึ่ง “เราคือกับระเบิดในอนาคต” กับระเบิดที่รอวันเติบโตและระเบิดออกมา แต่.....จะเป็นอย่างไร ถ้าเราปล่อยให้บ้านของเรามีกับระเบิดที่รอวันระเบิดอยู่เต็มไปหมดในพื้นที่ชายแดนใต้ จะเป็นอย่างไร ถ้าเราปล่อยให้เด็กคนหนึ่งเติบโตด้วยความรู้เจ็บปวด เจ็บแค้น ครั้งนี้เราจึงต้องลุกขึ้นมาหยุดความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกแค้น เปลี่ยนเป็นพลังที่จะช่วยเยียวยา ดับไฟความแค้นด้วยการให้อภัย ท้าทาย แต่ทุกอย่างกล้าก้าวข้าม และเสียสละ ด้วยความตระหนักในโอกาสที่เราได้รับตลอดมา สร้างแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาทำงานตอบแทนสังคม ด้วยความหวังว่ามือเล็กๆที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ใจเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่ด้วยความศรัทธา เชื่อมั่น สักวันหนึ่งจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ชายแดนใต้ได้อย่างยั่งยืน จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ลูกเหรียงเห็นความสำคัญของการทำงานในประเด็นเรื่องการปกป้องคุ้มครอง ช่วยเหลือเยียวยา และส่งเสริมพัฒนา ในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนได้รับความช่วยเหลือ พัฒนาให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ เติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้สืบไป กลุ่มลูกเหรียงเน้นในการทำกับเด็กเปราะบาง โดยยึดหลักการให้เยาวชนอยู่กับครอบครัว และให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา เสื้อผ้า รวมไปถึงอาชีพของผู้ปกครองเด็ก นอกจากนี้ลูกเหรียงยังมีบ้านพักชั่วคราวกึ่งถาวรสำหรับเด็กและสตรีที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ที่ไม่มีครอบครัวที่พึ่งพา กลุ่มลูกเหรียง ดำเนินงานใน 4 ประเด็นหลัก 1. ด้านการปกป้องคุ้มครอง 2. ด้านการช่วยเหลือเยียวยา 3. ด้านส่งเสริมพัฒนา 4. กิจการเพื่อสังคม ในกลุ่มเป้าหมายเด็ก เยาวชน ผู้หญิง และกลุ่มเป้าหมายเปราะบางอื่น ๆ ในพื้นที่ชายจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับการพัฒนารอบด้าน เพื่อให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมต่อไป

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon