เงินบริจาคของคุณจะนำไปสนับสนุนให้กับครูจาก Teach For Thailand ให้ได้สอนในโรงเรียนครบ 3 เทอม53คน
ทำให้ 10,000 ฝันของเด็กนักเรียนได้ไปต่อ ด้วยการสนับสนุนครูจาก Teach For Thailand ให้ได้สอนในโรงเรียนครบ 3 เทอม จนจบปีการศึกษา 2561
#หมื่นฝันปันโอกาส
คุณคือหนึ่งในผู้ร่วมให้โอกาส ร่วมสร้างอนาคตแก่เด็กกว่าหมื่นคนด้วยการสนับสนุนครูให้ทำหน้าที่ที่ดีที่สุดของเขาต่อไป
คุณคืออีกหนึ่งแรงที่ช่วยให้เด็กไทย ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ทำไม?
ต้องสนับสนุนครูจาก Teach For Thailand
"10,000 ฝันจะมีโอกาสได้เป็นจริง"
เพราะครูคือแรงบันดาลใจ ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าฝัน และทำทุกอย่างเพื่อให้เด็กมีอนาคตที่ดีกว่า
ปัจจุบันปัจจัยสนับสนุนหลักจาก กทม. ถูกจัดสรรให้แก่ความเร่งด่วนอื่น จึงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนงบประมาณเพื่อจ่ายเงินเดือนครู แต่เด็กนักเรียนยังต้องได้รับการศึกษา ได้เรียนรู้ ครูได้สอนต่อ โครงการต้องดำเนินต่อ
ทำให้ 10,000 ฝันของเด็กนักเรียนได้ไปต่อ ด้วยการสนับสนุนครูจาก Teach For Thailand ให้ได้สอนในโรงเรียนครบ 3 เทอม จนจบปีการศึกษา 2561
Teach For Thailand เป็นสมาชิกในเครือข่ายองค์กรไม่แสวงหากำไร Teach For All ที่มีสมาชิกอยู่ใน 43 ประเทศทั่วโลก
Teach For Thailand มีพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยด้วย “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” “วางแผน สร้างสื่อ ลงมือสอน” อย่างสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญในผลการเรียนรู้ของนักเรียน “ครูผู้นำฯ” สอนในโรงเรียนขยายโอกาสเป็นเวลา 2 ปี พวกเขาได้เรียนรู้และเข้าใจความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ขณะเดียวกัน “ครูผู้นำฯ” จะได้พัฒนาศักยภาพ และภาวะความเป็นผู้นำ และภายหลังจาก 2 ปี “ครูผู้นำฯ” เหล่านี้คือเครือข่ายผู้นำฯ ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนในทุกภาคส่วนอย่างมีพลัง เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาไทย
[ สอนวิชา วิทยาศาสตร์ ]
1. ฐาปนี ฤทธิ์เกิด (เจิน) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“เจินสมัครเข้ามาเพราะเชื่อในพลังของการรวมกลุ่มของคนที่อยากและสามารถเปลี่ยนแปลง และเจินอยากเป็นคนสร้างความเปลี่ยนแปลงเอง อยากสอนอย่างสร้างสรรค์ เป็นครูที่สร้างคน เจินได้ทำให้พวกเขาได้สนุกกับการเรียนวิทย์ พวกเขาแข่งกันวิ่งเข้ามาเรียนที่ห้องเรียนของเรา”
2. พุทธชาด ปารอด (มะปราง) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
“มะปรางอยากให้นักเรียนมาเรียนวิทยาศาสตร์อย่างมีความสุข สนุก และได้ความรู้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องเป็นเรื่องที่นำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน จากการสอนพบว่านักเรียนเข้าใจในเรื่องที่เรียนและสามารถอธิบายได้เป็นอย่างดี ดีจนเรายังตกใจ”
3. ปาริฉัตร คำแหง (ปอ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
“เราเชื่อว่าเด็กทุกคนควรเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเองได้ โดยไม่ถูกความไม่เท่าเทียมมาปิดบังตาทำให้พวกเขาไม่เหลือทางเลือก บางครั้งความเชื่อนี้เปลี่ยนความท้อแท้มาเป็นพลังเพื่อทำทุกอย่างให้เต็มที่”
4. วรชาภา บรรยงคิด (แฟร์) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"เราเชื่อว่าสิ่งที่คนเราเป็นได้ดีที่สุดคือตัวของตัวเอง ตั้งแต่ก้าวแรกที่เราก้าวเข้าห้องเรียน เราบอกตัวเองว่าเราอยากเป็นครูของพวกเขาจริงๆไม่ใช่แค่คนที่สอนอยู่หน้าห้อง เจอกันในคาบเรียนแล้วก็จบกันไป เพราะงั้นสิ่งแรกที่เราทำคือใส่ใจพวกเขามากๆ เราจำนักเรียนทุกคนของเราได้ตั้งแต่คาบแรกที่เจอกัน เราเปิดใจให้นักเรียนของเราทุกคนพยายามสร้างห้องเรียนของเราให้เป็น safe zone ของทุกคน เพราะงั้นในห้องเรียนของเรานักเรียนมีอิสระมากๆโดยที่ต้องรู้หน้าที่ของตนเองและต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน"
5. ปวริศา บัวพิมพ์ (ปาล์ม) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายครั้งที่เราศึกษาถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้น เรารู้ถึงปัญหา แต่การแก้ไขโดยใช้แต่ทฤษฏีอาจยังไม่เพียง การลงมาสัมผัสกับปัญหาจริงๆจะทำให้เราเข้าใจรูปแบบของปัญหาได้มากยิ่งขึ้น"
[ สอนวิชา ภาษาอังกฤษ ]
1. นีติรัฐ พึ่งเดช (พิ้งค์) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ถ้าเด็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ประเทศของเราจะมีพลเมืองที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นด้วย เราจึงพยายามพัฒนาทักษะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับนักเรียน จนเห็นว่าผลสัมฤทธิ์ในวิชาอังกฤษของเด็กๆ เพิ่มขึ้นมาก และเราก็ได้ตั้งชมรมพานักเรียนไปเปิดโลกที่ต่างจังหวัด”
2. สุขพิชัย คณะช่าง (อาร์ม) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
"ผมสอนภาษาอังกฤษโดยให้ภารกิจที่ท้าทายนักเรียน ทั้งร้อง ท่อง และพูดอังกฤษนอกห้อง จนนักเรียนไม่กลัวภาษาอังกฤษอีกต่อไป จากเดิมที่แค่ให้เรียนยังไม่อยากเรียนกลายมาเป็น “speak English” จนติดปาก การเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยมีอานุภาพที่สามารถขยายวงกว้างออกไปได้มาก ผมเชื่อว่าต่อไปนักเรียนจะกล้าใช้ภาษาไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน“การศึกษาที่ดีจะเป็นรากฐานให้ผู้คนดำเนินชีวิตและสร้างอนาคตที่ดีของตัวเอง และเป็นการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนที่สุด ถ้านักเรียนรู้จักคิด รู้จักหน้าที่ของตนเอง มีความสามารถ เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างมีความสุข"
3. ฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล (ปุ๊บ) คณะอักษรศาสตร์ University of Edinburgh
“การศึกษาไทยต้องการแรงช่วยพัฒนา และการเป็นครูจะทำให้เราเข้าใจแก่นปัญหามากที่สุด ปุ๊บถึงเข้ามาด้วยความหวังว่าจะทุ่มเท จนตอนนี้นักเรียนของปุ๊บเริ่มกล้าใช้ภาษาอังกฤษนอกคาบ และที่สำคัญเราอยากให้เขาตั้งเป้าหมายในชีวิตและเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น”
4. ธนัชพร ชูประเทศ (เพิร์ล) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ
"นักเรียนมีความรับผิดและความมุ่งมั่น ได้เห็นนักเรียนมีเป้าหมายและความสุข ได้เข้ามาเห็นปัญหาที่ไม่เคยเข้ามาสัมผัส และลงมือทำ แก้ปัญหานั้น"
5. ชิดชนก ศิริโชติ (ใหม่) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
“เราเคยพบความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา ทำให้มีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า การศึกษาสามารถพลิกชีวิตคนได้ ตั้งแต่ที่ทำมา มีนักเรียนบางคนที่เปลี่ยนไป เราพยายาม challenge เด็กไปเรื่อยๆ เหมือนพาเค้าขึ้นบันได เราเชื่อมั่นว่าเค้าจะสามารถขึ้นบันไดขั้นที่สูงกว่าได้ด้วยตัวของเขาเอง”
6. ตะวันฉาย นาคบัลลังก์ (ปิงปิง) คณะรัฐศาสตร์ University of South Carolina
“เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากห้องเรียนหนึ่งห้อง ให้นักเรียนได้มีความสุขกับการเรียนและเดินตามความฝันของตนเอง การเป็นครูเป็นสิ่งที่ยากเเละท้าทายกว่าที่คิดมาก เเต่ก็เป็นอาชีพที่นำความสุขมาให้มากเช่นกัน”
7. อุซมา ดารามั่น (ซีม) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา Grinnell College ประเทศสหรัฐอเมริกา
"เราอยากเป็นแรงบันดาลใจและร่วมผลักดันให้นักเรียนเหล่านี้เห็นถึงคุณค่าและความสามารถของตนเอง เป็นแรงสนับสนุนช่วยเติมเต็มนักเรียน เป็นตัวอย่างให้นักเรียนได้เห็นว่าเราสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดทางสังคมได้หากเรามีความมุมานะพยายาม"
8. ตนุภัทร มงคลสิริจันทร์ (ปุ๋ง) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ใน 3 เทอมที่ผ่านมา เราพยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ ห้องเรียนของเราเปรียบเสมือนห้องส่ง ที่พร้อมจะอัดรายการสนุกๆ ไปพร้อมๆกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน ทำให้นักเรียนกล้าใช้ภาษามากขึ้น นักเรียนมาบอกเราว่า เขาอ่านได้คล่องขึ้น และไม่กลัวที่จะพูดกับฝรั่งอีกแล้ว"
[ สอนวิชา คณิตศาสตร์ ]
1. กิตติวุฒิ ธรรมมโนวานิช (ตั๋ง) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
“ช่วงที่สมัครเรากำลังศึกษาธรรมะ คำว่า "ตื่นเพื่อตนเอง ตื่นเพื่อผู้อื่น" ช่วยในการตัดสินใจของเรา เราอยากหยิบโอกาสที่จะได้ช่วยประเทศไทย แม้จะเล็กน้อย ที่ผ่านมา เรากระตุ้นให้"
2. ศิรินทร์ ตั้งพรไพบูลย์ (เมี่ยว) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“ตอนที่เราเป็นนักเรียน เรารู้สึกว่าตัวเองโชคดีมาก ที่ได้โตมาในครอบครัวที่ส่งเสริมการศึกษา และได้เรียนในโรงเรียนดีๆ แต่เด็กๆอีกมากมายไม่ได้รับโอกาสนี้ การมาเป็นครูทำให้เรารู้ถึงปัญหาในเชิงลึก เพื่อจะได้ไปแก้ไขได้ต่อไปหลังจากจบ 2 ปี”
3. ทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล (สกาย) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“การมาเป็นครู ทำให้รู้ว่าจริงๆแล้วนักเรียนไม่ใช่ปัญหา นักเรียนแค่ต้องการครูที่ตั้งใจมาสอน ครูที่เอาใจใส่ การสอนโดยเอานักเรียนเป็นที่ตั้ง ทำให้เค้ารู้สึกมีค่า รู้สึกมีตัวตน นักเรียนหลายๆ คนจากที่ไม่เคยชอบคณิตศาสตร์มาก่อน กลายมาเป็นนักเรียนที่วิ่งเข้าห้องเรียนทุกครั้ง แย่งกันยกมือตอบ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แม้เพียงเล็กๆ ก็ทำให้ชื่นใจ”
4. เขมพัฒน์ ภัทรธรกุล (เขม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“นอกจากวิชาการแล้ว ความรับผิดและการมีน้ำใจต่อทั้งตนเองและผู้อื่นก็สำคัญ ผมทำโรงเกษตรเป็นชุมนุมให้นักเรียนเพื่อปลูกฝังทักษะเหล่านี้ มีครั้งหนึ่งที่ผมท้อใจจนไม่อยากเป็นครูอีก นักเรียนคนหนึ่งมาบอกว่าครูอย่าเพิ่งที้งผมกลางทาง ผมจะแสดงให้เห็นว่าผมรับผิดชอบโรงเกษตรได้ เหตุการณ์นั้นทำให้ผมหยุดคิดเรื่องการเลิกเป็นครูไปโดยปริยาย”
5. จักริน บูรณะนิตย์ (อู๋) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“การที่ได้มอบสิ่งที่ดีให้แก่ผู้อื่น สิ่งที่ได้รับกลับมาคือใจของเราที่ถูกเติมเต็มมากขึ้น สำหรับผมโอกาสในการทำความดีเราพลาดไม่ได้ จึงทำเต็มที่ให้กับนักเรียน ทั้งในการสอนในห้อง และการพานักเรียนออกไปเห็นโลกภายนอก จากที่นักเรียนได้ไปร่วมกิจกรรมนอกโรงเรียน ผมเห็นว่าหลายคนที่ไปไกลกว่าที่เราคิดไว้มาก”
6. ฐานวีร์ พงศ์พศวัต (ลิ้ง) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย เราต้องเข้าใจรากฐานปัญหาให้ชัดก่อน ซึ่งสองปีนี้ ผมน่าจะเข้าใจในจุดนี้และนำไปเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคตได้ ผมอยากที่จะสร้างให้มันดีด้วยระบบต่อไป ทุกวันนี้ผมเริ่มจากระบบโรงเรียน ร่วมมือกับผู้บริหารและคุณครูท่านอื่น เพื่อจัดระเบียบนักเรียนมัธยมหลังพักเที่ยง จนครูท่านอื่นบอกว่า นักเรียนนิ่งขึ้นและพร้อมเรียนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"
7. ชมปรางค์ วงศ์รัศมีเดือน (ปราง) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“แน่นอนว่าปัญหาการศึกษาไทยมีการกล่าวถึงมาอย่างยาวนานและส่วนตัวรู้สึกว่าในสังค เรามีแต่คนวิจารณ์การศึกษา แต่มีไม่กี่คนที่ลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งโครงการนี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษามาร่วมกันแก้ปัญหานี้ ทำให้สนใจจะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ลงมือทำด้วยตัวเอง ได้มาอยู่กับปัญหาจริงๆ เพื่อที่จะนำไปพัฒนาการศึกษาตามสายอาชีพในอนาคต”
8. ชนกานต์ ชูชีพชื่นกมล (ฝน) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
“เราอยากสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน ให้เด็กรู้สึกรักในการเรียนแบบที่เรารู้สึก ซึ่งการสร้างแรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ยากแต่ยั่งยืนและติดตัวเด็กไปได้นานที่สุด และนี่จะเป็นรากฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประเทศพัฒนาต่อไปได้ นอกจากนี้ เราอาจจะไม่ได้เป็นครูที่ดีที่สุด แต่เราจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของพวกเขาไปตลอดชีวิต เพราะเมื่อเราไม่ได้เจอกันในโรงเรียนแล้ว อย่างน้อยเขาก็ยังมีเราเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถให้คำปรึกษาและช่วยเหลือได้ตลอดเวลา”
9. นิออน ประกฤติพงศ์ (จิ๊บ) คณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"มีหลายครั้งที่นักเรียนบอกว่า "หนูไม่ใช่คนเก่ง หนูคงไม่ได้หรอก" แต่ทุกครั้งเราก็บอกนักเรียนตัวเองว่าไม่เก่ง ไม่ใช่เรื่องสำคัญหรอก มันสำคัญที่ เราอยากทำไหม และเราทำ มันรึเปล่า ขอแค่ทำ แล้วโอกาสมันจะมี ไม่ว่าเราจะผิดหวังมาแล้วกี่ครั้ง แต่การไม่ทำ มันคือ ที่สุดของความผิดหวัง"
10. พรพรรณ โตโภชนพันธุ์ (วรรณ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตผู้วิเคราะห์งบประมาณ บริษัทยูนิลีเวอร์ไทยเทรดดิ้ง จำกัด
"เราเข้าโครงการเพราะเห็นปัญหา “การศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน” และจะเห็นว่า มีเด็กจำนวนน้อยที่ชนะการแข่งขันคณิตศาสตร์ โอลิมปิก เมื่อเทียบกับจำนวนเด็กทีอยู่ในระบบการศึกษา ในการสอน เราทำให้เด็กไว้ใจ เข้าใจและเอาใจใส่พวกเขา รู้จักตัวเด็ก และปัญหา เพื่อที่จะได้สร้างแรงจูงใจที่จะทำให้เขามีอนาคตที่ก้าวไกล ด้วยการศึกษาขั้นสูงสุด"
11. ธิดามาส เต็มสาร (ดิว) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
"เราต้องการทำงานกับคน ได้ช่วยเหลือ หรือทำประโยชน์ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เข้าร่วมโครงการ เราให้ความใส่ใจนักเรียนทุกคน โดยเฉพาะนักเรียนที่ไม่เก่ง ต้องเข้าใจพวกเขา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งนั่นก็จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้พวกเขา ประสบผลสำเร็จได้ ในอนาคต"
ระดมทุนสนับสนุนครูจาก Teach For Thailand ให้ได้สอนในโรงเรียนครบ 3 เทอม จนจบปีการศึกษา 2561 เพราะครูคือแรงบันดาลใจ ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าฝัน และทำทุกอย่างเพื่อให้เด็กมีอนาคตที่ดีกว่า
นำไปมอบเป็นเงินสนับสนุนครูจาก Teach For Thailand ให้ได้สอนในโรงเรียนครบ 3 เทอม จนจบปีการศึกษา 2561
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าสนับสนุนครูจาก Teach For Thailand 3 เทอม | 53คน | 6,315,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 6,315,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 631,500.00 |
มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้นำที่จะขยายโอกาสด้านการศึกษาสำหรับเด็กในประเทศไทย วิธีดำเนินการของมูลนิธิฯ เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว เป็นการกระทำผ่าน "โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ซึ่งจะสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีศักยภาพจากปูมหลังที่หลากหลาย ให้เข้าไปสอนในโรงเรียนซึ่งมีบริบทที่ท้าทายเป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้ ผู้ร่วมโครงการฯ หรือ "ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง" จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อให้นักเรียนได้มีการศึกษาที่ดีขึ้น อันจะทำให้พวกเขาปั้นแต่งอนาคตทั้งเพื่อตนเองและคนรอบข้างได้ต่อไป นอกจากนี้ เรายังเชื่อว่า ครูผู้นำฯ เมื่อได้มีประสบการณ์ตลอดระยะเวลาสองปีแล้ว จะมีรากฐานเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำของตนเอง และที่สุดจะกลายมาเป็นศิษย์เก่าที่ทำงานในทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อไป ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เข้าถึงนักเรียนกว่า 120,000 คน โดยผ่านครูผู้นำฯ จำนวน 518 คน ทั้งยังได้เสริมกำลังให้แก่โรงเรียน 106 โรง และชุมชนใน 21 จังหวัดทั่วประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังเพื่อการศึกษาที่ดีขึ้นของเด็กนักเรียน ในปี 2566 ที่ผ่านมา ศิษย์เก่าของเราจำนวน 319 คน ทำงานในทุกภาคส่วนเพื่อสร้างผลกระทบด้านบวกให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนกว่า 107,000 คนในประเทศ
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้