project สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ

ส่งน้ำใจดับไฟป่า สนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากเปลวเพลิง

สนับสนุนอุปกรณ์การดับไฟและช่วยเหลือสัตว์ป่าให้กับผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ ร่วมช่วยกันแสดงพลังว่าคนในสังคมเห็นความสำคัญและอยู่เคียงข้างผู้พิทักษ์ป่า
ในการปฏิบัติภารกิจรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทยและประทศไทยของเรา

ระยะเวลาโครงการ กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ ที่เกิดไฟไหม้ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ

ยอดบริจาคขณะนี้

214,469 บาท

เป้าหมาย

1,001,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 21%
จำนวนผู้บริจาค 356

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟป่าให้หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 122 แห่ง

21 มิถุนายน 2023

หลังจากปิดการระดมทุน ทางโครงการได้เริ่มจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการดับไฟป่า ดังนี้

  • เครื่องเป่าลม สำหรับทำแนวกันไฟ จำนวน 115 เครื่อง
  • ถังฉีดพ่นละอองน้ำแบบใช้แบตเตอรี 40 ใบ
  • เครื่องพ่นสะพายหลังแบบใช้น้ำมัน 1 เครื่อง
  • เครื่องพ่นยาสามสูบ พร้อมอุปกรณ์และสายยาง จำนวน 7 ชุด
  • สายดับเพลิง 1,000 เมตร หัวฉีด และอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด
  • คราดอ่อน /คราดเหล็ก/ไม้ตบไฟ 228 อัน
  • ไฟฉายคาดหัว จำนวน 783 อัน
  • เป้ใส่น้ำสะพายหลัง จำนวน 838 ใบ
  • หมวกโม่งคลุมศีรษะลายพราง 446 ใบ

และสิ่งของที่ใช้ในการสนับสนุนดูแลสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า ดังนี้

  • สนับสนุนช่วยเหลือลูกแมวดาวกำพร้า 5 ตัว รอดจากไฟป่าที่เชียงใหม่ เป็นนม KMR กรงและอุปกรณ์ รวมเป็นเงิน 22,130 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือลูกหมีบ้านคา รอดจากไฟป่าที่ราชบุรี และลูกหมีกันเอง รอดจากไฟป่าที่ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก เป็นนมวัวรสจืดและอุปกรณ์ รวมเป็นเงิน 4,194 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือ ลูกแมวดาวกำพร้า 1 ตัว ที่บึงฉวาก เป็นนม KMR 3,750 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือลูกเก้งอัคคี รอดจากไฟป่าที่พะเยา เป็นนมแพะ รวมเป็นเงิน 5,400 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือน้องเรนเจอร์ อีเห็นข้างลายตาบอดที่รอดตายจากไฟป่าดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เป็นยา อาหาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือรักษาสัตว์ป่ารอดตายจากไฟป่าดอยสุเทพชนิดอื่น ๆ รวมเป็นเงิน 69,976 บาท

โดยส่งมอบให้กับ หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 122 แห่ง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
พื้นที่ป่าอนุรักษ์
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  • พื้นที่ป่าอนุรักษ์
    ที่เกิดไฟป่า
  • เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
    ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่ปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าและช่วยเหลือ
    สัตว์ป่า
หน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 24 แห่ง
  • สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการดับไฟป่า และช่วยเหลือ สัตว์ป่าจากผลกระทบของไฟป่า ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
  • ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันป้องกันไฟป่า ดูแลสัตว์ป่า และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก สนับสนุนการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูปภาพกิจกรรม

                   

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

โครงการส่งน้ำใจดับไฟป่า สนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากเปลวเพลิง จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางหนึ่ง ที่ให้คนสังคมได้สนับสนุน ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า ที่ต้องกระทำหน้าที่อันยากลำบาก ผจญเพลิงดับไฟป่าในระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของทุกปี สถานการณ์ไฟป่าของประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ป่าไม้ และสัตว์ป่า รวมทั้งสุขภาพพลานามัย
ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหมอกควันอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การเกิดไฟป่าแต่ละครั้ง มีสัตว์ป่าโดยเฉพาะลูกสัตว์ป่าหลายชนิด จำนวนมากต้องถูกไฟป่าครอกตาย หรือ
บาดเจ็บ พลัดหลงจากแม่จากการหนีไฟ เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักทั้งกลางวัน กลางคืน สับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังเพื่อเร่งดับไฟป่าและช่วยเหลือสัตว์ป่า การส่งกำลังใจในรูปแบบของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน เป็นกำลังใจที่มีคุณค่ายิ่ง อย่างน้อยก็แสดงถึงว่าคนในสังคมเห็นความสำคัญและอยู่เคียงข้างผู้พิทักษ์ป่า
ในการปฏิบัติภารกิจรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทยและประทศไทยของเรา


ในรอบหลายปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไฟป่าของประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ป่าไม้ และสัตว์ป่า รวมทั้งสุขภาพพลานามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหมอกควันอย่างต่อเนื่อง
และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยในปี 2563 ประเทศไทยมีจุดความร้อนสะสม จำนวนทั้งสิ้น 205,288 จุด 
(ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS) ซึ่งมีค่าสูงสุดในเดือน มีนาคม หากแบ่งพื้นที่
ตามความรับผิดชอบการดูแลป้องกันไฟป่า จะพบว่าจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 83,048 จุด รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 53,353 จุด พื้นที่เกษตร จำนวน 36,557 จุด 
พื้นที่สปก. จำนวน 17,414 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ จำนวน 13,253 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 50 เมตร จำนวน 1,663 จุด ตามลำดับ 10 จังหวัดที่มีจำนวนจุดความร้อนสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ลำปาง น่าน เชียงราย อุทัยธานี เพชรบูรณ์และกำแพงเพชร (Gistda,2020)

ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 61.90 ล้านไร่ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2563 พบว่า
เกิดจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 83,048 จุด หากประมาณการณ์ง่าย ๆ ว่า ระยะเวลา 150 วันที่เกิดไฟป่า เฉลี่ยจะมีจุดความร้อนวันละ 554 จุด หากแต่ละจุดความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น 
ต้องระดมเจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า เฉลี่ยจุดละ 30 คน ดังนั้นวันๆ หนึ่งต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า 
ไม่น้อยกว่า 16,620 คน ในความเป็นจริงไม่มีใครทำงานดับไฟป่าได้ต่อเนื่องตลอด 150 วัน จึงต้อง
มีชุดเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนเรื่องเสบียงและอุปกรณ์
ดังนั้นอัตรากำลังในการดับไฟป่าอย่างน้อยที่สุด จึงมีเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า 25,000 คน ในแต่ละปี ทั้งทำแนวกันไฟ เก็บใบไม้และเชื้อเพลิง ลาดตระเวนดูไฟ ดับไฟป่า สำหรับในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า อันได้แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ที่เป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสัตว์ป่า เจ้าหน้าที่นอกจากจะต้องดับไฟป่าแล้ว ยังมีภารกิจและช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากไฟป่าด้วย ในส่วนนี้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจ
ใน 95 พื้นที่ ประมาณ 2,230 คน

ผลกระทบที่จะเกิดต่อสัตว์ป่า

ไฟป่าแต่ละครั้ง นำความสูญเสียทั้งต่อถิ่นที่อยู่อาศัยอันร่มเย็นของสัตว์ป่า ไปจนถึงการพรากชีวิตน้อย ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนจากการที่ถูกไฟครอก เนื่องจากสัตว์ป่าตัวเล็ก ๆ และลูกสัตว์ป่า มักจะหนีไฟ
ไม่ทัน อันตรายจากไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่านั้นมีดังนี้


  1. สัตว์ป่าอาจจะโดนไฟคลอกตายในขณะเกิดเพลิงไหม้ 
  2. ปัญหาเรื่องควันมีผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์ สัตว์บางส่วนไม่ได้ตายเพราะไฟป่าโดยตรงอาจจะสำลักควันตาย พอไฟมาถึงไม่มีแรงจะวิ่งหนี หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวของสัตว์ป่า
  3. แหล่งอาหารถูกทำลาย เมื่อสัตว์สุขภาพไม่แข็งแรงแล้ว แหล่งอาหารไม่เพียงพอ แหล่งน้ำเหือดแห้ง ทำให้สุขภาพยิ่งแย่ลง สัตว์ป่าอาจป่วยตายไปในที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ติดตามประสานงานกับพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่า
  2. จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าทีพิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่า โดยจัดหาให้กับพื้นที่ที่ไฟป่าลุกลามเข้าพื้นที่ก่อนเป็นอันดับแรก        
  3. สนับสนุนภารกิจป้องกัน เฝ้าระวัง และดับไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 
ด้านอุปกรณ์ดับไฟป่า ได้แก่ เครื่องเป่าลม ถังขนน้ำ IBC 1,000 ลิตร ถังน้ำสะพายหลัง
ด้านอุปกรณ์ทำแนวกันไฟ ได้แก่ คราดอ่อน เครื่องอัดใบไม้เป็นก้อน 
ด้านอุปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ ได้แก่ หมวกโม่ง ผ้าบัฟ รองเท้า เป้ใส่น้ำ ไฟฉายคาดหัว ผงเกลือแร่ ยา ฯลฯ
ด้านช่วยเหลือสัตว์ป่าจากไฟป่า ได้แก่ กรงขนย้ายสัตว์ป่า กรงดูแลสัตว์ป่า ยาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ นมเลี้ยงลูกสัตว์ป่า อาหารสัตว์ป่า ผ้าขนหนู ถังออกซิเจน ฯลฯ 
  4. รายงานสถานการณ์และผลการดับไฟป่า ความเสียหาย และการช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  2. ช่วยเหลือสัตว์ป่าให้ปลอดภัยจากเปลวเพลิง ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  3. เพื่อรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษหมอกควัน
  4. เพิ่มขวัญกำลังใจ และความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่

สมาชิกในทีม

  1. นางวัลยา ไชยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนแผนงานและงบประมาณ 
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  2. ด.ญ.นันท์นภัส ไชยภักดี  
  3. ทีมงานน้องๆ ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า 
  4. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 95 แห่ง

พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่เกิดไฟไหม้ป่า ในปี 2563 และเป็นพื้นที่เฝ้าระวังในปี 2564


ส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟป่าให้หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 122 แห่ง

21 มิถุนายน 2023

หลังจากปิดการระดมทุน ทางโครงการได้เริ่มจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการดับไฟป่า ดังนี้

  • เครื่องเป่าลม สำหรับทำแนวกันไฟ จำนวน 115 เครื่อง
  • ถังฉีดพ่นละอองน้ำแบบใช้แบตเตอรี 40 ใบ
  • เครื่องพ่นสะพายหลังแบบใช้น้ำมัน 1 เครื่อง
  • เครื่องพ่นยาสามสูบ พร้อมอุปกรณ์และสายยาง จำนวน 7 ชุด
  • สายดับเพลิง 1,000 เมตร หัวฉีด และอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด
  • คราดอ่อน /คราดเหล็ก/ไม้ตบไฟ 228 อัน
  • ไฟฉายคาดหัว จำนวน 783 อัน
  • เป้ใส่น้ำสะพายหลัง จำนวน 838 ใบ
  • หมวกโม่งคลุมศีรษะลายพราง 446 ใบ

และสิ่งของที่ใช้ในการสนับสนุนดูแลสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า ดังนี้

  • สนับสนุนช่วยเหลือลูกแมวดาวกำพร้า 5 ตัว รอดจากไฟป่าที่เชียงใหม่ เป็นนม KMR กรงและอุปกรณ์ รวมเป็นเงิน 22,130 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือลูกหมีบ้านคา รอดจากไฟป่าที่ราชบุรี และลูกหมีกันเอง รอดจากไฟป่าที่ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก เป็นนมวัวรสจืดและอุปกรณ์ รวมเป็นเงิน 4,194 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือ ลูกแมวดาวกำพร้า 1 ตัว ที่บึงฉวาก เป็นนม KMR 3,750 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือลูกเก้งอัคคี รอดจากไฟป่าที่พะเยา เป็นนมแพะ รวมเป็นเงิน 5,400 บาท
  • สนับสนุนช่วยเหลือน้องเรนเจอร์ อีเห็นข้างลายตาบอดที่รอดตายจากไฟป่าดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เป็นยา อาหาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือรักษาสัตว์ป่ารอดตายจากไฟป่าดอยสุเทพชนิดอื่น ๆ รวมเป็นเงิน 69,976 บาท

โดยส่งมอบให้กับ หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 122 แห่ง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
พื้นที่ป่าอนุรักษ์
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  • พื้นที่ป่าอนุรักษ์
    ที่เกิดไฟป่า
  • เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
    ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่ปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าและช่วยเหลือ
    สัตว์ป่า
หน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 24 แห่ง
  • สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการดับไฟป่า และช่วยเหลือ สัตว์ป่าจากผลกระทบของไฟป่า ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
  • ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันป้องกันไฟป่า ดูแลสัตว์ป่า และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก สนับสนุนการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูปภาพกิจกรรม

                   

แผนการใช้เงิน