project สิ่งแวดล้อม

Pocket Park - พัฒนาพื้นที่ว่างในเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียว by we!park

โครงการพัฒนาพื้นที่ว่างซอยหน้าวัดหัวลำโพง เป็น 1 ใน 4 พื้นที่นำร่องของโครงการ we!park ที่พยายามสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอน ทั้งการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ การเปิดพื้นที่ให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาลองใช้ และร่วมระดมทุนเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสวนนี้ร่วมกัน

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงบางรัก เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร (พื้นที่ก่อสร้างสวนซอยหน้าวัดหัวลำโพง เขตบางรัก กรุงเทพฯ (13°43'50.5"N 100°31'50.2"E))

ยอดบริจาคขณะนี้

11,862 บาท

เป้าหมาย

151,800 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 8%
จำนวนผู้บริจาค 33

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ออกแบบป้ายข้อมูลสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์

22 มิถุนายน 2023

หลังจากสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ ได้เปิดใช้บริการและจัดกิจกรรมกระตุ้นการใช้งานในพื้นที่ ภายใต้งาน Bangkok Design Week 2022 เสร็จสิ้นแล้ว
ทางโครงการได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล โดยการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงข้อคิดเห็นในแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ ปัญหา ข้อกังวล ข้อควรปรับปรุง ความต้องการของผู้ใช้งาน และข้อคิดเห็นด้านการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในอนาคตภายในสวน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งหมด 3 ครั้ง ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

ผลการสำรวจและสังเกตการณ์พื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์

ปัญหาและข้อกังวล

  • ความไม่ปลอดภัยในการข้ามถนนเพื่อเข้าไปใช้งานในสวน เนื่องจากถนนมีขนาดแคบและมีรถสัญจรภายในซอยตลอดเวลา เด็กๆที่อยู่ในละแวกที่จะเดินทางจากโรงเรียนไปที่สวนอาจไม่ได้ระมัดระวัง
  • ชุมชนต้องการป้ายระบุกติกาการใช้สวนอย่างชัดเจน เช่น มีคนนำจักรยานเข้าไปใช้ภายในสวน ซึ่งทางเดินภายในสวนผ่านโซนกิจกรรมเครื่องเล่นของเด็ก อาจเป็นอันตรายได้

ข้อเสนอแนะ

  • ติดป้ายระบุข้อมูลและป้ายประชาสัมพันธ์สวน และป้ายที่ระบุชัดเจนว่าพื้นที่นี้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อแจ้งให้ผู้คนที่สัญจรผ่านได้ทราบ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะถนนด้านหน้าสวน เป็นเส้นทางลัดระหว่าง ถนนสุรวงศ์ถึงถนนพระรามที่ 4
  • เพิ่มป้ายที่แจ้งข้อตกลงการใช้สวน ให้เข้าใจตรงกัน
  • ให้ความรู้เรื่องการจัดการดูแลต้นไม้ภายในสวน โดยเน้นที่การลดพื้นที่มุมอับภายในสวน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

จากการระดมทุนผ่านมูลนิธิเทใจ ผ่านกิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวนในรูปแบบของ กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในการระดมความคิดมีรายละเอียด เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ ดังนี้

ป้ายที่ 1 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์
 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ ออกแบบด้วยแนวคิด “สวนข้างบ้าน” ซึ่งเป็นการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน นักเรียน เอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
แนวคิด “สวนข้างบ้าน” นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่กิจกรรมแบบต่าง ๆ สำหรับคนหลากหลายกลุ่ม การออกแบบพื้นที่จึงแบ่งพื้นที่การใช้งานรูปแบบต่าง ๆ แทรกอยู่ระหว่างต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ ที่ให้ร่มเงา ให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ จากสมุนไพร และยังเป็นที่อาศัยหากินของสัตว์เล็ก ๆ ในเมืองใหญ่

ป้ายที่ 2 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ : พื้นที่แรกของการทดลองกระบวนการมีส่วนร่วมหลากหลายวิธีการกับทุกภาคส่วนของเมือง

 แนวทางการออกแบบพื้นที่ ได้มีการทดลองสร้างพื้นที่ต้นแบบ เพื่อเป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ให้ทุกคนเห็นภาพและความสำคัญร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการทดลองการมีส่วนร่วมในขั้นก่อนการก่อสร้างสู่สาธารณะโดยการเปิดระดมทุนออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มเทใจ สนับสนุนเครื่องเล่นในสวน และเพื่อให้พื้นที่มีการใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
สวนข้างบ้านแห่งนี้ จึงเป็นพื้นที่แรกภายใต้โครงการ we!park ที่ได้รับการพัฒนาจนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรม

ป้ายที่ 3 ข้อตกลงในการใช้งาน “สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์”

 

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

คุณกก ตัวแทนพนักงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมเลอ เมอริเดียน สุรวงศ์ (วันที่ 6 ม.ค. 2566)
โดยปกติแล้ว คุณกกเดินทางผ่านสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์อยู่เสมอ และได้ทดลองใช้งานสวน เพื่อให้ข้อมูลกับผู้เข้าพักที่โรงแรม โดยการเข้าไปออกกำลังกายในบางเวลา เห็นว่า คนรู้จักสวนนี้น้อย สังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานเป็นคนในชุมชน และคนในละแวก มีเด็กๆเข้ามาวิ่งเล่น แต่ไม่เยอะมาก หากเพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนที่สัญจรผ่านได้ทราบ จะเพิ่มศักยภาพของสวนได้เป็นอย่างดี รวมถึง พื้นที่สวนนี้อาจเป็นพื้นที่กิจกรรมพิเศษใหม่ สำหรับย่านนี้

คุณส้ม และคุณเอ็ม ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (วันที่ 18 ม.ค. 2566)
ทั้งคู่ ได้เดินทางผ่านสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์เป็นประจำ เนื่องจากเป็นทางผ่านไปที่ทำงาน และได้เข้าไปใช้งานภายในสวนเป็นครั้งคราว เช่น นั่งพักผ่อน ซื้อก๋วยเตี๋ยวเข้าไปนั่งทาน เห็นว่า สวนเหมาะกับการใช้งานของชุมชน เห็นว่าในช่วงเช้า ระหว่างเวลา 07.00 – 08.00 น. มีผู้คนหลายช่วงอายุ เข้าไปใช้งานภายในสวน แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าสวนเปิดหรือไม่ เพราะประตูปิดอยู่ แล้วไม่ได้มีป้ายแจ้งเวลาเปิดปิด และอยากทราบว่า หากโรงแรม หรือหน่วยงานอื่นมาขออนุญาตใช้พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม มีความยุ่งยากหรือไม่ เพราะเห็นศักยภาพพื้นที่เหมาะสมจะจัดกิจกรรมพิเศษ ภายนอกอาคาร เป็นครั้งคราว

คุณใหม่ ประธานชุมชนหัวลำโพง (วันที่ 20 ก.พ. 2566)
หลังจากสวนเปิดการใช้งาน เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการใช้งานสำหรับคนในชุมชนและคนในละแวกเป็นอย่างมาก เด็กๆได้มีพื้นที่นั่งเล่นหลังเลิกเรียน ผู้สูงอายุมีพื้นที่เดินเล่นระหว่างวัน มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น มีวัยรุ่นนัดกันมาตีแบดมินตันภายในสวน แต่เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอกับกิจกรรมเดิม อยากให้มีการติดตั้งป้ายข้อตกลงการใช้สวน ระเบียบการใช้งาน ข้อจำกัดต่างๆอย่างชัดเจน เพราะยังพบปัญหาที่มีการใช้งานไม่เหมาะสมในพื้นที่บ้าง เช่น มีการนำอุปกรกีฬาบางอย่างเข้ามาใช้ในพื้นที่ รบกวนการใช้งานอื่นๆ หรืออาจเป็นอันตรายต่อเด็กๆที่เล่นอยู่บริเวณเครื่องเล่น ปัจจุบันมีการเข้าไปตักเตือน หากมีใครนำจักรยานเข้าไปใช้ภายในสวน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเป็นข้อตกลงการใช้สวนอย่างชัดเจน ก็เกรงว่าจะเป็นประเด็นให้ไม่พอใจกันได้
อีกทั้ง คุณใหม่ยังมีความเห็นว่า พื้นที่สวนสามารถเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมสำหรับชุมชนได้ เป็นพื้นที่แสดงความสามารถของเด็กๆในชุมชน และเพิ่มบรรยากาศให้ย่านได้เปลี่ยนแปลงบ้างเป็นครั้งคราว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ30 คนมีความปลอดภัยในการใช้งานภายในสวน เนื่องจากลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายภายในสวนได้บางส่วน
ประชาชนทั่วไปพนักงานเอกชน และชุมชนโดยรอบพื้นที่50 คนได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
ผู้สูงอายุชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ30 คนมีความปลอดภัยในการใช้งานภายในสวน เนื่องจากลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายภายในสวนได้บางส่วน
ผู้ป่วยชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ10 คนได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
กลุ่มคนเปราะบางพื้นที่โดยรอบวัดหัวลำโพง10 คนได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
โรงเรียนโรงเรียนพุทธจักรวิทยา1 แห่งเป็นพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์สวน เพื่อทุกคนได้ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
รูปภาพกิจกรรม

    

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

โครงการพัฒนาพื้นที่ว่างซอยหน้าวัดหัวลำโพง เป็น 1 ใน 4 พื้นที่นำร่องของโครงการ we!park ที่พยายามสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอน ทั้งการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ การเปิดพื้นที่ให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาลองใช้ และร่วมระดมทุนเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสวนนี้ร่วมกัน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

          พื้นที่ว่างซอยหน้าวัดหัวลำโพงเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องของโครงการ we!park ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้พื้นที่สาธารณะสีเขียวที่มีคุณภาพและยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพและผู้ที่มีความสนใจด้านพื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ และการพัฒนาเมือง สร้างองค์ความรู้และการบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน


          ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีปริมาณพื้นที่สีเขียวต่อประชากรเพียง 6.9 ตร.ม. ต่อคน ซึ่งน้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ที่จำนวน 9 ตร.ม. ต่อคน ดังนั้นโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวบริเวณซอยหน้าวัดหัวลำโพงนี้ จะมีส่วนช่วยในการบรรเทาปัญหาต่างๆ ของเมืองที่หนาแน่น ทั้งปัญหาด้านสุขภาพ พบจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (Non-Communicable Disease: NCDs) เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 5 ของประชากร ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของไทย และมีผู้ป่วยถึง 14 ล้านคน ภายใน 10 ปี มีค่าเฉลี่ยเสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากมลภาวะที่พบฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ปัญหาน้ำท่วมขังช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูฝน ปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง (Urban Heat Island) จนถึงปัญหาเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศเมือง (Urban Ecology) เป็นต้น



โครงการนี้สามารถช่วยให้เด็กและเยาวชน และคนในชุมชนวัดหัวลำโพง รวมถึงนักเรียนโรงเรียนพุทธจักรวิทยามีพื้นที่ทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน การบ้าน นั่งพักคอยผู้ปกครอง และสามารถเกิดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนได้ ชุมชนมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ที่ส่งเสริมสุขภาวะทางกายและใจ และพื้นที่กิจกรรมเชิงสังคมให้กับคนในชุมชนและย่านใกล้เคียง





ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

          โครงการได้เริ่มดําเนินงานตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ผ่านกระบวนการศึกษาพื้นที่และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงได้จัดทำกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรอบ นอกจากนี้ยังมีการจัดทําพื้นที่ทดลอง (Mock-up park) เพื่อกระตุ้นและทดสอบการใช้พื้นที่ก่อจะพัฒนาเป็นแบบก่อสร้างจริง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมในระยะยาว โดยพื้นที่สาธารณะแห่งนี้มีกําหนดการสร้างเสร็จและเปิดใช้งานในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 นี้


โครงการพัฒนาพื้นที่ว่างซอยหน้าวัดหัวลำโพงได้รับงบประมาณการก่อสร้างหลักจากภาครัฐ และเปิดให้มีการระดมทุนสาธารณะในองค์ประกอบแต่งเติมอื่น ๆ เพื่อเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและเติมเต็มพื้นที่สาธารณะร่วมกันของทุกภาคส่วน


ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

ดำเนินโครงการโดย กลุ่ม we!park ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้พื้นที่สาธารณะสีเขียวที่มีคุณภาพและยั่งยืน


พื้นที่สาธารณะสีเขียวซอยหน้าวัดหัวลําโพง เป็นพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครได้รับมอบจากเอกชน เมื่อปี 2560 ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานเขตบางรัก ตามนโยบายโครงการ Green Bangkok 2030 และการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะสีเขียวและพื้นที่สุขภาวะในกรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ we!park และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ว่างแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็ก เพื่อส่วนหนึ่งในการสร้างโครงข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียว เพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะให้กระจายไปตามเขตเมือง


ร่วมกับภาคีเครือข่าย (โครงการซอยหน้าวัดหัวลําโพง เขตบางรัก):

1.สํานักงานสวนสาธารณะ สํานักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และโครงการ Green Bangkok 2030

2.สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

3.บริษัท ฉมา จํากัด

4.บริษัท มอ แอนด์ ฟาร์มเมอร์ จํากัด

5.สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย (TALA)

6.บริษัท ฉมาโซเอ็น จํากัด

7. ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

8. ทีม สนใจ

9. ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนในพื้นที่; ชุมชนวัดหัวลําโพง โรงเรียนพุทธจักรวิทยา Too Fast To Sleep Samyan และ

10. Ashton Chula-Silom

แผนการดำเนินโครงการPocket Park - พัฒนาพื้นที่ว่างในเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียว by we!park

4 พฤศจิกายน 2022

จากกการระดมทุนในโครงการ Pocket Park - พัฒนาพื้นที่ว่างในเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียว โดย we!park ในการจัดทำเครื่องเล่นและป้ายข้อมูลในพื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์นั้น ในส่วนของเครื่องเล่นได้จัดทำให้แล้วเสร็จและติดตั้งในพื้นที่สวนเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับเปลี่ยนแผนกิจกรรมใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากการระดมทุนในการนำมาใช้สำหรับการจัดกิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวน และป้ายให้ความรู้ในสวน โดยทีมสนใจที่เป็นกระบวนกรที่ดำเนินการในพื้นที่อยู่แล้วร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรอบ

กิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวนและป้ายความรู้นั้นจะเป็นการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในการระดมความคิดในการออกแบบและให้ข้อมูลว่าจำเป็นต้องมีรายละเอียดของข้อมูลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ และชี้แจงรายละเอียดต่อผู้ที่เข้ามาใช้งานสวนได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้กิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลนี้จะจัดขึ้นพร้อมกับกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานและการบริหารจัดการพื้นที่สวน ครั้งที่ 1 เนื่องจากการจัดทำพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กโดย we!park เล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการที่ทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กตั้งแต่กระบวนการริเริ่มจัดตั้งโครงการ การสำรวจพื้นที่ การเก็บข้อมูลภาคสนาม การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม การรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในพื้นที่ จนถึงกระบวนการดูแลรักษาและบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกันของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกิจกรรมที่ชุมชนจะได้ร่วมกันคิดและให้ความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งป้ายข้อมูลสวนและป้ายความรู้ต่าง ๆ จะมีรายละเอียดส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการใช้พื้นที่ การดูแลรักษา และเงื่อนไขในการใช้งานพื้นที่สวน

ดังนั้น การจัดทำจะเป็นการออกแบบแบบทางเลือกโดยนักออกแบบเบื้องต้นเพื่อให้เป็นรูปแบบและลักษณะของป้ายเพื่อการก่อสร้างจัดทำ โดยนำมาใช้ในกิจกรรมร่วมออกแบบเพื่อให้ได้รายละเอียดของข้อมูลภายในป้าย เนื้อหาที่ต้องการ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการใช้งานสวน รวมถึงรับฟังความคิดเห็นว่ารูปแบบและลักษณะของป้ายทางเลือกที่นักออกแบบได้ออกแบบมาเบื้องต้นนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงการพิจารณาตำแหน่งที่จะติดตั้งป้ายเหล่านั้นด้วย

แผนงบประมาณใหม่

แผนการดำเนินงาน

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ภาพประกอบ

สวนสาธารณะหัวลำโพง


ออกแบบป้ายข้อมูลสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์

22 มิถุนายน 2023

หลังจากสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ ได้เปิดใช้บริการและจัดกิจกรรมกระตุ้นการใช้งานในพื้นที่ ภายใต้งาน Bangkok Design Week 2022 เสร็จสิ้นแล้ว
ทางโครงการได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล โดยการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงข้อคิดเห็นในแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ ปัญหา ข้อกังวล ข้อควรปรับปรุง ความต้องการของผู้ใช้งาน และข้อคิดเห็นด้านการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในอนาคตภายในสวน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งหมด 3 ครั้ง ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

ผลการสำรวจและสังเกตการณ์พื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์

ปัญหาและข้อกังวล

  • ความไม่ปลอดภัยในการข้ามถนนเพื่อเข้าไปใช้งานในสวน เนื่องจากถนนมีขนาดแคบและมีรถสัญจรภายในซอยตลอดเวลา เด็กๆที่อยู่ในละแวกที่จะเดินทางจากโรงเรียนไปที่สวนอาจไม่ได้ระมัดระวัง
  • ชุมชนต้องการป้ายระบุกติกาการใช้สวนอย่างชัดเจน เช่น มีคนนำจักรยานเข้าไปใช้ภายในสวน ซึ่งทางเดินภายในสวนผ่านโซนกิจกรรมเครื่องเล่นของเด็ก อาจเป็นอันตรายได้

ข้อเสนอแนะ

  • ติดป้ายระบุข้อมูลและป้ายประชาสัมพันธ์สวน และป้ายที่ระบุชัดเจนว่าพื้นที่นี้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อแจ้งให้ผู้คนที่สัญจรผ่านได้ทราบ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะถนนด้านหน้าสวน เป็นเส้นทางลัดระหว่าง ถนนสุรวงศ์ถึงถนนพระรามที่ 4
  • เพิ่มป้ายที่แจ้งข้อตกลงการใช้สวน ให้เข้าใจตรงกัน
  • ให้ความรู้เรื่องการจัดการดูแลต้นไม้ภายในสวน โดยเน้นที่การลดพื้นที่มุมอับภายในสวน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

จากการระดมทุนผ่านมูลนิธิเทใจ ผ่านกิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวนในรูปแบบของ กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในการระดมความคิดมีรายละเอียด เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ ดังนี้

ป้ายที่ 1 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์
 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ ออกแบบด้วยแนวคิด “สวนข้างบ้าน” ซึ่งเป็นการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน นักเรียน เอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
แนวคิด “สวนข้างบ้าน” นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่กิจกรรมแบบต่าง ๆ สำหรับคนหลากหลายกลุ่ม การออกแบบพื้นที่จึงแบ่งพื้นที่การใช้งานรูปแบบต่าง ๆ แทรกอยู่ระหว่างต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ ที่ให้ร่มเงา ให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ จากสมุนไพร และยังเป็นที่อาศัยหากินของสัตว์เล็ก ๆ ในเมืองใหญ่

ป้ายที่ 2 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ : พื้นที่แรกของการทดลองกระบวนการมีส่วนร่วมหลากหลายวิธีการกับทุกภาคส่วนของเมือง

 แนวทางการออกแบบพื้นที่ ได้มีการทดลองสร้างพื้นที่ต้นแบบ เพื่อเป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ให้ทุกคนเห็นภาพและความสำคัญร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการทดลองการมีส่วนร่วมในขั้นก่อนการก่อสร้างสู่สาธารณะโดยการเปิดระดมทุนออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มเทใจ สนับสนุนเครื่องเล่นในสวน และเพื่อให้พื้นที่มีการใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
สวนข้างบ้านแห่งนี้ จึงเป็นพื้นที่แรกภายใต้โครงการ we!park ที่ได้รับการพัฒนาจนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรม

ป้ายที่ 3 ข้อตกลงในการใช้งาน “สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์”

 

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

คุณกก ตัวแทนพนักงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมเลอ เมอริเดียน สุรวงศ์ (วันที่ 6 ม.ค. 2566)
โดยปกติแล้ว คุณกกเดินทางผ่านสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์อยู่เสมอ และได้ทดลองใช้งานสวน เพื่อให้ข้อมูลกับผู้เข้าพักที่โรงแรม โดยการเข้าไปออกกำลังกายในบางเวลา เห็นว่า คนรู้จักสวนนี้น้อย สังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานเป็นคนในชุมชน และคนในละแวก มีเด็กๆเข้ามาวิ่งเล่น แต่ไม่เยอะมาก หากเพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนที่สัญจรผ่านได้ทราบ จะเพิ่มศักยภาพของสวนได้เป็นอย่างดี รวมถึง พื้นที่สวนนี้อาจเป็นพื้นที่กิจกรรมพิเศษใหม่ สำหรับย่านนี้

คุณส้ม และคุณเอ็ม ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (วันที่ 18 ม.ค. 2566)
ทั้งคู่ ได้เดินทางผ่านสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์เป็นประจำ เนื่องจากเป็นทางผ่านไปที่ทำงาน และได้เข้าไปใช้งานภายในสวนเป็นครั้งคราว เช่น นั่งพักผ่อน ซื้อก๋วยเตี๋ยวเข้าไปนั่งทาน เห็นว่า สวนเหมาะกับการใช้งานของชุมชน เห็นว่าในช่วงเช้า ระหว่างเวลา 07.00 – 08.00 น. มีผู้คนหลายช่วงอายุ เข้าไปใช้งานภายในสวน แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าสวนเปิดหรือไม่ เพราะประตูปิดอยู่ แล้วไม่ได้มีป้ายแจ้งเวลาเปิดปิด และอยากทราบว่า หากโรงแรม หรือหน่วยงานอื่นมาขออนุญาตใช้พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม มีความยุ่งยากหรือไม่ เพราะเห็นศักยภาพพื้นที่เหมาะสมจะจัดกิจกรรมพิเศษ ภายนอกอาคาร เป็นครั้งคราว

คุณใหม่ ประธานชุมชนหัวลำโพง (วันที่ 20 ก.พ. 2566)
หลังจากสวนเปิดการใช้งาน เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการใช้งานสำหรับคนในชุมชนและคนในละแวกเป็นอย่างมาก เด็กๆได้มีพื้นที่นั่งเล่นหลังเลิกเรียน ผู้สูงอายุมีพื้นที่เดินเล่นระหว่างวัน มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น มีวัยรุ่นนัดกันมาตีแบดมินตันภายในสวน แต่เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอกับกิจกรรมเดิม อยากให้มีการติดตั้งป้ายข้อตกลงการใช้สวน ระเบียบการใช้งาน ข้อจำกัดต่างๆอย่างชัดเจน เพราะยังพบปัญหาที่มีการใช้งานไม่เหมาะสมในพื้นที่บ้าง เช่น มีการนำอุปกรกีฬาบางอย่างเข้ามาใช้ในพื้นที่ รบกวนการใช้งานอื่นๆ หรืออาจเป็นอันตรายต่อเด็กๆที่เล่นอยู่บริเวณเครื่องเล่น ปัจจุบันมีการเข้าไปตักเตือน หากมีใครนำจักรยานเข้าไปใช้ภายในสวน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเป็นข้อตกลงการใช้สวนอย่างชัดเจน ก็เกรงว่าจะเป็นประเด็นให้ไม่พอใจกันได้
อีกทั้ง คุณใหม่ยังมีความเห็นว่า พื้นที่สวนสามารถเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมสำหรับชุมชนได้ เป็นพื้นที่แสดงความสามารถของเด็กๆในชุมชน และเพิ่มบรรยากาศให้ย่านได้เปลี่ยนแปลงบ้างเป็นครั้งคราว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ30 คนมีความปลอดภัยในการใช้งานภายในสวน เนื่องจากลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายภายในสวนได้บางส่วน
ประชาชนทั่วไปพนักงานเอกชน และชุมชนโดยรอบพื้นที่50 คนได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
ผู้สูงอายุชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ30 คนมีความปลอดภัยในการใช้งานภายในสวน เนื่องจากลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายภายในสวนได้บางส่วน
ผู้ป่วยชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ10 คนได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
กลุ่มคนเปราะบางพื้นที่โดยรอบวัดหัวลำโพง10 คนได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
โรงเรียนโรงเรียนพุทธจักรวิทยา1 แห่งเป็นพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์สวน เพื่อทุกคนได้ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน
รูปภาพกิจกรรม

    

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 อุปกรณ์สนาม ชุดกังหันลม บริเวณสนามเด็กเล่น ขนาด 20x120x278 cm. *วัสดุโครงสร้างเหล็ก ใบพัด EVE Foam เฟืองหมุน Plastic PE-Board *Community identity *Eco-Children friendly ชุดละ 20,560.75 บาท 4 88,000.00
2 ป้ายส่งเสริมการเรียนรู้และสุขภาพ - Pocket Park Story - สวนข้างบ้าน: ประโยชน์พืชผักสมุนไพร - เครื่องออกกำลังกาย: ประโยชน์ต่อร่างกาย - Reflexology stone - สอนการล้างมือ - สอนการแยกขยะ - Workout inspiration - 50,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
138,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
13,800.00

ยอดระดมทุน
151,800.00