เงินบริจาคของคุณจะช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูและวางแผนเพาะพันธุ์ให้กับประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย6ตัว
ในวันนี้พวกเราพยายามวางแผนเพาะพันธุ์พญาแร้งที่เหลืออยู่ในกรงเลี้ยงจำนวน 6 ตัว เพื่อหวังว่าสักวันในผืนป่าประเทศไทยจะมีพญาแร้งโผบินอีกครั้ง แต่โจทย์นี้ไม่ง่าย เพราะการจะทำให้สัตว์ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนมา ยากกว่าการทำให้มันหายไป
14 กุมภาพันธ์ 2535 กลางป่าห้วยขาแข้ง พญาแร้งฝูงหนึ่งกำลังจิกทึ้งกินซากเก้ง โดยที่พวกมันไม่รู้เลยว่านั่นคืออาหารมื้อสุดท้ายในชีวิต เนื่องจาพรานกลุ่มหนึ่งวางยาเบื่อในซากเก้ง เพื่อหวังว่าให้เสือโคร่งมากิน ซึ่งนับเป็นโชคร้ายของพญาแร้งที่ลงมากินทำให้พวกมันตายยกฝูง และส่งผลให้สายพันธุ์ของพวกมัน ‘สูญพันธุ์จากธรรมชาติ ’
สิ่งที่หายไปไม่ใช่เพียงแค่นกหนึ่งชนิด แต่คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเทศบาลและกองควบคุมโรคของผืนป่า
ความพยายามที่จะให้พญาแร้งให้กลับมาโบยบิน
หลายภาคส่วนช่วยกันฟื้นฟูประชากรพญาแร้งและเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์กินซาก (Scavenger) ทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในระบบนิเวศซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสมดุลของระบบนิเวศผืนป่ามรดกโลก โดยบูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยง การฟื้นฟูถิ่นอาศัย การสำรวจและวิจัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่เพื่อเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในพื้นที่ธรรมชาติ
ปัจจุบันประเทศไทยมีพญาแร้งในกรงเลี้ยงที่ได้มาจากการพลัดหลงจากการอพยพผ่านประเทศไทยทั้งหมด 6 ตัว นำมาดูแลเพื่อฟื้นฟูสภาพที่สวนสัตว์นครราชสีมา จำนวน 4 ตัว (2 คู่) และอยู่ในกรงฟื้นฟูขนาด 20 x 40 เมตร สูง 20 เมตร บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 2 ตัว (1 คู่) ถือเป็นโอกาสดีในการที่จะฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในธรรมชาติถิ่นอาศัยเดิมในผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง (หากพญาแร้งคู่นี้ไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ได้จะมีการนำพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมาเข้าคู่แทน)
ถ้าพญาแร้งวางไข่และฟักเป็นตัวสำเร็จ ลูกนกจะถูกฝึกที่กรงฟื้นฟูที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยฝึกเรื่องอาหารให้เขารู้ว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ ให้รู้ว่ามีอาหารอะไรในธรรมชาติบ้าง ฝึกกล้ามเนื้อในการบิน จนกระทั่งพร้อมปล่อยออกจากกรงฟื้นฟู พร้อมติดตั้งระบบติดตามด้วยสัญญาณวิทยุหรือดาวเทียม เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับอนาคต
ซึ่งการเตรียมการทั้งหมดนี้ ถ้าปัจจัยที่ทำให้พญาแร้งสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติคือมนุษย์ การที่จะปล่อยพญาแร้งกลับไปโดยที่ยังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ ก็อาจมีค่าเท่ากับการปล่อยพญาแร้งกลับไปตายเหมือนเดิม “มูลนิธิสืบนาคะเสถียร" จึงได้เข้ามามีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการเรียนรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชนและผู้คนในท้องที่ รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง สร้างเครือข่ายอนุรักษ์และอาสาสมัครดูแลพญาแร้งก่อนปล่อย และงานระดมทุน เพื่อช่วยให้โครงการสามารถดำเนินงานตามแผน อีกทั้งยังต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะพญาแร้งแต่ละตัวมีอายุ 20 ปีขึ้น
การเรียนรู้และความตระหนักเป็นอีกส่วนสำคัญในการอนุรักษ์พญาแร้ง
การจัดค่ายให้กับเยาวชนจากชุมชนโดยรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (กลุ่มเป้าหมาย 10 โรงเรียน) ถือเป็นการเตรียมพร้อม เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกจิตสำนึกให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง ไม่ใช่มองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความตายอย่างที่ผ่านมา อีกทั้งเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูประชากรพญาแร้ง ให้ได้กลับมาโบยบินอย่างอิสระบนท้องฟ้าไทย และเพื่อเติมเต็มจิ๊กซอว์ของบทบาททางนิเวศที่หายไปจากผืนป่าตะวันตก
อย่างไรก็ดี โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” ยังต้องการเงินสนับสนุนโครงการอยู่มาก ซึ่งทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมเพื่อให้โครงการฯ บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยการบริจาคให้กับโครงการฯ นั้นจะผลต่อพญาแร้งทั้ง 6 ตัวโดยตรงและกิจกรรมปลูกฝังการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชน
หลายภาคส่วนช่วยกันฟื้นฟูประชากรพญาแร้งและเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์กินซาก (Scavenger) ทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในระบบนิเวศ
บูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยง การฟื้นฟูถิ่นอาศัย การสำรวจและวิจัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการเรียนรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชนและผู้คนในท้องที่ รวมถึงประชาชนทั่วไป
จัดค่ายให้กับเยาวชนจากชุมชนโดยรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (กลุ่มเป้าหมาย 10 โรงเรียน) เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกจิตสำนึกให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง
ระยะที่ 1 ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ดำเนินการประชุมวางแผนจัดทำโครงการ (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
ระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 9 เดือน อยู่ระหว่างดำเนินการ ศึกษาพฤติกรรมและเก็บข้อมูลอื่นๆ ของพญาแร้งในกรงเลี้ยง จับคู่ผสมพันธุ์ ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผล ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และผลิตสื่อความรู้เกี่ยวกับพญาแร้ง จัดกิจกรรมด้านการศึกษา เช่น จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนพญาแร้งคืนถิ่นให้กับโรงเรียนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นิทรรศการพญาแร้งให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชม สำรวจประชากรนกกลุ่มแร้ง โดยเน้นชนิดเป้าหมาย 2 ชนิด คือพญาแร้ง และแร้งเทาหลังขาว บริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์กลุ่มป่าพนมดงรัก – ผาแต้ม ประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาพระวิหาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุญฑริก-ยอดมน อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
ระยะที่ 3 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี อยู่ระหว่างดำเนินการ ฝึกเตรียมการปล่อยพญาแร้งคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลหลังการปล่อย หมายเหตุ: เงินที่ได้รับสนับสนุนในครั้งนี้จะถูกใช้ในการดำเนินงานระยะที่ 2-3 ของโครงการ
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร เฉลี่ย 3,000 บาท : เดือน : ตัว จำนวน 6 ตัว | 12เดือน | 36,000.00 |
ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก เฉลี่ย 10,000 บาท : ตัวปี จำนวน 6 ตัว | 12เดือน | 60,000.00 |
ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง | 12เดือน | 6,000.00 |
ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง | 10โรงเรียน | 100,000.00 |
เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง | 1ครั้ง | 20,000.00 |
ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง | 1ครั้ง | 50,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 272,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 27,200.00 |
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นองค์กรด้านสิ่งแวด้อมที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องป่าผืนใหญ่และแหล่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า และความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับแรก รองลงมาให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ที่สำคัญและถูกคุกคาม ในการทำงานที่ต้องตัดสินใจให้อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่รอบด้าน หรือหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องมีวิธีแก้ไขผลกระทบที่สามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นที่ยอมรับ อย่างไรก็ตามสมควรคงระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีอยู่ทั้งกระบวนการและให้ดำเนินการบูรณะถิ่นที่อยู่อาศัยและความหลากหลายทางชีวภาพเมื่อมีความจำเป็นและเป็นไปได้ โดยการทำงานภายใต้ภารกิจดังนี้ 1. สนับสนุนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ฯ ให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และขยายการทำงานสู่พื้นที่โดยรอบ 2. เฝ้าระวังสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย ปกป้องผืนป่า สัตว์ป่า ร่วมขับเคลื่อนและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ 3. สร้างการรับรู้และความร่วมมือของเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 4. มุ่งสู่การเป็นองค์กรธรรมาภิบาล โครงการของมูลนิธิสืบฯ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ เช่น 1. การสนับสนุนแนวทาง SMART Patrol ในผืนป่าตะวันตก เพื่อเป็นฐานข้อมูลของชนิดที่สำคัญและมาตรการการหยุดยั้งการล่า และได้ขยายผลไปยังพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ ทั่วประเทศ 2. การฟื้นฟูประชากรกวางผาโดยการปล่อยคืนจากแหล่งเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงที่สำเร็จในการอยู่รอดระยะแรกแล้ว 3. การรณรงค์เพื่ออนุรักษ์นกชนหิน การผลักดันให้เป็นสัตว์สงวน 4. การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งอย่างเป็นรูปธรรม อยู่ในขั้นตอนการจับคู่ผสมพันธุ์ และการขยายพันธุ์พญาแร้งในกรงเลี้ยงก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 5. การอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือปลา อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและทาความเข้าใจกับชุมชน
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้