project ผู้สูงอายุ

ห้องน้ำสร้างสุข จระเข้ x มูลนิธิกระจกเงา

ห้องน้ำสร้างสุข ขนาด 2x2 เมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็ก จำนวน 30 หลัง แก่ชาวบ้านในชุมชนชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย เพื่อสุขอนามัย และความปลอดภัยของการใช้ห้องน้ำ ตลอดจนสร้างเสริมวัฒนธรรมของการแบ่งปัน บริษัท จระเข้ คอร์ปปอเรชั่น จำกัด ยินดีสนับสนุนเงินทุนตั้งต้นครึ่งหนึ่งของโครงการ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อใช้ในการก่อสร้างโดยร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา ในการระดมทุนเพิ่มเติมอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 1 มีนาคม 2564 – 31 สิงหาคม 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ชุมชนในพื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ยอดบริจาคขณะนี้

1,157,157 บาท

เป้าหมาย

1,155,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 2,735

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สร้างห้องน้ำเสร็จครบแล้วตามเป้าหมาย 30 หลัง

10 กันยายน 2021

ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 – สิงหาคม 2564 โครงการได้มีการจัดสร้างห้องสุขา ขนาด 2x2 เมตร ให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก และชาวบ้านที่ยากไร้ในชุมชนชาติพันธุ์บนดอยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  จำนวน 30 หลัง ให้กับ 30 ครอบครัว ที่ไม่มีห้องสุขาหรือห้องสุขาเดิมมีสภาพเสื่อมโทรม จากการดำเนินงานทำให้มีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ทั้งสิ้น 109 คน ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กและครอบครัว 


โดยที่สุขภัณฑ์และเครื่องอำนวยความสะดวกภายในจะเน้นความเหมาะสมสอดคล้องและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็ก  พร้อมติดตั้งอ่างล้างมือไว้ด้านหน้าของห้องสุขาเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการล้างมือซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน จากการดำเนินงานเรามั่นใจว่า เด็ก/เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย/ผู้พิการ ผู้ยากไร้ ของชุมชนชาติพันธ์ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลที่ได้รับห้องสุขาจากโครงการจะมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัยจากการใช้ห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะและมีมาตรฐานอย่างแน่นอน

จากการดำเนินงานทำให้มีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ทั้งสิ้น 109 คน

นอกจากเรื่องของทุนทรัพย์และทรัพยากรที่โครงการได้รับการสนับสนุนจากภาคสังคมแล้ว เรื่องของการสร้างความร่วมมือทั้งจากอาสาสมัครทางสังคม ชุมชน และตัวเจ้าของบ้าน ก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องเพราะในช่วงแรกของการดำเนินงาน ทางโครงการสามารถระดมอาสาสมัครทางสังคมและชุมชนเข้าร่วมปฏิบัติการจัดสร้างห้องสุขาให้กับชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างน้อย 50 คน อีกทั้งพื้นที่ดำเนินงานของโครงการยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่จิตอาสาและแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ภาคสังคมเห็นความสำคัญของเรื่องสุขาภิบาลของคนยากไร้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ในช่วงท้ายของการดำเนินโครงการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่เริ่มหนักขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของทีมงานและชาวบ้านในชุมชน โครงการจำเป็นยกเลิกการเปิดรับอาสาสมัครจากภายนอก เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่


ห้องน้ำหลังที่ 22-30

หลังที่ 22 นายจะจ๋า จะแหละ - อายุ 50 ปี 

หมู่บ้านจะก่า - สมาชิกครอบครัวมี 8 คน ไม่มีห้องน้ำใช้ ใช้ป่าในการทำธุระส่วนตัว


หลังที่ 23 นายจะพือ จะแล - อายุ 46 ปี 

 หมู่บ้านห้วยชมพู - สมาชิกในครอบครัวมี 6 คน ไม่มีห้องน้ำใช้   


หลังที่ 24 นางลอสือ จะแล - อายุ 48 ปี 

 หมู่บ้านห้วยชมพู - สมาชิกในครอบครัวมี 4 คน สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม    


หลังที่ 25 นายอาโด๊ เมอแล - อายุ 68 ปี 

 หมู่บ้านห้วยชมพู - สมาชิกในครอบครัวมี 3 คน สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม


หลังที่ 26 นายธีรนัย จะแฮ - อายุ 25 ปี 

 หมู่บ้านสุขเกษม - สมาชิกในครอบครัวมี 4 คน (เป็นบุคคลไร้สัญชาติ) ไม่มีห้องน้ำใช้    


หลังที่ 27 นายกนก เชกอง - อายุ 21 ปี 

 หมู่บ้านสุขเกษม - สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมเสื่อมโทรม สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคหอบหืด

** หมายเหตุ : ผู้ถ่ายรูปรับมอบห้องน้ำคือบิดา 


หลังที่ 28 นางนาติ จะแฮ - อายุ 40 ปี 

 หมู่บ้านสุขเกษม - สมาชิกในครอบครัวมี 7 คน (เป็นบุคคลไร้สัญชาติ) สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมเสื่อมโทรม    

** หมายเหตุ : ผู้ถ่ายรูปรับมอบห้องน้ำคือสมาชิกในครอบครัว (บุตรสาว) 


หลังที่ 29 นางอาชู เยอลือ - อายุ 27 ปี 

หมู่บ้านดอยบ่อ 2 -  สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน ห้องน้ำที่ใช้เดิมมีสภาพเสื่อมโทรม


หลังที่ 30 นางรัตนา ธำรงกมล - อายุ 54 ปี 

 หมู่บ้านดอยบ่อ 2 - สมาชิกในครอบครัวมี 3 คน สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นมือสั่น/ข้อเสื่อม ห้องน้ำที่ใช้เดิมเสื่อมโทรม


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ในประเทศไทย สุขาแบบส้วมซึมเริ่มเป็นที่รู้จักและเริ่มมีการใช้ในชนบทเมื่อราว ๆ หลังปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา

กว่า 40 ปี ที่ประเทศไทยมีการใช้ส้วมกันอย่างแพร่หลายทั้งในเขตเมืองและชนบท แต่สำหรับพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลโดยเฉพาะบนพื้นที่ราบสูง ซึ่งมีข้อจำกัดในการเดินทางหรือแม้แต่การเข้าถึงวัสดุและครุภัณฑ์ในการสร้างห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ว่าจะเรื่องของการขนส่งและราคา ทำให้สุขาหรือส้วมของคนที่เรียกได้ว่าอยู่ใต้เส้นความยากจนมักถูกทำขึ้นด้วยวิธีการและวัสดุที่ไม่คงทน ห้องสุขาจึงขาดสุขลักษณะ และชำรุดทรุดโทรม

ด้วยความขาดแคลนด้านทุนทรัพย์ สุดท้ายห้องสุขาก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ตับอักเสบเอ บิด อหิวาตกโรค รวมถึงโรคหนอนพยาธิ เป็นต้น นอกจากนี้ทางด้านฐานะในครัวเรือน ก็เป็นสาเหตุทำให้บางครัวเรือนไม่สามารถมีห้องสุขาเป็นของตนเอง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก ผู้สูงวัย และคนในครอบครัวได้

ภาพ : ห้องสุขาปัจจุบันของชาวบ้านบนดอย

ปัญหาที่พบในพื้นที่ห่างไกลบนภูเขาสูง คือบางครอบครัวยังไม่มีแม้กระทั่งส้วมไว้ใช้ในครัวเรือน หรือหลายครอบครัวส้วมก็จะมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่ว่าจะจากอายุการใช้งานหรือการปลูกสร้างด้วยงบประมาณที่มีจำกัด โถนั่งถ่ายแบบดั้งเดิม (คอห่าน) ซึ่งชาวบ้านในชนบทส่วนใหญ่ใช้อยู่ ไม่สอดคล้องกับผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีปัญหาข้อและเข่า และโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยพบว่าต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือบางรายถึงขั้นเสียขีวิตเพราะอุบัติเหตุลื่นล้มในห้องน้ำ/ห้องส้วม ดังนั้นปัญหาเรื่องห้องสุขาหรือห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะปัญหาความบกพร่องด้านสุขอนามัยขั้นพื้นฐานเช่นนี้ ย่อมสะท้อนถึงสภาวะสุขอนามัยและการพัฒนาในประเทศนั้นๆ รวมทั้งอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยต่างๆ ทั้งจากเชื้อโรค สัตว์ และมนุษย์เองอีกด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. สำรวจและจัดทำข้อมูลครัวเรือนที่มีปัญหาเรื่องส้วมร่วมกับชุมชน
  2. ออกแบบ และจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการสร้าง
  3. วางแผนและนัดหมายเวลาในการดำเนินการกับชุมชน
  4. ดำเนินการสร้าง 

ภาพ : ทีมงานและชาวบ้านอาสาช่วยกันสร้างห้องน้ำ

หลักการสำคัญของการสร้างห้องน้ำ คือ

  1. สร้างห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ มีความเหมาะสมกับผู้ใช้ที่เป็น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่
  2. การมีส่วนร่วมทั้งจากครัวเรือนที่ได้รับส้วมจากโครงการ ชุมชน และสังคมภายนอก

ดังนั้นมูลนิธิกระจกเงา จึงร่วมกับ บริษัท จระเข้ คอร์ปปอเรชั่น จำกัด เนรมิตห้องน้ำสร้างสุข เพื่อพี่น้องบนดอยสูง โดยบริษัท จระเข้ สนับสนุนทุนทรัพย์ตั้งต้นเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของโครงการ พร้อมด้วยเคมีภัณฑ์ก่อสร้างในเครือของบริษัทฯ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินโครงการทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เรายังต้องการการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมต่อความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงต่อไป

เจ้าของโครงการ


กำลังดำเนินการสร้างห้องน้ำ เสร็จแล้ว 10 หลัง

25 มิถุนายน 2021

ทีมงานมูลนิธิกระจกที่เชียงรายได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำแล้ว โดยการสร้างห้องน้ำแต่ละหลังนั้นได้สร้างความร่วมมือให้กับอาสาสมัคร คนในชุมชน เจ้าของบ้าน และยังเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ให้เด็กๆ ในชุมชนที่สนใจงานช่างมาร่วมเรียนรู้และช่วยลงมือทำด้วย ปัจจุบันการก่อสร้างห้องน้ำทำเสร็จไปแล้ว 10 หลัง



หลังที่ 1 : นางอาเดอะ มาเยอะ อายุ 65 ปี

ไม่มีห้องน้ำใช้ ต้องอาศัยห้องน้ำของห้องประชุมหมู่บ้าน ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีอาการปวดเข่าและหลัง


หลังที่ 2 : นางอาซึ หมื่อแหละ อายุ 57 ปี 

สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม

ห้องน้ำเดิม


ห้องน้ำใหม่


หลังที่ 3 : นางหมีตือ อามอ  อายุ 57 ปี

ไม่มีห้องน้ำใช้


หลังที่ 4 : นายอาแผ่ว เชอหมื่อ อายุ 50 ปี

สภาพห้องน้ำเดิมเสื่อมโทรม

ห้องน้ำเดิม


ห้องน้ำใหม่


หลังที่ 5 : นางนาจู แสนพรน อายุ 80 ปี

ไม่มีห้องน้ำ เป็นคนชรา ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารและสูญเสียการได้ยิน


หลังที่ 6 : นางนาแฮ จะเหมาะ อายุ 54 ปี 

สภาพห้องน้ำเสื่อมโทรม ป่วยสูญเสียการได้ยิน


หลังที่ 7 : นายอาจารย์ อู่ป่า อายุ 65 ปี

ไม่มีห้องน้ำ เป็นคนชรา อาศัยอยู่คนเดียว ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารและสูญเสียการได้ยิน


หลังที่ 8 : นางสาวพุบวย จะปอ อายุ 28 ปี มีลูกเล็ก 1 คน

ไม่มีห้องน้ำ ต้องอาศัยเพื่อนบ้าน เป็นแม่หม้ายลูก 1


หลังที่ 9 : นางหมีเย เชอหมื่อ อายุ 58 ปี

สถานะ : สภาพห้องน้ำเสื่อมโทรม เป็นผู้พิการด้านขา ขาขวาไม่สามารถใช้งานได้  

ห้องน้ำเดิม


ห้องน้ำใหม่


หลังที่ 10 : นาอาก่า อามอ อายุ 60 ปี 

สถานะ : ห้องน้ำเสื่อมโทรมและพังถล่มลงมาเนื่องจากติดกับแม่น้ำ มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน ภรรยาป่วยสูญเสียการได้ยิน

ห้องน้ำเดิม

ห้องน้ำใหม่


สร้างห้องน้ำเสร็จเพิ่มอีก 11 หลัง

30 กรกฎาคม 2021

ในช่วงวันที่ 15 มิถุนายน 2564 – 27 กรกฎาคม 2564 ได้มีการสร้างห้องน้ำจนแล้วเสร็จเพิ่มอีกจำนวน 11 หลัง มีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการทั้งสิ้น 35 คน ซึ่งมีทั้งเด็ก คนชรา และผู้ป่วย นอกจากสภาพพื้นที่ที่ทำงานจะทำให้ทีมงานทำงานได้ยากกว่าพื้นที่ปกติแล้ว ในช่วงที่ผ่านมาสภาพอากาศหรือฟ้าฝนก็ทำให้การทำงานมีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้น จึงต้องใช้เวลาในการสร้างเพิ่มมากขึ้นในแต่ละหลัง แต่อย่างไรก็ตามการก่อสร้างห้องน้ำก็ยังคงเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้

หลังที่ 11 นายอาซอง เชอหมื่อ - อายุ 102 ปี  

สมาชิกในครอบครัวมี 2 คน 
สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม 
เป็นผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวลำบากและนั่งยองไม่ได้ สายตาไม่ดี สูญเสียการได้ยิน

หลังที่ 12 นางอาหมวย จะก่า - อายุ 40 ปี 

สมาชิกในครอบครัวมี 3 คน 
ไม่มีห้องน้ำใช้ ต้องอาศัยใช้ของญาติ

หลังที่ 13 นายคมสัน  ยะคา  - อายุ 38 ปี   

สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน ลูกสาวป่วยเป็นโรคหอบหืด ไม่มีห้องน้ำใช้ ต้องอาศัยห้องน้ำส่วนรวมของหมู่บ้าน

หลังที่ 14 นายจะหละ  จะนะ - อายุ 48 ปี   

สมาชิกในครอบครัวมี 2 คน เคยประสบอุบัติเหตุซี่โครงหัก จึงทำงานหนักไม่ได้

หลังที่ 15 นายอาจู ชือมือ  - อายุ 58 ปี   

สมาชิกในครอบครัวมี 3 คน ภรรยาป่วย

หลังที่ 16 นางหมี่เจอะ แชหมื่อ - อายุ 48 ปี  

สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน สามีเสียชีวิต

หลังที่ 17 นางหมี่บะ แลเฉอะ - อายุ 77 ปี  

สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน สามีป่วยเป็นโรคหอบ หมี่บะสูญเสียการได้ยิน

วีดีโอสัมภาษณ์ https://www.facebook.com/ThemirrorCR/videos/1116092702133843

หลังที่ 18 นายอนุชา  เชอมือ  - อายุ 46 ปี  

อยู่ตัวคนเดียว ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่มีห้องน้ำใช้ ต้องอาศัยห้องน้ำจากเพื่อนบ้าน

หลังที่ 19 นางนาจู เชอหมื่อ - อายุ 69 ปี  

สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน บุตรทั้ง 4 คนป่วยเป็นโรคสมองพิการ ส่วนนาจูเป็นความดันโลหิตสูง สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม

หลังที่ 20 นางนาจู  แสนใหม่ - อายุ 74 ปี  

อยู่ตัวคนเดียว ข้อเข่าเริ่มมีปัญหา เคลื่อนไหวลำบาก ไม่มีห้องน้ำใช้ ต้องอาศัยเข้าห้องน้ำจากเพื่อนบ้าน

หลังที่ 21 นางพลอย  เชอหมื่อ - อายุ 45 ปี  

สมาชิกในครอบครัวมีจำนวน 3 คน  นางพลอยป่วยเป็นผู้ติดเชื้อ HIV สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม


สร้างห้องน้ำเสร็จครบแล้วตามเป้าหมาย 30 หลัง

10 กันยายน 2021

ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 – สิงหาคม 2564 โครงการได้มีการจัดสร้างห้องสุขา ขนาด 2x2 เมตร ให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก และชาวบ้านที่ยากไร้ในชุมชนชาติพันธุ์บนดอยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  จำนวน 30 หลัง ให้กับ 30 ครอบครัว ที่ไม่มีห้องสุขาหรือห้องสุขาเดิมมีสภาพเสื่อมโทรม จากการดำเนินงานทำให้มีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ทั้งสิ้น 109 คน ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กและครอบครัว 


โดยที่สุขภัณฑ์และเครื่องอำนวยความสะดวกภายในจะเน้นความเหมาะสมสอดคล้องและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็ก  พร้อมติดตั้งอ่างล้างมือไว้ด้านหน้าของห้องสุขาเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการล้างมือซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน จากการดำเนินงานเรามั่นใจว่า เด็ก/เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย/ผู้พิการ ผู้ยากไร้ ของชุมชนชาติพันธ์ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลที่ได้รับห้องสุขาจากโครงการจะมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัยจากการใช้ห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะและมีมาตรฐานอย่างแน่นอน

จากการดำเนินงานทำให้มีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ทั้งสิ้น 109 คน

นอกจากเรื่องของทุนทรัพย์และทรัพยากรที่โครงการได้รับการสนับสนุนจากภาคสังคมแล้ว เรื่องของการสร้างความร่วมมือทั้งจากอาสาสมัครทางสังคม ชุมชน และตัวเจ้าของบ้าน ก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องเพราะในช่วงแรกของการดำเนินงาน ทางโครงการสามารถระดมอาสาสมัครทางสังคมและชุมชนเข้าร่วมปฏิบัติการจัดสร้างห้องสุขาให้กับชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างน้อย 50 คน อีกทั้งพื้นที่ดำเนินงานของโครงการยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่จิตอาสาและแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ภาคสังคมเห็นความสำคัญของเรื่องสุขาภิบาลของคนยากไร้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ในช่วงท้ายของการดำเนินโครงการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่เริ่มหนักขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของทีมงานและชาวบ้านในชุมชน โครงการจำเป็นยกเลิกการเปิดรับอาสาสมัครจากภายนอก เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่


ห้องน้ำหลังที่ 22-30

หลังที่ 22 นายจะจ๋า จะแหละ - อายุ 50 ปี 

หมู่บ้านจะก่า - สมาชิกครอบครัวมี 8 คน ไม่มีห้องน้ำใช้ ใช้ป่าในการทำธุระส่วนตัว


หลังที่ 23 นายจะพือ จะแล - อายุ 46 ปี 

 หมู่บ้านห้วยชมพู - สมาชิกในครอบครัวมี 6 คน ไม่มีห้องน้ำใช้   


หลังที่ 24 นางลอสือ จะแล - อายุ 48 ปี 

 หมู่บ้านห้วยชมพู - สมาชิกในครอบครัวมี 4 คน สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม    


หลังที่ 25 นายอาโด๊ เมอแล - อายุ 68 ปี 

 หมู่บ้านห้วยชมพู - สมาชิกในครอบครัวมี 3 คน สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมมีความเสื่อมโทรม ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม


หลังที่ 26 นายธีรนัย จะแฮ - อายุ 25 ปี 

 หมู่บ้านสุขเกษม - สมาชิกในครอบครัวมี 4 คน (เป็นบุคคลไร้สัญชาติ) ไม่มีห้องน้ำใช้    


หลังที่ 27 นายกนก เชกอง - อายุ 21 ปี 

 หมู่บ้านสุขเกษม - สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมเสื่อมโทรม สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคหอบหืด

** หมายเหตุ : ผู้ถ่ายรูปรับมอบห้องน้ำคือบิดา 


หลังที่ 28 นางนาติ จะแฮ - อายุ 40 ปี 

 หมู่บ้านสุขเกษม - สมาชิกในครอบครัวมี 7 คน (เป็นบุคคลไร้สัญชาติ) สภาพห้องน้ำที่ใช้เดิมเสื่อมโทรม    

** หมายเหตุ : ผู้ถ่ายรูปรับมอบห้องน้ำคือสมาชิกในครอบครัว (บุตรสาว) 


หลังที่ 29 นางอาชู เยอลือ - อายุ 27 ปี 

หมู่บ้านดอยบ่อ 2 -  สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน ห้องน้ำที่ใช้เดิมมีสภาพเสื่อมโทรม


หลังที่ 30 นางรัตนา ธำรงกมล - อายุ 54 ปี 

 หมู่บ้านดอยบ่อ 2 - สมาชิกในครอบครัวมี 3 คน สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นมือสั่น/ข้อเสื่อม ห้องน้ำที่ใช้เดิมเสื่อมโทรม


แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1.สร้างห้องน้ำ มูลค่า 35,000 บาท30 หลัง1,050,000 
2.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

105,000


1,155,000