project เด็กและเยาวชน

ส่งน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติ

มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) ชวนให้ทุนส่งน้อง 500 คนจาก 5 โรงเรียน เข้าเรียนห้องเรียนธรรมชาติ นักเรียนได้เรียนรู้จากการกระทำและประสบการณ์ตรงที่จะได้รับจาการเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ

ระยะเวลาโครงการ 01 ต.ค. 2565 ถึง 31 ม.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จ.สมุทรปราการ

ยอดบริจาคขณะนี้

11,606 บาท

เป้าหมาย

220,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 5%
จำนวนผู้บริจาค 23

สำเร็จแล้ว

มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) ชวนให้ทุนส่งน้อง 500 คนจาก 5 โรงเรียน เข้าเรียนห้องเรียนธรรมชาติ นักเรียนได้เรียนรู้จากการกระทำและประสบการณ์ตรงที่จะได้รับจาการเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ Foundation for Environmental Education for Sustainable Development (Thailand) : FEED เป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ มีภารกิจในการให้ความรู้ สร้างความตระหนักกับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและสร้างเครือข่ายพันธมิตรสิ่งแวดล้อมศึกษา ในการบูรณาการความรู้ด้านการอนุรักษ์ในแต่ละศาสตร์ ให้เกิดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรมและสามารถชี้วัดได้

มูลนิธิ เป็นหน่วยงานบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติและศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จ.สมุทรปราการ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2547)

ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” จ.ฉะเชิงเทรา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)

ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้าเมืองสีเขียว จ.พระนครศรีอยุธยา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563)

ดำเนินการให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปโดยเชื่อมโยงกับทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด กระตุ้นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนุกและสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้โดยไม่ต้องท่องจำ โดยอ้างอิงหลักสูตร STEAM และหลักสูตรพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแกนกลางในออกแบบโปรแกรมและกิจกรรม

ในแต่ละปี ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ได้รับการติดต่อจากโรงเรียนเพื่อขอเข้ารับบริการกิจกรรมธรรมชาติศึกษา เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากงบประมาณในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านธรรมชาติศึกษามีอย่างจำกัด จึงส่งผลให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษาให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณได้อย่างพอเพียง

มูลนิธิได้ตระหนักถึงความเท่าเทียมในการเข้าถึงกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ และเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะของนักเรียนตามนโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยการพัฒนา 4H คือ

Head (กิจกรรมพัฒนาสมอง)

Heart (กิจกรรมพัฒนาจิตใจ)

Hand (กิจกรรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติ)

Health (กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ)

เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการกระทำและประสบการณ์ตรงที่จะได้รับจาการเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ จึงจัดทำโครงการ “ส่งน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติ” เพื่อแสวงหาผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษาให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณ ทุกช่วงชั้น จำนวน 500 คน ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) โอกาสนี้จึงขอชวนทุกคนร่วมสนับสนุนทุนให้เยาวชน 500 คนได้เข้าสู่ห้องเรียนธรรมชาติไปด้วย

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครโรงเรียนที่มีความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการ โดยมูลนิธิจะดำเนินการคัดเลือกตามความเหมาะสม

2. กำหนดตารางการจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษา โดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง (ครึ่งวัน) ให้แก่นักเรียนทุกช่วงชั้น จำนวน 100 คนต่อครั้ง จำนวน 5 ครั้ง

3. จัดหา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ของรางวัล/ของที่ระลึก สำหรับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้ง อาหารว่าง อาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม

4. บันทึกภาพกิจกรรม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ใน facebook page ของศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบางปู และของมูลนิธิฯ รวมทั้งเว็บไซต์ของมูลนิธิ (www.feedthailand.org)



ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางฉวีวรรณ หุตะเจริญ ผู้บริหารองค์กร 

นางกันตินันท์ ผิวสอาด ผู้อำนวยการมูลนิธิ


ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ทุนน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติคนละ 400 บาท ประกอบด้วย อุปกรณ์สำหรับนักเรียน (สมุด กระดาษสี ปากกา ดินสอ ดินสอสี ถุงผ้า และอื่นๆ) สื่อการสอน อาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม 500 คน 200,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
200,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
20,000.00

ยอดระดมทุน
220,000.00