project กลุ่มคนเปราะบาง

The Food Must Go On อาหารดี เราไม่เท

ตรวจสอบคุณภาพอาหารที่เหลือจากการขาย ก่อนส่งต่อให้กับองค์กรดูแลผู้ยากไร้และเด็กกำพร้า เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในกรุงเทพและเมืองใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ช่วยแบ่งเบาภาระขององค์กรที่ดูแลผู้ยากไร้และเด็กกำพร้า

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพมหานคร

ยอดบริจาคขณะนี้

14,495 บาท

เป้าหมาย

60,500 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 24%
จำนวนผู้บริจาค 28

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการอาหารดี เราไม่เท

12 กรกฎาคม 2017

โครงการ "อาหารดี เราไม่เท" หรือ The Food Must Go On Project โดย พลพัต อมรรัตนเกศ ได้ดำเนินการนำอาหารไปทดสอบกับศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร (FQA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามที่ได้แจ้งไว้แล้ว โดยไม่พบเชื้อรา, Escherichia coli (เชื้อที่พบในอุจจาระ), Clostridium perfringens (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ), Bacillus cereus (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ), Staphylococcus aureus (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) และ Salmonella(ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) โดยภาชนะบรรจุคือ ถุงพลาสติกปิกปากถุงด้วยสก็อตเทปใส เริ่มทดสอบในวันหมดอายุของสินค้า


ความประทับใจ

จากวันที่ตัดสินใจริเริ่มโครงการ "อาหารดี เราไม่เท" The Food Must Go On Project เราได้ส่งต่ออาหารที่เหลือจากการขาย ยังอยู่ในสภาพดี ที่ไม่ควรถูกนำไปทิ้ง จากร้านเบเกอรี่ ร้านกาแฟ และร้านอาหาร ให้กับองค์กรที่ดูแลเยาวชน (บ้านเด็กราชวิถี) และบุคคลไร้บ้าน ไปแล้วมากกว่าสองพันมื้อ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มีบางร้านได้เปิดเผยกับเราว่า campaign นี้ได้ช่วยให้ธุรกิจเขาประหยัดต้นทุน ลดปริมาณอาหารที่ต้องทิ้งลงกว่า 50% และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ไม่เคยเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับอาหาร มีการนำตัวอย่างอาหารไปทดสอบกับศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร (FQA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปัจจุบัน บริษัทต่าง ๆ ซุปเปอร์มาเก็ต และองค์กรไม่แสวงหากำไร เริ่มดำเนินการนำอาหารไปให้คนยากไร้โดยไม่ปล่อยให้อาหารหมดอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี ทางทีม The Food Must Go On รู้สึกประทับใจอย่างยิ่ง และหวังว่าจะมีองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมที่น่าอยู่สำหรับทุกคนครับ ความสำเร็จนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนทุกท่าน

ทั้งนี้ทางทีม The Food Must Go On ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้ แต่จะดำเนินการต่อไปตราบใดที่ยังมีปัญหาอยู่ แม้ว่าเราอาจมีทรัพยากรน้อย แต่เราก็จะทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ อาหารที่ไม่สามารถบริโภคได้บางอย่างอาจนำมาเป็นอาหารสัตว์ หรือผลิตปุ๋ยเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ขอบคุณครับ
พลพัต อมรรัตนเกศ

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เราต้องการสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อลดปริมาณขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญหากเราสามารถนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้พัฒนาในเรื่องของการศึกษา อาชีพ และสุขอนามัยก็จะสามารถสร้างความยั่งยืนและกลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า

The food must go on ได้เริ่มรณรงค์ในเว็บไซต์ change.org เรารวบรวมรายชื่อได้ 5,000 คนเพื่อให้ร้าน bakery by Yamazaki แจกจ่ายอาหารที่ไม่สามารถจำหน่ายได้แก่ผู้ยากไร้ เราได้ความร่วมมืออย่างดีจาก Yamazaki องกรณ์ APCD และสภาสังคมสงเคราะห์ราชวิถี เวลาเดือนกว่าเราได้อาหาร 1,000 มื้อให้กับเด็กกำพร้า สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าประจำ และยังเกิดกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ชื่นชอบการทำงานของภาคธุรกิจเช่นนี้


เราตั้งใจที่จะต่อยอดการทำงานไปยังร้านขนมหรือร้านอื่นๆ ในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ต่างๆ เพื่อต้องการสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ลดปริมาณขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม และสามารถนำทรัพยากรที่ประหยัดได้ไปใช้พัฒนาในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด 

โครงการ The Food Must Go On (อาหารดี เราไม่เท) เราตั้งใจที่จะต่อยอดการทำงานไปยังร้านขนมหรือร้านอื่นๆ ในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ต่างๆ เพื่อต้องการสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ลดปริมาณขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม และสามารถนำทรัพยากรที่ประหยัดได้ไปใช้พัฒนาในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพ และมั่นใจผู้ที่จะนำอาหารดังกล่าวไปบริโภคไม่เกิดผลกระทบ เราต้องการทุนเพื่อนำตัวอย่างอาหารที่จะไปแจกนำไปตรวจก่อน โดยเราจะตรวจทั้งจุลินทรีย์ ยีสต์และรา MPN Escherichia coli, Staphylococcusaureus, Salmonella spp. สารเจือปน และชีวเคมี เพื่อให้ทราบคือ 

ประการที่ 1 สารอาหาร และคุณค่าทางโภชนการ ของอาหารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะทราบว่า อาหารที่นำไปแจกมีคุณค่าทางโภชนการเป็นอย่างไร โดยเราจะตรวจทั้งวันแรกและวันที่สองเพื่อให้แน่ชัดว่าคุณค่าทางโภชนาการมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

ประการที่ 2 เราจะตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่า อาหารที่นำเป็นมีอายุการบริโภคได้ถึงเมื่อไหร่ แม้ร้านจะเลือกอาหารที่ไม่หมดอายุมาบริจาคแล้ว แต่เพื่อความมั่นใจที่มากยิ่งขึ้น เราจะทำการตรวจสอบว่าอาหารแต่ละชนิดสามารถอยู่ได้กี่วันอีกรอบ

the food must go on อาหารดีเราไม่เท จึงอยากชักชวนเพื่อนมาร่วมลงขัน เพื่อให้เราได้ตรวจสอบอาหารก่อนส่งมอบให้กับองค์กรที่ดูแลผู้ยากไร้

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ระดมทุน
  2. เลือกประเภทอาหารเพื่อวิเคราะห์
  3. วิเคราะห์อาหารประเภทต่างๆร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. รายงานผลการตรวจสอบ และเผยแพร่ทาง taejai.com และ change.org

ประโยชน์ของโครงการ

  1. สร้างความตระหนักให้ผู้ผลิตและผู้บริโภค
  2. ลดปริมาณขยะมูลฝอย
  3. ลดปัญหาการขาดแคลนอาหารในหมู่ผู้ยากไร้
  4. ส่งเสริมบทบาทการช่วยเหลือสังคมให้กับร้านที่เข้าร่วม

สมาชิกภายในทีม

  1. นายพลพัต อมรรัตนเกศ / Mr. Phonlapat Amornrattanaket
    อีเมล์ : phonlapat@live.com
    ผู้รณรงค์ลดการทิ้งขว้าง
  2. นายอริญชย์ พฤกษานุศักดิ์ / Mr. Arin Pruksanusak
    อีเมล์ : Arin.pruksanusak@gmail.com
    นักกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน

ภาคี

1. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/

2. ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://fqa.ifrpd.ku.ac.th/aboutus.php

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการอาหารดี เราไม่เท

12 กรกฎาคม 2017

โครงการ "อาหารดี เราไม่เท" หรือ The Food Must Go On Project โดย พลพัต อมรรัตนเกศ ได้ดำเนินการนำอาหารไปทดสอบกับศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร (FQA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามที่ได้แจ้งไว้แล้ว โดยไม่พบเชื้อรา, Escherichia coli (เชื้อที่พบในอุจจาระ), Clostridium perfringens (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ), Bacillus cereus (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ), Staphylococcus aureus (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) และ Salmonella(ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) โดยภาชนะบรรจุคือ ถุงพลาสติกปิกปากถุงด้วยสก็อตเทปใส เริ่มทดสอบในวันหมดอายุของสินค้า


ความประทับใจ

จากวันที่ตัดสินใจริเริ่มโครงการ "อาหารดี เราไม่เท" The Food Must Go On Project เราได้ส่งต่ออาหารที่เหลือจากการขาย ยังอยู่ในสภาพดี ที่ไม่ควรถูกนำไปทิ้ง จากร้านเบเกอรี่ ร้านกาแฟ และร้านอาหาร ให้กับองค์กรที่ดูแลเยาวชน (บ้านเด็กราชวิถี) และบุคคลไร้บ้าน ไปแล้วมากกว่าสองพันมื้อ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มีบางร้านได้เปิดเผยกับเราว่า campaign นี้ได้ช่วยให้ธุรกิจเขาประหยัดต้นทุน ลดปริมาณอาหารที่ต้องทิ้งลงกว่า 50% และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ไม่เคยเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับอาหาร มีการนำตัวอย่างอาหารไปทดสอบกับศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร (FQA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปัจจุบัน บริษัทต่าง ๆ ซุปเปอร์มาเก็ต และองค์กรไม่แสวงหากำไร เริ่มดำเนินการนำอาหารไปให้คนยากไร้โดยไม่ปล่อยให้อาหารหมดอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี ทางทีม The Food Must Go On รู้สึกประทับใจอย่างยิ่ง และหวังว่าจะมีองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมที่น่าอยู่สำหรับทุกคนครับ ความสำเร็จนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนทุกท่าน

ทั้งนี้ทางทีม The Food Must Go On ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้ แต่จะดำเนินการต่อไปตราบใดที่ยังมีปัญหาอยู่ แม้ว่าเราอาจมีทรัพยากรน้อย แต่เราก็จะทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ อาหารที่ไม่สามารถบริโภคได้บางอย่างอาจนำมาเป็นอาหารสัตว์ หรือผลิตปุ๋ยเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ขอบคุณครับ
พลพัต อมรรัตนเกศ

แผนการใช้เงิน


รายละเอียดจำนวนเป็นเงิน (บาท)
1.การวิเคราะห์จุลินทรีย์ในอาหาร (Microbial Quality)2010,000
2.ตัวอย่างสำหรับการทดสอบ20010,000
3.ค่าเอกสารเผยแพร่
4,000
4.ค่าออกแบบ art work
5,000
5.ค่าธรรมเนียมเทใจดอทคอม 10%
5,500
รวมเป็นเงิน
60,500