project เด็กและเยาวชน

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง Teach For Thailand 2023

มูลนิธิ Teach For Thailand ดึงบุคคลที่มีศักยภาพจากทุกสาขาวิชา มาสอนในโรงเรียนขยายโอกาสที่ขาดแคลนครูในระยะเวลา 2 ปีเต็ม ให้ได้เรียนรู้จริง ลงมือทำงานในพื้นที่จริง และเห็นต้นตอของปัญหาจริง พอจบ 2 ปีนี้ไป เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่จะนำประสบการณ์ตรงและความเข้าใจในปัญหาการศึกษาไปเปลี่ยนแปลงระบบที่เป็นอยู่ผ่านหน้าที่การทำงานของตัวเอง (ทุก 1,000 บาทที่คุณบริจาคให้กับมูลนิธิฯ นั้นจะส่งผลให้นักเรียน 1 คน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตลอด 1 เทอมเต็ม)

ระยะเวลาโครงการ 01 ม.ค. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: กรุงเทพมหานคร , นครปฐม , กาญจนบุรี , ลพบุรี , นครสวรรค์ , เชียงใหม่ , เชียงราย , น่าน , ขอนแก่น , ระยอง , ชลบุรี , ปราจีนบุรี , ลำปาง , พระนครศรีอยุธยา , นครราชสีมา

ยอดบริจาคขณะนี้

61,732 บาท

เป้าหมาย

550,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 11%
จำนวนผู้บริจาค 45

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา 2566

9 เมษายน 2024

ในปี 2566 มีผู้สมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 รวม 1,281 คน โดยผ่านการคัดเลือกและเข้าสอนในโรงเรียนรวม 80 คน

ปัจจุบันในภาคเรียนที่ 2/2566 เรามีครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ 129 คน ทำงานใน 5 ภาค 54 โรงเรียน และพัฒนานักเรียนอยู่ 13,081 คน

ตลอดทั้งปี 2566 เรามีครูผู้นำฯ ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2565 จนถึงภาคเรียนปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 182 คน ทำงานใน 5 ภูมิภาค 60 โรงเรียน และมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ในทุกภาคเรียนรวมทั้งสิ้น 36,040 คน (เรียนกับครูผู้นำฯ ไปแล้ว 22,959 คน กำลังเรียนอีก 13,081 คน)

เรามุ่งมั่นว่าในปี 2567 ไปจนถึง ปี 2569 เราจะคัดสรรครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 300 คน เพื่อเข้าถึงนักเรียน 100,000 คน ใน 175 โรงเรียน และเครือข่ายศิษย์เก่าจะเข้าถึงนักเรียนได้อีก 500,000 คน โดยเราวางเป้าหมายที่จะขยายการทำงานผ่าน 3 เสาหลัก

  1. Grow เติบโตและขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของเราผ่านการเข้าถึงเด็กนักเรียนให้ได้มากขึ้น โดยเรามีแผนจะขยายการทำงานไปสู่ชั้นประถม จากที่ปัจจุบันครูผู้นำฯ สอนเพียงระดับมัธยมต้น
  2. Accelerate เร่งขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของศิษย์เก่าฯ ผ่านการสร้างความร่วมมือในกลุ่มศิษย์เก่า แทนการทำงานแบบต่างคนต่างทำหรือการเริ่มจากศูนย์ เพื่อให้เกิดโครงการที่พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกได้รวดเร็วขึ้น
  3. Imprint มุ่งมั่นผลักดันการศึกษาและเป็นแบบอย่างให้ชุมชน ด้วยการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและเครื่องมือต่างๆ ที่เราได้พัฒนามาตลอดระยะเวลาหลายปี ผ่านการทำงานของครูผู้นำฯ และศิษย์เก่าฯ
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 “ ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต ตอนเรียนม. 2 ทางโรงเรียนได้รับครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เข้ามาเป็นครั้งแรก คือครูแขและครูกอล์ฟ ผมจึงได้รู้จักมูลนิธินี้ผ่านครูทั้งสองคน จากที่เคยออกไปเล่นช่วงเวลาพัก ก็ใช้เวลาว่างตรงนั้นมาพูดคุยกับครูแขครูกอล์ฟแทน เพราะได้แลกเปลี่ยนและมีกิจกรรมให้ทำตลอด ทำให้ผมได้ซึมซับกระบวนการ วิธีการทำงาน และการใช้ชีวิตแบบใหม่ ๆ กระบวนการสอนของครูแข เป็นการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือทำและเรียนรู้ไปด้วยตัวเอง จากที่ไม่ชอบวิชานี้ กลายเป็นพวกผมชอบวิชาภาษาอังกฤษกันมาก ๆ ตอนม. 3 ครูแขได้ให้นักเรียนไปลองสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับพวกผมเพราะตามปกติแล้วแทบไม่มีโอกาสได้เจอคนต่างชาติเลย และพี่แขพี่กอล์ฟไม่ได้สอนแค่คำศัพท์เท่านั้น แต่ยังสอนทักษะการตัดวิดีโอคลิปอีกด้วย แนวคิดของครูแขครูกอล์ฟที่ผมยังจดจำมาใช้จนวันนี้ คือการให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสการเรียนรู้เท่ากัน ” น้องนรากร แก้วมณี (บีท) นักเรียนโรงเรียนวัดสังฆราชาที่ได้เรียนกับ ‘ครูแข’ ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ ‘ครูกอล์ฟ’ ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ปัจจุบัน บีทกำลังสอบใบประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูและฝึกสอนที่โรงเรียนวัดสังฆราชา

 “ ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อย ๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริง ๆ เด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน อย่างครูแพรวมีประสบการณ์ชีวิตเยอะ ก็จะไม่ได้เน้นสอนแต่วิชาการอย่างเดียว ในด้านการจัดการเรียนการสอน ก็มีลำดับชัดเจน มีการนำเข้าสู่บทเรียน และใช้สื่อหลากหลาย เช่น บางครั้งครูแพรวก็ใช้คลิปเสียงมาสอนภาษา กระบวนการเรียนการสอนใช้เทคโนโลยี เป็นประโยชน์และทันสมัย เราไม่ได้เป็นครูพี่เลี้ยงที่สอนเขาอย่างเดียว หลายครั้งเราก็ได้เรียนรู้จากเขาด้วย ” ครูกัญญา พุทธินาม (ตู่) ครูภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านเจดีย์แม่ครัว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของครูแพรว ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9

 “ พี่รู้จักโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ช่วงปี 63-64 ได้รู้ว่าครูที่มาสอนมาในชื่อ ‘ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ พอได้ฟังคำนี้แล้วมันมีพลัง อย่างมีน้องคนนึงจบจากรัฐศาสตร์ แล้วมาสอนคณิตศาสตร์ ตอนแรกเราคิดว่าวิชานี้จะเป็นข้อจำกัดของเด็กสายนี้ไหม ที่เขาไม่ถนัด แต่น้องเขาก็มุ่งมั่น ทำได้ดี พาทุกคนก้าวข้ามตรงจุดนี้ ทำให้เห็นว่าคนคนหนึ่งสามารถเรียนรู้ได้มากมาย ถ้าเราใส่ใจ นอกจากครูทีชจะเป็นผู้นำทางวิชาการแล้ว เขายังทำให้เด็กยอมรับ และกับครูพี่เลี้ยงก็ทำงานกันได้โอเค การร่วมงานกับเพื่อนครูก็ดี และเขาก็มีบ้านพักอยู่ใกล้โรงเรียน เมื่อมีกิจกรรมต่างๆในชุมชนก็มาร่วม อย่างกิจกรรมลงทะเบียนแอพ Thai D ของกระทรวงมหาดไทย มีการมาใช้พื้นที่ของโรงเรียน ให้นักเรียนและคนในพื้นที่มาลงทะเบียนใช้บัตรประชาชนผ่านทางออนไลน์ ครูทีชก็มาช่วยลงทะเบียนให้นักเรียน มีครูคนหนึ่งสอนคณิตศาสตร์ เขาก็ใช้ทุนชุมชนมาเกื้อกูลการศึกษาพานักเรียนไปเรียนที่สถานประกอบการทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แล้วสอนวางแผนทางการเงิน การลงทุน เจ้าของกิจการเองก็ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กในชุมชน เราอยากให้เด็กมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน โดยใช้ทุกวิชาเป็นสื่อพาเด็กไปถึงจุดนั้น นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เด็กมุ่งมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะของศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตัวครูผู้นำ พอได้เข้ามาก็มีโอกาสพัฒนาตนเอง เป็นผู้นำนำการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา แต่เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จึงสามารถส่งต่อไปถึงเด็กได้ ครูแต่ละคนมีแนวคิด เจตคติที่ดี จึงพาจนเองเข้ามาสู่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น จังหวัดปราจีนบุรี

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

มูลนิธิ Teach For Thailand ดึงบุคคลที่มีศักยภาพจากทุกสาขาวิชา มาสอนในโรงเรียนขยายโอกาสที่ขาดแคลนครูในระยะเวลา 2 ปีเต็ม ให้ได้เรียนรู้จริง ลงมือทำงานในพื้นที่จริง และเห็นต้นตอของปัญหาจริง พอจบ 2 ปีนี้ไป เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่จะนำประสบการณ์ตรงและความเข้าใจในปัญหาการศึกษาไปเปลี่ยนแปลงระบบที่เป็นอยู่ผ่านหน้าที่การทำงานของตัวเอง (ทุก 1,000 บาทที่คุณบริจาคให้กับมูลนิธิฯ นั้นจะส่งผลให้นักเรียน 1 คน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตลอด 1 เทอมเต็ม)

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

"เด็กอายุ 15 ของประเทศไทยเรียนช้ากว่าเด็กในประเทศอื่น ๆ เฉลี่ย 2 ปี"

"นักศึกษาจบใหม่มากกว่าครึ่งไม่อยากทำอาชีพครู"

"ซ้ำร้าย เด็กที่มาจากครอบครัวรายได้ต่ำ เรียนช้ากว่าคนอื่น 3.8 ปี"

การแก้ไขปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและถูกสั่งสมมานานจำเป็นต้องใช้ทรัพยากร บุคคลที่มีศักยภาพและเข้าใจปัญหาด้านการศึกษาอย่างลึกซึ้ง แต่ประเทศไทยกลับขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณสมบัติดังกล่าวอยู่มาก

มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จึงมุ่งสรรหา บุคคลที่มีศักยภาพสูงจากหลากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือแม้กระทั่งแพทยศาสตร์ มาเข้าร่วมโครงการ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดยตลอดระยะเวลา 2 ปี ของโครงการ พวกเขาจะได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นให้แก่เยาวชนในโรงเรียนที่มีบริบทท้าทายและขาดแคลนคุณครู พร้อมกับสัมผัสปัญหาด้านการศึกษาผ่านบริบทการสอนในห้องเรียน

แต่ที่สำคัญนั้น ความเข้าใจต่อปัญหาด้านการศึกษาจากประสบการณ์ 2 ปีนี้ จะส่งผลให้ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์เป็นผู้นำที่มีสามารถทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในท้ายที่สุด

จากการดำเนินงานตลอด 10 ปีมานี้ โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับโรงเรียนขาดแคลน 101 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็นโรงเรียนรัฐบาลทั้งหมด 97 โรงเรียน และโรงเรียนเอกชน 4 โรงเรียน ใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ กาญจนบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และลำปาง

ปี พ.ศ. 2566 นี้ มูลนิธิฯ มีแผนที่จะขยายผลกระทบในเชิงกว้างให้สามารถเข้าถึงนักเรียนได้ในจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 75 เพื่อขยายโอกาสไปยัง 100 โรงเรียน ใน 17 จังหวัด ซึ่งจะสามารถเข้าถึงนักเรียนกว่า 43,000 คน และสร้างศิษย์เก่าที่เป็นผู้นำได้กว่า 400 คน ภายในปี พ.ศ. 2568 แม้เป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนครูผู้นำฯ ให้มากขึ้นเป็น 3 เท่า โดยรวมมากกว่า 500 คนภายใน 3 ปีข้างหน้า

ทุก 1,000 บาทที่คุณบริจาคให้กับมูลนิธิฯ นั้นจะส่งผลให้นักเรียน 1 คน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตลอด 1 เทอมเต็ม

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. มูลนิธิฯ จะทำการสรรหาผู้ที่มีศักยภาพความเป็นผู้นำรอบด้านและมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อสังคมมาเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการต้องกรอกใบสมัครออนไลน์เพื่อแสดงศักยภาพและความตั้งใจของตนเองในการเข้าร่วมโครงการผู้นำฯ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากใบสมัครจะได้รับการติดต่อให้ทำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ออนไลน์ ทำแบบทดสอบความรู้พื้นฐานรายวิชาแบบออนไลน์ สัมภาษณ์ผ่านออนไลน์ประมาณ 45 นาที และเข้าร่วม Assessment Center เป็นเวลา 1 วันเต็ม ก่อนที่ได้รับการตอบรับในท้ายที่สุด

2. ครูผู้นำฯ ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 8 - 9 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอนในห้องเรียนจริง จากนั้น จึงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (fellow) ในโรงเรียนขยายโอกาสเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้เข้าใจปัญหาการศึกษาอย่างลึกซึ้ง และพัฒนาความเป็นผู้นำผ่านการแก้ปัญหาการศึกษาในบริบทที่มีความท้าทายสูง ซึ่งโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบางโรงเรียนมีปัญหายาเสพติด การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การพนัน และความรุนแรง ผู้ปกครองส่วนมากประกอบอาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม และมีฐานะยากจนถึงปานกลาง โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี นักเรียนส่วนมากมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ (literacy) และความรู้พื้นฐานทางการคำนวณ (numeracy) ต่ำกว่าระดับชั้นที่ตนเองศึกษาอยู่ นอกจากนี้ นักเรียนส่วนมากไม่เชื่อว่าตนเองจะประสบความสำเร็จทางการศึกษาได้

3. ศิษย์เก่าฯ เป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายศิษย์เก่าผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Alumni) โดยมูลนิธิฯ จะให้การสนับสนุน ผลักดัน และสรรหาโอกาสเพื่อให้ศิษย์เก่าฯ ทำงานในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการศึกษาของประเทศไทยไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม รวมถึงผู้ที่กำลังศึกษาต่อในระดับสูงในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในระยะยาวต่อไป


ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

เลขที่ 102 ชั้น 7 อาคารอรรถกระวี 2

ซ.อารีย์ ถ.สุขุมวิท 26 แขวงคลองตัน

เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

02-064-3919

ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา 2566

9 เมษายน 2024

ในปี 2566 มีผู้สมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 รวม 1,281 คน โดยผ่านการคัดเลือกและเข้าสอนในโรงเรียนรวม 80 คน

ปัจจุบันในภาคเรียนที่ 2/2566 เรามีครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ 129 คน ทำงานใน 5 ภาค 54 โรงเรียน และพัฒนานักเรียนอยู่ 13,081 คน

ตลอดทั้งปี 2566 เรามีครูผู้นำฯ ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2565 จนถึงภาคเรียนปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 182 คน ทำงานใน 5 ภูมิภาค 60 โรงเรียน และมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ในทุกภาคเรียนรวมทั้งสิ้น 36,040 คน (เรียนกับครูผู้นำฯ ไปแล้ว 22,959 คน กำลังเรียนอีก 13,081 คน)

เรามุ่งมั่นว่าในปี 2567 ไปจนถึง ปี 2569 เราจะคัดสรรครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 300 คน เพื่อเข้าถึงนักเรียน 100,000 คน ใน 175 โรงเรียน และเครือข่ายศิษย์เก่าจะเข้าถึงนักเรียนได้อีก 500,000 คน โดยเราวางเป้าหมายที่จะขยายการทำงานผ่าน 3 เสาหลัก

  1. Grow เติบโตและขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของเราผ่านการเข้าถึงเด็กนักเรียนให้ได้มากขึ้น โดยเรามีแผนจะขยายการทำงานไปสู่ชั้นประถม จากที่ปัจจุบันครูผู้นำฯ สอนเพียงระดับมัธยมต้น
  2. Accelerate เร่งขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของศิษย์เก่าฯ ผ่านการสร้างความร่วมมือในกลุ่มศิษย์เก่า แทนการทำงานแบบต่างคนต่างทำหรือการเริ่มจากศูนย์ เพื่อให้เกิดโครงการที่พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกได้รวดเร็วขึ้น
  3. Imprint มุ่งมั่นผลักดันการศึกษาและเป็นแบบอย่างให้ชุมชน ด้วยการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและเครื่องมือต่างๆ ที่เราได้พัฒนามาตลอดระยะเวลาหลายปี ผ่านการทำงานของครูผู้นำฯ และศิษย์เก่าฯ
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 “ ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต ตอนเรียนม. 2 ทางโรงเรียนได้รับครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เข้ามาเป็นครั้งแรก คือครูแขและครูกอล์ฟ ผมจึงได้รู้จักมูลนิธินี้ผ่านครูทั้งสองคน จากที่เคยออกไปเล่นช่วงเวลาพัก ก็ใช้เวลาว่างตรงนั้นมาพูดคุยกับครูแขครูกอล์ฟแทน เพราะได้แลกเปลี่ยนและมีกิจกรรมให้ทำตลอด ทำให้ผมได้ซึมซับกระบวนการ วิธีการทำงาน และการใช้ชีวิตแบบใหม่ ๆ กระบวนการสอนของครูแข เป็นการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือทำและเรียนรู้ไปด้วยตัวเอง จากที่ไม่ชอบวิชานี้ กลายเป็นพวกผมชอบวิชาภาษาอังกฤษกันมาก ๆ ตอนม. 3 ครูแขได้ให้นักเรียนไปลองสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับพวกผมเพราะตามปกติแล้วแทบไม่มีโอกาสได้เจอคนต่างชาติเลย และพี่แขพี่กอล์ฟไม่ได้สอนแค่คำศัพท์เท่านั้น แต่ยังสอนทักษะการตัดวิดีโอคลิปอีกด้วย แนวคิดของครูแขครูกอล์ฟที่ผมยังจดจำมาใช้จนวันนี้ คือการให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสการเรียนรู้เท่ากัน ” น้องนรากร แก้วมณี (บีท) นักเรียนโรงเรียนวัดสังฆราชาที่ได้เรียนกับ ‘ครูแข’ ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ ‘ครูกอล์ฟ’ ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ปัจจุบัน บีทกำลังสอบใบประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูและฝึกสอนที่โรงเรียนวัดสังฆราชา

 “ ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อย ๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริง ๆ เด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน อย่างครูแพรวมีประสบการณ์ชีวิตเยอะ ก็จะไม่ได้เน้นสอนแต่วิชาการอย่างเดียว ในด้านการจัดการเรียนการสอน ก็มีลำดับชัดเจน มีการนำเข้าสู่บทเรียน และใช้สื่อหลากหลาย เช่น บางครั้งครูแพรวก็ใช้คลิปเสียงมาสอนภาษา กระบวนการเรียนการสอนใช้เทคโนโลยี เป็นประโยชน์และทันสมัย เราไม่ได้เป็นครูพี่เลี้ยงที่สอนเขาอย่างเดียว หลายครั้งเราก็ได้เรียนรู้จากเขาด้วย ” ครูกัญญา พุทธินาม (ตู่) ครูภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านเจดีย์แม่ครัว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของครูแพรว ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9

 “ พี่รู้จักโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ช่วงปี 63-64 ได้รู้ว่าครูที่มาสอนมาในชื่อ ‘ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ พอได้ฟังคำนี้แล้วมันมีพลัง อย่างมีน้องคนนึงจบจากรัฐศาสตร์ แล้วมาสอนคณิตศาสตร์ ตอนแรกเราคิดว่าวิชานี้จะเป็นข้อจำกัดของเด็กสายนี้ไหม ที่เขาไม่ถนัด แต่น้องเขาก็มุ่งมั่น ทำได้ดี พาทุกคนก้าวข้ามตรงจุดนี้ ทำให้เห็นว่าคนคนหนึ่งสามารถเรียนรู้ได้มากมาย ถ้าเราใส่ใจ นอกจากครูทีชจะเป็นผู้นำทางวิชาการแล้ว เขายังทำให้เด็กยอมรับ และกับครูพี่เลี้ยงก็ทำงานกันได้โอเค การร่วมงานกับเพื่อนครูก็ดี และเขาก็มีบ้านพักอยู่ใกล้โรงเรียน เมื่อมีกิจกรรมต่างๆในชุมชนก็มาร่วม อย่างกิจกรรมลงทะเบียนแอพ Thai D ของกระทรวงมหาดไทย มีการมาใช้พื้นที่ของโรงเรียน ให้นักเรียนและคนในพื้นที่มาลงทะเบียนใช้บัตรประชาชนผ่านทางออนไลน์ ครูทีชก็มาช่วยลงทะเบียนให้นักเรียน มีครูคนหนึ่งสอนคณิตศาสตร์ เขาก็ใช้ทุนชุมชนมาเกื้อกูลการศึกษาพานักเรียนไปเรียนที่สถานประกอบการทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แล้วสอนวางแผนทางการเงิน การลงทุน เจ้าของกิจการเองก็ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กในชุมชน เราอยากให้เด็กมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน โดยใช้ทุกวิชาเป็นสื่อพาเด็กไปถึงจุดนั้น นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เด็กมุ่งมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะของศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตัวครูผู้นำ พอได้เข้ามาก็มีโอกาสพัฒนาตนเอง เป็นผู้นำนำการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา แต่เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จึงสามารถส่งต่อไปถึงเด็กได้ ครูแต่ละคนมีแนวคิด เจตคติที่ดี จึงพาจนเองเข้ามาสู่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น จังหวัดปราจีนบุรี

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าดำเนินการสรรหาและคัดเลือกครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำนวนสำหรับปี 2666 จำนวน 80 คน 1 ครั้ง 100,000.00
2 ค่าจัดอบรมและสนับสนุนครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 140 คน (ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นปี 65 จำนวน 60 คน,ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นปี 66 จำนวน 80 คน − การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน − การอบรมของคณะครุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ − การอบรมพัฒนาความเป็นผู้นำ − การอบรมและการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่พัฒนาความเป็นผู้นำ 1 ครั้ง 200,000.00
3 ค่าจัดกิจกรรม เก็บและแบ่งปันข้อมูล เพื่อผลักดันให้ศิษย์เก่ายังทำงานเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่การศึกษา แม้จะจบโครงการไปแล้ว 251 คน 100,000.00
4 ฝ่ายบริหารองค์กรภายใน - ค่าประชาสัมพันธ์และ Marketing - ค่าบริหารทรัพยากรบุคคล -ค่าจัดเก็บและประเมินผลข้อมูล 20 คน 100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
500,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
50,000.00

ยอดระดมทุน
550,000.00