project ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

Stylist for the blind

ผลิตสื่อทางเสียงเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและเสริมสร้างความมั่นใจจากภายในให้กับผู้พิการทางสายตา เพื่อให้ผู้พิการทางสายตามีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายในสังคม และนำไปสู่ความมั่นใจทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งความมั่นใจที่มาจากภายใน และความมั่นใจด้วยรูปลักษณ์ภายนอก

ระยะเวลาโครงการ 29 พ.ย. 2564 ถึง 03 เม.ย. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

24,954 บาท

เป้าหมาย

22,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 113%
จำนวนผู้บริจาค 34

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

จัดกิจกรรมเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตา 30 คน

20 เมษายน 2022

จัดกิจกรรมการสัมมนาเกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตาทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนี้

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 1 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “พูดถึงจุดอ่อนยังไงให้ไม่ดูเป็น Loser” โดย นายอนุรักษ์ ปฐมลิขิตกาญจน์ ในวันที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้พิการผู้พิการทางสายตา เรื่อง “เหตุผลของการไม่มั่นใจ ไม่กล้าออกนอกคอมฟอร์ตโซน” โดย นางสาวณุชนาฎ โต๊ะดี นักวิชาการศึกษา (ผู้ชำนาญการพิเศษ) ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 3 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “จิตวิทยากับการสร้างความมั่นใจ” โดย ผศ.ดร.อาดัม นีละไพจิตร ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 4 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “ทักษะการเข้าสังคม และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี” โดย นางสาวกมลชนก บุญเกตุวัฒนากุล ในวันที่ 5 มีนาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

โดยการจัดกิจกรรมสัมมนาทั้ง 4 ครั้งจะเป็นการจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างโปรแกรม Zoom meeting ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นผู้พิการทางสายตาทั้งเพศหญิงและเพศชาย อายุ 25-35 ปี จำนวน 30 คน สิ่งที่ได้รับหรือการเกิดความเปลี่ยนแปลงคือผู้พิการทางสายตามีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายในสังคม และนำไปสู่ความมั่นใจทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งความมั่นใจที่มาจากภายในและความมั่นใจด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและผู้พิการทางสายตาสามารถที่จะเรียนรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โดยยอดบริจาคที่ได้รับสนับสนุนจากการระดมทุนผ่านทางเว็บไซต์เทใจ ช่วยส่งผลให้ผู้พิการทางสายตาทั้งเพศหญิงและเพศชาย ช่วงอายุ 25-35 ปี จำนวน 30 คน มีความเข้าใจในเรื่องของการเสริมสร้างความมั่นใจที่มากขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ มีการเรียนรู้ถึงเทคนิค วิธีการ รวมถึงจิตวิทยาที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตา ผ่านการจัดกิจกรรมการสัมมนาออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากการใช้ชีวิตของผู้พิการทางสายตาต้องมีการต่อรองกับภาพเหมารวมเชิงลบที่สังคมสร้างขึ้นอยู่เสมอ จึงมักทำให้ผู้พิการทางสายตาเกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิตไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การจัดโครงการดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่สร้างความมั่นใจทั้งจากภายในและภายนอกให้กับผู้พิการทางสายตาเท่านั้นแต่ยังทำให้คนปกติทั่วไปมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตาว่าแท้จริงแล้วผู้พิการทางสายตาก็สามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนทั่วไปเพียงแต่อาจจะมีวิธีการใช้ชีวิตที่ต่างจากคนปกติทั่วไป

ภาพประกอบ

ภาพกิจกรรมการจัดกิจกรรมสัมมนาเรื่อง “จิตวิทยากับการสร้างความมั่นใจ”

ภาพของตอบแทนสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

ภาพดำเนินการแพคของตอบแทนให้กับผู้เข้าร่วมการสัมมนา

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ผลิตสื่อทางเสียงเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและเสริมสร้างความมั่นใจจากภายในให้กับผู้พิการทางสายตา เพื่อให้ผู้พิการทางสายตามีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายในสังคม และนำไปสู่ความมั่นใจทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งความมั่นใจที่มาจากภายใน และความมั่นใจด้วยรูปลักษณ์ภายนอก

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

    โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อผลิตสื่อให้ผู้พิการทางสายตามีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายในสังคม และนำไปสู่ความมั่นใจทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งความมั่นใจที่มาจากภายใน และความมั่นใจด้วยรูปลักษณ์ภายนอก และเพื่อศึกษาหาแนวทางการผลิตสื่อที่จะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวมไปถึงเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถที่จะเรียนรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาการเข้าถึงสื่อของผู้พิการทางสายตา จึงต้องการที่จะผลิตสื่อเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและเสริมสร้างความมั่นใจจากภายในให้กับผู้พิการทางสายตาในรูปแบบของสื่อทางเสียง โดยจะมีการเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ (Facebook Fan page) เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงสื่อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างความมั่นใจได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการทางสายตาที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25-35 ปี เนื่องจากในช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยทำงาน ต้องมีการพบปะกับผู้คนหลากหลายกลุ่มและมีการเข้าสังคมที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความคาดหวังจากสังคมเนื่องจากผู้พิการทางสายตาหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้มีสายตาปกติ ดังนั้นจึงมีเรื่องของความคาดหวังจากสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ในเรื่องบุคลิกภาพภายนอก ความเหมาะสมรวมไปถึงกาลเทศะ โดยคณะผู้จัดทำได้วางแผนที่จะผลิตสื่อในรูปแบบของ Podcast และมีการใช้ Audio Description (AD) หรือเสียงบรรยายภาพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับผู้พิการทางสายตาเข้ามาร่วมด้วย เพื่อเพิ่มอรรถรสและสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นให้กับผู้พิการทางสายตา โดยเนื้อหาของสื่อจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและการเสริมสร้างความมั่นใจจากภายในให้กับผู้พิการทางสายตา

    โครงการ Stylist for the blind จะจัดการสัมนาเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตา โดยจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาเป็นวิทยากรรับเชิญพิเศษ ซึ่งจะมีการจัดทั้งหมด 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีเนื้อหาที่เเตกต่างกันไปเพื่อให้สามารถครอบคลุมประเด็นได้หลากหลาย ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาเกิดความสะดวกสบายไม่ต้องเดินทาง และคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน นอกจากนี้ทางคณะผู้จัดทำจะมีการบันทึกคลิปวิดีโอการสัมนาที่จัดขึ้นในทุกครั้งเผยแพร่ลงใน Facebook Fan Page ของโครงการเอง เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาคนอื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมสัมนาสามารถที่จะได้รับประโยชน์ตรงนี้เช่นเดียวกัน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.มีการประชุมเพื่อกำหนดและวางแผนการทำงาน พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและศึกษางานวิจัย/โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทางสายตา

2.ประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ได้มีการติดต่อหน่วยงานสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย , สมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) และศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้พิการทางสายตาในเรื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพ

3.จัดตั้ง Facebook Fanpage เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่พอดแคสต์

4.ติดต่อผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพในด้านต่างๆมาเป็นวิทยากรรับเชิญ เพื่อจัดการสัมนาให้กับผู้พิการทางสายตา

5.เผยแพร่พอดแคสต์(คลิปวิดีโอการสัมนา)ลงใน Facebook Fanpage เดือนละ 1 ครั้ง(โดยจะมี Content ย่อยแต่ละเดือน)

6.มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลผ่านทาง Google Form ที่คณะผู้จัดทำจะมีการสำรวจผลตอบรับจากผู้พิการทางสายตาที่เข้าร่วมสัมนาและผู้พิการทางสายตาที่รับชมผ่านทางสื่อทางเสียงอย่างพอดแคสต์


ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.นางสาวณัฐญา ขลิบเคลื่อน

2.นางสาวชฏาพร หรั่งเล็ก

3.นางสาวณัฏฐธิดา สีระพันธ์

4.นางสาวภัคพร เจนบุญเรือง

5.นางสาวณัทมน ส่งชื่น

6.นายโชคตระการ ฤกษ์ชินบุตร

จัดกิจกรรมเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตา 30 คน

20 เมษายน 2022

จัดกิจกรรมการสัมมนาเกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตาทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนี้

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 1 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “พูดถึงจุดอ่อนยังไงให้ไม่ดูเป็น Loser” โดย นายอนุรักษ์ ปฐมลิขิตกาญจน์ ในวันที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้พิการผู้พิการทางสายตา เรื่อง “เหตุผลของการไม่มั่นใจ ไม่กล้าออกนอกคอมฟอร์ตโซน” โดย นางสาวณุชนาฎ โต๊ะดี นักวิชาการศึกษา (ผู้ชำนาญการพิเศษ) ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 3 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “จิตวิทยากับการสร้างความมั่นใจ” โดย ผศ.ดร.อาดัม นีละไพจิตร ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 4 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “ทักษะการเข้าสังคม และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี” โดย นางสาวกมลชนก บุญเกตุวัฒนากุล ในวันที่ 5 มีนาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น.

โดยการจัดกิจกรรมสัมมนาทั้ง 4 ครั้งจะเป็นการจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างโปรแกรม Zoom meeting ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นผู้พิการทางสายตาทั้งเพศหญิงและเพศชาย อายุ 25-35 ปี จำนวน 30 คน สิ่งที่ได้รับหรือการเกิดความเปลี่ยนแปลงคือผู้พิการทางสายตามีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายในสังคม และนำไปสู่ความมั่นใจทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งความมั่นใจที่มาจากภายในและความมั่นใจด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและผู้พิการทางสายตาสามารถที่จะเรียนรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โดยยอดบริจาคที่ได้รับสนับสนุนจากการระดมทุนผ่านทางเว็บไซต์เทใจ ช่วยส่งผลให้ผู้พิการทางสายตาทั้งเพศหญิงและเพศชาย ช่วงอายุ 25-35 ปี จำนวน 30 คน มีความเข้าใจในเรื่องของการเสริมสร้างความมั่นใจที่มากขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ มีการเรียนรู้ถึงเทคนิค วิธีการ รวมถึงจิตวิทยาที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตา ผ่านการจัดกิจกรรมการสัมมนาออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากการใช้ชีวิตของผู้พิการทางสายตาต้องมีการต่อรองกับภาพเหมารวมเชิงลบที่สังคมสร้างขึ้นอยู่เสมอ จึงมักทำให้ผู้พิการทางสายตาเกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิตไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การจัดโครงการดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่สร้างความมั่นใจทั้งจากภายในและภายนอกให้กับผู้พิการทางสายตาเท่านั้นแต่ยังทำให้คนปกติทั่วไปมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตาว่าแท้จริงแล้วผู้พิการทางสายตาก็สามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนทั่วไปเพียงแต่อาจจะมีวิธีการใช้ชีวิตที่ต่างจากคนปกติทั่วไป

ภาพประกอบ

ภาพกิจกรรมการจัดกิจกรรมสัมมนาเรื่อง “จิตวิทยากับการสร้างความมั่นใจ”

ภาพของตอบแทนสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

ภาพดำเนินการแพคของตอบแทนให้กับผู้เข้าร่วมการสัมมนา

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าวิทยากรรับเชิญ ท่านละ 2,500 บาท 4 ท่าน 10,000.00
2 ค่าของตอบแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ชิ้นละประมาณ 50 บาท 200 คน 10,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
20,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
2,000.00

ยอดระดมทุน
22,000.00