ผู้ชายกำลังสร้างงานศิลปะ

#ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง

ฟื้นอาชีพ คืนสันติ แก่ชาวใต้

เงินบริจาคของคุณสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ ร่วมกับ UNDP ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และสร้างสันติในจังหวัดชายแดนใต้

เป้าหมายการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

การขจัดความยากจน

การขจัดความยากจน

การลดความเหลื่อมล้ำ

การลดความเหลื่อมล้ำ

สันติภาพ ความยุติธรรม และองค์กรที่มั่นคง

สันติภาพ ความยุติธรรม และองค์กรที่มั่นคง

ไอคอนรูปมือ

ปัญหาภาคใต้เรื้อรังมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี

หญิงหม้ายกว่า 3,000 คน รวมทั้งเด็กกำพร้าอีกกว่า 5,000
คนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ทำงานโดยตรงในพื้นที่ร่วมกับทุกฝ่าย ไม่ว่าชาวบ้านในพื้นที่ นักวิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะเด็ก สตรี และผู้พิการ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี 2554

โดยมุ่งเน้นการสร้างความสมานฉันท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เพื่อให้ผู้คนในชุมชนที่มีความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม ได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน จากความร่วมมือส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ นำไปสู่การลดความหวาดระแวงและความร่วมมือด้านอื่นๆเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาในชุมชน

“นับแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา UNDP ได้ร่วมแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ มีผู้คนหลายพันได้รับประโยชน์”

ผู้ชายกำลังสร้างงานศิลปะ

"น้ำตาลโตนด" เชื่อมชุมชนสองวัฒนธรรม เสริมรายได้และสร้างสันติ

สองหมู่บ้าน บ้านทุ่ง และบ้านหัวคลอง ใน ต.ท่าข้าม อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี เป็นชุมชนพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกัน UNDP ได้สนับสนุนชุมชนทั้งสองชุมชนให้มีการพัฒนาน้ำตาลโตนดในชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน UNDP ได้เชิญนักวิชาการมาอบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดที่เคยผลิตในรูปแบบน้ำเชี่อมเป็นน้ำตาลก้อนและน้ำตาลทรายซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานกว่ารสชาติดีกว่า และจำหน่ายได้ราคาสูงกว่า นับเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่ประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ พื้นที่ชุมชนที่ใช้ร่วมกันในการผลิตยังเป็นประโยชน์ในการเป็นพื้นที่พบปะระหว่างสมาชิกกลุ่ม รวมถึงคนอื่นๆในชุมชน ทำให้ความหวาดระแวงระหว่างกันลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการในชุมชนร่วมกับ UNDP

ผู้ชายกำลังสร้างงานศิลปะ

เปลี่ยนน้ำมันทอดเหลือทิ้ง เป็นรอยยิ้มของผู้พิการ

อ.รามัน จ.ยะลา คือ หนึ่งในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง ความไม่สงบส่งผลให้การประกอบอาชีพดำเนินไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการ UNDP ได้ลงพื้นที่และพบว่าในพื้นที่มีน้ำมันทอดเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาสร้างมูลค่าได้ และยังมีผู้ประกอบการที่พร้อมรับซื้ออยู่แล้ว

UNDP สนับสนุนกลุ่มผู้พิการ โดยร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ไบโอ ดีเซล จ.ยะลา รับซื้อน้ำมันทอดอาหารใช้แล้วเพื่อนำไปผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ได้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการรับซื้อน้ำมันใช้แล้ว และจัดตั้งจุดรับซื้อในชุมชนต่างๆ โดยผู้พิการจะได้รายได้จากการจำหน่ายน้ำมันใช้แล้วให้แก่โรงงาน

โครงการไบโอดีเซลเพื่อผู้พิการ ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้พิการให้มีรายได้ ยังช่วยให้ผู้พิการได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งน้ำมันทอดอาหารลงบนถนนหนทางและแม่น้ำลำคลอง และการอนุรักษ์พลังงานด้วยการผลิตน้ำมันไปโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว

ผู้ชายกำลังสร้างงานศิลปะ

กูจิงลือปะ เปลี่ยนพื้นที่ขัดแย้ง เป็นแหล่งผลิตสินค้า

กูจิงลือเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ใน ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส หมู่บ้านแห่งนี้ไม่เป็นที่รู้จักของคนภายนอกมากนัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งทำให้ชุมชนเหมือนถูกปิดตาย ไม่มีพ่อค้าคนกลางที่ไหนกล้าเข้าไปรับซื้อผลไม้ ชาวบ้านต่างก็ไม่กล้าออกไปทำสวนและกรีดยาง สวนผลไม้หลายสิบไร่บนเขาก็ถูกปล่อยให้รกเป็นป่าไป

ความหวาดกลัว ความหวาดระแวงระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ส่งผลให้ การให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก UNDP จึงร่วมมือกับนักวิชาการของมหาวิทยาลัยและเครือข่ายผู้หญิงในพื้นที่ จัดอบรมการฝึกอาชีพต่างๆ จนในที่สุดกลุ่ม กูจิงลือปะ ตัดสินใจจะผลิตข้าวเกรียบ ซึ่งสามารถผลิตข้าวเกรียบส่งขาย และยังพัฒนาสูตรข้าวเกรียบอย่างหลากหลายและเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะ ข้าวเกรียบสมุนไพร ที่ส่งวางจำหน่ายตามร้านค้าชุมชนหลายแห่ง และส่งขายไปยังประเทศมาเลเซียปัจจุบัน

ผู้ชายกำลังสร้างงานศิลปะ

มะพร้าวคั่ว สร้างอาชีพในชุมชน ไม่ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ไปทำงาน

UNDP ได้สนับสนุนกลุ่มสตรีในหมู่บ้านเฑียรยา อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งเห็นพ้องกันในการสร้างอาชีพในชุมชน ไม่จำเป็นต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ไปทำงานและยังสามารถดูแลครอบครัวได้อีกด้วย โดยเลือกที่จะผลิตมะพร้าวคั่ว ด้วยเห็นว่ามะพร้าวคั่วนิยมใช้ประกอบอาหารอย่างแพร่หลายในภาคใต้และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งมะพร้าวยังเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วไปในชุมชน ปัจจุบันการผลิตมะพร้าวคั่วของกลุ่มสตรีบ้านเฑียรยาได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อมกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

สถานที่ผลิตมะพร้าวคั่วของกลุ่มสตรีหมู่บ้านเฑียรยาไม่ใช่เป็นแค่เพียงสถานที่ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของกลุ่มเท่านั้น ยังเป็นสถานที่พบปะ ให้กำลังใจระหว่างสมาชิก และชาวบ้านในชุมชน และที่สำคัญ เป็นสถานที่วิ่งเล่นของเด็กๆ ที่แม่ๆ คั่วมะพร้าวไป ดูลูกๆนั่งเล่นวิ่งเล่น กันไป