project ผู้พิการและผู้ป่วย

ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรค SLE ด้วยแนวทางการแพทย์แบบแม่นยำ

สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาการรักษาโรค SLE ในผู้ป่วยชาวไทยด้วยนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย ส่งผลให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาได้อย่างแม่นยำตรงกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร (หน่วยโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)

ยอดบริจาคขณะนี้

271,874 บาท

เป้าหมาย

550,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 49%
จำนวนผู้บริจาค 562

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ผลการทำวิจัยในการศึกษากลไกการเกิดโรค SLE

6 มกราคม 2022

จากการที่ได้ระดุมทุนทำให้โครงการมีเงินทุนเพียงพอต่อการใช้ทำวิจัยในการศึกษากลไกการเกิดโรค SLE จนสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับได้สำเร็จ จำนวน 1 ฉบับ (เอกสารแนบ) โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกกลุ่มย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ที่แสดงการตอบสนองอัตโนมัติต่อดีเอ็นเอแล้วส่งผลต่อพยาธิสภาพของโรค SLE ผู้วิจัยได้ตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัครที่ป่วยโรค SLE จำนวน 38 ราย จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จากนั้นนำไปวิเคราะห์หากลุ่มย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ด้วยวิธี Flow cytometry พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของ circulating double negative 2 (DN2) และ activated naïve (aNAV) B cells อย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรค SLE อีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนขึ้นของกลุ่มย่อยบีเซลล์และ DNA autoreactive B cells พบเป็นสัดส่วนที่สูงในกลุ่ม aNAV B cells โดยมีการแสดงออกที่สูงของโมเลกุลบนผิวเซลล์ (CD69 และ CD86) ยิ่งไปกว่านั้นความถี่ของ aNAV B cells ในจำนวนรวมของบีเซลล์ยังสัมพันธ์ไปกับ SLEDAI-2 K scores ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งบอกอาการของโรค SLE

 โดยสรุปจากผลการศึกษา aNAV B cells ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของบีเซลล์อาจจะมีบทบาทในการเกิดพยาธิสภาพของโรค SLE อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลไกอื่นๆต่อไป

ผลงานในวารสารระดับนานาชาติที่ถูกตีพิมพ์

The expansion of activated naive DNA 2021
https://drive.google.com/file/d/1K1MJPBzgy-L-DItEbgpOBpKf6cSr1GgH/view?usp=sharing

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

โรค SLE เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด มักพบในคนอายุน้อยโดยเฉพาะผู้หญิง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย สำหรับการรักษาโรคนี้ต้องใช้เวลานานนับสิบปี และยังไม่มีการรักษาใดในปัจจุบันที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้ เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรค SLE มีความซับซ้อน ประกอบด้วยหลายปัจจัย ทั้งด้านพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอที่สามารถบ่งบอกได้ว่ากลไกการเกิดโรคแบบใดจะตอบสนองกับยาตัวใด ทำให้การวางแผนการรักษาทำได้ยากมาก ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาการรักษาโรค SLE ในผู้ป่วยชาวไทยด้วยนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย ส่งผลให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาได้อย่างแม่นยำตรงกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

โรค SLE หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด มักพบในคนอายุน้อยโดยเฉพาะผู้หญิง ในช่วงอายุระหว่าง 15 - 45 ปี ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นสูญเสียอวัยวะและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากร่างกายเกิดการทำลายเนื้อเยื่อผ่านกระบวนการทางภูมิคุ้มกันในหลายอวัยวะ เช่น ข้อ ไต ผิวหนัง ปอด

การเกิดโรค SLE พบได้ทั่วโลก มีความชุกของโรคสูงในคนเชื้อชาติแถบแอฟริกา อเมริกา ลาตินอเมริกา รวมถึงเอเชียด้วย โดยมีความชุกของโรคอยู่ระหว่าง 20 ถึง 70 ราย ต่อประชาการ 100,000 คน ในประเทศไทยพบความชุกของโรค SLE อยู่ที่ 40 รายต่อประชากร 100,000 ราย เราสามารถพบผู้ป่วยโรค SLE ได้ทุกเพศทุกวัย และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 คน ถึงแม้ว่าในผู้ชายจะพบได้น้อยกว่าผู้หญิงแต่มักจะมีอาการหนัก ซึ่งอาการและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบของผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกันออกไป มักพบผลกระทบใน 4 ระบบ คือ ผิวหนัง ข้อ ไต และเลือด โดยอาการที่เกิดขึ้นมีได้ทั้งเบาบางและร้ายแรงขึ้นกับบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากโรค ที่ผ่านมายังพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการหายไปนานกว่า 30 ปี โดยไม่ได้รับประทานยา แต่ในที่สุดก็กลับมาพบแพทย์และกลับมามีอาการหนักอีกครั้ง

สำหรับการรักษาโรคนี้ต้องใช้เวลานานนับสิบปี ดังนั้นผู้ป่วยต้องมีความเข้าใจโรค และให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างมาก ที่สำคัญยังไม่มีการรักษาใดในปัจจุบันที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้ เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรค SLE มีความซับซ้อน ประกอบด้วยหลายปัจจัย ทั้งด้านพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอที่สามารถบ่งบอกได้ว่ากลไกการเกิดโรคแบบใดจะตอบสนองกับการรักษาแบบใด ทำให้การวางแผนการรักษาทำได้ยากมาก ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาการรักษาโรค SLE ในผู้ป่วยชาวไทยด้วยนวัตกรรมใหม่เฉพาะบุคคล ส่งผลให้แพทย์สามารถเลือกใช้วิธีการรักษาได้อย่างแม่นยำตรงกับผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามโรค SLE ไม่ใช่โรคที่พบบ่อยนักและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้น้อยมาก การศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ในประเทศไทยจึงยังมีไม่เพียงพอและยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แม้ว่าจะเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาในด้านนี้ยังต้องการการสนับสนุนอีกมากจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อช่วยผู้ป่วยโรค SLE ให้ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ออกแบบการทดลองและวางแผนงานวิจัยร่วมกับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรค SLE เพื่อให้เกิดความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของการส่งสัญญาณผ่านกรดนิวครีอิคและอินเตอร์เฟอร์รอนกับกลไกการเกิดโรค SLE ทั้งในโมเดลสัตว์ทดลองและผู้ป่วย  SLE
  2. จัดเตรียมอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ และโมเดลสัตว์ทดลองให้เพียงพอต่อการศึกษาวิจัย
  3. ดำเนินการวิจัยในโมเดลสัตว์ทดลอง
  4. ดำเนินการวิจัยในผู้ป่วยโรค SLE
  5. วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

หน่วยโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยรศ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล

ผลการทำวิจัยในการศึกษากลไกการเกิดโรค SLE

6 มกราคม 2022

จากการที่ได้ระดุมทุนทำให้โครงการมีเงินทุนเพียงพอต่อการใช้ทำวิจัยในการศึกษากลไกการเกิดโรค SLE จนสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับได้สำเร็จ จำนวน 1 ฉบับ (เอกสารแนบ) โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกกลุ่มย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ที่แสดงการตอบสนองอัตโนมัติต่อดีเอ็นเอแล้วส่งผลต่อพยาธิสภาพของโรค SLE ผู้วิจัยได้ตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัครที่ป่วยโรค SLE จำนวน 38 ราย จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จากนั้นนำไปวิเคราะห์หากลุ่มย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ด้วยวิธี Flow cytometry พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของ circulating double negative 2 (DN2) และ activated naïve (aNAV) B cells อย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรค SLE อีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนขึ้นของกลุ่มย่อยบีเซลล์และ DNA autoreactive B cells พบเป็นสัดส่วนที่สูงในกลุ่ม aNAV B cells โดยมีการแสดงออกที่สูงของโมเลกุลบนผิวเซลล์ (CD69 และ CD86) ยิ่งไปกว่านั้นความถี่ของ aNAV B cells ในจำนวนรวมของบีเซลล์ยังสัมพันธ์ไปกับ SLEDAI-2 K scores ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งบอกอาการของโรค SLE

 โดยสรุปจากผลการศึกษา aNAV B cells ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของบีเซลล์อาจจะมีบทบาทในการเกิดพยาธิสภาพของโรค SLE อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลไกอื่นๆต่อไป

ผลงานในวารสารระดับนานาชาติที่ถูกตีพิมพ์

The expansion of activated naive DNA 2021
https://drive.google.com/file/d/1K1MJPBzgy-L-DItEbgpOBpKf6cSr1GgH/view?usp=sharing

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจ้างผู้ช่วยนักวิจัย วุฒิป.โท 1 คน 30,000 บาท/เดือน 6 เดือน 180,000.00
2 ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยทางห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา 200 บาท/ตัวอย่าง 350 ตัวอย่าง 70,000.00
3 ค่าใช้จ่ายวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย: Antibody for Flow Cytometry 1 ชุด 100,000.00
4 ค่าใช้จ่ายวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย: Cytokine Kit 1 ชุด 50,000.00
5 ค่าใช้จ่ายวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย: Cell Isolation Kit 1 ชุด 100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
500,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
50,000.00

ยอดระดมทุน
550,000.00