cover_1
รายเดือน

กองทุนรักษาเต่าบาดเจ็บ

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สัตว์

เงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือค่าผ่าตัด อาหารและยา อาการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุให้กับเต่าที่บาดเจ็บจำนวน600ตัว

ระยะเวลาระดมทุน

2 ส.ค. 2561 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

LIFE BELOW WATERPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สัตว์
600ตัว

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จะมีเต่า ตะพาบน้ำ เจ็บป่วยที่ไม่มีเจ้าของเข้ามารับการรักษาเป็นจำนวนประมาณ 300-500 ตัวต่อปี

ช่วยเหลือค่าผ่าตัด อาหารและยา เต่าและตะพาบไทยในธรรมชาติ ที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุให้กลับมามีสุขภาพที่ดี หายจากความเจ็บป่วย และได้รับการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง

 

 

ปัญหาสังคม

เคสส่วนใหญ่ที่เราพบจะมีทั้ง....
เต่าทะเลเกยตื้นเพราะกินขยะ กินพลาสติก
เต่ากินเหรียญ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ 
เต่าที่โดนรถทับกระดองแตก

การดูแลเต่าและตะพาบน้ำแต่ละตัวจะแตกต่างกันตามอาการที่พบเจอ รวมถึงระยะเวลาที่ป่วย หรือความรุนแรงที่ประสบมา

เต่าบางรายที่มีอาการหนักและจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดในการรักษา มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5,000 บาทต่อเคส ถ้าเคสหนักๆ จะอยู่ที่ 20,000 บาท  โดยแต่ละเคสที่ทำการช่วยเหลือแบบเร่งด่วนแล้ว

สิ่งที่ต้องทำต่อคือการรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อที่จะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ หรือสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชนเมือง มีอาหารในธรรมชาติเพียงพอและเหมาะสม และเป็นแหล่งอาศัยท้องถิ่นของเต่าและตะพาบชนิดนั้นๆ เพื่อคืนชีวิตและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งเป็นการอนุรักษ์พันธุ์เต่าไทยในประเทศไทยให้มีชีวิตเเละจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นนอกเหนือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว ยังมีค่าอาหารและยาประมาณ 500 บาทต่อเดือนต่อตัวที่ต้องการใช้ดูแล

ทางศูนย์จัดตั้งกองทุนช่วยชีวิตสัตว์น้ำ โดยเปิดเป็นกองทุนรับบริจาคจากผู้ใจดีที่ให้ความเมตตากับเต่าป่วยและพิการ แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนเต่าที่เข้ามารักษาในโครงการ เนื่องจากการรักษาเต่าแต่ละตัว

โดยเฉพาะเต่าที่ประสบอุบัติเหตุนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษานานกว่าจะหายเป็นปกติ ร่วมกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ จำนวนมากในการรักษา ซึ่งทางโครงการยังขาดแคลนและต้องการทุนในการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • การช่วยเหลือและการรักษาเต่าและตะพาบท้องถิ่นของไทย จะมีทั้ง เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ รวมถึงเต่าทะเล ที่มีอาการเจ็บป่วยจากการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ถูกคุกคามจากการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ที่ได้รับอันตรายหรือประสบอุบัติเหตุ ในหลายกรณี เช่น ถูกรถทับ ติดเบ็ดหรืออุปกรณ์ประมงต่าง ๆ โดนมนุษย์หรือสัตว์อื่นทำร้าย และเต่าที่พิการไม่สามารถทำการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้
  • ส่วนเต่าทะเลที่เข้ามารักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ส่วนหนึ่งเป็นเต่าธรรมชาติที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเต่าที่ลักลอบเลี้ยงมาแบบผิดวิธีแล้วนำมาบริจาค รวมถึงเต่าทะเลเกยตื้นที่กินขยะทะเลต่างๆ พวกพลาสติก เหรียญ สิ่งแปลกปลอม เต่าและตะพาบ 

ประโยชน์ของโครงการ  

สนับสนุนค่ารักษา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่าอาหารเพื่อช่วยเหลือชีวิตเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเลของไทยที่เจ็บป่วย หรือ ประสบอุบัติเหตุ ให้ได้มียาและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเพียงพอในการรักษาพยาบาล เป็นการช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์เต่าและตะพาบน้ำไทย เช่น เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบไทย รวมถึงเต่าทะเล ให้อยู่ในธรรมชาติต่อไปเพื่อสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ และไม่ตัดโอกาสการในมีชีวิตของเต่าที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเหล่านั้นในการที่จะได้กลับมามีสุขภาพที่ดีและดำรงชีวิตต่อไปอีกครั้ง

วิธีการแก้ปัญหา

  1. จัดตั้งกองทุนช่วยชีวิตสัตว์น้ำ โดยเปิดรับบริจาคจากผู้ใจดีเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดหาใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ จำนวนมากในการรักษา ซึ่งทางโครงการยังขาดแคลนและต้องการทุนในการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง

  2. จัดสรรเงินที่ได้มาสนับสนุนค่าอาหารในการดูแลเต่าบาดเจ็บ

แผนการดำเนินงาน

  1. เจ้าหน้าที่ได้รับการติดต่อจากบุคคลที่พบเจอเต่าประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย สัตวแพทย์จะอธิบายวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนที่จะนำเต่าเข้ามารับการรักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

  2. สัตวแพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ทำการตรวจและรักษา เช่นทำแผล ให้ยา ให้สารน้ำ ป้อนอาหาร การผ่าตัด และบางตัวอาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดพิเศษต่างๆ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น x-ray , ultrasound, endoscopes, CT scan ร่วมด้วย

  3. เต่าที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุมจะมีระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในส่วนของกระดอง การรักษาจะใช้เวลา 1 เดือน - 1 ปี

  4. พิจารณาปล่อยสู่ธรรมชาติในเขตพื้นที่อนุรักษ์ หรือเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่มีอาหารเพียงพอกับสัตว์ เพื่อป้องกันมิให้ได้รับอันตรายอีก กรณีเต่าที่โดนรถทับในตำแหน่งสำคัญทำให้เกิดความพิการ หรือโดนตัดบริเวณใบหน้าและดวงตา ส่งผลให้หากินเองในธรรมชาติไม่ได้ ทางโครงการจะต้องให้การดูแลไปตลอดชีวิต

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่ารักษา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่าอาหารเพื่อช่วยเหลือชีวิตเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเลของไทย

1รายการ3,000,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด3,000,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)300,000.00
ยอดระดมทุน
3,300,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon