project เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง

จิตวิทยาบำบัดและกิจกรรมบำบัด เพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว

ช่วยเหลือเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงจำนวน 45 คน ให้เด็กได้รับการบำบัดด้วยนักจิตวิทยาและกิจกรรมบำบัด

ระยะเวลาโครงการ 01 ก.ค. 2564 ถึง 31 ธ.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านพักเด็กเรดิออน2), ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (บ้านพักเด็กเรดิออน1)

ยอดบริจาคขณะนี้

433,638 บาท

เป้าหมาย

433,538 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 320

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ย.- ธ.ค. 65

3 กุมภาพันธ์ 2023

กิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มูลนิธิมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

1. ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 09.00 -16.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 4-6 คนต่ออาทิตย์ ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) หลังจากนักจิตวิทยาได้พูดคุยกับเด็ก จะนำข้อมูลของเด็กๆ ทุกคนมาพูดคุย ปรึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องกับเด็ก สร้างความเข้าใจในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อหาทางช่วยเด็กๆ

2. วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก และ 25 ธันวาคม 2565 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้ออกไปช่วยเหลือชุมชนโดยการจัดบูธเฟรนช์ฟรายส์ทอด เพื่อเสริมสร้างให้เด็กเข้าใจสังคม มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเห็นคุณค่าของการให้

3. วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 และวันเสาร์ที่3 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)

ภาพกิจกรรม


ภาพ: เป็นภาพที่เด็กได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) 


ภาพ: เป็นภาพที่เด็กๆ กำลังจัดเฟรนช์ฟรายส์เป็นชุดๆใส่แก้วกระดาษ เพื่อแจกให้ผู้คนในชุมชน 


ภาพ: ผู้มาร่วมกิจกรรมกำลังต่อแถวรับเฟรนช์ฟรายส์ที่เด็กได้จัดเตรียมไว้


ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก


ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก


ภาพ: กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็กสู่การเอาชนะใจตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย (ธรรมชาติบำบัด) 

ความประทับใจของเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม


เจี๊ยะ 
“ส่วนตัวของผม ผมมีความสุขครับที่ได้ไปใช้เวลากับธรรมชาติ และได้ทำในสิ่งที่ชอบ มันทำให้ผมรู้สึกผ่อนคลาย ได้ใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนๆ นอกจากนี้ทำให้ลืมกับที่เครียดมาทั้งวันได้”


หึ 
“การได้ไปกีฬาสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก ทำให้ผมได้สร้างความสัมพันธ์ ทำความรู้จักผู้อื่น และรู้สึกประทับใจที่เราเป็นกันเองไม่แบ่งแยกกัน และก็สนุก และได้ช่วยคุมดูแลน้องๆด้วยครับ”


ไหมเล่า
“รู้สึกประทับใจที่นักจิตวิทยารับฟังหนู ไม่ตัดสินหนูในทางที่ผิด และมันทำให้หนูได้เรียนรู้จักการไม่ตัดสินอะไรก่อนด้วย”

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลง
เด็กและเยาวชนในโครงการที่อาศัยในพื้นที่หางดงจังหวัดเชียงใหม่ เด็กอายุ 12-21 ปี 22 คน
  • เด็กๆ 60 % มีความกระตือรือร้นในการตื่นนอน และมีความสดใส ยิ้มมากกว่าก่อน
  • หลังจากเด็กเข้าพบนักจิตวิทยา เด็กๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางคนที่ไม่เคยเข้าหาพี่เลี้ยง เริ่มเข้าหาพี่เลี้ยง เริ่มเปิดใจกับพี่เลี้ยง พูดคุยกับพี่เลี้ยง และเริ่มไว้ใจผู้อื่น
  • เด็กๆ บางคนที่ไม่ชอบการออกกำลังกาย เริ่มหันมาออกกำลังกาย และมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพสำหรับปี 2023
  • เด็กๆ มีวินัยในการใช้โทรศัพท์มากขึ้น มีการควบคุมตัวเองในการใช้สื่อออนไลน์ คืนโทรศัพท์ตรงเวลา ไม่แอบเล่นโทรศัพท์ในเวลาห้ามเล่น

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ช่วยเหลือเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงจำนวน 45 คน ให้เด็กได้รับการบำบัดด้วยนักจิตวิทยาและกิจกรรมบำบัด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

มูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล ทำงานกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสมานานกว่า 14 ปี โดยเริ่มต้นจากกลุ่มเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ ทารุณกรรม ถูกค้ามนุษย์ ตลอดระยะเวลาช่วยเหลือ เราพบว่ายังมีเด็กอีกมากที่ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีจำนวนมากขึ้นทุกปี  จึงริเริ่มโครงการ “street kids” เด็กข้างถนน โดยได้นำเด็กกลุ่มเสี่ยงออกจากพื้นที่ที่ถูกทำร้าย ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ให้แก่เด็กในพื้นที่หางดง จังหวัดเชียงใหม่ และชุมชนเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์

จากการลงพื้นที่ชุมชนเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าเป็นพื้นที่ประสบปัญหายาเสพติดสูง ส่งผลให้ชุมชนเผชิญปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัว ความรุนแรง ความยากจนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เด็กหลายคนตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้

มูลนิธิฯจึงทำการคัดเลือกเด็กในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 6 เงื่อนไข เพื่อเข้าช่วยเหลือ  ดังนี้ 

  1. เด็กมีความเสี่ยงต่อยาเสพติด (ตัวเด็ก คนในครอบครัวและสิ่งแวดล้อม)
  2. เด็กถูกทารุนกรรมทางกายและใจ (จากคนในครอบครัว)
  3. เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ (จากคนในครอบครัว พิจารณารับเด็กเข้ามาอยู่ในมูลนิธิฯ โดยทันที)
  4. เด็กถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนใส่ใจ ดูแล เรื่องความเป็นอยู่ของเด็ก
  5. ครอบครัวมีปัญหาเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ครอบครัวแตกแยก
  6. ครอบครัวยากจน และเสี่ยงต่อการขาดปัจจัยขั้นพื้นฐาน (ด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัย การศึกษา


ปัจจุบันมีเด็กในโครงการจำนวน 45 คน อายุตั้งแต่ 5 ขวบ-18 ปี โดยแบ่งเป็นเด็กอายุ 5-12 ปี ( STREETKIDS 1 ) จำนวน 22 คน อาศัยอยู่ในตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเด็กอายุ 13-21 ปี ( STREETKIDS 2 ) อาศัยอยู่ในอำเภอหางดง ซึ่งเด็กที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มาจากการย้ายเด็กขึ้นมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเด็กๆที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นกลุ่มคนชาติพันธุ์ในพื้นที่ประเทศไทยที่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนหรือร่วมแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการถูกคุกคามทางเพศ 

จากการดำเนินการคัดเลือกเด็ก พบว่าเด็กในโครงการ 1 ใน 3 ถูกคุกคามทางเพศจากคนในครอบครัวและคนในชุมชน 2 ใน 3 ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทอดทิ้ง และถูกค้ามนุษย์ ส่งผลให้เด็กบางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดสภาวะโรคซึมเศร้า หวาดกลัว และรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เด็กจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลด้านอาหารและการบำบัดจากนักจิตวิทยาเด็กโดยตรง โดยใช้กิจกรรม ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ดูแลควบคู่ไปกับชีวิตความเป็นอยู่เพื่อแยกเด็กให้ออกจากสภาพแวดล้อมเสี่ยง และสร้างชีวิตใหม่ให้กับเขาเพื่อออกไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

วิธีการดำเนินโครงการ

  1. คัดเลือกเด็กจากกลุ่มเสี่ยงและนำเด็กเหล่านี้ออกจากครอบครัวเข้ามาอยู่ในบ้านพักเด็กเรดิออน เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงและการถูกคุกคามทางเพศที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำ
  2. ให้เด็กปรับตัวกับสังคมใหม่ โดยมีผู้จัดการบ้านเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก และนักจิตวิทยาเด็ก คอยพูดคุย ดูแล และเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
  3. เมื่อเด็กสามารถปรับตัวได้ ทำการลงทะเบียนเด็กเข้าโครงการ เพื่อดูแลเป็นเด็กประจำโครงการ และเข้ารับจิตวิทยาบำบัดเป็นประจำ


การรับเด็กเข้าโครงการฯ ยังรับสมัครอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เนื่องจากยังมีเด็กในชุมชนเข็กน้อยและพื้นที่ใกล้เคียงที่ยังไม่ได้รับโอกาสช่วยเหลือ และโครงการSTREETKIDS ยังคงดำเนินการต่อไปทุกปีเช่นกัน แต่เนื่องด้วยมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล ยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับคนไทยมากนัก ประกอบกับการระบาดของโควิด -19 ทำให้มูลนิธิฯ ไม่ได้รับการบริจาคทุนทรัพย์เพื่อดำเนินโครงการได้เท่าที่ควร  ทำให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความยากลำบากในตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯจึงมุ่งหวังว่า การระดมทุนในครั้งนี้จะช่วยเหลือเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงจำนวน 45 คน ให้เด็กเข้ารับการบำบัดกับนักจิตวิทยา เพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับพวกเขาเเละออกไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ดำเนินการวางแผนบทเรียนกิจกรรมบำบัดให้เหมาะสมกับเด็กในโครงการ โดยตั้งบนพื้นฐานกับการวัดผลจากเกณฑ์การประเมินด้านจิตสังคมของวัยรุ่น HEEADSSS(S) Assessment คือการประเมินด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของเด็ก เพื่อกำหนดแนวทางในการบำบัดให้เหมาะสมกับเด็กในโครงการ ซึ่งกิจกรรมบำบัดที่นำมาใช้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
         1.1. ด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ กิจกรรมด้านนี้จะพัฒนาเด็กในการใช้ร่างกายทุกส่วนให้เหมาะสมตามวัย การเสริมสร้างทักษะการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การทำงานสอดประสานกันของอวัยวะส่วนต่าง ๆ การบูรณาการความรู้จากวิชาเรียน มาสู่การละเล่น รวมถึงการเสริมสร้างทักษะทางสังคม โดยกิจกรรมที่ดำเนินการ คือ การเล่นกีฬานันทนาการ การเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ และการเล่นผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงการออกนอกสถานที่เพื่อการเรียนรู้
         1.2. ด้านดนตรีบำบัด กิจกรรมด้านนี้จะพัฒนาเด็กในการพัฒนาสมาธิ พัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกัลวล กระตุ้นการรับรู้ และพัฒนาเจตคติในทางบวก โดยกิจกรรมที่ดำเนินการ คือ การร่วมกันรับฟังดนตรี การมีส่วนร่วมโดยร่างกายหรือการบรรยาย รวมถึงการสร้างเสียงดนตรีด้วยตนเอง
         1.3. ด้านศิลปะบำบัด กิจกรรมด้านนี้จะพัฒนาเด็กด้านอารมณ์ ความคิด การเสริมสร้างจินตนาการ เกิดการต่อยอดความรู้สึก และปลดปล่อยอารมณ์ทางลบ รวมถึงเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยในจิตใจ โดยกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ คือ การให้เด็กถ่ายทอดอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจผ่านวิธีการทางศิลปะหลากหลายรูปแบบ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงามหรือหลักเกณฑ์ทางศิลปะ
2. ดำเนินการซื้ออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกิจกรรมบำบัดตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
        2.1 จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ได้แก่ อุปกรณ์ออกกำลังกาย จำนวนประเภทละ 2 ชุด คือ ฟุตบอล แบดมินตัน และตะกร้อ
        2.2 จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ได้แก่ ลำโพงเคลื่อนที่ 1 เครื่อง กีต้าร์ 2 ตัว อูคูเลเล่ 4 ตัว คีย์บอร์ด 1 ตัว
        2.3 จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมด้านศิลปะบำบัด ได้แก่ สีน้ำ 20 ชุด สีไม้ 20 ชุด แผ่นผ้า 20 ผืน กระดาษวาดเขียน 20 ชุด กระดาษปรู้ฟ 5 ชุด
        2.4 จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการบำบัดเด็ก ได้แก่ คอมพิวเตอร์นักจิตวิทยา จำนวน 1 เครื่อง
        2.5 จัดงบประมาณสำหรับการดำเนินทางออกนอกสถานที่เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าธรรมเนียมสถานที่ จำนวน 2 ครั้ง 
3. จัดเก็บข้อมูลจากเด็กก่อนเข้ารับการบำบัดผ่านแบบทดสอบ 5 ส่วนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
        3.1 แบบทดสอบการติดเกม (Game Addiction Screening Test: GAST)
        3.2 แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ)
        3.3 แบบทดสอบเพื่อวัดระดับการติดบุหรี่ (สารนิโคติน) (Fagerstrom Test for Nicotine Dependence: FTND)
        3.4 ความฉลาดทางอารมณ์ตามช่วงอายุ (Emotional Quotient Test)
        3.5 ดัชนีความสุข (Happiness Indicator)
4. จัดตารางสำหรับการบำบัดระหว่างเด็กและนักจิตวิทยาเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งเริ่มดำเนินการทำกิจกรรมบำบัดแบบกลุ่ม
        4.1 การบำบัดระหว่างเด็กและนักจิตวิทยารายบุคคล นักจิตวิทยาจะใช้เวลากับเด็กเป็นรายบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพ สำรวจปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ไข รวมถึงพัฒนาแนวทางการใช้ชีวิตของเด็ก ซึ่งเด็ก 1 คน จะได้เข้ารับบำบัดจำนวน 2 ครั้งต่อเดือน
        4.2 การจัดกิจกรรมบำบัดกลุ่ม จะดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ การใช้ดนตรีบำบัด และศิลปะบำบัดในวันเสาร์ สัปดาห์เว้นสัปดาห์
5. จัดเก็บข้อมูลหลังจากเด็กที่เข้ารับการบำบัดผ่านแบบทดสอบ 5 ส่วน โดยใช้เกณฑ์การชี้วัดชุดเดียวกันกับขั้นตอนก่อนเข้ารับการบำบัด และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบโดยใช้วิธีทางสถิติ Paired – Sample t-test ไปวิเคราะห์ผลเป็นรายกลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กหลังการเข้ารับการบำบัดผ่านกิจกรรมแต่ละด้าน
6. วิเคราะห์ผลการเข้ารับบำบัด เพื่อทราบผลชี้วัดด้านสถิติและใช้ข้อมูลเป็นแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการบำบัดเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงปรับเปลี่ยนแนวทางการเสริมสร้างพัฒนาการเพื่อให้มีความเหมาะสมเป็นรายบุคคลอย่างเฉพาะเจาะจงต่อไป

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

  1. Organisation in Special Consultative Status with the United Nations Economic& Social Council (ECOSOC)
  2. Lee Foundation (Singapore)
  3. International Indigenous Women's Fund (IWF)
  4. Health Expeditions International
  5. Wesley Methodist Church (Singapore)
  6. Project LIGHT (Singapore)
  7. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ (Thailand)
  8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ (Thailand)

เริ่มแล้ว!! กิจกรรมบำบัด เพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัว

3 พฤษภาคม 2022

เริ่มดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

  1. ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-17.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 21 คน กิจกรรมศิลปะบำบัด ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ การเข้าสังคม และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก
  2. ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 5 ขวบ – 21 ปี จำนวน 45 คน ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงกับนักจิตวิทยาเด็กคนละ 1 ชั่วโมง โดยนักจิตวิทยาและผู้จัดการโครงการทำการบันทึกทัศนคติ อารมณ์ และจิตใจเด็ก พร้อมประเมินความเสี่ยงขอสภาวะซึมเศร้า (หากบันทึกสมบูรณ์และรวมส่งการเปลี่ยนแปลงของเด็กในโครงการอีกครั้ง)
  3. วันจันทร์ที่ 4 – 8 เมษายน 2565 ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 21 คน เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ สอดแทรกความสามัคคี การปรับตัวเข้าหาผู้อื่น และการเรียนรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เด็กได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้จักคุณค่าของตนเอง ความสามารถของตนเอง ผ่านกิจกรรมย่อย อาทิ การแข่งขันทำอาหาร การแข่งขัน COVER DANCE การแข่งกีฬาสามัญ (กีฬาบำบัด)

สัมภาษณ์น้องๆที่ได้ร่วมกิจกรรม

น.ส.ดี้ เข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะบำบัด
“หนูวาดภาพเก่งขึ้นเพราะการเริ่มทำศิลปะบำบัด หนูชอบตัวเองที่ได้วาดรูป รู้สึกอะไรก็วาดเข้าไป เหมือนได้ระบายอารมณ์ และได้ส่งผลงานขอบคุณคนที่เขาสนับสนุนหนูด้วย ”

นายไพโรจน์  เข้าร่วมกิจกรรมด้านจิตวิทยาบำบัดรายบุคคล
“ผมว่าเด็กสมัยนี้ติดโซเชียล เพื่อน มากกว่าเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรา เวลามีอะไรหนักใจก็ไประบายกับเพื่อน ปรึกษาคนข้างนอก ถ้าเพื่อนดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีก็พากันไปเสีย ผมว่าการมีพี่เขาที่ให้เวลาเราได้คุย เขาให้คำปรึกษาที่ดี และปลอดภัยสำหรับผมและน้องๆ”

นายปัญญาดี เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสี 
“ผมชอบมากครับ 2 ปีแล้วที่โควิดทำให้ไม่ได้ทำอะไรที่อยากทำ อยากออกไปไหนก็ไม่ได้ กีฬาสีทำให้เด็กในบ้านมีความสุขอีกครั้ง ผมชอบเล่นกีฬามากครับ”

ภาพกิจกรรม


ความเจ็บปวดและบาดแผลเหมือนน้ำที่เราแบก แต่เมื่อเราได้รู้ว่าทุกคนก็มีบาดแผลของตนเองที่ต้องแบก และได้แชร์ความเจ็บปวด ความรู้สึกเจ็บปวดนั้นก็เบาขึ้น  


นักจิตวิทยา-พี่เลี้ยง ร่วมกับเด็กเล่นกิจกรรมกีฬาสีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ และสร้างความเป็นเพื่อนและส่วนหนึ่งของกันและกัน


กิจกรรมกีฬาบำบัด- เด็กออกจากโซนของตนเองและร่วมใช้ชีวิตกับผู้อื่นมากขึ้น


ผู้จัดการ-พี่เลี้ยง พาน้องๆทัศนศึกษานอกสถานที่ น้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


ศิลปะบำบัด – เด็กเริ่มค้นหาประเภทงานศิลปะที่ตนเองชื่นชม โดยผลงานสร้างสรรค์ในหัวข้อ “ชีวิตของ ฉัน” ฉันได้เริ่มใช้โทนสี ลานเส้น ผสมผสานเพื่อสร้างภาพ พี่เลี้ยงได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเด็กเพื่อประเมินสุขภาพจิตของเด็กขั้นพื้นฐานตามแนวทางจิตวิทยาและการเยียวยาบาดแผลภายใน

กิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ค.- ต.ค. 65

2 พฤศจิกายน 2022

โครงการได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม 2565 กิจกรรมที่จัดให้กลุ่มเด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

1. ทุกวันเสาร์อาทิตย์แรกและอาทิตย์ของเดือน เวลา 09.00 -11.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 22 คน กิจกรรม Big cleaning day ให้งานบ้านเยียวยาจิตใจ (จิตวิทยาของการเก็บกวาดและตกแต่งบ้าน)

2. ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ช่วงเวลา 16.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านกิจกรรม ONE ON ONE เป็นกิจกรรมที่ให้คำปรึกษากับเด็ก ผ่านทางการสำรวจ 5 ด้านหลักๆ คือ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ ด้านสังคม (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)

 โดยกิจกรรมนี้จะมีการแบ่งเด็กออกเป็นสามกลุ่มตามจำนวนนักจิตวิทยา ซึ่งแต่ละคนจะมีการนัดเพื่อพูดคุยกับเด็กตามตาราง การพูดคุยจะมีแบบฟอร์มให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงใน 5 ด้าน หากทำการพูดคุยเรียบร้อยนักจิตวิทยาจะมาพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเด็กและหาทางช่วยเด็กในด้านที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ

3. วันจันทร์ที่ 4 และ 10 ตุลาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)

ความประทับใจจากเด็กที่ร่วมกิจกรรม

นายไกรวิชญ์  “ได้ปรึกษาในสิ่งที่เรานั้นมีปัญหาและการเรียนต่างๆ และได้รับคำตอบที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างดี และได้ประทับใจคำถามแต่ละคำถาม และที่สำคัญคือได้ระบายความในใจให้กับพี่เลี้ยงได้รู้ในปัญหาของชีวิตเราครับ”

นายสมยศ “ผมได้รู้จักความอดทนเพื่อไปสู่เป้าหมายและรู้จักช่วยเหลือคนอื่น และได้เห็นถึงความมีนํ้าใจของเพื่อน ประทับใจที่มีผู้หญิงไปถึงด้วย ถึงจะน้อยเเต่ก็เห็นความพยายามที่เขาตั้งใจเดินทางจุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง ได้รับอากาศที่ดีลมเย็นสบาย การไม่ทิ้งให้คนใดคนหนึ่งเดินคนเดียวทุกคนต่างรอกันเเเละกันจัดการอาหารน้ำให้พอดีเพื่อว่าจะไม่หมดก่อนที่จะถึงเป้าหมาย”

น.ส.พัชราพร “ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีความถูกต้องในการทำงานมากขึ้น ได้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี ทำให้มีระเบียบวินัยมากขึ้นและเห็นถึงข้อเสียของความไม่เป็นระเบียบในบริเวณมูลนิธิ และการเป็นผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีในการทำความสะอาด รับฟังความคิดเห็นของพี่เลี้ยงและปรับปรุงในการทำBig cleaning day”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (นับแบบสะสมตั้งแต่เริ่มทำโครงการ)

ภาพประกอบ


คำบรรยายภาพ : เป็นภาพที่พี่เลี้ยงกำลังพูดคุยกับน้องผ่านกิจกรรม ONE ON ONE เป็นกิจกรรมที่ให้คำปรึกษากับเด็ก ผ่านทางการสำรวจ 5 ด้านหลักๆ คือ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ ด้านสังคม (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)


คำบรรยายภาพ : เด็กร่วมกิจกรรม Big cleaning day เพื่อสร้างความสามัคคี การมีระเบียบวินัย และการเป็นผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีเพื่อให้มีสังคม เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


คำบรรยายภาพ : กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็กสู่การเอาชนะใจตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย (ธรรมชาติบำบัด)

กิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ย.- ธ.ค. 65

3 กุมภาพันธ์ 2023

กิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มูลนิธิมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

1. ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 09.00 -16.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 4-6 คนต่ออาทิตย์ ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) หลังจากนักจิตวิทยาได้พูดคุยกับเด็ก จะนำข้อมูลของเด็กๆ ทุกคนมาพูดคุย ปรึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องกับเด็ก สร้างความเข้าใจในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อหาทางช่วยเด็กๆ

2. วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก และ 25 ธันวาคม 2565 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้ออกไปช่วยเหลือชุมชนโดยการจัดบูธเฟรนช์ฟรายส์ทอด เพื่อเสริมสร้างให้เด็กเข้าใจสังคม มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเห็นคุณค่าของการให้

3. วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 และวันเสาร์ที่3 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)

ภาพกิจกรรม


ภาพ: เป็นภาพที่เด็กได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) 


ภาพ: เป็นภาพที่เด็กๆ กำลังจัดเฟรนช์ฟรายส์เป็นชุดๆใส่แก้วกระดาษ เพื่อแจกให้ผู้คนในชุมชน 


ภาพ: ผู้มาร่วมกิจกรรมกำลังต่อแถวรับเฟรนช์ฟรายส์ที่เด็กได้จัดเตรียมไว้


ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก


ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก


ภาพ: กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็กสู่การเอาชนะใจตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย (ธรรมชาติบำบัด) 

ความประทับใจของเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม


เจี๊ยะ 
“ส่วนตัวของผม ผมมีความสุขครับที่ได้ไปใช้เวลากับธรรมชาติ และได้ทำในสิ่งที่ชอบ มันทำให้ผมรู้สึกผ่อนคลาย ได้ใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนๆ นอกจากนี้ทำให้ลืมกับที่เครียดมาทั้งวันได้”


หึ 
“การได้ไปกีฬาสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก ทำให้ผมได้สร้างความสัมพันธ์ ทำความรู้จักผู้อื่น และรู้สึกประทับใจที่เราเป็นกันเองไม่แบ่งแยกกัน และก็สนุก และได้ช่วยคุมดูแลน้องๆด้วยครับ”


ไหมเล่า
“รู้สึกประทับใจที่นักจิตวิทยารับฟังหนู ไม่ตัดสินหนูในทางที่ผิด และมันทำให้หนูได้เรียนรู้จักการไม่ตัดสินอะไรก่อนด้วย”

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลง
เด็กและเยาวชนในโครงการที่อาศัยในพื้นที่หางดงจังหวัดเชียงใหม่ เด็กอายุ 12-21 ปี 22 คน
  • เด็กๆ 60 % มีความกระตือรือร้นในการตื่นนอน และมีความสดใส ยิ้มมากกว่าก่อน
  • หลังจากเด็กเข้าพบนักจิตวิทยา เด็กๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางคนที่ไม่เคยเข้าหาพี่เลี้ยง เริ่มเข้าหาพี่เลี้ยง เริ่มเปิดใจกับพี่เลี้ยง พูดคุยกับพี่เลี้ยง และเริ่มไว้ใจผู้อื่น
  • เด็กๆ บางคนที่ไม่ชอบการออกกำลังกาย เริ่มหันมาออกกำลังกาย และมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพสำหรับปี 2023
  • เด็กๆ มีวินัยในการใช้โทรศัพท์มากขึ้น มีการควบคุมตัวเองในการใช้สื่อออนไลน์ คืนโทรศัพท์ตรงเวลา ไม่แอบเล่นโทรศัพท์ในเวลาห้ามเล่น

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 อุปกรณ์แบดมินตัน สำหรับเด็ก 45 คน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ชุดละ 700 บาท 4 ชุด 2,800.00
2 อุปกรณ์ฟุตบอล สำหรับเด็ก 45 คน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ชุดละ 500 บาท 2 ชุด 1,000.00
3 อุปกรณ์ตะกร้อ สำหรับเด็ก 45 คน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ชุดละ 250 บาท 2 ชุด 500.00
4 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ ชุดละ 5,000 บาท 2 ชุด 5,000.00
5 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีกีต้าร์ ชุดละ 1,800 บาท 2 ชุด 3,600.00
6 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีอูคูเลเล่ ชุดละ 600 บาท 4 ชุด 2,400.00
7 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีคีย์บอร์ด ชุดละ 5,900 บาท 1 ชุด 5,900.00
8 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์สีน้ำ ชุดละ 200 บาท 20 ชุด 4,000.00
9 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์สีไม้ ชุดละ 95 บาท 20 ชุด 1,900.00
10 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์แผ่นผ้า ชุดละ 145 บาท 20 ชุด 2,900.00
11 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์กระดาษวาดเขียน ชุดละ 185 บาท 20 ชุด 3,700.00
12 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์กระดาษวาดเขียน ชุดละ 85 บาท 5 ชุด 425.00
13 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการบำบัดเด็ก ได้แก่ คอมพิวเตอร์สำหรับนักจิตวิทยา เครื่องละ 15,000 บาท 1 เครื่อง 15,000.00
14 งบประมาณสำหรับการดำเนินทางออกนอกสถานที่เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าธรรมเนียมสถานที่ ครั้งละ 1,500 บาท 2 ครั้ง 3,000.00
15 ค่าจ้างนักจิตวิทยาเด็กจำนวน 2 คนเต็มเวลา สำหรับเด็ก 45 คน บำบัดจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง/เดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี (14,250บาท/เดือน/คน) 2 คน 342,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
394,125.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
39,412.50

ยอดระดมทุน
433,537.50