ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้

โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ กับ “ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” ว่ายน้ำข้าม 2 ฝั่งโขง (ไทย-ลาว)เพื่อระดมทุนจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลทั้งสองฝั่งโขง
ระยะเวลาโครงการ เดือนตุลาคม 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงพยาบาลนครพนมและโรงพยาบาลแขวงคำม่วน
ยอดบริจาคขณะนี้
87,704,642 บาทเป้าหมาย
16,944,400 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ประชุมการจัดหาเครื่องมือแพทย์แก่ 2 โรงพยาบาล
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ เทใจดอทคอมได้เดินทางไปจังหวัดนครพนมเพื่อร่วมหารือการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
เช้าวันแรกพวกเราได้เดินทางข้ามลาวไปโรงพยาบาลแขวงคำม่วน ประเทศไทย ทางผอ.โรงพยาบาลและคุณหมอได้พาชมห้องต่างๆ พบว่า
ห้องไอซียู ที่ปัจจุบันมีเตียงคนไข้ 10 เตียง แต่มีมอนิเตอร์เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพียงแค่ 3 เครื่อง อีกทั้งยังขาดแคลนเครื่องให้ยาและสารต่างๆ ที่สำคัญต่อการช่วยกันช่วยชีวิตคนไข้
จากนั้นคณะได้สำรวจความต้องการของแผนกเด็ก พบว่าเครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อดูแลเด็กใช้งานมากว่า 10 ปี ฟังค์ชั่นหลายอันเสีย รวมถึงตู้อบสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีเพียง 2-3 ตู้เท่านั้น ไม่นับตู้ให้ความอบอุ่นเด็ก รวมถึงเครื่อง NST ที่ใช้วัดอัตราการเต้นหัวใจของเด็กในครรภ์มารดาที่กำลังคลอดมีเพียง 1 เครื่องเท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดสวนทางกับอัตราการคลอดที่มีถึง 10-15 คนต่อวัน
ส่วนสถานกาารณ์ห้องผ่าตัด ที่รพ.ไม่มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรักษาโรคทางหู คอ จมูก รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดสมอง ทำให้คนไข้เหล่านี้ต้องถูกส่งไปโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ใกล้
การเยี่ยมเยียนวันแรกทำให้เราได้ข้อสรุปที่จะจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาล
ภาพประกอบ : เครื่องอัลตร้าซาวด์ของโรงพยาบาลแขวงคำม่วนท่ีจอภาพเสื่อมเนื่องจากใช้งานมากกว่า 20 ปี
ขณะที่วันถัดมา คณะได้เดินทางไปที่ โรงพยาบาลนครพนมเพื่อพบกับ นพ.ธนสิทธิ์ ไพรพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทีมแพทย์ ซึ่งหลังจากทีมแพทย์ไปประชุม ทำให้ได้ข้อสรุปว่า โรงพยาบาลต้องการทำห้องCATH LAB (Cardiac Catheterization Lab)หรือที่เรียกกันว่า ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการรักษาแบบนี้ไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก
โรงพยาบาลชี้ความสำคัญว่า ปี 2564และปี 2565 อันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของคนไข้ในโรงพยาบาล เกิดจากหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เมื่อเราไม่มีเครื่องมือทำให้โรงพยาบาลต้องตัดสินใจส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลอุดรธานี แต่ระยะเวลาการส่งต่อต้องใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง ซึ่งการใช้เวลาที่มาก ทำให้คนไข้เสียชีวิตค่อนข้างเยอะ
ภาพประกอบ : เส้นทางการส่งต่อคนไข้เพื่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น
โดยปีที่ผ่านมามีการส่งเคสไปฉีดสีมากกว่า 100 ราย ไม่นับโรงพยาบาลอื่นในพื้นที่อีกที่ต้องส่งต่อเช่นกัน ทว่าโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประเภท STEMI จำเป็นต้องส่งให้ไวที่สุด ไม่เช่นนั้นคนไข้ กล้ามเนื้อหัวใจตายไปเรื่อย เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หลายปีที่ผ่านคนไข้ที่นครพนม(ทั้งจังหวัด) เพิ่มมากขึ้น และอัตราตายเพิ่มสูงขึ้น ปีล่าสุด คือ ตาย 23 จาก 151 หรือประมาณ 15% ซึ่งเกินเกณฑ์ไปมาก เพราะเขตเคยตั้งเป้าว่าอัตราการเสียชีวิตไม่ควร 8%ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจจะทำให้อัตราการรักษาดีขึ้น เสียชีวิตน้อยลง และที่สำคัญโรคหัวใจนี้เป็นภาวะฉุกเฉิน สิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคครอบคลุมทำให้ประชาชนเข้าถึงอย่างถ้วนหน้า
ภาพประกอบ : สถิติการเสียชีวิต
จากนั้นผอ.ได้นำไปชมพื้นที่วางแผนการทำ CATH LAB (Cardiac Catheterization Lab) ซึ่งอยู่ในอาคารใหม่ที่กำลังเตรียมส่งมอบ
สำหรับขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาเครื่องซึ่งจะจัดส่งได้ภายในไตรมาสแรกของต้นปี 2566 และจะนำภาพมาฝากอีกครั้ง
อ่านต่อ »"ลานพญาศรีสัตตนาคราช มีรูปปั้นของพญานาคองค์ใหญ่
ซึ่งทั้งคนในพื้นที่และพี่น้องชาวลาวเคารพนับถือ
ผู้คนต่างมาสักการะขอพร ให้สำเร็จ ให้มั่งมี ให้แข็งแรง
แต่อยู่ๆก็มีคำถามขึ้นมาว่า…
นอกจากเรามาขอแล้ว เรา ‘ให้’ อะไรได้บ้าง ?ที่มาของคำถามนี้ ก่อตัวเป็นความตั้งใจ ที่จะสานต่อในภารกิจที่จะรวมพลังทุกคน
มาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อมอบให้โรงพยาบาลสองฝั่งโขง สู่การ “ให้” เพื่ออีกหลายชีวิต
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1.วันที่ 21 ตุลาคม 2565 รำบวงสรวง ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราช โดย live Facebook : เก็บรักษ์
2.วันที่ 22 ตุลาคม 2565จัดกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง โดย คุณภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่)
- ว่ายขาไปลานพญาศรีสัตตนาคราช - พระธาตุโคดตะบอง ระยะ 6 กิโลเมตร
- ว่ายขากลับหาดบ้านนาเมือง - ลานพญาศรีสัตตนาคราช ระยะ 4 กิโลเมตร
3.จัดหาเครื่องมือแพทย์เพื่อมอบให้โรงพยาบาลทั้งสองฝั่งโขง
ประโยชน์ของโครงการ
1. โรงพยาบาลมีเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้รักษาคนมากขึ้น
2. ประชาชนที่ใช้บริการได้เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น
ประชุมการจัดหาเครื่องมือแพทย์แก่ 2 โรงพยาบาล
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ เทใจดอทคอมได้เดินทางไปจังหวัดนครพนมเพื่อร่วมหารือการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
เช้าวันแรกพวกเราได้เดินทางข้ามลาวไปโรงพยาบาลแขวงคำม่วน ประเทศไทย ทางผอ.โรงพยาบาลและคุณหมอได้พาชมห้องต่างๆ พบว่า
ห้องไอซียู ที่ปัจจุบันมีเตียงคนไข้ 10 เตียง แต่มีมอนิเตอร์เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพียงแค่ 3 เครื่อง อีกทั้งยังขาดแคลนเครื่องให้ยาและสารต่างๆ ที่สำคัญต่อการช่วยกันช่วยชีวิตคนไข้
จากนั้นคณะได้สำรวจความต้องการของแผนกเด็ก พบว่าเครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อดูแลเด็กใช้งานมากว่า 10 ปี ฟังค์ชั่นหลายอันเสีย รวมถึงตู้อบสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีเพียง 2-3 ตู้เท่านั้น ไม่นับตู้ให้ความอบอุ่นเด็ก รวมถึงเครื่อง NST ที่ใช้วัดอัตราการเต้นหัวใจของเด็กในครรภ์มารดาที่กำลังคลอดมีเพียง 1 เครื่องเท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดสวนทางกับอัตราการคลอดที่มีถึง 10-15 คนต่อวัน
ส่วนสถานกาารณ์ห้องผ่าตัด ที่รพ.ไม่มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรักษาโรคทางหู คอ จมูก รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดสมอง ทำให้คนไข้เหล่านี้ต้องถูกส่งไปโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ใกล้
การเยี่ยมเยียนวันแรกทำให้เราได้ข้อสรุปที่จะจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาล
ภาพประกอบ : เครื่องอัลตร้าซาวด์ของโรงพยาบาลแขวงคำม่วนท่ีจอภาพเสื่อมเนื่องจากใช้งานมากกว่า 20 ปี
ขณะที่วันถัดมา คณะได้เดินทางไปที่ โรงพยาบาลนครพนมเพื่อพบกับ นพ.ธนสิทธิ์ ไพรพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทีมแพทย์ ซึ่งหลังจากทีมแพทย์ไปประชุม ทำให้ได้ข้อสรุปว่า โรงพยาบาลต้องการทำห้องCATH LAB (Cardiac Catheterization Lab)หรือที่เรียกกันว่า ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการรักษาแบบนี้ไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก
โรงพยาบาลชี้ความสำคัญว่า ปี 2564และปี 2565 อันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของคนไข้ในโรงพยาบาล เกิดจากหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เมื่อเราไม่มีเครื่องมือทำให้โรงพยาบาลต้องตัดสินใจส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลอุดรธานี แต่ระยะเวลาการส่งต่อต้องใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง ซึ่งการใช้เวลาที่มาก ทำให้คนไข้เสียชีวิตค่อนข้างเยอะ
ภาพประกอบ : เส้นทางการส่งต่อคนไข้เพื่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น
โดยปีที่ผ่านมามีการส่งเคสไปฉีดสีมากกว่า 100 ราย ไม่นับโรงพยาบาลอื่นในพื้นที่อีกที่ต้องส่งต่อเช่นกัน ทว่าโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประเภท STEMI จำเป็นต้องส่งให้ไวที่สุด ไม่เช่นนั้นคนไข้ กล้ามเนื้อหัวใจตายไปเรื่อย เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หลายปีที่ผ่านคนไข้ที่นครพนม(ทั้งจังหวัด) เพิ่มมากขึ้น และอัตราตายเพิ่มสูงขึ้น ปีล่าสุด คือ ตาย 23 จาก 151 หรือประมาณ 15% ซึ่งเกินเกณฑ์ไปมาก เพราะเขตเคยตั้งเป้าว่าอัตราการเสียชีวิตไม่ควร 8%ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจจะทำให้อัตราการรักษาดีขึ้น เสียชีวิตน้อยลง และที่สำคัญโรคหัวใจนี้เป็นภาวะฉุกเฉิน สิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคครอบคลุมทำให้ประชาชนเข้าถึงอย่างถ้วนหน้า
ภาพประกอบ : สถิติการเสียชีวิต
จากนั้นผอ.ได้นำไปชมพื้นที่วางแผนการทำ CATH LAB (Cardiac Catheterization Lab) ซึ่งอยู่ในอาคารใหม่ที่กำลังเตรียมส่งมอบ
สำหรับขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาเครื่องซึ่งจะจัดส่งได้ภายในไตรมาสแรกของต้นปี 2566 และจะนำภาพมาฝากอีกครั้ง
แผนการใช้เงิน
รายการสำหรับโรงพยาบาลนครพนม | ราคาต่อหน่วย | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1.เครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กชนิดความถี่สูงพร้อมชนิดควบคุมแรงดันและชนิดไม่สอดท่อ | 1,800,000 | 1 | 1,800,000.00 |
2.เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและแรงดันพร้อมระบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ เคลื่อนย้ายได้ | 450,000 | 4 | 1,800,000.00 |
3.เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและแรงดันพร้อมระบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ ขนาดกลาง | 800,000 | 2 | 1,600,000.00 |
4.เครื่องตรวจวิเคราะห์คลื่นหัวใจ | 150,000 | 2 | 300,000.00 |
5.เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือด | 55,000 | 10 | 550,000.00 |
6.เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญารชีพ monitor | 150,000 | 6 | 900,000.00 |
7.เตียงสำหรับผู้ป่วย ICU ควบคุมด้วยรีโมทคอลโทล | 55,000 | 10 | 550,000.00 |
8.เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิคพร้อมภาควัดออกซิเจนในเลือด | 330,000 | 1 | 330,000.00 |
9.อุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจชนิดใช้พลังงานจากเบตเตอรี่ (PAPR) | 48,700 | 6 | 292,000.00 |
10.เครื่องวัดความดันแบบ Manual 6 เครื่อง | 7,000 | 6 | 42,000.00 |
รายการสำหรับโรงพยาบาลแขวงคำม่วน | ราคาต่อหน่วย | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1.เครื่องอัลตร้าซาวน์ Diamentios | 1,400,000 | 1 | 1,400,000.00 |
2.เครื่องช่วยหายใจ | 750,000 | 2 | 1,500,000.00 |
3.เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญานชีพ monitor | 150,000 | 3 | 450,000.00 |
4.ตู้อบฆ่าเชื้อทางการแพทย์ | 850,000 | 1 | 850,000.00 |
5.เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิด | 1,300,000 | 2 | 2,600,000.00 |
6.ตู้อบสำหรับทารกแรกกิด | 550,000 | 2 | 1,100,000.00 |
7.เครื่องให้ความอบอุ่นทารกชนิดแผ่รังสี ( Radiant Warmer ) | 450,000 | 2 | 900,000.00 |
8.เครื่องกระตุกหัวใจ AED | 80,000 | 3 | 240,000.00 |