project ผู้พิการและผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม

ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้

โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ กับ “ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” ว่ายน้ำข้าม 2 ฝั่งโขง (ไทย-ลาว)เพื่อระดมทุนจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลทั้งสองฝั่งโขง

ระยะเวลาโครงการ เดือนตุลาคม 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงพยาบาลนครพนมและโรงพยาบาลแขวงคำม่วน

ยอดบริจาคขณะนี้

87,704,541 บาท

เป้าหมาย

16,944,400 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 518%
จำนวนผู้บริจาค 339,464

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สำเร็จแล้ว!!โตโน่ ภาคิน ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ให้โรงพยาบาลนครพนม จากโครงการ ONE MAN AND THE RIVER

12 มีนาคม 2024

สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีสำหรับโครงการ ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจจะส่งต่อความสุขและโอกาสในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ดีของประชาชน 2 ฝั่งโขงของ โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ศิลปินและนักแสดงชื่อดัง รวมกับผู้สนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องจากทุก ๆ ภาคส่วน หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขงไปเมื่อปี 2565

 



ล่าสุด วันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โตโน่ และทีมงานจากโครงการ ONE MAN AND THE RIVER ได้ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ให้กับโรงพยาบาลนครพนม จ.นครพนม พร้อมเปิดช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือดเรียบร้อย ส่วนด้านฝั่งลาวก็มีการจัดซื้อและมอบเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อใช้สำหรับการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วมากกว่า 12,000 ราย

นายนฤพนธ์ ยุทธเกษมสันต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม กล่าวว่าปัจจุบันมีการเปิดประเทศจะมีผู้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนมเพิ่มขึ้น จากทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวและภาคการแพทย์และสุขภาพ ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครพนมได้ดำเนินการรองรับผู้สูงอายุ มีประชากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์และสุขภาพในจังหวัดนครพนม ปี 2563 เราให้บริการผู้ป่วยนอก 320,210 ครั้ง ผู้ป่วยใน 27,992 ครั้ง คาดว่าการเปิดประเทศจะมีประชากรต่างชาติ เดินทางเข้ามารักษาจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันยังเป็นปัญหาหลักในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นการก่อตั้งศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงโรงพยาบาลนครพนม จะช่วยให้ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) ในจังหวัดนครพนม และพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างรวดเร็วตามมาตรฐานการรักษา เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพลภาพ โดยในส่วนของโรงพยาบาลนครพนมนั้นได้ดำเนินการยื่นเรื่องไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือนเมษายนและระหว่างที่เรากำลังพัฒนาบุคลากรให้ด้านนี้ให้มากขึ้น เราได้ทีมศูนย์หัวใจเพื่อแผ่นดินจากโรงพยาบาลสกลนครมาช่วยก่อน


ด้าน น.ส.เอด้า จิรไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการเทใจดอทคอม กล่าวว่า เทใจดอทคอมเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ระดมทุนและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วนให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการใช้งาน ความพร้อมของเจ้าหน้าที่และบุคคลากรทางการแพทย์ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามานำเสนอต่อคณะกรรมการกลาง โดยกระบวนการดังกล่าวทางองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น hand social enterprise ช่วยออกแบบกระบวนเพื่อให้การคัดเลือกโปร่งใสที่สุด และการทำศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงยังได้ความอนุเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจากที่ต่าง ๆ ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ผศ.นพ.ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจโรงพยาบาลทรวงอก น.พ.ธนพัฒน์ เลิศวิทยากำจร นายแพทย์ชำนาญการ อายุรกรรม (หัวใจ) ผศ.พ.ญ.รัตนา คำวิลัยศักดิ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ที่ได้ร่วมกันคัดเลือกเพื่อให้ได้เครื่องที่ดีและเหมาะสมกับโรงพยาบาลที่จะเป็นศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง

ด้าน โตโน่ ภาคิน เล่าว่า“พวกเราทั้งพี่น้องชาวไทยและพี่น้องชาว สปป.ลาวได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน โดยมูลค่าสิ่งของที่เราจัดซื้อไปทั้งหมดคิดเป็น 92,500,000 บาทวันนี้ถือเป็นวันที่ดีมาก ๆ อีกวันที่เรามาร่วมกันเป็นสักขีพยานในการปิดโครงการ เพื่อส่งสอบ “ศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง (Cath Lab)” ที่ใช้เวลากว่า 6 เดือนในการจัดตั้งศูนย์หัวใจแห่งนี้ เริ่มตั้งแต่การทำห้องสวนหัวใจใหม่ที่มีระบบความปลอดภัยจากอันตรายจากรังสีต่าง ๆ รวมถึงการทำระบบไฟฟ้าสำรองที่สามารถตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง แม้ระบบไฟฟ้าจะดับทั้งเมืองนครพนม

นอกจากนี้ยังมีการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ในห้องตรวจรักษาแบบครบครัน ได้แก่ เครื่องสวนหัวใจระนาบเดี่ยว, เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ, เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดดูเส้นเลือดหัวใจ, เครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด, เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้า, เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ พร้อมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เพื่อให้วิเคราะห์การตรวจรักษาได้อย่างแม่นยำ ปัจจุบันเราทราบว่าทั้งสองโรงพยาบาลได้ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ได้รับบริจาคจากโครงการหนึ่งคนว่ายหลายคนให้ อย่างคุ้มค่าเช่นโรงพยาบาลนครพนมมีการใช้งานเครื่องต่าง ๆ ทุกวัน ขณะที่โรงพยาบาลแขวงคำม่วนได้ใช้ตรวจรักษาคนลาวไปแล้วกว่า 12,000 คน

“ผมรู้สึกดีใจที่พวกเราได้มีส่วนร่วมทำให้พี่น้องชาวไทยและชาว สปป.ลาว ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เข้าถึงการตรวจรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีและทีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสุดท้ายนี้ผมขอบคุณพระคุณทุก ๆ ท่านที่มีส่วนในการทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงตามเจตนาที่ได้ตั้งใจไว้”


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด


"ลานพญาศรีสัตตนาคราช มีรูปปั้นของพญานาคองค์ใหญ่ 

ซึ่งทั้งคนในพื้นที่และพี่น้องชาวลาวเคารพนับถือ 

ผู้คนต่างมาสักการะขอพร ให้สำเร็จ ให้มั่งมี ให้แข็งแรง 

แต่อยู่ๆก็มีคำถามขึ้นมาว่า…

นอกจากเรามาขอแล้ว เรา ‘ให้’ อะไรได้บ้าง ?ที่มาของคำถามนี้ ก่อตัวเป็นความตั้งใจ ที่จะสานต่อในภารกิจที่จะรวมพลังทุกคน 

มาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อมอบให้โรงพยาบาลสองฝั่งโขง สู่การ “ให้” เพื่ออีกหลายชีวิต

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.วันที่ 21 ตุลาคม 2565 รำบวงสรวง ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราช โดย live Facebook : เก็บรักษ์

2.วันที่ 22 ตุลาคม 2565จัดกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง โดย คุณภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) 

  • ว่ายขาไปลานพญาศรีสัตตนาคราช - พระธาตุโคดตะบอง ระยะ 6 กิโลเมตร
  • ว่ายขากลับหาดบ้านนาเมือง - ลานพญาศรีสัตตนาคราช ระยะ 4 กิโลเมตร


3.จัดหาเครื่องมือแพทย์เพื่อมอบให้โรงพยาบาลทั้งสองฝั่งโขง



ประโยชน์ของโครงการ

1. โรงพยาบาลมีเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้รักษาคนมากขึ้น

2. ประชาชนที่ใช้บริการได้เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น


ประชุมการจัดหาเครื่องมือแพทย์แก่ 2 โรงพยาบาล

20 ธันวาคม 2022

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ เทใจดอทคอมได้เดินทางไปจังหวัดนครพนมเพื่อร่วมหารือการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์

เช้าวันแรกพวกเราได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปโรงพยาบาลแขวงคำม่วน ประเทศลาว ทางผอ.โรงพยาบาลและคุณหมอได้พาชมห้องต่างๆ พบว่า

ห้องไอซียู ที่ปัจจุบันมีเตียงคนไข้ 10 เตียง แต่มีมอนิเตอร์เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพียงแค่ 3 เครื่อง อีกทั้งยังขาดแคลนเครื่องให้ยาและสารต่างๆ ที่สำคัญต่อการช่วยกันช่วยชีวิตคนไข้ 


จากนั้นคณะได้สำรวจความต้องการของแผนกเด็ก พบว่าเครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อดูแลเด็กใช้งานมากว่า 10 ปี ฟังค์ชั่นหลายอันเสีย รวมถึงตู้อบสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีเพียง 2-3 ตู้เท่านั้น ไม่นับตู้ให้ความอบอุ่นเด็ก รวมถึงเครื่อง NST ที่ใช้วัดอัตราการเต้นหัวใจของเด็กในครรภ์มารดาที่กำลังคลอดมีเพียง 1 เครื่องเท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดสวนทางกับอัตราการคลอดที่มีถึง 10-15 คนต่อวัน

ส่วนสถานกาารณ์ห้องผ่าตัด ที่รพ.ไม่มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรักษาโรคทางหู คอ จมูก รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดสมอง ทำให้คนไข้เหล่านี้ต้องถูกส่งไปโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ใกล้ 

การเยี่ยมเยียนวันแรกทำให้เราได้ข้อสรุปที่จะจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาล



ภาพประกอบ : เครื่องอัลตร้าซาวด์ของโรงพยาบาลแขวงคำม่วนท่ีจอภาพเสื่อมเนื่องจากใช้งานมากกว่า 20 ปี 

ขณะที่วันถัดมา คณะได้เดินทางไปที่ โรงพยาบาลนครพนมเพื่อพบกับ นพ.ธนสิทธิ์ ไพรพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทีมแพทย์ ซึ่งหลังจากทีมแพทย์ไปประชุม ทำให้ได้ข้อสรุปว่า โรงพยาบาลต้องการทำห้องCATH LAB (Cardiac Catheterization Lab)หรือที่เรียกกันว่า ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการรักษาแบบนี้ไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก

โรงพยาบาลชี้ความสำคัญว่า ปี 2564และปี 2565 อันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของคนไข้ในโรงพยาบาล เกิดจากหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เมื่อเราไม่มีเครื่องมือทำให้โรงพยาบาลต้องตัดสินใจส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลอุดรธานี แต่ระยะเวลาการส่งต่อต้องใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง ซึ่งการใช้เวลาที่มาก ทำให้คนไข้เสียชีวิตค่อนข้างเยอะ 

ภาพประกอบ : เส้นทางการส่งต่อคนไข้เพื่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น

โดยปีที่ผ่านมามีการส่งเคสไปฉีดสีมากกว่า 100 ราย ไม่นับโรงพยาบาลอื่นในพื้นที่อีกที่ต้องส่งต่อเช่นกัน ทว่าโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประเภท STEMI จำเป็นต้องส่งให้ไวที่สุด ไม่เช่นนั้นคนไข้ กล้ามเนื้อหัวใจตายไปเรื่อย เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หลายปีที่ผ่านคนไข้ที่นครพนม(ทั้งจังหวัด) เพิ่มมากขึ้น และอัตราตายเพิ่มสูงขึ้น ปีล่าสุด คือ ตาย 23 จาก 151 หรือประมาณ 15% ซึ่งเกินเกณฑ์ไปมาก เพราะเขตเคยตั้งเป้าว่าอัตราการเสียชีวิตไม่ควร 8%ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจจะทำให้อัตราการรักษาดีขึ้น เสียชีวิตน้อยลง และที่สำคัญโรคหัวใจนี้เป็นภาวะฉุกเฉิน สิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคครอบคลุมทำให้ประชาชนเข้าถึงอย่างถ้วนหน้า


ภาพประกอบ : สถิติการเสียชีวิต

จากนั้นผอ.ได้นำไปชมพื้นที่วางแผนการทำ CATH LAB (Cardiac Catheterization Lab) ซึ่งอยู่ในอาคารใหม่ที่กำลังเตรียมส่งมอบ


สำหรับขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาเครื่องซึ่งจะจัดส่งได้ภายในไตรมาสแรกของต้นปี 2566 และจะนำภาพมาฝากอีกครั้ง

ส่งมอบเครื่องมือแพทย์รอบแรกถึงโรงพยาบาลแขวงคำม่วนแล้ว

21 มีนาคม 2023

เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม ทางโครงการONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ ได้ดำเนินการนำเครื่องมือแพทย์ข้ามจากฝั่งไทยไปส่งถึงมือคุณหมอและพยาบาล ณ โรงพยาบาลแขวงคำม่วนเรียบร้อยแล้ว และจัดให้มีกระบวนการเทรนนิ่งการใช้เครื่องมือต่างๆ เพราะหลายเครื่อง เช่น เครื่องช่วยหายใจ หรือเครื่องในแผนกกายภาพ ทางโรงพยาบาลยังไม่เคยมีใช้มาก่อน

สำหรับรายการเครื่องมือแพทย์รอบแรกประกอบด้วย 

1.เครื่องช่วยหายใจเด็ก ชนิด nCPAP จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจ หรือหลังจากถอดท่อช่วยหายใจทางหลอดลม เพื่อช่วยให้ทารกหายใจเหนื่อยน้องลง 

2.เครื่องเฝ้าติดตามสัญญาณชีพชนิดข้างเตียงผู้ป่วย Bedside Monitor ที่สามารถติดตามภาวะการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องเพื่อติดตั้งในห้อง ICU 

3.เครื่องกระตุกหัวใจ AED จำนวน 3 เครื่อง เพื่อติดตั้งในห้องฉุกเฉิน รถกู้ชีพ 

4.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติพร้อมขาตั้ง 12 เครื่อง เพื่อติดตามอาการคนไข้ในแผนกและวอร์ดผู้ป่วยในต่างๆ


5.เครื่องวัดความดันชนิดสอดแขนจำนวน 3 เครื่อง เพื่อใช้แผนก OPD , ผู้ป่วยฉุกเฉิน

6.เครื่องดึงคอ/ดึงหลัง (traction) จำนวน 1 เครื่อง สำหรับแผนกกายภาพบำบัดที่ปัญหาด้านกระดูกคอและสันหลัง

7.เครื่องอัลตร้าซาวด์สำหรับกายภาพ จำนวน 2 เครื่อง แผนกกายภาพบำบัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ

8.หม้อต้มแผ่นประคบร้อน จำนวน 1 เครื่อง(แผนกกายภาพบำบัด)


โดยอุปกรณ์หลายอย่าง เช่น เครื่องช่วยหายใจในเด็ก และกลุ่มอุปกรณ์กายภาพทางโรงพยาบาลไม่เคยมีมาก่อน ขณะที่อุปกรณ์หลายอย่าง เช่น Bedside monitor ก็ไปเสริมการทำงานในห้อง ICU ให้มีมากขึ้น 

พ.ญ.จิตตะยา สีมุกดา แพทย์ประจำห้อง NICU/PICU กล่าวว่า ห้อง NICU พูดง่ายๆ คือ ICU เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ห้อง NICU ในละแวกแขวงหรือจังหวัดคำม่วนมีเพียงเราที่เดียว ดังนั้นหากมีการคลอดเด็กตามสุขศาลา (ที่ไทยเรียกว่าอนามัย) หรือคลอดเอง และพบว่าเด็กไม่แข็งแรงจะถูกส่งมาที่เราทันที ทำให้ปี 2022 เราให้บริการเด็กในห้องนี้ไปกว่า 272 คน และมีอัตราการเสียชีวิต 26 คน

“การมีเครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กโดยเฉพาะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเราไม่มีเครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กมาก่อน โดยที่ผ่านมาเราต้องใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดสวมหน้ากากสำหรับเด็ก แต่ก็ทำให้เด็กเสี่ยงตาบอดจากอ๊อกซิเจนที่รอดผ่านแมสได้ เครื่องนี้จึงลดอันตรายได้มาก เราดีใจมากที่ได้เครื่องช่วยหายใจ 2 เครื่องมาช่วยชีวิตเด็ก”

อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งมอบครั้งนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีเครื่องมือแพทย์อีกมากที่กำลังเตรียมส่งมอบรอบสองที่คาดว่าจะส่งแล้วเสร็จไม่เกินเดือนพฤษภาคมนี้ เช่น เครื่องอัลต้าซาวด์ อุปกรณ์ผ่าตัดสมอง ชุดกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ และอื่นๆ


สรุปผลการจัดซื้อOne Man And The River ให้กับโรงพยาบาลทั้งสองโดยมูลค่าสิ่งของที่เราจัดซื้อไปทั้งหมดคิดเป็น 92.5 ล้านบาท

18 ตุลาคม 2023

จากการว่ายน้ำเมื่อปลายปี 2565 ของโครงการ One Man And The River #หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ ทำให้การระดมทุนได้เกินเป้าหมาย ต้นปีที่ผ่านมาคณะทำงานได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลทั้งสองโดยมูลค่าสิ่งของที่เราจัดซื้อไปทั้งหมดคิดเป็น 92.5 ล้านบาท

โรงพยาบาลนครพนม ได้เครื่องมือแพทย์ 11 รายการ ดังนี้

  1. ศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ 1 ศูนย์ ที่โครงการได้จัดซื้ออุปกรณ์ครบครัน ประกอบด้วย
    - เครื่องสวนหัวใจระนาบเดี่ยว
    - เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ 
    - เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดดูเส้นเลือดหัวใจ
    - เครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด 
    - เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้า
    - เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ
    - ระบบ IT ต่างๆ เพื่อให้การวิเคราะห์แม่นยำ 
    - งบประมาณเพื่อปรับปรุงสถานให้รองรับการใช้งาน
  2. เครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กชนิดความถี่สูงพร้อมชนิดควบคุมแรงดันและชนิดไม่สอดใส่ท่อ 1 เครื่อง สำหรับ PICU (ห้องไอซียูเด็ก)
  3. เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญานชีพ Monitor NIBP 1 เครื่อง สำหรับ PICU (ห้องไอซียูเด็ก)
  4. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและแรงดันพร้อมระบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ ขนาดกลาง จำนวน 5 เครื่อง
  5. เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 20 เครื่อง
  6. เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้า 3 Motor 12 เตียง
  7. เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้าชนิด 4 motor ชนิดชนิดที่ชั่งน้ำหนักได้ 2 เตียง
  8. เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้าชนิด 4 motor จำนวน 3 เตียง
  9. เตียงสำหรับผู้ป่วยควบคุมด้วยรีโมทคอลโทลที่นอนโฟม (Stroke) 12 เตียง
  10. เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ 1 เครื่อง
  11. เครื่องวัดความดันโลหิต 5 เครื่อง


โรงพยาบาลแขวงคำม่วน ได้เครื่องมือแพทย์ 20 รายการ ดังนี้

  1. เครื่องช่วยหายใจเด็ก ชนิด nCPAP จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจ หรือหลังจากถอดท่อช่วยหายใจทางหลอดลม เพื่อช่วยให้ทารกหายใจเหนื่อยน้อยลง 
  2. เครื่องเฝ้าติดตามสัญญาณชีพชนิดข้างเตียงผู้ป่วย Bedside Monitor ที่สามารถติดตามภาวะการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องเพื่อติดตั้งในห้อง ICU 
  3. เครื่องกระตุกหัวใจ AED จำนวน 3 เครื่อง เพื่อติดตั้งในห้องฉุกเฉิน รถกู้ชีพ 
  4. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติพร้อมขาตั้ง 12 เครื่อง เพื่อติดตามอาการคนไข้ในแผนกและวอร์ดผู้ป่วยในต่างๆ
  5. เครื่องวัดความดันชนิดสอดแขนจำนวน 3 เครื่อง เพื่อใช้แผนก OPD , ผู้ป่วยฉุกเฉิน
  6. เครื่องดึงคอ/ดึงหลัง (traction) จำนวน 1 เครื่อง สำหรับแผนกกายภาพบำบัดที่ปัญหาด้านกระดูกคอและสันหลัง
  7. เครื่องอัลตร้าซาวด์สำหรับกายภาพ จำนวน 2 เครื่อง แผนกกายภาพบำบัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ
  8. หม้อต้มแผ่นประคบร้อน จำนวน 1 เครื่อง(แผนกกายภาพบำบัด)
  9. Infant Incubator 2 เครื่อง
  10. Radian Warmer 2 เครื่อง
  11. Surgical Light (อยู่ระหว่างการขนส่ง)
  12. Infusion Pump 5 เครื่อง
  13. Syringe Pump 5 เครื่อง
  14. ชุดกล้องส่องตรวจและผ่าตัดโพรงจมูลและท่อมซิล ENT Diagnostic Set 1 ชุด
  15. เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง 1 เครื่อง
  16. ULTRASOUND 4 มิติ แผนกสูติ 1 เครื่อง
  17. เครื่องวัดการบีบตัวของมดลูก ครรภ์แฝด 1 ชุด
  18. ชุดกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ้พร้อมเครื่องล้างกล้องส่องตรวจ 1 เช็ต
  19. อุปกรณ์ผ่าตัดสมอง (เครื่องเจาะและตัดกะโหลกชนิดความเร็วสูง)
  20. Autocave เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อขนาด 280 ลิตร

ประมวลภาพการส่งมอบ


สำเร็จแล้ว!!โตโน่ ภาคิน ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ให้โรงพยาบาลนครพนม จากโครงการ ONE MAN AND THE RIVER

12 มีนาคม 2024

สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีสำหรับโครงการ ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจจะส่งต่อความสุขและโอกาสในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ดีของประชาชน 2 ฝั่งโขงของ โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ศิลปินและนักแสดงชื่อดัง รวมกับผู้สนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องจากทุก ๆ ภาคส่วน หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขงไปเมื่อปี 2565

 



ล่าสุด วันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โตโน่ และทีมงานจากโครงการ ONE MAN AND THE RIVER ได้ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ให้กับโรงพยาบาลนครพนม จ.นครพนม พร้อมเปิดช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือดเรียบร้อย ส่วนด้านฝั่งลาวก็มีการจัดซื้อและมอบเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อใช้สำหรับการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วมากกว่า 12,000 ราย

นายนฤพนธ์ ยุทธเกษมสันต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม กล่าวว่าปัจจุบันมีการเปิดประเทศจะมีผู้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนมเพิ่มขึ้น จากทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวและภาคการแพทย์และสุขภาพ ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครพนมได้ดำเนินการรองรับผู้สูงอายุ มีประชากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์และสุขภาพในจังหวัดนครพนม ปี 2563 เราให้บริการผู้ป่วยนอก 320,210 ครั้ง ผู้ป่วยใน 27,992 ครั้ง คาดว่าการเปิดประเทศจะมีประชากรต่างชาติ เดินทางเข้ามารักษาจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันยังเป็นปัญหาหลักในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นการก่อตั้งศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงโรงพยาบาลนครพนม จะช่วยให้ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) ในจังหวัดนครพนม และพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างรวดเร็วตามมาตรฐานการรักษา เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพลภาพ โดยในส่วนของโรงพยาบาลนครพนมนั้นได้ดำเนินการยื่นเรื่องไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือนเมษายนและระหว่างที่เรากำลังพัฒนาบุคลากรให้ด้านนี้ให้มากขึ้น เราได้ทีมศูนย์หัวใจเพื่อแผ่นดินจากโรงพยาบาลสกลนครมาช่วยก่อน


ด้าน น.ส.เอด้า จิรไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการเทใจดอทคอม กล่าวว่า เทใจดอทคอมเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ระดมทุนและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วนให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการใช้งาน ความพร้อมของเจ้าหน้าที่และบุคคลากรทางการแพทย์ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามานำเสนอต่อคณะกรรมการกลาง โดยกระบวนการดังกล่าวทางองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น hand social enterprise ช่วยออกแบบกระบวนเพื่อให้การคัดเลือกโปร่งใสที่สุด และการทำศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงยังได้ความอนุเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจากที่ต่าง ๆ ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ผศ.นพ.ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจโรงพยาบาลทรวงอก น.พ.ธนพัฒน์ เลิศวิทยากำจร นายแพทย์ชำนาญการ อายุรกรรม (หัวใจ) ผศ.พ.ญ.รัตนา คำวิลัยศักดิ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ที่ได้ร่วมกันคัดเลือกเพื่อให้ได้เครื่องที่ดีและเหมาะสมกับโรงพยาบาลที่จะเป็นศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง

ด้าน โตโน่ ภาคิน เล่าว่า“พวกเราทั้งพี่น้องชาวไทยและพี่น้องชาว สปป.ลาวได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน โดยมูลค่าสิ่งของที่เราจัดซื้อไปทั้งหมดคิดเป็น 92,500,000 บาทวันนี้ถือเป็นวันที่ดีมาก ๆ อีกวันที่เรามาร่วมกันเป็นสักขีพยานในการปิดโครงการ เพื่อส่งสอบ “ศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง (Cath Lab)” ที่ใช้เวลากว่า 6 เดือนในการจัดตั้งศูนย์หัวใจแห่งนี้ เริ่มตั้งแต่การทำห้องสวนหัวใจใหม่ที่มีระบบความปลอดภัยจากอันตรายจากรังสีต่าง ๆ รวมถึงการทำระบบไฟฟ้าสำรองที่สามารถตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง แม้ระบบไฟฟ้าจะดับทั้งเมืองนครพนม

นอกจากนี้ยังมีการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ในห้องตรวจรักษาแบบครบครัน ได้แก่ เครื่องสวนหัวใจระนาบเดี่ยว, เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ, เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดดูเส้นเลือดหัวใจ, เครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด, เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้า, เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ พร้อมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เพื่อให้วิเคราะห์การตรวจรักษาได้อย่างแม่นยำ ปัจจุบันเราทราบว่าทั้งสองโรงพยาบาลได้ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ได้รับบริจาคจากโครงการหนึ่งคนว่ายหลายคนให้ อย่างคุ้มค่าเช่นโรงพยาบาลนครพนมมีการใช้งานเครื่องต่าง ๆ ทุกวัน ขณะที่โรงพยาบาลแขวงคำม่วนได้ใช้ตรวจรักษาคนลาวไปแล้วกว่า 12,000 คน

“ผมรู้สึกดีใจที่พวกเราได้มีส่วนร่วมทำให้พี่น้องชาวไทยและชาว สปป.ลาว ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เข้าถึงการตรวจรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีและทีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสุดท้ายนี้ผมขอบคุณพระคุณทุก ๆ ท่านที่มีส่วนในการทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงตามเจตนาที่ได้ตั้งใจไว้”


แผนการใช้เงิน


รายการสำหรับโรงพยาบาลนครพนมราคาต่อหน่วย จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1.เครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กชนิดความถี่สูงพร้อมชนิดควบคุมแรงดันและชนิดไม่สอดท่อ  1,800,000 1 1,800,000.00
2.เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและแรงดันพร้อมระบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ เคลื่อนย้ายได้450,000 4 1,800,000.00
3.เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและแรงดันพร้อมระบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ ขนาดกลาง 800,000 2 1,600,000.00
4.เครื่องตรวจวิเคราะห์คลื่นหัวใจ 150,000 2 300,000.00
5.เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือด 55,000 10 550,000.00
6.เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญารชีพ monitor 150,000 6 900,000.00
7.เตียงสำหรับผู้ป่วย ICU ควบคุมด้วยรีโมทคอลโทล 55,000 10 550,000.00
8.เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิคพร้อมภาควัดออกซิเจนในเลือด 330,000 1 330,000.00
9.อุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจชนิดใช้พลังงานจากเบตเตอรี่ (PAPR)48,700 6 292,000.00
10.เครื่องวัดความดันแบบ Manual 6 เครื่อง 7,000 6 42,000.00
รายการสำหรับโรงพยาบาลแขวงคำม่วน ราคาต่อหน่วย จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1.เครื่องอัลตร้าซาวน์ Diamentios   1,400,000  1 1,400,000.00
2.เครื่องช่วยหายใจ 750,000 2 1,500,000.00
3.เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญานชีพ monitor 150,000 3 450,000.00
4.ตู้อบฆ่าเชื้อทางการแพทย์ 850,000 1 850,000.00
5.เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิด  1,300,000 2 2,600,000.00
6.ตู้อบสำหรับทารกแรกกิด 550,000 2 1,100,000.00
7.เครื่องให้ความอบอุ่นทารกชนิดแผ่รังสี ( Radiant Warmer ) 450,000 2 900,000.00
8.เครื่องกระตุกหัวใจ AED 80,000 3 240,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
15,404,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
1,540,400.00

ยอดระดมทุน
16,944,400.00