แว่นขยายดิจิทัลให้กับนักเรียนสายตาเลือนรางได้เรียนหนังสือ

นักเรียนสายตาเลือนราง ถือเป็นผู้พิการทางสายตา นักเรียนกลุ่มนี้ไม่สามารถอ่านหนังสือขนาดปกติได้ หรือแม้แต่สิ่งของต้องเพ่งมอง เด็กนักเรียนสายตาเลือนรางที่ต้องศึกษาเล่าเรียนต้องใช้ชีวิตในการอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความรู้ จึงขอชวนทุกคนสนับสนุนแว่นขยายดิจิทัล จำนวน 50 เครื่องเพื่อมอบให้กับกลุ่มสายตาเลือนรางที่มีอายุระหว่าง 5-18 ปี ในโรงเรียนสอนคนตาบอด 10 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนตาบอดที่มองเห็นเลือนรางสามารถอ่านหนังสือ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
ระยะเวลาโครงการ 30 ก.ค. 2566 ถึง 30 ก.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: (โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา-บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน กรุงเทพฯ), (โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น), (วิทยาลัยอาชีวศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น), (โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด แม่สาย), (โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา), (โรงเรียนธรรมิกวิทยา เพชรบุรี), (โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ชะอำ), (โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ร้อยเอ็ด), (โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี), (โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่)
ยอดบริจาคขณะนี้
209,111 บาทเป้าหมาย
330,000 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
จากการสำรวจสภาวะตาบอด-ตาเลือนรางและโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเด็กไทย ปี พ.ศ. 2549-2550 พบว่าอัตราความชุกของสภาวะตาบอดและตาเลือนรางเมื่อปรับตามอายุและเพศแล้ว เท่ากับร้อยละ 0.11 และ 0.21 ตามลำดับ ถ้ามีเด็กไทยเป็นคนตาบอด 13,101 คน จะมีคนที่มีสายตาเลือนราง จำนวน 26,670 คน
คนในกลุ่มสายตาเลือนรางนั้นหากไม่มีอุปกรณ์ช่วย จะไม่สามารถอ่านหนังสือหรือเอกสารต่างๆ แบบคนตาปกติได้ เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และในเด็กวัยเรียนก็จะทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ กลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคมในอนาคตต่อไป
ดังนั้นบริษัท SAINT จึงจัดทำโครงการขอรับบริจาคเพื่อจัดซื้อแว่นขยายดิจิทัลสำหรับนักเรียนตาบอดที่มองเห็นเลือนราง เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางด้านการมองเห็นให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ โดยสำรวจจำนวนนักเรียนตาบอดที่มองเห็นเลือนรางในโรงเรียนสอนคนตาบอด จำนวน 10 โรงเรียนเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย แล้วพบว่ามีนักเรียนกลุ่มสายตาเลือนรางกว่า 214 คน ดังนี้
1. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 33 คน
2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 13 คน
3. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ร้อยเอ็ด : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 21 คน
4. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 29 คน
5. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด แม่สาย (จังหวัดเชียงราย) : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 14 คน
6. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 16 คน
7. โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา - บ้านเด็กตาบอดและพิการซ้ำซ้อน (กรุงเทพฯ) : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 26 คน
8. โรงเรียนธรรมิกวิทยา (จังหวัดเพชรบุรี) : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 28 คน
9. โรงเรียนเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ชะอำ (จังหวัดเพชรบุรี) : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 5 คน
10. โรงเรียนธรรมสากล หาดใหญ่ (จังหวัดสงขลา) : มีนักเรียนสายตาเลือนราง จำนวน 29 คน
ะจากจำนวน 214 คน พบว่ามีนักเรียนที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้แว่นขยายดิจิทัลมาช่วยในการเรียนรู้ กว่า 100 คน เพื่อช่วยขยายขนาดตัวอักษร วัตถุหรือสิ่งของต่างๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ง่ายต่อการอ่าน การเรียนรู้ และการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียน เช่น การอ่านหนังสือ การอ่านสลากยา การดูป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ให้เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป และทำให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
แว่นขยายดิจิทัลที่บริษัท SAINT ขอระดมทุนเพื่อจัดซื้อในครั้งนี้ เป็นแว่นขยายดิจิทัลแบบพกพา หน้าจอ LCD ขนาด 5.0” HD (800X480) ช่วงซูม 4X ถึง 32X รองรับการขยายต่อเนื่อง ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล (โฟกัสระยะไกล), 0.3 ล้านพิกเซล (โฟกัสระยะใกล้) โหมดสี 18 ชนิด สามารถเชื่อมต่อกับโทรทัศน์ได้
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว แว่นขยายดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ที่มีสายตาเลือนรางสามารถอ่านข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ได้อย่างชัดเจนและคล่องตัว ลดอุปสรรคในการเรียนรู้ การใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก อุปกรณ์นี้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายในโรงเรียนสอนคนตาบอด ห้องสมุดสาธารณะ และสถาบันต่างๆ และได้รับการรับรองจาก CE. (European Conformity), FCC. (Federal Communications Commission)
ทั้งนี้บริษัททำหนังสือแจ้งรายละเอียดการระดมทุนในครั้งนี้ พร้อมทั้งขออนุญาตใช้ชื่อโรงเรียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียนได้ทราบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามเอกสารตัวอย่างนี้
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. สำรวจและระบุความต้องการแว่นขยายดิจิทัลสำหรับนักเรียนที่มองเห็นเลือนราง
2. ดำเนินการระดมทุนและขอรับบริจาค
3. ดำเนินการจัดซื้อแว่นขยายดิจิทัล
4. ดำเนินการส่งมอบแว่นขยายดิจิทัลและแนะนำการใช้งาน
5. ติดตามและประเมินผล
• ติดตามแนะนำวิธีการใช้งาน การแก้ไขปัญหาการใช้งานแว่นขยายดิจิทัลและประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ
• ประเมินผลและรายงานผลการใช้แว่นขยายดิจิทัลให้กับผู้บริจาคและสนับสนุนโครงการ
โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีความร่วมมือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางการมองเห็นและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนตาบอดสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับแว่นขยายดิจิทัลได้ นอกจากนี้ยังต้องมีการคัดเลือกนักเรียนตาบอดที่จะได้รับแว่นขยายดิจิทัลอย่างเหมาะสมตามความต้องการจำเป็นและสภาพความสามารถการมองเห็นของแต่ละบุคคล
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | จัดซื้อแว่นขยายดิจิทัล ราคา 6,000 บาท/เครื่อง | 50 เครื่อง | 300,000.00 |