เงินบริจาคของคุณจะพื้นที่พักคอย ก่อนส่งตัวไปที่โรงพยาบาลให้กับผู้ป่วย100คน
ทำให้มีจำนวนยอดผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 50 คน จากการตรวจ 926 คน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะชุมชนคลองเตยเป็นชุมชนแออัดที่มีประชากรอยู่มาก บ้านหนึ่งหลังอยู่ด้วยกันตั้งแต่ 2-13 คน ไม่มีห้องกั้นในการกักตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้เสี่ยงสูง ยิ่งทำให้เกิดผู้เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเชื้อใช้เวลาในการแพร่นานและไม่แสดงอาการของโรคทันที ทำให้ผู้ติดเชื้อไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อจึงเกิดการแพร่กระจายไปยังคนรอบข้างได้ง่ายทำให้เกิดผู้เสี่ยงจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องมีที่พักผู้ป่วยแยกออกมาจากบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปติดผู้อื่นขณะที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านและในชุมชนที่ค่อนข้างแออัด
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชุมชนคลองเตยตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2564 เป็นต้นมา ทำให้มีจำนวนยอดผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 50 คน จากการตรวจ 926 คน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะชุมชนคลองเตยเป็นชุมชนแออัดที่มีประชากรอยู่มาก บ้านหนึ่งหลังอยู่ด้วยกันตั้งแต่ 2-13 คน ไม่มีห้องกั้นในการกักตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้เสี่ยงสูง ยิ่งทำให้เกิดผู้เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเชื้อใช้เวลาในการแพร่นานและไม่แสดงอาการของโรคทันที ทำให้ผู้ติดเชื้อไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อจึงเกิดการแพร่กระจายไปยังคนรอบข้างได้ง่ายทำให้เกิดผู้เสี่ยงจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องมีที่พักผู้ป่วยแยกออกมาจากบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปติดผู้อื่นขณะที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านและในชุมชนที่ค่อนข้างแออัด
ทำสถานที่สำหรับให้ผู้ป่วยมา "พักคอย" ระหว่างรอส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการระบาดในชุมชนและสะดวกในการมารับของรถพยาบาล
ทางพื้นที่ได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชนคลองเตย (คตช.คลองเตย) มีท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานเป็นประธาน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ ศบส.41 และ 10 สำนักงานเขต พม. หน่วยสนับสนุนจากภาคนอก ซึ่งมีทีมวิจัย สวสส. จาก สป. กระทรวงสาธารณสุข เป็นหลักในการประสาน กับทาง สปคม. กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักอนามัยของ กทม. และอื่น ๆ
คตช.คลองเตย ได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการสองหน่วย คือ ศูนย์ข้อมูลและประสานงาน ที่มีมูลนิธิดวงประทีปและทีมคลองเตยดีจังเป็นผู้ดำเนินการหลัก และ ศูนย์พักคอยในชุมชน มี พระอาจารย์มานิต วัดสะพาน เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ซึ่งศูนย์พักคอยนี้ กำหนดชื่อทางการกันว่า "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) ซึ่ง นพ.วิรุฬ สวสส. ได้ร่วมเป็นคณะทำงานของศูนย์ร่วมกับพระอาจารย์มานิตและสถาปนิกที่เป็นคนในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาระบบจากกรมควบคุมโรค และทางสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ที่จะไปช่วยให้คำแนะนำในพื้นที่ในวันที่ 29 เม.ย. 64
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าเครื่องใช้สำหรับผู้ป่วย เช่น มุ้ง ผ้าห่ม แปลงสีฟัน ยาสีฟัน ขันอาบน้ำ อื่นๆ ชุดละ 1,500 บาท | 50ชุด | 75,000.00 |
ค่าอุปกรณ์สำหรับการป้องกัน เช่น เจล แอกอฮอล์ หน้ากาก ชุด PPE เพื่อป้องการทีมงานและอาสาสมัคร) ชุดละ 500 บาท | 1,000ชุด | 50,000.00 |
ค่าอาหารและน้ำดื่ม 3 มื้อ ของผู้ที่รอส่งตัวและอาสาสมัคร (ประเมินสถานการณ์ไว้ 3 เดือนหรือ 90 วัน) มื้อละ 50 บาท | 50ครั้ง | 270,000.00 |
ค่าติดตั้งระบบส่วนกลาง เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์พื้นที่การจัดการข้อมูล อุปกรณ์จำเป็นทางเทคโนโลยี | 1ครั้ง | 30,000.00 |
ค่าประสานโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ เดือนละ 5,000 บาท | 3เดือน | 15,000.00 |
ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ศูนย์ประสานงาน เดือนละ 3000 บาท | 3เดือน | 9,000.00 |
ค่าเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 2 คน เดือนละ 15,000 บาท | 3เดือน | 90,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 539,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 53,900.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้