project เด็กและเยาวชน

ICAP : พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่ด้อยโอกาสให้เป็นรูปแบบบูรณาการ

ปรับปรุงรูปแบบการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 2 แห่งในพื้นที่ชุมชนแออัดกทม. ให้เป็นแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กอายุ 2-6 ปี จำนวนประมาณ 70 คน

ระยะเวลาโครงการ 01 ม.ค. 2567 ถึง 31 มี.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพ

ยอดบริจาคขณะนี้

376,318 บาท

เป้าหมาย

308,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 122%
จำนวนผู้บริจาค 36

สำเร็จแล้ว

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ICAP ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน โดยเราสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวทาง HighScope ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้านผ่านการเล่นที่มีชีวิตชีวาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต โดยจัดการอบรมแก่คุณครูซึ่งเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองตามหลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเนื้อหาอื่นๆ เช่น การพัฒนาเด็กตามหลักพัฒนาการ การใช้วินัยเชิงบวก การจัดสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โภชนาการตามวัย ฯลฯ 

เพื่อวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก โครงการ ICAP ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการประเมินทักษะ EF ของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาจังหวัดลพบุรีจำนวน 5 แห่ง และพบว่าเด็กปฐมวัยภายใต้โครงการ ICAP มีคะแนน EF ที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยเด็กในโครงการที่ได้คะแนน EF ต่ำกว่ามาตรฐานนั้น มีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ในขณะที่เด็กที่ได้คะแนน EF สูงกว่ามาตรฐาน มีจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ



ปัจจุบัน โครงการ ICAP มีสถานศึกษาในจังหวัดลพบุรีที่เข้าร่วมโครงการกว่า 120 แห่ง และนอกจังหวัดลพบุรีอีกกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมเด็กปฐมวัยแล้วกว่า 9 พันคน ในการระดมทุนครั้งนี้ โครงการฯ มีแผนในการขยายผลการดำเนินงานไปยังสถานศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

    1. ทีมงาน ICAP สำรวจศูนย์พัฒนาเด็ก เพื่อเก็บข้อมูลมาออกแบบปรับปรุงห้องเรียนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้
    2. ทีมงานICAP สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน ของเล่น นิทานและอื่นๆ เพื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้พร้อมเป็นห้องเรียนแบบบูรณาการ
    3. ทีมงาน ICAP ดำเนินการอบรมครูและบุคคลากรในศูนย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการสอนรูปแบบใหม่
    4. ทีมงาน ICAP ให้ครูและบุคคลกรในศูนย์ทดลองสอนจริง โดยทีมงานช่วยเป็นพี่เลี้ยงและแนะนำ
    5. ICAP เปิดช่องทางออนไลน์เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ทุก​ศพด.ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการทำงาน
    6. ทีมงานวิเคราะห์และประเมินผลการทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ

    ไม่มีข้อมูล

    แผนการใช้เงิน

    ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
    1

    ค่าใช้จ่ายเพื่อปรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นรูปแบบบูรณาการโดยยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง ศูนย์ละ 100,000 บาท

    1.ทีมงาน ICAP สัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กถึงความพร้อมในการทำงาน  และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์เพื่อมาออกแบบปรับปรุงห้องเรียนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้ 

    2.ทีมงาน ICAP ดำเนินการอบรมครูและบุคลากรในศูนย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการสอนรูปแบบใหม่

    3.ทีมงาน ICAP ให้ครูและบุคลากรในศูนย์ทดลองสอนจริง โดยทีมงานช่วยเป็นพี่เลี้ยงและแนะนำ

    4.ICAP เปิดช่องทางออนไลน์เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ทุก​ศพด.ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการทำงาน

    5.ทีมงานวิเคราะห์และประเมินผลการทำงาน

    2 แห่ง 200,000.00
    2

    สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน ของเล่น นิทานและอื่นๆ เพื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้พร้อมเป็นห้องเรียนแบบบูรณาการ ศูนย์ละ 40,000  บาท

    2 แห่ง 80,000.00
    รวมเป็นเงินทั้งหมด
    280,000.00
    ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
    28,000.00

    ยอดระดมทุน
    308,000.00