Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม

เติมรัก ปันอิ่ม ให้ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตตามลำพัง ไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู และอยู่อาศัยในบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม ได้รับการดูแลโภชนาการด้านอาหาร และมีคนไปเยี่ยมเยียนให้ช่วยคลายเหงาลงได้
ระยะเวลาโครงการ 01 พ.ค. 2565 ถึง 30 เม.ย. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: อ.ตาพระยา อ.วัฒนานคร อ.วังสมบูรณ์ และอ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว , อ.พนมดงรัก อ.บัวเชด อ.สังขะ และอ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
ยอดบริจาคขณะนี้
462,042 บาทเป้าหมาย
462,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหารให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวน 109 คน
มูลนิธิโคเออร์ดำเนินกิจกรรมสงเคราะห์ข้าวสารอาหารแห้ง ให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการยากไร้ ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ เป็นเวลากว่า 36 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ถึงปัจจุบัน โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหาร 1 ชุด/เดือน
ชุดอาหารจะประกอบด้วย ข้าวสาร 10 กิโลกรัม และ/หรือ ไข่ไก่ ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กุนเชียง ปลากระป๋อง นมกล่อง UHT ตามความเหมาะสม ซึ่งจะลงพื้นที่ในทุกๆ อาทิตย์แรกของเดือน
ในระยะเวลารณรงค์โครงการ Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม ผ่านเทใจดอทคอม ระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีผู้รับประโยชน์ ในพื้นที่ จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 109 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน และคนพิการ จำนวน 23 คน รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตาราง : สรุปโครงการจากการประเมินโดยการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์
ที่ | ผู้รับประโยชน์ | ก่อนทำโครงการ | ผลที่ได้รับ | อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ |
1 | ผู้สูงอายุ | 1.อยู่โดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ
2.ขาดแคลนอาหาร | 1.การเยี่ยมเยียนทำให้ผู้สูงอายุได้มีคนให้พูดคุย ปรับทุกข์และให้กำลังใจ
2.การมอบชุดอาหารช่วยให้ผู้สูงอายุมีอาหารครบมื้อ | 1.ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลือที่ยั่งยืนได้
2.ผู้สูงอายุบางคนมีภาระจากการต้องดูแลลูกที่พิการ หรือหลานที่ลูกฝากไว้ให้เลี้ยงดูเพราะต้องไปทำงานต่างจังหวัด |
2 | คนพิการ | 1.ไม่มีรายได้เนื่องจากปัญหาทางกายภาพ
2.เป็นผู้มีภาวะพึ่งพิงในครอบครัวที่มีฐานะยากจน | 1.การมอบชุดอาหารสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ และครอบครัวที่ต้องดูแลคนพิการได้
2.ชุดอาหารที่ได้รับสามารถช่วยสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือนทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่า | 1.คนพิการที่ได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ตาบอด พิการจากกับระเบิด ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ยั่งยืนได้ |
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
นางบุญยัง มีหล้า หรือป้าน้อย อาศัยอยู่คนเดียวในกระต๊อบใกล้ๆ กับบ้านของญาติ ที่บ้านคลองอึ่งดำ ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ปัจจุบันป้าอายุ 68 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน และไทรอยด์ อีกทั้งดวงตาก็พร่ามัว ทำให้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ ในขณะที่ญาติๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกันมีอาชีพรับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ มีฐานะไม่สู้ดีนัก การช่วยเหลือกันเองจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือจากโคเออร์ ป้าน้อยต้องอยู่แบบอดมื้อกินมื้อ
ป้าน้อยบอกกับเราว่า ..“มันดีมากที่โคเออร์ ได้ช่วยเหลือให้ข้าวสารอาหารแห้งแก่ป้าช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายของป้า และญาติด้วยเพราะในวันที่เขาไม่มีรายได้ ไม่มีคนจ้างงาน เขาออกไปหาเก็บผัก ขุดปู ขุดเขียด มาทำกินได้ แต่เขาไม่มีข้าวสาร ก็ได้แบ่งปันกันไปได้ สำหรับป้าไม่เคยมีหน่วยงานไหนช่วยเหลือ มีแค่เงินคนแก่ ป้าดีใจมาก ไม่ใช่แค่ช่วยป้าแต่ยังช่วยคนที่จุนเจือป้าด้วย”
คุณยายปั่น ฟองเกิด อายุ 85 ปี อาศัยอยู่ลำพังคนเดียวที่ บ้านโนนเสาเอ้ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โคเออร์ได้รับข้อมูลความลำบากของยายจากอาสาสมัคร เมื่อราวๆ สิบกว่าปีมาแล้ว สามีของยายเสียชีวิตลงทำให้ต้องอยู่คนเดียว ยายพิการขาขาดจากกับระเบิด ที่เกิดจากการออกไปหาเก็บของป่าขายที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยายมีลูก 3 คน สองคนไปทำงานและมีครอบครัวในต่างจังหวัด เหลือหนึ่งคนที่มีครอบครัวและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีความขัดสน หาเช้ากินค่ำ และได้นำหลานวัย 7 ขวบที่ป่วยจิตเวชมาฝากให้ยายปั่นเลี้ยงเวลาต้องออกไปทำงาน
ยายปั่นเล่าให้ฟังเกือบทุกครั้งที่ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนว่า..“ถึงมีลูกก็ไม่ช่วยอะไร และยังเอาหลานมาฝากให้เลี้ยงต้องหุงหาข้าวให้กิน แค่เบี้ยคนแก่กับคนพิการก็ไม่พอกิน ขอบใจที่ให้ข้าว ให้ของแห้ง ช่วยได้เยอะ”
ป้าน้อยและยายปั่นเป็นเพียงตัวอย่างของผู้รับผลประโยชน์จากชุดอาหารที่ได้รับแต่ละเดือน ไม่เพียงแต่ได้ปันความอิ่มเท่านั้น หากแต่การได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนในแต่ละครั้ง ยังเป็นการได้รับฟัง พูดคุย ปรับทุกข์ เติมความรัก และสร้างรอยยิ้มให้พวกเขาได้อีกด้วย
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | จำนวนผู้รับประโยชน์(คน) | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ผู้สูงอายุ | 86 | 1.ผู้สูงอายุได้รับอาหารครบมื้อ และมีโภชนาการที่ดีขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้รับการบรรเทาใจ จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร |
คนพิการ | 23 | 1.ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ ครอบครัวหรือผู้ดูแลได้
2.คนพิการหรือผู้ป่วย รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น |
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : บ้านของคุณตาสมุน กูลกิจ ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ (อายุ 72 ปี) ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์
ภาพ : บ้านของคุณยายเปี่ยน ทองผง ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ (อายุ70ปี)ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์
ภาพ : ยายและหลานได้อิ่มด้วยกัน
ภาพ : วันนี้...ยายได้รับความรักและปันอิ่ม (ยิ้มน้อย...แต่ยิ้มนะ)
ภาพ : อาสาสมัครโคเออร์ร่วมกับ อสม. ในพื้นที่ จ.สระแก้ว ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น
ภาพ : มอบข้าวสารอาหารแห้งและเยี่ยมเยียนคุณยาย
ภาพ : คุณยายตาบอดแต่รับรู้ได้ถึงน้ำใจของกันและกัน
ภาพ : ร่วมด้วยช่วยดูแลซึ่งกันและกัน
วิดีโอกิจกรรม
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
การที่จะมีใครสักคนไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือด้านอาหารจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เพียงเป็นการดูแลด้านจิตใจแต่ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุได้อีกด้วย
ตั้งแต่ปี 2539 เจ้าหน้าที่โคเออร์ที่ทำงานในสำนักงานสนามพื้นที่ จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ ได้ทำงานในพื้นที่ทำให้ได้พบเห็นสภาพความเป็นอยู่และปัญหาความยากจนของคนในพื้นที่ อันเนื่องมาจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรหรือเพาะปลูกได้ผลผลิตดีพอที่จะใช้เลี้ยงชีพได้ คนในวัยแรงงานจึงต้องออกจากบ้านไปทำมาหากินนอกถิ่นฐานของตนเองทิ้งให้คนในวัยพึ่งพิงต้องอยู่ตามลำพัง และเกิดปัญหาครอบครัวข้ามรุ่นตามมา โคเออร์ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านจึงได้ลงพื้นที่ไปตามบ้านและทำการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุหรือคนที่มีภาวะพึงพิงที่ใช้ชีวิตตามลำพัง ไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู และอยู่อาศัยในบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม
ผู้สูงอายุที่ทางมูลนิธิโคเออร์ช่วยเหลือ
- เป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)
- ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตตามลำพังไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู
- ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ในสภาพบ้านเรือนที่ทรุดโทรม
แม้ภาครัฐจะแก้ไขปัญหาด้านค่าครองชีพโดยการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ แต่จำนวนเงินที่ได้รับยังคงไม่เพียงพอในการจะดำรงชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวข้ามรุ่น หรือครัวเรือนที่ประกอบด้วยคน 2 รุ่น คือ รุ่นปู่ย่า ตายาย และรุ่นหลาน ส่วนรุ่นพ่อแม่นั้นขาดหายไปเนื่องจากการทำงานไกลบ้านทำให้ต้องทิ้งลูกไว้ให้พ่อแม่ที่ชราเลี้ยงดูทำให้นอกจากจะต้องใช้จ่ายเพื่อตัวเองแล้วพวกเขายังต้องใช้จ่ายเพื่อลูกหลาน หรือคนในครอบครัวที่อยู่ในภาวะพึงพิงที่ต้องดูแลอีกด้วย
การต้องอยู่คนเดียวในภาวะที่ยากลำบาก แก่ชราและมีหลายโรครุมเร้าย่อมเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอนหากผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีใครสักคนไปมาหาสู่ หยิบยื่นความช่วยเหลือ ได้บอกเล่าเรื่องราวความทุกข์ยากหรือแม้แต่ความสุขให้ผู้อื่นได้ฟังอย่างน้อยก็จะช่วยคลายเหงาลงได้ ทั้งยังจะส่งผลดีต่อจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักว่ายังมีความสำคัญไม่ได้เป็นภาระของผู้อื่น แม้ว่าหลายท่านได้จากไปแล้วอย่างสงบ แต่พวกเราคณะทำงานยังคงจดจำรอยยิ้ม และคำให้ศีลให้พรของท่านทุกครั้งที่ลงพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ
มูลนิธิโคเออร์จึงให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและสิ่งจำเป็น โดยลงพื้นที่ร่วมกับ อสม. ในทุกๆ เดือนเพื่อมอบสิ่งของและดูแลตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ หากพบสิ่งผิดปกติเบื้องต้นจะทำการส่งตัวผู้สูงอายุไปยัง รพสต.ก่อน และอาจมีการส่งต่อโรงพยาบาลประจำอำเภอต่อไปแล้วแต่กรณี
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
- ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ (อ.ตาพระยา อ.วัฒนานคร อ.วังสมบูรณ์ และ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว , อ.พนมดงรัก อ.บัวเชด อ.สังขะ และอ.กาบเชิง จ.สุรินทร์)
- นำข้อมูลมาพิจารณา และพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุเข้าโครงการช่วยเหลือ 100 คน
- ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุด้วยการ
- ส่งมอบชุดอาหารเพื่อเพิ่มโภชนาการให้แก่ผู้สูงอายุ
- ตรวจสุขภาพและให้คำแนะนำสุขภาพเบื้องต้น เดือนละ 1 ครั้ง โดยอาสาสมัครโคเออร์ และอสม. ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ
- ในวันที่ 15 เมษายน จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เพื่อสร้างพลังใจ และกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ
หมายเหตุ : หากผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือเสียชีวิตหรือญาติพร้อมที่จะดูแลแล้ว ก็จะใช้ข้อมูลผู้สูงอายุท่านถัดไปที่ได้มีการขึ้นทะเบียนแล้วขึ้นมาแทนที่
ผู้รับผิดชอบโครงการ
มูลนิธิโคเออร์ (COERR FOUNDATION) เป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยธรรมชาติ และให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย รวมทั้งราษฎรไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อันสืบเนื่องมาจากผู้ลี้ภัย และราษฎรไทยยากไร้ และด้อยโอกาส ทั้งนี้ด้วยการยึดหลักความรัก เมตตาธรรมและมนุษยธรรม เป็นพื้นฐานในการดำเนินการช่วยเหลือ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือลัทธิการเมืองแต่อย่างใด

Facebook: https://facebook.com/coerr.fb
Website: www.coerr.org
ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหารให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวน 109 คน
มูลนิธิโคเออร์ดำเนินกิจกรรมสงเคราะห์ข้าวสารอาหารแห้ง ให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการยากไร้ ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ เป็นเวลากว่า 36 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ถึงปัจจุบัน โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหาร 1 ชุด/เดือน
ชุดอาหารจะประกอบด้วย ข้าวสาร 10 กิโลกรัม และ/หรือ ไข่ไก่ ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กุนเชียง ปลากระป๋อง นมกล่อง UHT ตามความเหมาะสม ซึ่งจะลงพื้นที่ในทุกๆ อาทิตย์แรกของเดือน
ในระยะเวลารณรงค์โครงการ Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม ผ่านเทใจดอทคอม ระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีผู้รับประโยชน์ ในพื้นที่ จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 109 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน และคนพิการ จำนวน 23 คน รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตาราง : สรุปโครงการจากการประเมินโดยการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์
ที่ | ผู้รับประโยชน์ | ก่อนทำโครงการ | ผลที่ได้รับ | อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ |
1 | ผู้สูงอายุ | 1.อยู่โดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ
2.ขาดแคลนอาหาร | 1.การเยี่ยมเยียนทำให้ผู้สูงอายุได้มีคนให้พูดคุย ปรับทุกข์และให้กำลังใจ
2.การมอบชุดอาหารช่วยให้ผู้สูงอายุมีอาหารครบมื้อ | 1.ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลือที่ยั่งยืนได้
2.ผู้สูงอายุบางคนมีภาระจากการต้องดูแลลูกที่พิการ หรือหลานที่ลูกฝากไว้ให้เลี้ยงดูเพราะต้องไปทำงานต่างจังหวัด |
2 | คนพิการ | 1.ไม่มีรายได้เนื่องจากปัญหาทางกายภาพ
2.เป็นผู้มีภาวะพึ่งพิงในครอบครัวที่มีฐานะยากจน | 1.การมอบชุดอาหารสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ และครอบครัวที่ต้องดูแลคนพิการได้
2.ชุดอาหารที่ได้รับสามารถช่วยสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือนทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่า | 1.คนพิการที่ได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ตาบอด พิการจากกับระเบิด ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ยั่งยืนได้ |
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
นางบุญยัง มีหล้า หรือป้าน้อย อาศัยอยู่คนเดียวในกระต๊อบใกล้ๆ กับบ้านของญาติ ที่บ้านคลองอึ่งดำ ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ปัจจุบันป้าอายุ 68 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน และไทรอยด์ อีกทั้งดวงตาก็พร่ามัว ทำให้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ ในขณะที่ญาติๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกันมีอาชีพรับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ มีฐานะไม่สู้ดีนัก การช่วยเหลือกันเองจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือจากโคเออร์ ป้าน้อยต้องอยู่แบบอดมื้อกินมื้อ
ป้าน้อยบอกกับเราว่า ..“มันดีมากที่โคเออร์ ได้ช่วยเหลือให้ข้าวสารอาหารแห้งแก่ป้าช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายของป้า และญาติด้วยเพราะในวันที่เขาไม่มีรายได้ ไม่มีคนจ้างงาน เขาออกไปหาเก็บผัก ขุดปู ขุดเขียด มาทำกินได้ แต่เขาไม่มีข้าวสาร ก็ได้แบ่งปันกันไปได้ สำหรับป้าไม่เคยมีหน่วยงานไหนช่วยเหลือ มีแค่เงินคนแก่ ป้าดีใจมาก ไม่ใช่แค่ช่วยป้าแต่ยังช่วยคนที่จุนเจือป้าด้วย”
คุณยายปั่น ฟองเกิด อายุ 85 ปี อาศัยอยู่ลำพังคนเดียวที่ บ้านโนนเสาเอ้ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โคเออร์ได้รับข้อมูลความลำบากของยายจากอาสาสมัคร เมื่อราวๆ สิบกว่าปีมาแล้ว สามีของยายเสียชีวิตลงทำให้ต้องอยู่คนเดียว ยายพิการขาขาดจากกับระเบิด ที่เกิดจากการออกไปหาเก็บของป่าขายที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยายมีลูก 3 คน สองคนไปทำงานและมีครอบครัวในต่างจังหวัด เหลือหนึ่งคนที่มีครอบครัวและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีความขัดสน หาเช้ากินค่ำ และได้นำหลานวัย 7 ขวบที่ป่วยจิตเวชมาฝากให้ยายปั่นเลี้ยงเวลาต้องออกไปทำงาน
ยายปั่นเล่าให้ฟังเกือบทุกครั้งที่ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนว่า..“ถึงมีลูกก็ไม่ช่วยอะไร และยังเอาหลานมาฝากให้เลี้ยงต้องหุงหาข้าวให้กิน แค่เบี้ยคนแก่กับคนพิการก็ไม่พอกิน ขอบใจที่ให้ข้าว ให้ของแห้ง ช่วยได้เยอะ”
ป้าน้อยและยายปั่นเป็นเพียงตัวอย่างของผู้รับผลประโยชน์จากชุดอาหารที่ได้รับแต่ละเดือน ไม่เพียงแต่ได้ปันความอิ่มเท่านั้น หากแต่การได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนในแต่ละครั้ง ยังเป็นการได้รับฟัง พูดคุย ปรับทุกข์ เติมความรัก และสร้างรอยยิ้มให้พวกเขาได้อีกด้วย
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | จำนวนผู้รับประโยชน์(คน) | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ผู้สูงอายุ | 86 | 1.ผู้สูงอายุได้รับอาหารครบมื้อ และมีโภชนาการที่ดีขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้รับการบรรเทาใจ จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร |
คนพิการ | 23 | 1.ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ ครอบครัวหรือผู้ดูแลได้
2.คนพิการหรือผู้ป่วย รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น |
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : บ้านของคุณตาสมุน กูลกิจ ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ (อายุ 72 ปี) ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์
ภาพ : บ้านของคุณยายเปี่ยน ทองผง ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ (อายุ70ปี)ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์
ภาพ : ยายและหลานได้อิ่มด้วยกัน
ภาพ : วันนี้...ยายได้รับความรักและปันอิ่ม (ยิ้มน้อย...แต่ยิ้มนะ)
ภาพ : อาสาสมัครโคเออร์ร่วมกับ อสม. ในพื้นที่ จ.สระแก้ว ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น
ภาพ : มอบข้าวสารอาหารแห้งและเยี่ยมเยียนคุณยาย
ภาพ : คุณยายตาบอดแต่รับรู้ได้ถึงน้ำใจของกันและกัน
ภาพ : ร่วมด้วยช่วยดูแลซึ่งกันและกัน
วิดีโอกิจกรรม
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าอาหารแห้ง อาทิ ข้าวสาร 10 กิโลกรัม ไข่ไก่ ปลากระป๋อง ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมกล่อง UHT ชุดละ 350 บาท/เดือน | 100 คน | 420,000.00 |