project เด็กและเยาวชน

สติบำบัดเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่น

ป้องกันโรคซึมเศร้าของวัยรุ่น 20 คน ในจังหวัดเชียงราย ให้จัดการอารมณ์และความคิดด้วยวิชาสติบำบัดให้กับตนเองและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ มูลนิธิแฮปปี้เนสยูแคนกิ้ฟ จ.เชียงราย

ยอดบริจาคขณะนี้

7,700 บาท

เป้าหมาย

20,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 39%
จำนวนผู้บริจาค 10

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

แผนจัดกิจกรรมป้องกันโรคซึมเศร้าให้แก่เยาวชน จ.เชียงราย 10 คน

26 ธันวาคม 2019

ทีมงานมมูลนิธิแฮปปี้เนสยูแคนกี๊ฟ จัดกิจกรรมวิธีการจัดการอารมณ์และความคิด ด้วยวิชาสติบำบัด ให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งแบบเดี่ยว และกลุ่ม (จำนวนไม่เกิน 5 คน) รวมทั้งหมด 10 คน ในจังหวัดเชียงราย โดยเริ่มจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 24/12/2562 – 24/03/2563

มีทั้งหมด 7 กิจกรรม ดังนี้

  1. สอบถามประวัติส่วนตัว ครอบครัว อาการปัจจุบัน และทำแบบทดสอบความเครียด / โรคซึมเศร้า
  2. กิจกรรมวางพื้นฐานอารมณ์ สมาธิ และ สติ
  3. กิจกรรมเพื่อรู้ทันความรู้สึก ความคิด และรู้จักปล่อยวาง
  4. กิจกรรมลดปมความขัดแย้งภายในใจ ใคร่ครวญสัมพันธภาพ
  5. กิจกรรมฝึกการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้ง มีความคิดบวก
  6. กิจกรรมฝึกให้อภัย มีความเมตตา เพื่อให้เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
  7. ทบทวนกิจกรรมทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

จังหวัดเชียงราย ทุกๆ แสนคน จะมีคนฆ่าตัวตายเฉลี่ย 11.7 คน ในปี 2561

จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดลำดับที่ 4 ของประเทศไทยที่ฆ่าตัวตายมากที่สุด (กรมสุขภาพจิต)

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือเราพบว่าช่วงอายุ 10-19 ปีมีอัตราการฆ่าตัวตายไม่สูง โดยทั่วไปอยู่ที่ 1-2 ต่ออัตราประชากรแสนคน แต่พอขยับเป็นช่วงวัย 20-24 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงขึ้นเป็น 6 ต่ออัตราประชากรแสนคน ตรงนี้มีการก้าวกระโดดของอัตราการฆ่าตัวตายที่น่าสนใจในช่วงรอยต่ออายุ 20 ปี เพราะฉะนั้นช่วงวัยที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยและช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นวัยที่จำเป็นต้องโฟกัส (นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวช ขอนแก่นราชนครินทร์ ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต)

ปัจจัยการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น ส่วนใหญ่มาจากความเครียด ความกดดัน ความคาดหวัง ความรัก ครอบครัว เพื่อน เป็นต้น ด้วยภาพสังคมที่ดำเนินไปและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้วัยรุ่นอ่อนไหว เกิดพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ และป้องกันได้ยาก

วิชาสติบำบัด เป็นวิธีหนึ่งที่มุ่งเน้นให้วัยรุ่นรู้จักวิธีผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดความวิตกกังวล ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตนเอง มีสติอยู่ในกิจวัตรประจำวัน รู้จักให้อภัย รู้วิธีสื่อสารอย่างมีสติ ทำให้มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ ป้องกันปัญหาโรคซึมเศร้าได้โดยไม่พึ่งยา


คุณอุ้ม วิรัตน์เกษม ประธานมูลนิธิแฮปปี้เนสยูแคนกิ้ฟ ผู้ผ่านการรับรองจากกรมสุขภาพจิตในฐานะผู้บำบัดเบื้องต้น จากคอร์สสติบำบัด mindfulness based therapy and counselling นำจัดอบรมวิชาสติบำบัด เพื่อเปิดรับฟังปัญหา สอนกระบวนการเทคนิค ให้วัยรุ่นสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิชาสติบำบัด ประกอบด้วย

  • สอนสมาธิ
  • ฝึกการมีสติ
  • สติกับความรู้สึก / ปล่อยวาง
  • สติกับความคิด / ปล่อยวาง
  • ใคร่ครวญสัมพันธภาพ
  • สติการสื่อสาร
  • สติเมตตา
  • สติในวิถีชีวิต

กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนอายุระหว่าง 17-21 ปี จำนวน 20 คน จัดอบรบจำนวน 8 ครั้ง/ คน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. รับสมัครเยาวชนอายุ 17-21 ปี น้องที่สนใจติดต่อจัดกลุ่มและนัดหมายตารางกิจกรรม ผ่าน Facebook : happiness u can give
  2. จัดการสอนสติบำบัดให้แก่เยาวชน จำนวน 20 คน จัดอบรมคนละจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง
  3. ประเมินผลการเรียนรู้และวัดความเปลี่ยนแปลงจากแบบประเมิน ก่อนและหลัง การเรียนรู้

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ช่วยให้ผ่อนคลาย หายเครียด ลดความวิตกกังวล
  2. ช่วยให้อาการของโรคซึมเศร้าดีขึ้นตามลำดับ จนหายเป็นปกติ
  3. ช่วยให้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
  4. ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง และไม่ตัดสินผู้อื่น
  5. ช่วยให้รู้จักระงับความคิดที่วกวน ความคิดลบ ความคิดร้าย
  6. ช่วยให้มีสมาธิ มีสติ และเกิดปัญญา
  7. ช่วยให้สุขภาพกายและใจเข้มแข็งขึ้น
  8. ช่วยลด ละ เลิก อันตรายจากการทำร้ายตนเอง และผู้อื่น
  9. ช่วยให้สถาบันครอบครัวมั่นคงขึ้น สังคมปลอดภัย

ทีมงาน

นส.อุ้ม วิรัตน์เกษม ประธานกรรมการมูลนิธิแฮปปี้เนสยูแคนกิ้ฟ วิทยากร ผู้นำการอบรม

นส.อภิชา เตชสิทธิ เลขานุการมูลนิธิ ผู้ช่วยวิทยากร


มูลนิธิแฮปปี้เนสยูแคนกิ้ฟ 
เลขที่ 238/13 หมู่ 9 ม.ฟ้าใส3 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000

แผนจัดกิจกรรมป้องกันโรคซึมเศร้าให้แก่เยาวชน จ.เชียงราย 10 คน

26 ธันวาคม 2019

ทีมงานมมูลนิธิแฮปปี้เนสยูแคนกี๊ฟ จัดกิจกรรมวิธีการจัดการอารมณ์และความคิด ด้วยวิชาสติบำบัด ให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งแบบเดี่ยว และกลุ่ม (จำนวนไม่เกิน 5 คน) รวมทั้งหมด 10 คน ในจังหวัดเชียงราย โดยเริ่มจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 24/12/2562 – 24/03/2563

มีทั้งหมด 7 กิจกรรม ดังนี้

  1. สอบถามประวัติส่วนตัว ครอบครัว อาการปัจจุบัน และทำแบบทดสอบความเครียด / โรคซึมเศร้า
  2. กิจกรรมวางพื้นฐานอารมณ์ สมาธิ และ สติ
  3. กิจกรรมเพื่อรู้ทันความรู้สึก ความคิด และรู้จักปล่อยวาง
  4. กิจกรรมลดปมความขัดแย้งภายในใจ ใคร่ครวญสัมพันธภาพ
  5. กิจกรรมฝึกการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้ง มีความคิดบวก
  6. กิจกรรมฝึกให้อภัย มีความเมตตา เพื่อให้เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
  7. ทบทวนกิจกรรมทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)

1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

  • เยาวชนอายุระหว่าง 17-21 ปี คนละ 8 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง

2. ค่าอาหารว่างของผู้เข้าร่วมอบรม

3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของวิทยากร

4. ค่าเอกสารประกอบ



20 คน



20,000

เด็กนักศึกษาจะได้รับการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรสติบำบัด เฉลี่ยต่อคนละ 1,000 บาท เรียนได้ 8 ครั้ง