project เด็กและเยาวชน

พัฒนาความมั่นคงทางอาหารของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยล่าสุด จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในภาวะขาดแคลนและเข้าไม่ถึงการพัฒนาในอีกหลายมิติ โดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เช่น แคระแกร็น พัฒนาการช้า มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ต้องการทำโครงการนี้เพื่อให้พ่อแม่และเด็กมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยจะระดมทุนค่าอาหารให้เด็ก 25 คน จำนวน 1 เดือน

ระยะเวลาโครงการ 01 มิ.ย. 2565 ถึง 30 พ.ย. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ตำบลหนองจิก อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี (ม.1 และ ม.2 ต.บางตวา)

ยอดบริจาคขณะนี้

50,554 บาท

เป้าหมาย

66,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 77%
จำนวนผู้บริจาค 76

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมแก้ปัญหาสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง

6 กันยายน 2023

การดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินการกิจกรรมผลลัพท์
มิถุนายน 2565สำรวจจำนวนและสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนจำนวนเด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการในชุมชน จำนวน 23 คน เข้าใจสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชน
สิงหาคม 2565
  • อบรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็ก
  • สร้างความรู้ความเข้าใจผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ คุณค่าทางอาหาร
  • ผู้ปกครองเข้าใจความมั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็ก
  • ผู้ปกครองเข้าใจพลังโภชนาการกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
กันยายน 2565พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการได้แนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ โดยการจัดทำอาหารเป็นพิเศษให้กับเด็กๆในกลุ่มเป้าหมาย 23 คน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน

ตุลาคม - พฤศจิกายน 2565

กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2566

ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ

  1. อบรมปฏิบัติการการผลิตอาหารเสริมเพื่อสุขภาพโดยนักวิชาการโภชนาการจำนวน 2 ครั้ง
  2. การจัดหาและผลิตอาหารมื้อเย็น สำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการโดยกลุ่มแม่บ้าน
  3. การสนับสนุนเพื่อการประกอบอาชีพและการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการของผู้ปกครอง
  • ได้เมนูอาหารพร้อมปริมาณอาหารที่กำหนดต่อมื้อต่อคน สำหรับ 3 สัปดาห์ไม่ซ้ำกัน
  • หนังสือเมนูไข่สำหรับเด็ก
  • เด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการในชุมชน จำนวน 23 คน ได้รับการดูแลให้มีอาหารมื้อเย็นทาน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนเริ่ม 24 ตค.ถึง 24 พย.65
  • ผู้ปกครอง จำนวน 12 ราย ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ วัตถุดิบ ในการประกอบอาชีพ

มิถุนายน 2566สรุปปิดโครงการ
  • เด็กที่เข้าร่วมโครงการทุกคนมีน้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น
  • ผู้ปกครองมีความตระหนักและใส่ใจในการดูแลลูกมากขึ้น

กิจกรรมที่ 1 สภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

สภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นสภาวะทุพโภชนาการขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและไม่ครบถ้วน อีกทั้งได้รับน้อยกว่าต่อความต้องการของร่างกาย เช่น เด็กที่อยู่ในสภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากได้ขาดการบริโภคอย่างมีคุณภาพในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานอาหารไม่ครบสามมื้อ และแต่ละมื้อได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติ 

ผลจากการศึกษา พบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยมีการเจริญเติบโตไม่สมส่วนทั้งความสูงและน้ำหนักกับอายุ โดยมีลักษณะ คือ ค่อนข้างผอม ค่อนข้างเตี้ย เตี้ย และผอม รวมทั้งหมด 23 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 3 ปีถึง 12 ปี

รายการอาหารที่เด็กรับประทานในแต่ละมื้อ มีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน แหล่งที่มาของอาหารที่เด็กบริโภคมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ จากครอบครัวปรุงเอง ซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้า และจากโรงเรียน

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการประชุมออกแบบร่วมกับชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักวิชาการด้านโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ

 สรุปแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ ในระยะสั้น

  1. โดยการจัดทำอาหารเป็นพิเศษให้กับเด็กๆในกลุ่มเป้าหมาย 23 คน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้าน ณ บ้านนางสาวมัศยา หะยีสาแม 5/13 ม.1 ต.บางตาวา โดยจัดทำทุกวัน เป็นเวลา 4 เดือน
  2. ให้เด็กๆ ไปทานร่วมกัน ในเวลา 4 โมงเย็น สำหรับอาหารมื้อเย็น
  3. ผู้ที่มีความรับผิดชอบในการจัดทำอาหารในเบื้องต้น เป็นกลุ่มแม่บ้านประมาณ 5 คน
  4. หลักการในการจัดหาวัตถุดิบ ให้คำนึงการมีอยู่ในท้องถิ่น รวมถึงองค์ความรู้ ผู้รู้ในท้องถิ่น
  5. ข้อเสนอประเภทอาหารที่เด็กๆ ชอบ ได้แก่ อาหารประเภทเส้น ได้แก่ ขนมจีน ลาแซ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ

  1. อบรมปฏิบัติการการผลิตอาหารเสริมเพื่อสุขภาพโดยนักวิชาการโภชนาการจำนวน 2 ครั้ง
  2. การจัดหาและผลิตอาหารเพื่อเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการโดยกลุ่มแม่บ้าน สำหรับมื้อเย็นให้กับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวนประมาณ 23 คน จำนวน 30 มื้อ
  3. การสนับสนุนเพื่อการประกอบอาชีพและการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการของผู้ปกครอง

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อโครงการ พบว่า ผู้ปกครองสามารถอธิบายการดำเนินกิจกรรมของโครงการได้อย่างครบถ้วนตามลำดับ และมีความพึงพอใจในทุกกิจกรรมของโครงการ ทั้งหมดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของลูก และการมีทะเลและได้ทำการประมงเป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคงในอาหาร ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้มีอาหารบริโภคในแต่ละมื้อ 

เพื่อสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือการดูแลฐานการผลิตให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งหมู่บ้านบางตาวาแห่งนี้ พื้นที่ทั้งหมดติดกับทะเล แหล่งทำมาหากินคือทะเล 

รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : เด็กๆ รับประทานอาหารร่วมกัน

 ภาพ : อาหารของเด็กๆ ในแต่ละมื้อ

 ภาพ : วัดส่วนสูง แนะนำโภชนาการทางอาหารที่เหมาะสมกับเด็กๆ

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยล่าสุด จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในภาวะขาดแคลนและเข้าไม่ถึงการพัฒนาในอีกหลายมิติ โดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เช่น แคระแกร็น พัฒนาการช้า มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ต้องการทำโครงการนี้เพื่อให้พ่อแม่และเด็กมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยจะระดมทุนค่าอาหารให้เด็ก 25 คน จำนวน 1 เดือน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยล่าสุด จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากยูนิเซฟ ชี้ให้เห็นว่า เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีจำนวนมากที่ขาดแคลนและเข้าไม่ถึงการพัฒนาในอีกหลายมิติ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ภาวะทุพโภชนาการ โดยพบว่าเด็กในจังหวัดชายแดนใต้ มีภาวะทุพโภชนาการ สูงสุดในประเทศ และยังเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีอัตราความยากจนสูงสุดตามรายงานประจำปี 2560 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พื้นที่ ต.บางตาวา อ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี ก็พบว่าพื้นที่ดังกล่าว มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กในหลากหลายรูปแบบ เช่น แคระแกร็น พัฒนาการช้า อวัยวะผิดรูปผิดสัดส่วน พิการตั้งแต่กำเนิด เหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดความเข้าใจทั้งของพ่อแม่และเด็ก และการเข้าไม่ถึงปัจจัยในการส่งเสริมดูแลสุขภาพ

เพื่อให้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กในพื้นที่โครงการได้รับการแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผ่านการให้ความรู้ ให้ทุนสนับสนุนในการจัดหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงเกิดกลไกชุมชนในการดูแลครอบครัวที่มีเด็กภาวะทุพโภชนาการและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก

โครงการนี้คาดว่า

  1.  จำนวนเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการจำนวนอย่างน้อย 50% ได้ทานอาหารมื้อเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนตลอดระยะเวลาจัดทำโครงการ
  2.  จำนวนครอบครัวในชุมชนที่มีเด็กอยู่ในเกณฑ์ภาวะทุพโภชนาการจำนวนอย่างน้อย 50% ได้รับการสนับสนุนอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
  3.  จำนวนครอบครัวที่มีเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการจำนวนอย่างน้อย 50% ได้รับงบประมาณสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
  4.  จำนวนครอบครัวที่มีเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการจำนวนอย่างน้อย 50% ได้รับการอบรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็ก
  5.  เกิดกลไกชุมชนในการดูแลครอบครัวที่มีเด็กภาวะทุพโภชนาการและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมที่ 1 สำรวจจำนวนและสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย เด็กในชุมชน จำนวนอย่างน้อย 50% ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

กิจกรรมที่ 2 อบรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็ก กลุ่มเป้าหมาย เด็กในชุมชนที่มีสภาวะทุพโภชนาการและผู้ปกครอง จำนวนอย่างน้อย 50%

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ

 1) ผู้ปกครองเด็กในหมู่บ้านที่มีภาวะทุพโภชนาการ 2) ครูศูนย์เด็กเล็ก 3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4) นักสังคมสงเคราะห์ 5) นักพัฒนา 6) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย.กลุ่มแม่บ้านและครอบครัว จำนวนอย่างน้อย 50%

สำหรับงบประมาณที่จะขอระดมทุนจะเป็นเฉพาะส่วนที่ 3 คือ "กิจกรรมที่ 3 พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ" โดยมีวิทยากร คือ อาจารย์นักโภชนาการ ให้การอบรมแม่เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมแก่เด็ก และให้แม่ดำเนินการซื้ออาหารและปรุงอาหารให้ลูกด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 มื้อ (อาหารเช้า) (เบื้องต้นโครงการได้ทำการสำรวจพบเด็กมีปัญหาทุพโภชนาการแล้วจำนวน 23 คน ดูรายงานเบื้องต้นที่นี่

  • เฉพาะอาหารเช้า >> เด็กที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 25 คน X 80 บาท X 1 มื้อ = 2,000 บาท
  • เฉพาะอาหารเช้า >> เด็กที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 25 คน X 80 บาท X 1 มื้อ X 4 วัน = 8,000 บาท
  • เฉพาะอาหารเช้า >> เด็กที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 25 คน X 80 บาท X 1 มื้อ X 30 วัน = 60,000 บาท
  • อาหารครบ 3 มื้อ (เช้า, กลางวัน, เย็น) สำหรับ 1 วัน >> เด็กที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 25 คน X 80 บาท X 3 มื้อ = 6,000 บาท
  • อาหารครบ 3 มื้อ (เช้า, กลางวัน, เย็น) สำหรับ 30 วัน (1 เดือน) >> 6,000 บาท X 30 วัน = 180,000 บาท

ดังนั้น งบประมาณที่ระดมทุนจำนวน 60,000  บาท สำหรับเด็ก 25 คน สามารถดูแลเด็กสำหรับอาหารเช้าได้ 30 วัน และจะให้แม่ของเด็กนำไปซื้ออาหารครบ 5 หมู่ ส่วนใหญ่จะเป็นรถเล่(พุ่มพวง)ขายผัก ปลา ฯลฯ งบประมาณจะให้ผู้ปกครองจัดการโดยมีวิทยากรในโครงการเป็นพี่เลี้ยงและแนะนำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • รอฮาณี กามูจันทรดี
  • ลม้าย มานะการ
  • เกื้อ ฤทธิบูรณ์
  • อลิสา หะสาเมาะ
  • ลักษณา ไชยมงคล

กิจกรรมแก้ปัญหาสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง

6 กันยายน 2023

การดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินการกิจกรรมผลลัพท์
มิถุนายน 2565สำรวจจำนวนและสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนจำนวนเด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการในชุมชน จำนวน 23 คน เข้าใจสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชน
สิงหาคม 2565
  • อบรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็ก
  • สร้างความรู้ความเข้าใจผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ คุณค่าทางอาหาร
  • ผู้ปกครองเข้าใจความมั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็ก
  • ผู้ปกครองเข้าใจพลังโภชนาการกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
กันยายน 2565พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการได้แนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ โดยการจัดทำอาหารเป็นพิเศษให้กับเด็กๆในกลุ่มเป้าหมาย 23 คน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน

ตุลาคม - พฤศจิกายน 2565

กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2566

ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ

  1. อบรมปฏิบัติการการผลิตอาหารเสริมเพื่อสุขภาพโดยนักวิชาการโภชนาการจำนวน 2 ครั้ง
  2. การจัดหาและผลิตอาหารมื้อเย็น สำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการโดยกลุ่มแม่บ้าน
  3. การสนับสนุนเพื่อการประกอบอาชีพและการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการของผู้ปกครอง
  • ได้เมนูอาหารพร้อมปริมาณอาหารที่กำหนดต่อมื้อต่อคน สำหรับ 3 สัปดาห์ไม่ซ้ำกัน
  • หนังสือเมนูไข่สำหรับเด็ก
  • เด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการในชุมชน จำนวน 23 คน ได้รับการดูแลให้มีอาหารมื้อเย็นทาน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนเริ่ม 24 ตค.ถึง 24 พย.65
  • ผู้ปกครอง จำนวน 12 ราย ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ วัตถุดิบ ในการประกอบอาชีพ

มิถุนายน 2566สรุปปิดโครงการ
  • เด็กที่เข้าร่วมโครงการทุกคนมีน้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น
  • ผู้ปกครองมีความตระหนักและใส่ใจในการดูแลลูกมากขึ้น

กิจกรรมที่ 1 สภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

สภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นสภาวะทุพโภชนาการขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและไม่ครบถ้วน อีกทั้งได้รับน้อยกว่าต่อความต้องการของร่างกาย เช่น เด็กที่อยู่ในสภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากได้ขาดการบริโภคอย่างมีคุณภาพในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานอาหารไม่ครบสามมื้อ และแต่ละมื้อได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติ 

ผลจากการศึกษา พบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยมีการเจริญเติบโตไม่สมส่วนทั้งความสูงและน้ำหนักกับอายุ โดยมีลักษณะ คือ ค่อนข้างผอม ค่อนข้างเตี้ย เตี้ย และผอม รวมทั้งหมด 23 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 3 ปีถึง 12 ปี

รายการอาหารที่เด็กรับประทานในแต่ละมื้อ มีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน แหล่งที่มาของอาหารที่เด็กบริโภคมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ จากครอบครัวปรุงเอง ซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้า และจากโรงเรียน

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการประชุมออกแบบร่วมกับชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักวิชาการด้านโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ

 สรุปแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ ในระยะสั้น

  1. โดยการจัดทำอาหารเป็นพิเศษให้กับเด็กๆในกลุ่มเป้าหมาย 23 คน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้าน ณ บ้านนางสาวมัศยา หะยีสาแม 5/13 ม.1 ต.บางตาวา โดยจัดทำทุกวัน เป็นเวลา 4 เดือน
  2. ให้เด็กๆ ไปทานร่วมกัน ในเวลา 4 โมงเย็น สำหรับอาหารมื้อเย็น
  3. ผู้ที่มีความรับผิดชอบในการจัดทำอาหารในเบื้องต้น เป็นกลุ่มแม่บ้านประมาณ 5 คน
  4. หลักการในการจัดหาวัตถุดิบ ให้คำนึงการมีอยู่ในท้องถิ่น รวมถึงองค์ความรู้ ผู้รู้ในท้องถิ่น
  5. ข้อเสนอประเภทอาหารที่เด็กๆ ชอบ ได้แก่ อาหารประเภทเส้น ได้แก่ ขนมจีน ลาแซ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ

  1. อบรมปฏิบัติการการผลิตอาหารเสริมเพื่อสุขภาพโดยนักวิชาการโภชนาการจำนวน 2 ครั้ง
  2. การจัดหาและผลิตอาหารเพื่อเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการโดยกลุ่มแม่บ้าน สำหรับมื้อเย็นให้กับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวนประมาณ 23 คน จำนวน 30 มื้อ
  3. การสนับสนุนเพื่อการประกอบอาชีพและการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการของผู้ปกครอง

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อโครงการ พบว่า ผู้ปกครองสามารถอธิบายการดำเนินกิจกรรมของโครงการได้อย่างครบถ้วนตามลำดับ และมีความพึงพอใจในทุกกิจกรรมของโครงการ ทั้งหมดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของลูก และการมีทะเลและได้ทำการประมงเป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคงในอาหาร ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้มีอาหารบริโภคในแต่ละมื้อ 

เพื่อสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือการดูแลฐานการผลิตให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งหมู่บ้านบางตาวาแห่งนี้ พื้นที่ทั้งหมดติดกับทะเล แหล่งทำมาหากินคือทะเล 

รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : เด็กๆ รับประทานอาหารร่วมกัน

 ภาพ : อาหารของเด็กๆ ในแต่ละมื้อ

 ภาพ : วัดส่วนสูง แนะนำโภชนาการทางอาหารที่เหมาะสมกับเด็กๆ

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหารเช้าสำหรับเด็ก 25 คน X 80 บาท X 30 วัน 25 คน 60,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
60,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
6,000.00

ยอดระดมทุน
66,000.00