มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย

เด็กในครอบครัวที่มีฐานะยากจนไม่มีโอกาสได้รับอาหารที่เพียงพอตามหลักโภชนาการ หรือบางครั้งต้องอดบางมื้อไป เครือข่ายปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชน ลงพื้นที่มอบมื้ออาหารที่เต็มเปี่ยมด้วยโภชนาการให้เด็ก 100 คน ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ : 100 มื้อ:100 วัน
ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน (100 วัน) พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
ยอดบริจาคขณะนี้
253,039 บาทเป้าหมาย
250,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ผลการดำเนินงานใน 2 โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน จ.เพชรบูรณ์
การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เริ่มต้นใน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
วิธีการดำเนินงาน:
1. รูปแบบการจัดการครัวและจัดการอาหารสด โดยทำการให้องค์ความรู้ในการจัดซื้อ การจัดเก็บและการจัดการเมนูตามหลักโภชนาการ
วัตถุประสงค์:
- เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้ได้วัตถุดิบมาประกอบอาหารเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการได้รับอาหารมากขึ้น
- เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารตามหลักโภชนาการมากขึ้น
ผลลัพธ์:
- จัดเมนู ล่วงหน้า 5 วัน ให้ได้มาตรฐานหลักโภชนาการ
- ปรับเมนูตามวัตถุดิบที่เหลือได้อย่างคุ้มค่า
- ซื้อเตาแก๊สพร้อมถังแก๊ส เพิ่มอีกชุด1 ชุด(เดิม มีแค่ 1 ชุด)
2. รูปแบบการผลิตวัตถุดิบการเกษตร โดยการจัดให้มีแปลงเกษตรอินทรีย์ และการจัดทำปุ๋ย/สารไล่แมลง ฯ
วัตถุประสงค์:
- เพื่อจัดการแปลงเกษตร
- เพื่อลดต้นทุนและให้โรงเรียนมีความยั่งยืนด้วยการผลิตด้วยตนเอง
ผลลัพธ์:
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกผักเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เช่น ผักบุ้งจีน มะเขือเปราะ ผักกาดขาว
- หาพันธุ์ปลา นิล จำนวน 500 ตัว มาเลี้ยง สระหลังโรงเรียน และผลิตอาหารปลาเอง
- ปลูกกล้วยน้ำว้า มะละกอ ตะไคร้ กะเพรา รอบสระหลังโรงเรียน
25 บาทต่อมื้อ ให้เด็กยากจนได้กินอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย
โครงการ มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย เป็นโครงการการพัฒนาต้นแบบการสนับสนุนเด็กยากจนได้รับอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยที่เครือข่ายปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชน 6 พื้นที่ ได้แก่ (1) โรงพยาบาลอุบลรัตน์ (2) โรงพยาบาลท่าวุ้ง (3) โรงพยาบาลน้ำพอง (4) โรงพยาบาลยะหริ่ง (5) โรงพยาบาลขุนหาญ (6) โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
ในช่วงระบาดของโรค Covid-19สิ่งที่โรงพยาบาลเห็น คือ มีเด็กจำนวนมาก ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนด้านอาหาร เด็กยากจนต้องอดมื้อกินมื้อ ดังนั้นจึงมีแนวคิดอยากให้เด็กยากจนได้รับอาหารที่เพียงพอมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้เด็กบางครอบครัวที่ขาดแคลนอาหาร ไม่มีปัจจัยทางด้านการเงินไม่สามารถได้รับอาหารที่ครบตามหลักโภชนาการ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อร่างกาย รวมทั้งระบบสมอง สมาธิ และสติปัญญาในการเรียน ดังนั้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน ถึงกันยายน เราจึงจัดโครงการ "มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย"โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งมอบอาหารด้วยตัวเองทุกวัน ผลลัพธ์ที่ผ่านมาเด็กมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินโครงการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และมีความพร้อม ในการทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น
ภาพประกอบ : อาสาสมัครโรงพยาบาลขุนหาญส่งมอบอาหารให้กับเด็กยากจน โดยใช้กล่องกระดาษและถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การลงพื้นที่ในทุกๆ วัน เรายังเจอเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน, เด็กที่พ่อแม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 และเด็กกำพร้า เราจึงขอชวนทุกคนมาร่วมขยายผลในระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการให้ยั่งยืนมากขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างโอกาสให้เด็กที่มีภาวะยากจนมีสุขภาพด้านร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพจิตดี ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ตามหลักโภชนาการเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตทางสังคมที่ดีสืบไป โดยใช้พื้นที่ในเครือข่ายปฏิรูป รพช. 6 พื้นที่ต้นแบบที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยขยายระยะเวลาเพิ่ม 100 วัน (เดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม) จำนวนเด็กทั้งหมด 600 คน คนละ 100 มื้อ ในระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563
ภาพประกอบ : อาสาสมัครโรงพยาบาลน้ำพองส่งมอบอาหารให้กับเด็กยากจน โดยใช้กล่องเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
- โรงพยาบาลกำหนดพื้นที่เป้าหมาย
- สำรวจและขึ้นทะเบียนรายชื่อเด็กยากจน
- กำหนดเมนูอาหารในแต่ละวัน โดยนักโภชนาการ เช่น ชนิด ปริมาณ วัตถุดิบ
- ผลิตอาหาร (โรงพยาบาลผลิตเองในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยจับคู่กับโครงการคนพิการ, นักบริบาล และเกษตรอินทรีย์ หรือ ทำการจัดจ้างร้านค้า หรือ บริษัท โดยโรงพยาบาลคุมคุณภาพ)
- การส่งมอบอาหาร ดำเนินการโดยประสานงานหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ รพสต., อสม. และ อปท. เป็นผู้ส่งมอบถึงมือเด็ก
- บันทึกการได้รับอาหารของเด็กแต่ละคน พร้อมติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเพื่อรายงานผลให้ผู้บริจาค
- โรงพยาบาลมีการคัดเลือกเด็กใหม่ทุก 3 เดือน เพื่อให้เกิดการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ครอบคลุมเด็กที่ได้รับความลำบากจริงๆ
ภาพประกอบ : อาสาสมัครโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ส่งมอบอาหารให้กับเด็กยากจน
ประโยชน์ของโครงการ
- เด็กยากจนที่เข้าร่วมโครงการได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ
- เด็กยากจนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการดูแลสุขภาพจากโรงพยาบาลพื้นที่ต้นแบบทั้ง 6 พื้นที่ และมีพัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโตสมวัยตามเกณฑ์
- โครงการได้รับการส่งเสริมขยายผลในระยะยาวต่อไป
เกณฑ์การคัดเลือกเด็กที่เข้าร่วมโครงการ
- เด็กยากจน
- อายุระหว่างเด็กปฐมวัย ถึงประถมศึกษาปีที่ 6
- เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน
- กำพร้า หรือ พ่อแม่ตกงานเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ
เจ้าของโครงการ
มูลนิธิแพทย์ชนบท
นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง
พญ.ดวงดาว ศรียากุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบูรณ์
ความคืบหน้าใน 2 โรงเรียนของโครงการมื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย
ปี 2564สถานการณ์โควิด ทำให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ จวบจนปัจจุบันทางคณะทำงานจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ได้เริ่มตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาโดยลงพื้นที่พูดคุยวางแผนรายละเอียดกับทางโรงเรียนทุ่งหินปูนและโรงเรียนบุฉนวน และโรงเรียนทุ่งหินปูน
สถานการณ์โรงเรียนทุ่งหินปูน ปัจจุบันทางโรงเรียนได้ค่าอาหาร 21 ต่อคนนักเรียนมีทั้งหมด 84 คน รวมทั้งสิ้นต่อมื้อคือ 1,764 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้โรงเรียนใช้ทั้งซื้อวัตถุดิบอาหาร และค่าแก๊ส ทำให้เด็กไม่ค่อยได้รับประทานผลไม้หรือขนมหวาน เงินที่ได้รับจึงจะนำไปซื้อผลไม้และวัตถุดิบทำขนมหวานเพื่อให้เด็กได้กินหลังเลิกเรียนและนำเงินบางส่วนไปซื้อหัวแก๊สเพิ่มเพื่อให้แม่ครัวทำอาหารได้สะดวกมากขึ้น โดย
ด้านโรงเรียนบ้านบุฉนวน พบว่า โรงเรียนได้มีการวางแผนโภชนาการอาหารกลางวันได้ดีอยู่แล้วเ เด็กไม่ค่อยมีภาวะโภชนาการที่บกพร่อง เงินที่ได้รับมอบให้ไปเพิ่มในส่วนของกับข้าว นม ผลไม้เพิ่มให้เด็ก
คณะ FOOD FOR GOOD และ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565
หารือเกี่ยวกับตัวแทนโรงเรียนทุ่งหินปูนเพื่อรับฟังปัญหาและแนวทางที่อยากแก้ไข
ประชุมร่วมกับโรงเรียนบุฉนวนถึงแนวทางการจัดอาหารและโภชนาการในโรงเรียน
ผลการดำเนินงานใน 2 โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน จ.เพชรบูรณ์
การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เริ่มต้นใน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
วิธีการดำเนินงาน:
1. รูปแบบการจัดการครัวและจัดการอาหารสด โดยทำการให้องค์ความรู้ในการจัดซื้อ การจัดเก็บและการจัดการเมนูตามหลักโภชนาการ
วัตถุประสงค์:
- เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้ได้วัตถุดิบมาประกอบอาหารเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการได้รับอาหารมากขึ้น
- เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารตามหลักโภชนาการมากขึ้น
ผลลัพธ์:
- จัดเมนู ล่วงหน้า 5 วัน ให้ได้มาตรฐานหลักโภชนาการ
- ปรับเมนูตามวัตถุดิบที่เหลือได้อย่างคุ้มค่า
- ซื้อเตาแก๊สพร้อมถังแก๊ส เพิ่มอีกชุด1 ชุด(เดิม มีแค่ 1 ชุด)
2. รูปแบบการผลิตวัตถุดิบการเกษตร โดยการจัดให้มีแปลงเกษตรอินทรีย์ และการจัดทำปุ๋ย/สารไล่แมลง ฯ
วัตถุประสงค์:
- เพื่อจัดการแปลงเกษตร
- เพื่อลดต้นทุนและให้โรงเรียนมีความยั่งยืนด้วยการผลิตด้วยตนเอง
ผลลัพธ์:
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกผักเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เช่น ผักบุ้งจีน มะเขือเปราะ ผักกาดขาว
- หาพันธุ์ปลา นิล จำนวน 500 ตัว มาเลี้ยง สระหลังโรงเรียน และผลิตอาหารปลาเอง
- ปลูกกล้วยน้ำว้า มะละกอ ตะไคร้ กะเพรา รอบสระหลังโรงเรียน
แผนการใช้เงิน
รายการ | บาท |
1. ค่าอาหารเด็ก 100 มื้อ x 100คน x 25 บาท | 250,000 |
รวม | 250,000 |
โครงการนี้รวมค่าธรรมเนียมเทใจ 10% แล้ว
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
*ทางโครงการสนับสนุนมื้ออาหารเพื่อเด็กน้อย ที่อยู่ในพื้นที่การดูแลของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ตลอดโครงการ