ส่งต่อความสุข สู้ความหิว ลดอาหารส่วนเกิน Food Rescue Program

ภารกิจส่งต่อมื้ออาหารคุณภาพดีถูกหลักโภชนาการจากมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ให้แก่ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพ ฯ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต
ระยะเวลาโครงการ ตลอดปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
425,070 บาทเป้าหมาย
3,300,000 บาท
วิกฤตการณ์อาหารเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมในประเทศไทย ครัวเรือนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ภายใต้เส้นความยากจนยังคงเผชิญกับความท้าทายในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ที่ดีของ เนื่องจากไม่สามารถเอื้อมมือถึงอาหารเหล่านั้นได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารที่กินได้จำนวนมากถูกทิ้งอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยไม่ได้ถูกนำไปรับประทาน หรือแปรรูปให้เกิดประโยชน์ ปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดการขยะของประเทศไทยมีส่วนทำให้เกิดปัญหาขยะอาหารจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดการฝังกลบขยะอาหารจำนวนมาก นำไปสู่มลพิษและภาวะโลกร้อน สิ่งเหล่านี้กระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต่อคนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชน
แนวทางการแก้ เเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ SOS รับรองว่าอาหารส่วนเกินทั้งหมดจะถูกนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารทั้งหมดถูกนำส่งไปถึงชุมชนท้องถิ่น และลดขยะอาหารที่อาจจบลงด้วยการฝังกลบ ซึ่งป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาค
ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ด้านสังคม
1. บรรเทา เยียวยา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงอาหารที่ดีและถูกหลักโภชนาการอย่างเท่าเทียม
2. การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารแก่กลุ่มผู้ขาดแคลน
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. ลดปัญหาขยะอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารในประเทศไทย
2. การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากอาหารส่วนเกิน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุก ๆ วันโดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ
1.ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ
2.ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกวัน
ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงานของครัวรักษ์อาหารจึงมีดังนี้
1.ติดต่อหัวหน้าชุมชนที่เป็นผู้รับบริจาคอาหารจากทางมูลนิธิ ฯ อยู่แล้ว และมีความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินเป็นอย่างดี เพื่อแนะนำและช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่
2.ตรวจสอบความพร้อมของชุมชนว่ามีสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดตั้งจุดแจกจ่ายอาหารชุมชนครบครันหรือไม่ หากมีความพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางอาหารของมูลนิธิ ฯ จะเข้าไปแนะนำการจัดตั้ง และความปลอดภัยให้กับชุมชน
3.ประสานงานกับทีมรถรับบริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำวัตถุดิบแบ่งออกเป็นสามส่วน
- ส่วนที่หนึ่งส่งให้หัวหน้าชุมชน เพื่อเตรียมนำไปแจกจ่ายต่อกับผู้อาศัยในชุมชน
- ส่วนที่สองมาส่งให้กับครัว เพื่อนำวัสถุดิบไปทำอาหารแล้วแจกจ่ายให้ชุมชนอื่น
- ส่วนที่สามนำอาหารแห้งไปแจกจ่ายให้แก่ชุมชนห่างไกล
4.ประสานงานกับหัวหน้าชุมชนเพื่อจัดเตรียมจำนวนผู้รับอาหารที่มีความเดือนร้อน และจัดเตรียมด้านการสื่อสาร
5.เมื่อถึงวันนัดหมาย หัวหน้าชุมชนจะมารับอาหารตามจุดนัดหมายเพื่อรอแจกจ่าย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ดำเนินโครงการโดยมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทยโดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่น อาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันหมดอายุ) จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้ต่ำที่มีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวัน

แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าดำเนินการส่งต่ออาหาร (5 บาทต่อมื้อ) | 600,000 | 3,000,000.00 |