เงินบริจาคของคุณจะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงช้างให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง8ชุมชน
ส่งผลให้ช้างและคนเลี้ยงช้างได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งด้านอาหารช้าง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงช้าง หน่วยงานที่ดำเนินงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ เข้าช่วยเหลือช้างและผู้เลี้ยงช้างโดยสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ที่มีสมาชิกจาก 8 ชุมชน ช้างจำนวน 125 เชือก เพื่อดำเนินการช่วยเหลือด้านอาหารช้าง การดูแลรักษาสุขภาพช้าง และการบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของช้าง
ช้างจากชุมชนปกาเกอะญอ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ไปรับจ้างทำงานด้านการท่องเที่ยวตามปางช้างต่างๆ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ตกงานต้องอพยพกลับคือสู่ชุมชน เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเดินทางกลับคืนชุมชนในครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน เจ้าของช้างไม่ได้เตรียมการรับมือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ช้างและคนเลี้ยงช้างได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งด้านอาหารช้าง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงช้าง กลุ่มผู้หญิงในชุมชนคนเลี้ยงช้างได้พยายามหารายได้ทางอื่นๆ เพื่อนำมาช่วยดูแลช้างด้วย เช่น กลุ่มผู้หญิงและคณะกรรมการมูลนิธิชุมชนเลี้ยงช้างบ้านห้วยผักกูด ได้ริเริ่มดำเนินการพัฒนาอาชีพทางเลือกจากการนำมูลช้างผลิตเป็นปุ๋ย มูลช้างอัดเม็ด โดยกลุ่มส่งมูลช้างวิเคราะห์ธาตุอาหารและพบว่ามูลช้างมีธาตุอาหารสูงกว่ามูลวัว โดยขณะนี้กลุ่มอยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวข้อมูลและออกแบบการดำเนินธุรกิจของชุมชน กลุ่มผู้หญิงบ้านห้วยบง (หมู่บ้านบริวารของบ้านห้วยผักกูด) ตั้งกลุ่ม ผลิตข้าวซ้อมมือปลอดสารพิษ กลุ่มผู้หญิงบ้านนากลาง ผลิตน้ำพริกคั่วสมุนไพรจำหน่าย และนำรายได้บางส่วนมาใช้เป็นค่าน้ำมันสำหรับเดินทางไปตัดหญ้า ข้าวโพด เป็นอาหารช้าง โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณี และพัฒนาคุณภาพชีวิต คนและช้าง อย่างยั่งยืน
มูลนิธิรักษ์ไทยจึงอยากชวนมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของช้างและช้างในช่วงนี้ ด้วยการสนับสนุนค่าอาหารช้างให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงช้างวันละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 90 วัน
เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมวางแผนกับคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ผู้แทนจาก อบต.แม่ศึก และเจ้าของช้าง
ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม พร้อมกับลำดับความสำคัญ เพื่อการวางแผนการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทยในพื้นที่ ดำเนินการโครงการ โดยโอนเงินไปยังคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง
คณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ใช้งบประมาณตามรายละเอียดของโครงการ และเก็บเอกสารใบเสร็จ ทั้งหมด และรายงานกลับมายังมูลนิธิรักษ์ไทย
เจ้าหน้าที่ อบต.และเจ้าหน้าที่มูลธิรักษ์ไทย ระดับพื้นที่ติดตาม และสนับสนุนการทำงานของกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง
คณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ผู้แทนจาก อบต.แม่ศึก และมูลนิธิรักษ์ไทยร่วมจัดทำรายงานโครงการสรุปส่ง ว่ามีการดำเนินการช่วยเหลือประสบความสำเร็จ หรือมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรืออย่างไร จากนั้น จะประชุมกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไข
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าอาหารช้าง เช่น หญ้า ฟักทอง แตงโม อ้อย ต้นข้าวโพด 5,000 บาทต่อวันเป็นเวลา 90 วัน | 125เชือก | 450,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 450,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 45,000.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้