project สิ่งแวดล้อม

FLR349: ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง น้อมนำศาสตร์พระราชา ได้ป่าฟื้นคืน ได้อาชีพยั่งยืน ได้อาหารปลอดภัย

สนับสนุนเกษตรกรเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และสร้างอาชีพยั่งยืน ด้วยรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พร้อมดูแล รักษาต้นไม้ที่ปลูกเป็นระยะเวลา 6 ปี เพื่อจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ทำลายป่า สู่การปลูกไม้ป่าถาวร ไม้ผล และพืชผักสมุนไพรนานาชนิดแบบผสมผสาน โดยเชื่อมโยงตลาดรับซื้ออาหารอินทรีย์ และสร้างรายได้ สู่การยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและชุมชน

ระยะเวลาโครงการ 6 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

531,247 บาท

เป้าหมาย

3,300,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 16%
จำนวนผู้บริจาค 255

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน FLR349 ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

18 กุมภาพันธ์ 2022

โครงการ FLR 349 ได้ร่วมกับองค์การบริการส่วนตำบลกองแขก ซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่เป้าหมายในการคัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ตำบลกองแขก เพื่อรับการสนับสนุนฟื้นฟูป่า สร้างอาชีพ สร้างระบบอาหาร โดยได้รับการการสนับสนุนเงินทุนจากการระดมทุน ผ่าน เทใจดอทคอม โดยงบประมาณดังกล่าว จะถูกนำไปดำเนินงานตามโมเดล FLR349 ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในพื้นที่ 16 ไร่ ที่ผ่านการบุกรุกทำเกษตรเชิงเดี่ยวและอยู่ในชั้นลุ่มน้ำ 1-2 ตามนโยบายคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมการ 4 ครัวเรือน และจะได้รับการดูแลในระยะเวลา 6 ปี เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ โดยดำเนินการตามรายงานการดำเนินการ 


รายละเอียดในการจัดกิจกรรม ต่อไปนี้



โมเดล FLR349 จะจัดหาพันธุ์ไม้ป่า ไม้เศรษฐกิจ และพืชผักในพื้นให้กับเกษตรกรในโครงการ สำหรับการฟื้นฟูป่า สร้างอาชีพ และระบบอาหารยั่งยืน เพื่อหยุดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและฟื้นฟูกลับสู่สภาพพื้นที่ป่าในรูปแบบป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ในหนึ่งไร่ จะปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 150 ต้น พร้อมการดูแลเกษตรกร และการติดตามประเมินผลตลอดระยะเวลาที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ในระยะเวลา 6 ปี

ชนิดกล้าไม้

• ไม้อาหารที่เป็นไม้ผลและพืชเศรษฐกิจ เช่น โกโก้ อะโวคาโด กาแฟ ขนุน มะรุม มะม่วง ลำใย ลิ้นจี่ และ มะม่วงหิมพานต์ จำนวน 30 ต้นต่อไร่

• ไม้ใช้สอยที่เป็นไม้ผล เช่น ไม้เบิกนำ ไม้พี่เลี้ยง ไผ่ จำนวน 20 ต้นต่อไร่

• ไม้ป่า เช่น สัก หว้า ประดู่ มะขามป้อม มะค่าโมง สมอไทย แดง สมอพิเภก สะเดา จำปีป่า นนทรี ไม้พื้นถิ่นในพื้นที่ จำนวน 100 ต้นต่อไร่

• ไม้ให้ความชุ่มชื้นกักเก็บน้ำ และฟื้นฟูระบบนิเวศ กล้วยจำนวน 64 ต้น/ไร่

อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ที่นี่

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 4 คน


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

สถานการณ์การสูญเสียป่าต้นน้ำของไทยอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะการขยายตัวของการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ลาดชันซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านไร่ ที่ถูกเปลี่ยนทำลายเพื่อปลูกช้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เราต้องสูญเสียทรัพยากรป่าไม้อันมีค่า แหล่งกักเก็บน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของภัยแล้ง ภาวะโลกร้อน ปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการแผ้วถางและเผาตอซัง สารเคมีปนเปื้อนดิน น้ำและอาหารจากการใช้สารเคมีเกษตรอย่างเข้มข้นตลอดการปลูกถึงการเก็บเกี่ยว และการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่ได้ทำให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ แต่ยิ่งทำให้พวกเขาติดอยู่ในวงจรหนี้สินและมีสภาพการเป็นอยู่ที่แร้นแค้น เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาขายที่ถูกกดต่ำกว่าท้องตลาด เกษตรกรบนพื้นที่ลาดชันมีรายได้โดยเฉลี่ยจากการปลูกข้าวโพดเพียงประประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ต่อปีเท่านั้น ซึ่งยังไม่รวมถึงต้นทุนแฝงหรือภาระด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ถูกคิดคำนวณลงใปในต้นทุนการผลิต

กล่าวคืออีกนัยหนึ่งคือ เราเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นโอกาสในการสร้างระบบนิเวศบริการในราคาเพียง 1,500 บาทต่อไร่ต่อปี!!



การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในไร่ข้าวโพดเชิงเดี่ยวในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกษตรกรได้รับสารเคมีผ่านเข้าทางเดินหายใจโดยตรง และหากมีฝนตกลงมา สารเคมีในไร่ข้าวโพดก็จะถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีปริมาณน้ำเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของแม่น้ำปิง และเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการ “FLR349”  (Forest Landscape Restoration Fund 349) เป็นโครงการที่น้อมนำศาสตร์พระราชา การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการสร้างห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเป็นโมเดลให้กับเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำ  โครงการ FLR349 จะเป็นเสมือนพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการวิธีการทำเกษตรจากการทำพืชเชิงเดี่ยวรุกป่าใช้เคมีสูง สู่การทำเกษตรกรรมแบบบูรณาการในรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างนี้ จะนำมาซึ่งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการแผ้วถางทำลายหน้าดิน ผ่านการปลูกและดูแลไม้ป่าถาวร ปลูกไม้ผล และพืชผัก สมุนไพรนานาชนิดแบบผสมผสาน เกื้อกูลฟื้นฟูสร้างระบบนิเวศ และเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน น้ำ และเอื้อต่อการผลิตอาหารที่หลากหลายและปลอดภัยต่อการผลิตและบริโภค เป็นการสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชนในการพึ่งพาตัวเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการยังชีพและสุขภาวะที่ฟื้นคืนกลับมา ซึ่งจะทำให้สามารถก้าวพ้นจากวงจรหนี้สิน และยังถือได้ว่าเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs)

พื้นที่นำร่องของเรา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในการปรับเปลี่ยนอาชีพสู่การสร้างป่าสร้างอาหารยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายพื้นที่ 17,000 ไร่ เกษตรกรจำนวน 2,000 ครัวเรือน ภายในปี 2562- 2568 กองทุนจะสนับสนุนเกษตรกรครัวเรือนละ 5-10 ไร่ จำนวนเงินสนับสนุน 2,000 บาท ต่อไร่ต่อปี เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 6 ปี ในการปรับเปลี่ยนและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ต่อไปหลังโครงการ กองทุน FLR349 ตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการขยายพื้นที่ในระดับจังหวัดและประเทศ หรือสามารถนำไปเป็นโมเดลทางเลือกในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรหรือการพัฒนาการทำเกษตรกรรมได้ในในทุกพื้นที่  

บรรยายภาพ : ทิวทัศน์ชินตาของผู้ผ่านไปมาในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา โดยจากการประเมินพบว่าอำเภอแม่แจ่มแห่งเดียวมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดถึง 123,229 ไร่ (2559) [พื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่]

ปี 2563 นี้ ทางโครงการได้มีการขยายพื้นที่เพิ่มอีก 200 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถหยุดการบุกรุกพื้นที่ป่าได้ถึง 1,000 ไร่ โครงการ FLR349 มีองค์กรจากภาคประชาสังคมและภาคเอกชนเป็นผู้ริเริ่มและจัดตั้ง ประกอบด้วยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF) บริษัท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (BAAC) และมีองค์กรอื่น ๆ รวมเป็นภาคีสนับสนุน รวมถึงด้านการให้ข้อมูลเชิงวิชาการผ่านโครงการวิจัย และภายในปลายปี 2563 จะมีการสร้างระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ (traceability system) ที่จะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตหรือเกษตรกรภายใต้โครงการและผู้บริโภคเข้าด้วยกัน ผู้บริโภครวมถึงผู้บริจาคจะสามารถรู้แหล่งที่มาของอาหาร สามารถบริจาคเงินผ่านระบบเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนและติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูป่าภายในพื้นที่ดำเนินการกองทุนได้อีกด้วย

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ 

  1. สร้างเครือข่ายภายใต้กลุ่ม/วิสาหกิจชุม/สหกรณ์/และอื่นๆ ที่ประสบปัญหาเรื่องการมีพื้นที่ทับซ้อนการใช้ประโยชน์ทำเกษรตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่า/พื้นที่ต้นชั้น 1, 2 และมีความสมัครใจที่ปรับเปลี่ยนเป็นการดำเนินการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
  2. สำรวจพื้นที่ พิกัด จำนวนพื้นที่แปลงที่เข้าสู่กระบวนการปลูกป่า การเดินสำรวจภาคสนามรอบขอบเขตแปลง และตรวจสอบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม โดยการร่วมกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่และเจ้าหน้ากรมป่าไม้
  3. การเตรียมพื้นที่ปลูก โดยการกำจัดวัชพืช ถางแนวปลูกต้นไม้ ปักหลักหมายแนวปลูก ขุดหลุม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม และการเตรียมปุ๋ยหมักอินทรีย์ในพื้นที่เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์
  4. การขุดแนวคลองใส้ไก่ สร้างบ่อพลวง และจุดกักเก็บน้ำในพื้นที่ โดยใช้เครื่องจักรและการวางแผนการจัดการผังบริเวณการใช้ประโยชน์พื้นที่
  5. เตรียมกล้าไม้ ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ จากกล้าไม้ที่เพาะในโรงเรือนเพาะชำ ขุดแยกกล้วยและตัดแต่งหน่อเพื่อการปลูก และการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ โดยการยกร่องการปลูกพืชสมุนไพร พืชพื้นล่าง
  6. ปลูกป่า ที่มี ไม้ป่า ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ และพืชผลทางเกษตรในรูปแบบอินทรีย์
  7. นำข้อมูลการปลูกลงฐานข้อมูลการติดตามการเจริญเติบโต ผ่านระบบดาวเทียม โดยการอัพเดตผ่าน QR code ที่ติดกับต้นไม้ที่ปลูกซึ่งจะมีการอัพเดตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  8. การบำรุงรักษา ดูแลพื้นที่ โดยการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยหมักรอบโคนต้น และตัดแต่งกิ่งเพื่อลดการคายน้ำของกล้าไม้ที่ปลูก
  9. การป้องกันระวังไฟ สร้างแนวกันไฟ รอบพื้นที่แปลงขนาด 4-6 เมตร ในบริเวณจุดเสี่ยงที่เกิดไฟป่า จัดเวรยามระวังไฟ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับดับไฟป่า
  10. สร้างเครือข่ายการจัดการผลผลิตที่เกิดจากพื้นที่ ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ และวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในพื้นที่ ตามรูปแบบอาหารเพื่อพื้นถิ่น ( Local Food) โดยการขายผลผลิตให้กับโรงเรียน ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ตลาดในชุมชน และตลาดสินค้าเกษตร
  11. การติดตามประเมินผลการทำงาน การเจริญเติบโตของกล้าไม้ อัตรารอดตาย การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การตลาดในพื้นที่ รายได้และความกินดีอยู่ดีของเกษตรกร

บรรยายภาพ : ภาพนาขั้นบันไดที่ทอดยาวคลุมเนินเขาหลายลูกในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นความสวยงามที่ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมาหลังชาวบ้านเลือกเส้นทางการทำนาข้าวอินทรีย์ แทนที่การทำนาแบบหนักปุ๋ยเคมีอย่างที่เคยเป็นมา นอกจากผลลัพธ์เชิงสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ในนาข้าวกลับมา ทั้งปูนา ปลาตัวเล็ก รวมถึงแมลงสายพันธุ์ท้องถิ่น 

ประโยชน์ของโครงการ 

  1. ในปี 2562-2563 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ที่ได้รับจากกองทุน FLR349 เท่ากับ 8.367 บาท ซึ่งหมายความว่า ทุกๆ 1 บาทที่ลงทุนในโครงการ FLR349 ก่อให้เกิดผลตอบแทนทางสังคม 8.367 บาท ในมิติของผู้ที่ได้รับประโยชน์ (Beneficiaries) ได้แก่ เกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริโภค ร้านค้า ร้านอาหาร ภาคีเครือข่าย และภาครัฐ (ส่วนกลาง)
  2. ในปี 2562 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเปรียบเทียบระหว่างแปลงปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) และแปลงเกษตรอินทรีย์ ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ณ ต. บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ พบว่าแปลงเกษตรเชิงเดี่ยวมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 598.9 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี ในขณะที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ที่ปลูกแบบผสมผสาน มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 33,487 คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อ 10 ปี
  3. การหยุดการเผา และบุกรุกป่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ผ่านการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่สูง มีพื้นที่หยุดการเผา ลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 10 และ PM 2.5)
  4. การเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นฟูระบบนิเวศและสร้างการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในพื้นที่ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่า และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ จำนวน 200 ไร่ ลดการบุกรุกป่าเพื่อการทำเกษตรเชิงเดี่ยวจำนวน 1,000 ไร่ ปลูกต้นไม้ในพื้นที่จำนวน 30,000 ต้น ประกอบด้วยไม้ผลเศรษฐกิจจำนวน 6,000 ต้น ไม้ผลจำนวน 4,000 ต้น และไม้ป่าจำนวน 20,000 ต้น และการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ผ่านมาจำนวน 2,000 ไร่ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่
  5. แก้ไขปัญหาสิทธิทำกิน ของเกษตรกร โดยนโยบายจัดสรรที่ดินตามคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ชั้นลุ่มน้ำ 1 และ 2
  6. หยุดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี จากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่จากปริมาณการใช้สารเคมีจำนวน 2 ลิตรต่อไร่ จำนวน 2,000 ลิตร จากการหยุดการบุกพื้นที่่ป่าเพื่อการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ลดการพังทลายของหน้าดิน และสร้างความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ
  7. สร้างความยั่งยืนของระบบห่วงโซ่อุปทานอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร ฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก และสร้างรูปแบบเศรษฐกิจแบบอาหารเพื่อพื้นถิ่น (local food) สร้างระบบตลาดในพื้นที่เช่นโรงเรียน ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ตลาดในชุมชน และหน้าแปลงของเกษตรกรเอง
  8. เกษตรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 100 ครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ แรงจูงใจ พัฒนาอาชีพ มีการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นเกษตรอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าและสร้างการแปรรูปผลผลิตจากราคาเดิมมากกว่า 2 เท่า และลดต้นทุนการผลิต จากการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ลดการผูกขาดราคาผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง

ภาคี


มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF)

กองทุน FLR349 (https://flr349.org/ และ https://www.facebook.com/flr349.org/?ref=br_rs)

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (ดูแลตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์ในโครงการฯ)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (พี่เลี้ยงดูแลด้านการเงินครัวเรือน)

Ricult (แพลตฟอร์มเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและข้อมูลการทำเกษตรให้แก่เกษตรกร)

ฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน FLR349 ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

18 กุมภาพันธ์ 2022

โครงการ FLR 349 ได้ร่วมกับองค์การบริการส่วนตำบลกองแขก ซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่เป้าหมายในการคัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ตำบลกองแขก เพื่อรับการสนับสนุนฟื้นฟูป่า สร้างอาชีพ สร้างระบบอาหาร โดยได้รับการการสนับสนุนเงินทุนจากการระดมทุน ผ่าน เทใจดอทคอม โดยงบประมาณดังกล่าว จะถูกนำไปดำเนินงานตามโมเดล FLR349 ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในพื้นที่ 16 ไร่ ที่ผ่านการบุกรุกทำเกษตรเชิงเดี่ยวและอยู่ในชั้นลุ่มน้ำ 1-2 ตามนโยบายคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมการ 4 ครัวเรือน และจะได้รับการดูแลในระยะเวลา 6 ปี เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ โดยดำเนินการตามรายงานการดำเนินการ 


รายละเอียดในการจัดกิจกรรม ต่อไปนี้



โมเดล FLR349 จะจัดหาพันธุ์ไม้ป่า ไม้เศรษฐกิจ และพืชผักในพื้นให้กับเกษตรกรในโครงการ สำหรับการฟื้นฟูป่า สร้างอาชีพ และระบบอาหารยั่งยืน เพื่อหยุดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและฟื้นฟูกลับสู่สภาพพื้นที่ป่าในรูปแบบป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ในหนึ่งไร่ จะปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 150 ต้น พร้อมการดูแลเกษตรกร และการติดตามประเมินผลตลอดระยะเวลาที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ในระยะเวลา 6 ปี

ชนิดกล้าไม้

• ไม้อาหารที่เป็นไม้ผลและพืชเศรษฐกิจ เช่น โกโก้ อะโวคาโด กาแฟ ขนุน มะรุม มะม่วง ลำใย ลิ้นจี่ และ มะม่วงหิมพานต์ จำนวน 30 ต้นต่อไร่

• ไม้ใช้สอยที่เป็นไม้ผล เช่น ไม้เบิกนำ ไม้พี่เลี้ยง ไผ่ จำนวน 20 ต้นต่อไร่

• ไม้ป่า เช่น สัก หว้า ประดู่ มะขามป้อม มะค่าโมง สมอไทย แดง สมอพิเภก สะเดา จำปีป่า นนทรี ไม้พื้นถิ่นในพื้นที่ จำนวน 100 ต้นต่อไร่

• ไม้ให้ความชุ่มชื้นกักเก็บน้ำ และฟื้นฟูระบบนิเวศ กล้วยจำนวน 64 ต้น/ไร่

อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ที่นี่

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 4 คน


แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1.ค่าพันธุ์ไม้ และขนส่ง

·       กล้วย 64 ต้น/ไร่ x 100ไร่ x 25 บาท      160,000.00
·       โกโก้หรือไม้ผลเศรษฐกิจอื่น30 ต้น/ไร่ x 100ไร่ x55 บาท      165,000.00
·       ไม้ผล 20 ต้น/ไร่ x 100ไร่ x 70 บาท       140,000.00
·       ไม้ป่า 100 ต้น/ไร่ x 100ไร่ x 10 บาท      100,000.00
2. ค่าเตรียมพื้นที่2000 บาท/ไร่ x 100 ไร่      200,000.00
3.  ค่าจ้างเกษตรกรดูแลป่าต้นน้ำระยะเวลา 6 ปี1,2000 บาท/ไร่ x 100 ไร่      1,200,000.00
4. ค่าบริหารจัดการ ติดตาม ประเมินผล  6000 บาท ต่อหกปี x 100 ไร่       600,000.00
5. เงินสะสมเข้ากองทุน (ค่าปลูกซ่อม จัดทำแนวกันไฟ เวรยามป้องกันระวังไฟ)4,350 บาท/ไร่ x 100 ไร่ ต่อหกปี       435,000.00
6.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

      300,000.00
รวม


      3,300,000.00