project โควิด-19 เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

กองทุนเทใจช่วยเยาวชนและกลุ่มผู้หญิงฟื้นฟูทักษะอาชีพแก้วิกฤติเศรษฐกิจในชุมชน พื้นที่จังหวัดยะลา และสุรินทร์

เยาวชนและกลุ่มผู้หญิงในชุมชน เป็นกำลังแรงงานสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของครอบครัวในช่วงสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อประคองชีวิตให้อยู่รอดวันต่อวันโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและการประกอบการของเยาวชน และกลุ่มผู้หญิงในชุมชน เชื่อมต่อคนที่มีศักยภาพช่วยเหลือคนที่กำลังตั้งหลักและต้องการพัฒนาทักษะอาชีพ ให้สามารถผลิต สร้างงาน สร้างรายได้ได้ดี

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ , ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ยอดบริจาคขณะนี้

99,265 บาท

เป้าหมาย

330,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 30%
จำนวนผู้บริจาค 40

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ฟื้นฟูทักษะอาชีพทอผ้ากลุ่มผู้หญิง ในจังหวัดสุรินทร์ 20 คน

3 กุมภาพันธ์ 2023

มูลนิธิขวัญชุมชน พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จัด 3 กิจกรรม ต่อไปนี้

1. กิจกรรมการฟื้นฟูทักษะอาชีพทอผ้า ในกลุ่มผู้หญิง ผู้สูงอายุ และวัยแรงงานในชุมชน ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ช่วงระหว่างวันที่ 9-10 กรกฏาคม พ.ศ. 2565 สถานที่ ศาลาวัดบ้านพันษี และ กลุ่มทอผ้าบ้านจันทร์แสง จำนวนผู้ได้รับประโยชน์ 20 คน

- การฟื้นฟูทักษะอาชีพทอผ้าไหมในชุมชนประกอบด้วย การเรียนรู้ร่วมกันในการนำพืชไม้ให้สี และสีธรรมชาติ ประกอบด้วย ครั่ง(สีแดง) คราม(สีน้ำเงิน) เข(สีเหลืองสด) ใบมะม่วงและใบยูคา(สีเหลืองอมน้ำตาล) , ดอกจาน (สีเหลืองทอง) , คำเงาะ (สีส้มสด) , มะเกลือ (สีดำ – น้ำตาล) เป็นวงแลกเปลี่ยนทักษะการปรับปรุงสีเพื่อให้ได้ใกล้เคียงมาตราฐานและมีเป้าหมายสำหรับการค้าขายสินค้าของชุมชน , การพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ และการตลาด (ผลิตผ้าให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเฉพาะ) โดยในด้านการตลาดเราได้ผลิตสินค้าผ้าไหมทอมือชุมชนขายผ่านเพจ Khwan Silk Crafts

- การลงพื้นที่ชุมชน เพื่อติดตามผลการผลิตตามกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการลงติดตามเยี่ยมสมาชิกช่างทอที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และ วัยแรงงาน ที่มีภาระในการเลี้ยงดูเด็กเล็กวัยเรียนในชุมชน พื้นที่บ้านจันทร์แสง บ้านพม่า บ้านพันษี ตำบลจารพัต จำนวน ช่างทอผ้า 12 คน /ครัวเรือน และ บ้านปะนอย ตำบลหนองเหล็ก จำนวน 3 คน/ครัวเรือน รวมจำนวน 15 ครัวเรือน อยู่ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ภาพ : พูดคุยเพิ่มทักษะการเล่าเรื่องผ้าไหมของหมู่บ้าน และ ลวดลายผ้าไหมที่ได้จากสีธรรมชาติของชุมชนตนเอง เพื่อนำมาจัดเทศกาล “ขวัญเอย ไหมมา” เป็นเทศกาลเล่าเรื่องและจำหน่ายผ้าไหมออนไลน์ ระหว่างช่วงเดือน กรกฏาคม - สิงหาคม 2565 


2. การเสริมความเข้มแข็งให้กับกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการจัดการ และเกิดเงินทุนหมุนเวียนแก่สมาชิกเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

- เงินทุนสนับสนุนของกองทุนเทใจ ไปช่วยให้ทีมมูลนิธิขวัญชุมชนสามารถขับเคลื่อนงานสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนให้กับช่างทอที่ขาดโอกาสและต้องการทุนในการตั้งต้นหรือต่อยอดกิจการในกระบวนการผลิตผ้าไหมทอมือด้วยกี่ไม้โบราณและกี่กระตุก โดยกองทุนนี้ได้มีการจัดตั้งชื่อว่า “กลุ่มออมทรัพย์ผ้าไหมสร้างสรรค์” ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 26 หมู่ที่ 5 บ้านพันษี ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

- ประโยชน์ตรงกับสมาชิกประกอบด้วย ผู้หญิงทอผ้าที่มีภาระในการเลี้ยงดูบุตรหลาน และผู้หญิงทอผ้าสูงอายุที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนเนื่องจากมีความยากจน และ ไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน หรือมีความเร่งด่วนในการใช้เงินดำรงชีวิตประจำวัน ไม่สามารถที่จะเข้าถึงสถาบันการเงินเพราะกลุ่มผู้หญิงทอผ้าส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำเป็นเรื่องยากมากเพราะไม่มีหลักทรัพย์คำประกัน การจัดตั้งรวมกลุ่มออมเพื่อการผลิตผ้าไหมนี้ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหายามวิกฤติ เช่น เป็นเงินทุนในการจัดซื้อเส้นไหมที่มีคุณภาพ ค่าเดินทางมาเรียนในเมืองของลูกหลาน ค่าเทอม (การศึกษาบุตรหลาน) ค่าปุ๋ย (ช่วงฤดูกาลในการทำนาผลิตข้าว) และ ค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วยฯลฯ ปัจจุบันเราช่วยเหลือผู้หญิงทอผ้าที่เข้าร่วมโครงการไปแล้วทั้งหมด 54 ครั้ง รวมเป็นเงินหมุนเวียนในกลุ่มออมทรัพย์เป็น ยอดเงินหมุนเวียนจำนวน 77,751.26 บาท (ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565) ปัจจุบันกลุ่มออมฯ มีจำนวนสมาชิกเป็นกุล่มผู้หญิงทอผ้า, ผู้สูงอายุทอผ้า และเยาวชนตกงานในชุมชนรวมจำนวน 45 คน

3. การจัดทำแปลงเพาะกล้าไม้และปลูกพรรณไม้ให้สีเพิ่มเติม ต่อเนื่องจากการอบรมมาตราฐานการย้อมสีธรรมชาติในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 เราได้แจกเมล็ดพันธ์ครามเพื่อให้สมาชิกนำส่งปลูกรอบบ้านและในพื้นที่ว่างแปลงนาของครัวเรือนช่างทอ โดยเริ่มที่กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านจันทร์แสง หมู่ที่ 17 ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หมู่บ้านแห่งนี้มีสมาชิกจำนวน 12 คน แต่การทำงานเพิ่มจำนวนไม้ให้สีประสบปัญหาน้ำท่วมแปลงนาในฤดูฝนในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนทอผ้าอย่างมากเพราะนอกจากน้ำจะท่วมแปลงครามแล้วยังท่วมขังแปลงปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวไรซ์เบอร์รี่อีกด้วย

ความประทับใจจากผู้หญิงที่เข้าร่วมกิจกรรม


นางสาวเผือด ผนึกทอง ช่างทอผ้าสูงอายุอายุ 71 ปี บ้านจันทร์แสง หมู่ 17 ตำบลจารพัต เป็นผู้สูงอายุที่รับเลี้ยงหลานวัยรุ่นจำนวน 2 คนอายุ 12 และ 15 ปี หลานกำลังเรียนหนังสือ
แม่เผือด “รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก ตอนรับเงินที่ขายผ้าได้ยายดีใจจนนอนไม่หลับเลย น่าจะมีโครงการดีๆแบบนี้ตั้งแต่ตอนที่ยายเป็นสาว และการมาร่วมเรียนย้อมผ้าเราได้รู้จักช่างทอด้วยกันและคุยแลกเปลี่ยนวิธีการย้อมผ้าจะนำกับไปปรับปรุงการทอผ้าตนเองได้”


นางสายใจ คงทน เดิมไม่เคยทอผ้า รับจ้างทั่วไป เราอุดหนุนเส้นเครือยืนจำนวน 100 เมตรเพื่อให้ได้มีอาชีพทอผ้าเป็นรายได้เสริมและเป็นทุนเริ่มต้นในการทำอาชีพทอผ้า
“ตนเองเจ็บป่วยจากโควิค และป่วยด้วยโรคชิกุนกุนย่า ปวดตามเนื้อตัว ตอนช่วงโควิคลำบากมากเพราะต้องกักตัวครั้งละ 14 วันถึง 2 ครั้ง ไม่มีเงินและมีของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น รู้สึกดีใจมาก ทอผ้าได้มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน"


นางสาวปักษา มีทรัพย์ เดิมทำงานอยู่โรงงานทอผ้า อพยพย้ายกลับบ้านช่วงโรคระบาดโควิค – 19 และได้มาเข้าร่วมโครงการนี้ น้าปักษาดูแลหลาน 2 คน ช่วงวัยประถม และกำลังจะต้องดูแลหลานน้อยวัย 2 เดือนอีก 1 คนเพราะพ่อแม่ของเด็กไปทำงานรับจ้างในกรุงเทพฯ “รู้สึกดีใจที่ได้มาทอผ้าอยู่ที่บ้าน เราได้มีงานทำและมีรายได้ อย่างน้อยก็ได้อยู่ที่บ้าน ได้ดูแลหลานๆที่พ่อแม่เขามาฝากไว้ให้เลี้ยง ทุกวันนี้มีความสุขกับงานที่ทำและคิดว่ามันดีกว่าตอนที่อยู่โรงงานน่ะ” ปัจจุบันน้าปักษาเป็นช่างทอที่ฝีมือดีมากคนหนึ่งของหมู่บ้าน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้หญิงทอผ้าที่ขาดโอกาสในตำบลจารพัตจำนวน 5 หมู่บ้านประกอบด้วยหมู่บ้านพันษี หมู่บ้านจันทร์แสง บ้านสะดอ บ้านโสภาเปรียง บ้านพม่า และตำบลหนองเหล็ก หมู่บ้านปะนอย บ้านลำหอก จำนวน 45 คน/ครัวเรือน
ผู้ได้รับประโยชน์ในครัวเรือนๆละ 3 คน รวมจำนวน 135 คน (เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง)

กลุ่มผู้หญิงทอผ้า แรงงานสมทบที่อยู่ในสายพานการผลิตผ้าไหม เช่นผู้สูงอายุ มีทักษะความชำนาญในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่สีธรรมชาติ สามารถสร้างงานและรายได้ให้กับครัวเรือน และเกิดผลกระทบต่อเนื่องไปยังลูกหลานของช่างทอผ้าในเรื่องการศึกษา เพราะรายได้จากการทอผ้าของครัวเรือนนั้นไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน ค่าอุปกรณ์การเรียนและค่าเทอมของบุตรหลาน
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

  • สถานการณ์โควิคและพิษเศรษฐกิจส่งผลกระทบอย่างมากกับประชาชนที่ทำมาหากินทุกภูมิภาคของประเทศไทย เมื่อลูกหลานตกงานจากโรงงานในกทม.หรือเมืองเขตอุตสาหกรรม แรงงานเหล่านี้เดินทางกลับไปตั้งหลักที่หมู่บ้านในชุมชน เราจะเห็นพ่อแม่ ลูก เยาวชนแรงงานอพยพกลับบ้านในพื้นที่ต่างจังหวัด การกลับไปตั้งหลักที่บ้านของหลายคนเริ่มต้นจากฐานอาชีพเดิม เช่น ทำอาหาร ทำสวนผลไม้ เกษตรกรรม ทอผ้า หัตถกรรม ขายของเล็กน้อย และการประกอบการตามทักษะและความสนใจ
  • เยาวชน และกลุ่มผู้หญิงในชุมชน เป็นกำลังแรงงานสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของครอบครัวในช่วงสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเพื่อประคองชีวิตให้อยู่รอดวันต่อวัน
  • โครงการ “ฟื้นเศรษฐกิจจากพลังเยาวชนและผู้หญิงในชุมชน”เกิดขึ้นเพื่อสานต่อการพัฒนาทักษะอาชีพและการประกอบการของเยาวชน และกลุ่มผู้หญิงในชุมชน เชื่อมต่อคนที่มีศักยภาพช่วยเหลือคนที่กำลังตั้งหลักและต้องการพัฒนาทักษะอาชีพ ให้สามารถผลิต สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

การฟื้นฟู / พัฒนาทักษะอาชีพทอผ้าไหมสีธรรมชาติ

ดำเนินงานหลักกับกลุ่มผู้หญิงและเยาวชนในชุมชน จำนวน 50 ครอบครัว

  1. การพัฒนากระบวนการย้อมสีธรรมชาติที่ได้มาตราฐาน
  2. การเสริมความเข้มแข็งให้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเพิ่มทักษะด้านการจัดการ และเกิดเงินทุนหมุนเวียนแก่สมาชิกเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  3. การจัดทำแปลงเพาะกล้าไม้และปลูกพรรณไม้ให้สีเพิ่มเติม
  4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการขึ้นเส้นยืนจำนวน 1 กลุ่มบ้าน

การฝึกอบรมทักษะการย้อมสีธรรมชาติ และ การทำอีโค้พรินต์จากใบไม้ให้สีที่มีอยู่ในชุมชน

วิทยากรโดย

  • อาจารย์ก่อคเณศ รุ้งสันเทียะ และทีมงานอ้วนกลมแฮปปี้ฟาร์มจังหวัดอุดรธานี
  • นางจันทร์สาด หาญนึก ครูภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติ บ้านจันทร์แสง หมู่ที่ 17
  • นางสมใจ จำปาทอง ครูภูมิปัญญาการมัดลายและย้อมโคลนดอกบัว บ้านไทร หมู่ที่ 7
  • นางสุภาพร ทองสุข กระบวนการผลิตใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพของคนทอผ้า

ระยะเวลาการจัดอบรม จะจัดเป็นกลุ่มย่อยๆ ละ 25 คน จำนวน 2 ครั้ง รวมเป็นจำนวน 50 คน โดยเน้นสมาชิกที่สนใจการย้อมสีธรรมชาติ และ ต้องการหาทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สามารถทำรายได้ทางเศรษฐกิจจริง รวมถึงการผลิตผ้าไหมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของตนเอง

หลังจากการอบรมเสริมทักษะอาชีพย้อมไหมสีธรรมชาติ และ อีโคพรินต์ ทางทีมมูลนิธิขวัญชุมชนจะมีการติดตามผลการพัฒนากลุ่มผู้หญิงในแต่ละหมู่บ้านประกอบด้วย กลุ่มบ้านพันษี หมู่ที่ 5 , กลุ่มบ้านจันทร์แสงหมู่ที่ 17 กลุ่มบ้านพม่า บ้านป่ายาว หมู่ที่ 20 หมู่ที่พม่าหมู่ที่ 9 ตำบลจารพัต และกลุ่มผู้หญิงทอผ้าตำบลหนองเหล็ก (บ้านจารย์, บ้านลำหอก , บ้านโคกลาว , บ้านปะนอยไถง และ บ้านโคกลาว) ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตผ้าไหมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม เช่น สไบอีโคพรินต์ , เสื้อยืดสีธรรมชาติ , ถุงผ้ารักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อจำหน่ายระดมทุนดำเนินงานต่อ

การพัฒนาทักษะการนวดเพื่อสุขภาพ

  1. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ เบาะนวด, หมอน, ผ้าปู, ผ้าขนหนู, น้ำมันนวด, ไม้ตอก, เทียนหอม, อุปกรณ์ป้องกันโควิด
  2. เรียนคอร์สนวด 330 ชัวโมง คอร์สละ 10,000 บาท กับมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา สาขาการแพทย์แผนไทย และสำนักงานสาธารณสุขจุงหวัดยะลา

หลังจากเรียนจบไปแล้วผู้เข้าร่วมสามารถไปประกอบอาชีพได้เลย และทางกลุ่มจะมีการทาบถามและหาร้านสำหรับนวดให้กับผู้เข้าร่วม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิขวัญชุมชน จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ กลุ่มลูกเหรียง จังหวัดยะลา

ฝึกทักษะการนวดช่วยเยาวชนและกลุ่มผู้หญิง จังหวัดยะลา เพื่อสร้างอาชีพ 52 คน

3 กุมภาพันธ์ 2023

กลุ่มลูกเหรียงเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมฝึกทักษะการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจและนิยมศึกษากันอย่างมาก การนวดเป็นวิธีที่สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด สามารถทำได้ด้วยตัวเองและสามารถช่วยผู้อื่นได้ ผู้เรียนสามารถนำความรู้และวิธีการปฏิบัติไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังสามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้ นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมการรักษาแบบแพทย์แผนไทย เพื่อให้ยังคงอยู่ควบคู่กับวัฒนธรรมไทยได้อีกด้วย

วัน เวลา สถานที่ : 8 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมแม่ชม บ้านลูกเหรียง จังหวัดยะลา

ผู้เข้าร่วม จำนวน : 52 คน

ผู้ได้รับประโยชน์ : ผู้ที่อาจจะได้รับความรู้การนวด คนในชุมชน และเครือญาติ 80 คน

สิ่งที่ได้รับผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง

  1. ผู้รับการอบรม มี คุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
  2. ผู้รับการอบรม มีความรู้และทักษะในการนวดแผนไทย
  3. นอกจากทักษะการนวดแล้ว ผู้รับการอบรมมีทักษะขั้นฐานต่างๆ
    (1) ทักษะการแก้ปัญหา
    (2) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
    (3) ทักษะการตระหนักรู้ในตน
    (4) ทักษะการจัดการกับอารมณ์
    (5)ทักษะการจัดการกับความเครียด

ภาพประกอบ



ภาพ:
การนวดของเยาวชนหญิง ใน จังหวัดยะลา เพื่อสร้างอาชีพ


ภาพ: การนวดของผู้หญิง ใน จังหวัดยะลา เพื่อสร้างอาชีพ

ความประทับใจจากผู้ได้รับการอบรมการนวด


พี่ปัทมา (นามสมมติ)
พี่ปัทบอกว่าตนมีลูก 4 คน เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงลูกลำพังคนเดี่ยวมา 6 ปี ช่วงโควิด เป็นช่วงที่โจทย์ชีวิตยากมากๆ ร้านอาหารที่มาเลเซียถูกสั่งปิด ทำให้ต้องกลับมาอยู่ที่บ้าน และเปิดร้านข้าวแกงเป็นแผงเล็กๆหน้าบ้าน แต่ก็ขายไม่ได้ทำให้ขาดรายได้ ลูกๆต้องเรียนออนไลน์จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ทำให้ต้องไปหยิบยืมเงินเพื่อนบ้านและญาติๆ เพื่อให้ลูกได้มีโทรศัพท์ไว้เรียนออนไลน์ ติดหนี้รวม 12,000 บาท หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกนวดทำให้ตนมีทักษะในด้านนี้ ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานที่ร้านนวดในเมืองยะลาจนถึงปัจจุบัน สามามรถผ่อนจ่ายและปิดหนี้ได้ภายใน 4 เดือน ทุกวันนี้มีเพื่อนบ้านจ้างนวดพิเศษตอนเย็นที่บ้าน ทำให้พอมีเงินจ่ายกับข้าวในวันรุ่งขึ้น พี่ปัทเล่าว่า ตอนนี้กำลังเก็บเงินเผื่อดาวน์รถมอเตอร์ไซส์ เนื่องก่อนหน้านี้ได้ขายทำทุนขายข้าวแกงแต่ก็จมทุน พี่ปัทขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการ ที่ได้มอบโอกาสได้เรียนรู้ในการฝึกทักษะการนวดในครั้งนี้


พี่ตี (นามสมมติ)
เป็นสาวโสดที่ต้องดูแลพ่อพิการและแม่ ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง เมื่อก่อนพี่ตี ทำงานที่โรงงานไม้ยางพาราแถวบ้าน ช่วงโควิดที่ผ่านมาโรงถูกปิดทำให้พี่พรตกงาน ระหว่างนี้พี่ตีได้ซื้อขนมปี๊บมาแบ่งใส่ถุงเพื่อวางขายที่ร้านค้าในหมู่บ้านซึ่งรายได้ไม่เพียงพอรายจ่ายมากว่ารายรับ ลำพังเบี้ยผู้พิการและผู้สูงอายุก็ยังไม่พอ จนพี่ตีได้มาเข้าร่วมโครงการ ได้ฝึกทักษะการนวดทำให้พี่ตีได้รับงานนวดที่บ้าน ตกวันละ 2-3 คน พอมีรายได้ดูแลครอบครัว และได้อยู่ไลก้ชิดดูแลพ่อกับแม่ที่บ้าน ปัจจุบันพี่ตีมีลูกค้าประจำหลายคน ยิ่งเป็นช่วงวันหยุดลูกค้ามีโทรมาจองคิวล่วงหน้ากันหลายคน พี่ตีพูดทั้งน้ำตาขอบคุณทางโครงการที่มอบโอกาส ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้มีรายได้สามารถดูแลครอบครัวได้


น้องดา (นามสมมติ)
เด็กสาวที่เพิ่งจบม.6 ในปีที่ผ่านมา น้องดามีพี่น้อง 5 คน ดาเป็นคนกลางพี่ๆต่างมีครอบครัวและได้แยกย้ายไปอยู่ที่อื่น พ่อแม่น้องดาเช่าแผงขายผักในตลาดเนื่องด้วยแม่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทำให้ต้องเข้าๆออกๆโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง แม่สุขภาพไม่ค่อยดีหน้ามืดล้มในตลาดทำให้ต้องหยุดงานเกือบ 1 ดือน ครอบครัวขาดรายได้ น้อง2คนยังเล็กและต้องเรียนหนังสือ น้องดาจำเป็นต้องหยุดเรียนและหางานทำ ครั้งแรกได้เป็นพนักงานเสิร์ฟอาหารและพนักงานหลังร้านที่แห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ทำได้ประมาณ3เดือนก็ออกมาเข้าร่วมโครงการกับทางกลุ่มลูกเหรียง น้องดาบอกว่า เป็นทักษะที่ไม่ค่อยเปิดสอนหรือถ้ามีก็ต้องเสียเงินไปเรียน น้องดาไม่ลังเลในการตัดสินใจรับคว้าโอกาสในการเรียนรู้ครั้งนี้ ปัจจุบันน้องดาได้เข้าทำงานที่ร้านนวดใกล้บ้าน มีลูกค้าประจำหลายคน เนื่องจากเป็นเด็กเรียบร้อยตั้งใจทำงาน น้องดาและครอบครัวขอขอบคุณทางโครงการที่ได้หยิบยื่นโอกาสดีๆให้เด็กชายแดนใต้ มีทักษะการนวดสามารถต่อยอดและพัฒนาตนเองได้ในอนาคต อีกทั้งยังมีรายได้จุนเจือครอบครัว ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลกระทบจากทำกิจกรรม

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เยาวชนหญิง ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา มีข้อจำกัดด้านการประกอบอาชีพ14 คน1.สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียนได้
2.ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว
3.ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ มีทัศนคติเชิงบวกในการประกอบอาชีพที่สุจริต
4.มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง รักการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
คนเปราะบางบุคคลที่อยู่ที่ภาวะยากลำบาก เช่น ด้านการประกอบอาชีพ แม่เลี้ยงเดี่ยว หญิงหม้าย ผู้ที่เข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ เป็นต้น 23 คน1.ผู้ที่ผ่านการอบรมมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้
2.มีโอกาสทางสังคมมากขึ้น
3.รู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในครอบครัวและในชุมชนได้
ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่รับรู้การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ค เพจ เป็นต้น15 คน1.มีอาชีพเสริมและช่วยเหลือผู้ว่างงานให้มีความรู้และมีทักษะการนวดได้
2.สามารถต่อยอดกับงานหรืออาชีพที่ทำอยู่ได้
3.เป็นแนวทางในการตัดสินใจ เพื่อประกอบอาชีพ

ฟื้นฟูทักษะอาชีพทอผ้ากลุ่มผู้หญิง ในจังหวัดสุรินทร์ 20 คน

3 กุมภาพันธ์ 2023

มูลนิธิขวัญชุมชน พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จัด 3 กิจกรรม ต่อไปนี้

1. กิจกรรมการฟื้นฟูทักษะอาชีพทอผ้า ในกลุ่มผู้หญิง ผู้สูงอายุ และวัยแรงงานในชุมชน ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ช่วงระหว่างวันที่ 9-10 กรกฏาคม พ.ศ. 2565 สถานที่ ศาลาวัดบ้านพันษี และ กลุ่มทอผ้าบ้านจันทร์แสง จำนวนผู้ได้รับประโยชน์ 20 คน

- การฟื้นฟูทักษะอาชีพทอผ้าไหมในชุมชนประกอบด้วย การเรียนรู้ร่วมกันในการนำพืชไม้ให้สี และสีธรรมชาติ ประกอบด้วย ครั่ง(สีแดง) คราม(สีน้ำเงิน) เข(สีเหลืองสด) ใบมะม่วงและใบยูคา(สีเหลืองอมน้ำตาล) , ดอกจาน (สีเหลืองทอง) , คำเงาะ (สีส้มสด) , มะเกลือ (สีดำ – น้ำตาล) เป็นวงแลกเปลี่ยนทักษะการปรับปรุงสีเพื่อให้ได้ใกล้เคียงมาตราฐานและมีเป้าหมายสำหรับการค้าขายสินค้าของชุมชน , การพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ และการตลาด (ผลิตผ้าให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเฉพาะ) โดยในด้านการตลาดเราได้ผลิตสินค้าผ้าไหมทอมือชุมชนขายผ่านเพจ Khwan Silk Crafts

- การลงพื้นที่ชุมชน เพื่อติดตามผลการผลิตตามกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการลงติดตามเยี่ยมสมาชิกช่างทอที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และ วัยแรงงาน ที่มีภาระในการเลี้ยงดูเด็กเล็กวัยเรียนในชุมชน พื้นที่บ้านจันทร์แสง บ้านพม่า บ้านพันษี ตำบลจารพัต จำนวน ช่างทอผ้า 12 คน /ครัวเรือน และ บ้านปะนอย ตำบลหนองเหล็ก จำนวน 3 คน/ครัวเรือน รวมจำนวน 15 ครัวเรือน อยู่ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ภาพ : พูดคุยเพิ่มทักษะการเล่าเรื่องผ้าไหมของหมู่บ้าน และ ลวดลายผ้าไหมที่ได้จากสีธรรมชาติของชุมชนตนเอง เพื่อนำมาจัดเทศกาล “ขวัญเอย ไหมมา” เป็นเทศกาลเล่าเรื่องและจำหน่ายผ้าไหมออนไลน์ ระหว่างช่วงเดือน กรกฏาคม - สิงหาคม 2565 


2. การเสริมความเข้มแข็งให้กับกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการจัดการ และเกิดเงินทุนหมุนเวียนแก่สมาชิกเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

- เงินทุนสนับสนุนของกองทุนเทใจ ไปช่วยให้ทีมมูลนิธิขวัญชุมชนสามารถขับเคลื่อนงานสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนให้กับช่างทอที่ขาดโอกาสและต้องการทุนในการตั้งต้นหรือต่อยอดกิจการในกระบวนการผลิตผ้าไหมทอมือด้วยกี่ไม้โบราณและกี่กระตุก โดยกองทุนนี้ได้มีการจัดตั้งชื่อว่า “กลุ่มออมทรัพย์ผ้าไหมสร้างสรรค์” ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 26 หมู่ที่ 5 บ้านพันษี ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

- ประโยชน์ตรงกับสมาชิกประกอบด้วย ผู้หญิงทอผ้าที่มีภาระในการเลี้ยงดูบุตรหลาน และผู้หญิงทอผ้าสูงอายุที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนเนื่องจากมีความยากจน และ ไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน หรือมีความเร่งด่วนในการใช้เงินดำรงชีวิตประจำวัน ไม่สามารถที่จะเข้าถึงสถาบันการเงินเพราะกลุ่มผู้หญิงทอผ้าส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำเป็นเรื่องยากมากเพราะไม่มีหลักทรัพย์คำประกัน การจัดตั้งรวมกลุ่มออมเพื่อการผลิตผ้าไหมนี้ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหายามวิกฤติ เช่น เป็นเงินทุนในการจัดซื้อเส้นไหมที่มีคุณภาพ ค่าเดินทางมาเรียนในเมืองของลูกหลาน ค่าเทอม (การศึกษาบุตรหลาน) ค่าปุ๋ย (ช่วงฤดูกาลในการทำนาผลิตข้าว) และ ค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วยฯลฯ ปัจจุบันเราช่วยเหลือผู้หญิงทอผ้าที่เข้าร่วมโครงการไปแล้วทั้งหมด 54 ครั้ง รวมเป็นเงินหมุนเวียนในกลุ่มออมทรัพย์เป็น ยอดเงินหมุนเวียนจำนวน 77,751.26 บาท (ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565) ปัจจุบันกลุ่มออมฯ มีจำนวนสมาชิกเป็นกุล่มผู้หญิงทอผ้า, ผู้สูงอายุทอผ้า และเยาวชนตกงานในชุมชนรวมจำนวน 45 คน

3. การจัดทำแปลงเพาะกล้าไม้และปลูกพรรณไม้ให้สีเพิ่มเติม ต่อเนื่องจากการอบรมมาตราฐานการย้อมสีธรรมชาติในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 เราได้แจกเมล็ดพันธ์ครามเพื่อให้สมาชิกนำส่งปลูกรอบบ้านและในพื้นที่ว่างแปลงนาของครัวเรือนช่างทอ โดยเริ่มที่กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านจันทร์แสง หมู่ที่ 17 ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หมู่บ้านแห่งนี้มีสมาชิกจำนวน 12 คน แต่การทำงานเพิ่มจำนวนไม้ให้สีประสบปัญหาน้ำท่วมแปลงนาในฤดูฝนในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนทอผ้าอย่างมากเพราะนอกจากน้ำจะท่วมแปลงครามแล้วยังท่วมขังแปลงปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวไรซ์เบอร์รี่อีกด้วย

ความประทับใจจากผู้หญิงที่เข้าร่วมกิจกรรม


นางสาวเผือด ผนึกทอง ช่างทอผ้าสูงอายุอายุ 71 ปี บ้านจันทร์แสง หมู่ 17 ตำบลจารพัต เป็นผู้สูงอายุที่รับเลี้ยงหลานวัยรุ่นจำนวน 2 คนอายุ 12 และ 15 ปี หลานกำลังเรียนหนังสือ
แม่เผือด “รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก ตอนรับเงินที่ขายผ้าได้ยายดีใจจนนอนไม่หลับเลย น่าจะมีโครงการดีๆแบบนี้ตั้งแต่ตอนที่ยายเป็นสาว และการมาร่วมเรียนย้อมผ้าเราได้รู้จักช่างทอด้วยกันและคุยแลกเปลี่ยนวิธีการย้อมผ้าจะนำกับไปปรับปรุงการทอผ้าตนเองได้”


นางสายใจ คงทน เดิมไม่เคยทอผ้า รับจ้างทั่วไป เราอุดหนุนเส้นเครือยืนจำนวน 100 เมตรเพื่อให้ได้มีอาชีพทอผ้าเป็นรายได้เสริมและเป็นทุนเริ่มต้นในการทำอาชีพทอผ้า
“ตนเองเจ็บป่วยจากโควิค และป่วยด้วยโรคชิกุนกุนย่า ปวดตามเนื้อตัว ตอนช่วงโควิคลำบากมากเพราะต้องกักตัวครั้งละ 14 วันถึง 2 ครั้ง ไม่มีเงินและมีของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น รู้สึกดีใจมาก ทอผ้าได้มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน"


นางสาวปักษา มีทรัพย์ เดิมทำงานอยู่โรงงานทอผ้า อพยพย้ายกลับบ้านช่วงโรคระบาดโควิค – 19 และได้มาเข้าร่วมโครงการนี้ น้าปักษาดูแลหลาน 2 คน ช่วงวัยประถม และกำลังจะต้องดูแลหลานน้อยวัย 2 เดือนอีก 1 คนเพราะพ่อแม่ของเด็กไปทำงานรับจ้างในกรุงเทพฯ “รู้สึกดีใจที่ได้มาทอผ้าอยู่ที่บ้าน เราได้มีงานทำและมีรายได้ อย่างน้อยก็ได้อยู่ที่บ้าน ได้ดูแลหลานๆที่พ่อแม่เขามาฝากไว้ให้เลี้ยง ทุกวันนี้มีความสุขกับงานที่ทำและคิดว่ามันดีกว่าตอนที่อยู่โรงงานน่ะ” ปัจจุบันน้าปักษาเป็นช่างทอที่ฝีมือดีมากคนหนึ่งของหมู่บ้าน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้หญิงทอผ้าที่ขาดโอกาสในตำบลจารพัตจำนวน 5 หมู่บ้านประกอบด้วยหมู่บ้านพันษี หมู่บ้านจันทร์แสง บ้านสะดอ บ้านโสภาเปรียง บ้านพม่า และตำบลหนองเหล็ก หมู่บ้านปะนอย บ้านลำหอก จำนวน 45 คน/ครัวเรือน
ผู้ได้รับประโยชน์ในครัวเรือนๆละ 3 คน รวมจำนวน 135 คน (เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง)

กลุ่มผู้หญิงทอผ้า แรงงานสมทบที่อยู่ในสายพานการผลิตผ้าไหม เช่นผู้สูงอายุ มีทักษะความชำนาญในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่สีธรรมชาติ สามารถสร้างงานและรายได้ให้กับครัวเรือน และเกิดผลกระทบต่อเนื่องไปยังลูกหลานของช่างทอผ้าในเรื่องการศึกษา เพราะรายได้จากการทอผ้าของครัวเรือนนั้นไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน ค่าอุปกรณ์การเรียนและค่าเทอมของบุตรหลาน

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้พัฒนาทักษะ 2,500 บาท X 50 คน = 125,000 บาท 50 คน 125,000.00
2 การใช้จ่ายเดินทาง และ อาหารไปเรียนรู้งานสหกรณ์และการจัดการกลุ่ม 500 บาทX50 คน = 25,000 บาท 50 คน 25,000.00
3 ค่าเรียนนวด 15 คน x 1 คอร์ส x 10,000 บาท = 150,000 บาท 15 คน 150,000.00
4 วัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ เบาะนวด, หมอน, ผ้าปู, ผ้าขนหนู, น้ำมันนวด, ไม้ตอก, เทียนหอม, อุปกรณ์ป้องกันโควิด (งบประมาณ 25,000 บาท) ลูกเหรียงสมทบ 0 0.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
300,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
30,000.00

ยอดระดมทุน
330,000.00