project ผู้พิการและผู้ป่วย

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่คัดกรองมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ เพราะกว่าจะรู้ก็สายเสียแล้ว การส่องกล้องเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำให้เจอมะเร็งเร็วขึ้นอาจจะเจอตอนที่เป็นแค่ติ่งเนื้อ ตัดแล้วไม่เกิดมะเร็ง หรือถ้าเจอตอนเป็นมะเร็งแล้วก็มักจะเป็นระยะต้นๆ ที่รักษาหายขาดได้ และโครงการนี้ยังพาอาสาสมัครทางแพทย์ไปให้ความรู้ประชาชนในการเรื่องการดูแลสุขภาพ

ระยะเวลาโครงการ 2 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ระนอง

ยอดบริจาคขณะนี้

330,459 บาท

เป้าหมาย

321,310 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 103%
จำนวนผู้บริจาค 76

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ 136 คน

30 ตุลาคม 2020

ประเทศไทยเองก็เริ่มมีโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2561 แต่ยังพบปัญหาว่าบางพื้นที่ยังไม่พร้อมในการดำเนินโครงการ เนื่องจากขากอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์

ทางสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมส่องกล้องสัญจรในพื้นที่ขาดแคลน ร่วมกันตั้งโครงการที่จะช่วยเหลือส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อคัดกรองมะเร็ง สำหรับพื้นที่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดยทางสมาคมฯ จะส่งทีมอาสา ที่มีทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลส่องกล้อง ไปช่วยส่องกล้องในโรงพยาบาลที่มีความต้องการ

จังหวัดระนองเป็นจังหวัดเล็ก ซึ่งในช่วงเริ่มโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร และมีศัลยแพทย์คนเดียวที่มีภาระงานมาก เพราะต้องทำการผ่าตัดผู้ป่วยทั่วไป สมาคมฯ จึงให้ความช่วยเหลือส่งทีมแพทย์อาสาไปส่องกล้องคัดกรองมะเร็ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2561 โดยใช้งบประมาณจากสมาคมฯ ในการทำกิจกรรม อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยที่ต้องส่องกล้องคัดกรองเพราะตรวจพบสารเลือดในอุจจาระมีมากกว่าที่จะส่องกล้องหมดได้ในสองวันที่ทีมแพทย์อาสาจากสมาคมฯ ไปที่ระนอง และในปี พ.ศ. 2562 ทำให้ต้องจัดทีมแพทย์อาสาไปส่องกล้องและเปิดโครงการผ่านเทใจดอทคอม เพื่อขอรับทุนจากประชาชน

จากที่ได้รับเงินบริจาคผ่านเทใจ.คอม สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารได้จัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและพยาบาลส่องกล้อง ทั้งหมดจำนวน 18 คน บินไปจังหวัดระนอง ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2562 เพื่อส่องกล้อง 2 วัน โดยทางรพ.ระนองได้นัดผู้ป่วยที่พบว่ามีสารเลือดในอุจจาระมาส่องกล้องในช่วงนั้น ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติระหว่างการส่องกล้องจะได้รับการรักษา เช่นการตัดติ่งเนื้อระหว่างการส่องกล้องเลย หรือหากไม่สามารถรักษาระหว่างส่องกล้องก็จะมีการส่งต่อให้ศัลยแพทย์ที่รพ.ระนองดูแลต่อและนัดผ่าตัด

กิจกรรมที่ดำเนินการ

จากที่ได้รับเงินบริจาคผ่านเทใจ.คอม สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารได้จัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและพยาบาลส่องกล้อง ทั้งหมดจำนวน 18 คน บินไปจังหวัดระนอง ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2562 เพื่อส่องกล้อง 2 วัน โดยทางรพ.ระนองได้นัดผู้ป่วยที่พบว่ามีสารเลือดในอุจจาระมาส่องกล้องในช่วงนั้น ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติระหว่างการส่องกล้องจะได้รับการรักษา เช่นการตัดติ่งเนื้อระหว่างการส่องกล้องเลย หรือหากไม่สามารถรักษาระหว่างส่องกล้องก็จะมีการส่งต่อให้ศัลยแพทย์ที่รพ.ระนองดูแลต่อและนัดผ่าตัด

ผลการดำเนินการ

ทางรพ.ระนอง ได้ดำเนินการนัดผู้ป่วยมา 184 คน แต่จำนวนผู้ป่วยที่มาส่องกล้องจริงในสองวันที่จัดโครงการ คือ 136 คน ในจำนวนนี้เราพบผู้ป่วยที่มีมะเร็งลำไส้ 4 คน ซึ่งทั้ง 4 คน พบมะเร็งในระยะเริ่มต้นหรือปานกลาง และได้รับการรักษาต่อ นอกจากนั้นพบว่าผู้ป่วย 42 คน มีติ่งเนื้อชนิดที่สามารถจะกลายเป็นมะเร็งได้หากชิ้นเนื้อนั้นโตขึ้น และได้รับการตัดติ่งเนื้อนั้นออกระหว่างการส่องกล้องไปแล้ว

ภาพประกอบ

เนื่องจากเราไม่สามารถแสดงภาพผู้ป่วยเพราะต้องระวัง patient privacy ทางสมาคมขอส่งรูปของทีมแพทย์พยาบาลระหว่างการปฏิบัติงานส่องกล้องและระหว่างที่พักระหว่างส่องกล้อง 


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

*สามารถขอใบเสร็จเพื่อหักลดหย่อนภาษี*

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย โดยมักพบโรคในผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป ( ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ )

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 70 มารับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในระยะสุดท้าย มีอัตรารอดชีวิตเพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้น เพราะโรคนี้กว่าจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อลุกลามไประยะที่ 3-4 และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคระยะสุดท้ายสูงถึง 160,000 บาท/ราย  (ข้อมูลจากแถลงข่าวโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2561)

ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับผู้มีความเสี่ยงในช่วงอายุ 50-70 ปี จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ในประเทศไทย ปี 2561 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อที่จะตรวจพบและตัด ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ที่เป็นจุดกำเนิดของมะเร็ง โดยเมี่อตัดติ่งเนื้อมาตรวจหากพบว่ามะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มต้นจะทำให้รักษาหายขาดได้ แต่ยังมีบางจังหวัดที่ขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมืออยู่

การคัดกรองมะเร็งลำไส้ สามารถลดการตายจากมะเร็งลำไส้ได้จริง แม้ว่าระบบสาธารณสุขของประเทศเราจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังขาดแคลนทรัพยากรในหลายๆ ด้านอยู่ จึงมีบางจังหวัดที่ขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือที่จะคัดกรองได้ตามเป้าหมาย 


ฝ่ายกิจกรรมสังคมสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย จึงตั้งโครงการช่วยเหลือสัญจรไปจังหวัดที่ขาดแคลนต่างๆ ทุกปี โดยชักชวนทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญจิตอาสา ไปร่วมตรวจคนไข้ราว 120 คน ไปสัญจรที่โรงพยาบาลระนอง  เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น

การระดมทุนครั้งนี้ จะนำไปเป็นค่าใช้จำเป็นอาทิ ค่าเช่าอุปกรณ์การส่องกล้อง เช่น กล้อง จอภาพ เครื่องจี้ไฟฟ้า และค่าเดินทางและที่พัก ของทีมแพทย์และพยาบาลอาสา ทีมงานสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยเท่านั้น โดยทุกท่านไม่รับค่าตอบแทน จึงอยากชวนทุกคนมาร่วมสนับสนุนการคัดกรองสัญจรในครั้งนี้


ขั้นตอนการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. สุ่มให้ประชาชนที่อายุระหว่าง 50-70 ปีตรวจอุจจาระเพื่อหาสารเลือดในอุจจาระ
  2. คนที่พบว่ามีสารเลือดในอุจจาระจะได้เชิญไปตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพื่อหาและตัดติ่งเนื้อหรือมะเร็งในขั้นต่อไป ซึ่งทำให้การรักษาได้ทันท่วงที 


 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อช่วยเหลือ ส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชาชนที่อยู่ในเขตของโรงพยาบาลที่ขาดแคลนอายุรแพทย์โรคทางเดินอาหาร
  2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ของโรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ
  3. เพื่อให้ประชาชนรู้จักการป้องกันการเกิดโรค และการดูแลตัวเอง และญาติที่เจ็บป่วย
  4. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการรักษาดูแลสุขภาพอีกทาง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้ประชาชน ซึ่งเป็นการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปในตัว และสำหรับผู้ที่ตรวจพบมะเร็ง ก็จะพบในระยะที่รักษาได้ง่ายขึ้น
  2. ให้ความรู้โรคทางเดินอาหารแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงโรคและเข้าใจวิธีป้องกันและดูแลตัวเอง
  3. เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคที่ดี

ทีมงาน

สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย

ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ 136 คน

30 ตุลาคม 2020

ประเทศไทยเองก็เริ่มมีโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2561 แต่ยังพบปัญหาว่าบางพื้นที่ยังไม่พร้อมในการดำเนินโครงการ เนื่องจากขากอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์

ทางสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมส่องกล้องสัญจรในพื้นที่ขาดแคลน ร่วมกันตั้งโครงการที่จะช่วยเหลือส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อคัดกรองมะเร็ง สำหรับพื้นที่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดยทางสมาคมฯ จะส่งทีมอาสา ที่มีทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลส่องกล้อง ไปช่วยส่องกล้องในโรงพยาบาลที่มีความต้องการ

จังหวัดระนองเป็นจังหวัดเล็ก ซึ่งในช่วงเริ่มโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร และมีศัลยแพทย์คนเดียวที่มีภาระงานมาก เพราะต้องทำการผ่าตัดผู้ป่วยทั่วไป สมาคมฯ จึงให้ความช่วยเหลือส่งทีมแพทย์อาสาไปส่องกล้องคัดกรองมะเร็ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2561 โดยใช้งบประมาณจากสมาคมฯ ในการทำกิจกรรม อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยที่ต้องส่องกล้องคัดกรองเพราะตรวจพบสารเลือดในอุจจาระมีมากกว่าที่จะส่องกล้องหมดได้ในสองวันที่ทีมแพทย์อาสาจากสมาคมฯ ไปที่ระนอง และในปี พ.ศ. 2562 ทำให้ต้องจัดทีมแพทย์อาสาไปส่องกล้องและเปิดโครงการผ่านเทใจดอทคอม เพื่อขอรับทุนจากประชาชน

จากที่ได้รับเงินบริจาคผ่านเทใจ.คอม สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารได้จัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและพยาบาลส่องกล้อง ทั้งหมดจำนวน 18 คน บินไปจังหวัดระนอง ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2562 เพื่อส่องกล้อง 2 วัน โดยทางรพ.ระนองได้นัดผู้ป่วยที่พบว่ามีสารเลือดในอุจจาระมาส่องกล้องในช่วงนั้น ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติระหว่างการส่องกล้องจะได้รับการรักษา เช่นการตัดติ่งเนื้อระหว่างการส่องกล้องเลย หรือหากไม่สามารถรักษาระหว่างส่องกล้องก็จะมีการส่งต่อให้ศัลยแพทย์ที่รพ.ระนองดูแลต่อและนัดผ่าตัด

กิจกรรมที่ดำเนินการ

จากที่ได้รับเงินบริจาคผ่านเทใจ.คอม สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารได้จัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและพยาบาลส่องกล้อง ทั้งหมดจำนวน 18 คน บินไปจังหวัดระนอง ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2562 เพื่อส่องกล้อง 2 วัน โดยทางรพ.ระนองได้นัดผู้ป่วยที่พบว่ามีสารเลือดในอุจจาระมาส่องกล้องในช่วงนั้น ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติระหว่างการส่องกล้องจะได้รับการรักษา เช่นการตัดติ่งเนื้อระหว่างการส่องกล้องเลย หรือหากไม่สามารถรักษาระหว่างส่องกล้องก็จะมีการส่งต่อให้ศัลยแพทย์ที่รพ.ระนองดูแลต่อและนัดผ่าตัด

ผลการดำเนินการ

ทางรพ.ระนอง ได้ดำเนินการนัดผู้ป่วยมา 184 คน แต่จำนวนผู้ป่วยที่มาส่องกล้องจริงในสองวันที่จัดโครงการ คือ 136 คน ในจำนวนนี้เราพบผู้ป่วยที่มีมะเร็งลำไส้ 4 คน ซึ่งทั้ง 4 คน พบมะเร็งในระยะเริ่มต้นหรือปานกลาง และได้รับการรักษาต่อ นอกจากนั้นพบว่าผู้ป่วย 42 คน มีติ่งเนื้อชนิดที่สามารถจะกลายเป็นมะเร็งได้หากชิ้นเนื้อนั้นโตขึ้น และได้รับการตัดติ่งเนื้อนั้นออกระหว่างการส่องกล้องไปแล้ว

ภาพประกอบ

เนื่องจากเราไม่สามารถแสดงภาพผู้ป่วยเพราะต้องระวัง patient privacy ทางสมาคมขอส่งรูปของทีมแพทย์พยาบาลระหว่างการปฏิบัติงานส่องกล้องและระหว่างที่พักระหว่างส่องกล้อง 


แผนการใช้เงิน


รายการบาท
1.ค่าเดินและที่พักของแพทย์และพยาบาล 20 คน ระหว่างปฏิบัติหน้าอาสาสมัคร172,100
2.ค่าเช่าเครื่องมือส่องกล้องวันละ 30,000 บาท x 4  ฐาน120,000
3.ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจโดยประมาณ 29,210
รวม321,310