Chef Scholarship ปั้นเด็กให้เป็นเชฟ

เพิ่มโอกาสเด็กๆนอกระบบที่มีฝันอยากเป็นเชฟ แต่มีข้อจำกัดของฐานะทางการเงิน ให้สามารถทำตามความฝันด้วยการสนับสนุนทุนฝึกงานในร้านอาหารขึ้นชื่อ เพื่อเรียนรู้กษะ ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการมืออาชีพ เพื่อต่อยอดLocal chef ให้น้อง ๆ ที่อยากมีอาชีพที่บ้านและเพิ่มพื้นที่ทางธุรกิจให้กับคนในชุมชนต่อไป
ระยะเวลาโครงการ 25 เม.ย. 2566 ถึง 09 พ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
330,369 บาทเป้าหมาย
373,450 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ปั้นเด็กเป็น LOCAL CHEF ในสามจังหวัดชายแดนใต้ 15 คน
25 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2566 : ทดลองฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการในพื้นที่ ณ ภัตตาคารไลลา จังหวัดยะลา จำนวน 20 คน
- เป็นกิจกรรมที่ส่งเยาวชนในโครงการไปฝึกในสถานประกอบการซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ให้เยาวชนเข้าปฏิบัติและตั้งใจบ่มเพาะเยาวชนที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นเชฟ และรองรับตลาดในวงการอาหารที่กำลังขาดบุคคลทีมีความสามารถทางด้านอาหารอีกด้วย ในการทำกิจกรรมครั้งนี้เยาวชนได้เรียนรู้หลายๆอย่าง ดังนี้
- ได้ฝึกการบริการลูกค้า การจัดห้องอาหาร เรียนการวิธีการรับออร์เดอและการจัดการกับลูกค้าในกรณีต่างๆ
- ได้เรียนรู้การปฏิบัติการทำตามมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัยในร้านอาหาร เพื่อให้ร้านมีมาตรฐานสูงสุดในด้านอาหารและบริการ
- ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นในร้านอาหาร เพื่อให้การทำงานเป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ และการแก้ไขเฉพาะหน้า
- การฝึกปฏิบัติครังนี้ทำให้เยาวชน ได้รับการถูกจ้างจากผู้ประกอบการ 3 คน
8 – 11 สิงหาคม 2566 : กิจกรรม Workshop สอนอาหาร ณ ครัวลูกเหรียง จำนวน 15 คน
- เป็นกิจกรรม Workshop สอนอาหาร วิธีการคิด การจัดการ การนำเสนอ การถ่ายภาพ การเล่าเรื่องราว โดยมีเชฟแบล็ก ภานุภน บุลสุวรรร Blackitch Artisan kitchen พี่ใหม่ สะบัดบ๊อบ สตูดิโอ และพี่ต้อมชิว เฟดเฟ่
- ในวันสุดท้ายมีการเปิดจองอาหาร Dinner มือพิเศษ การนำความรู้ที่เรียนมาตลอด 4 วันมารังสรรเมนูอาหารใหม่จากฝีมือเด็กและเยาวชน โดยมีทีมเชฟคอยสนับสนุนอย่างใกล้ชิด
- ตลอดกระบวนการทำ Workshop ทั้ง 4 วัน เด็กและเยาวชนให้ความสนใจกับการเรียนและสามารถต่อยอด นำวัตถุดิบที่มีอยุ่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า และอาหารท้องถิ่นที่รับประทานในแต่ละวันแปลงเป็นเมนูใหม่ๆ แต่ยังคงมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพิ่มเติมคือความทันสมัย และน่าทานเพิ่มมากขึ้น
ออกปฏิบัติจริงในงาน event The Memories of haji sulong ณ เมืองปัตตานี จำนวน 15 คน
การทำ Chef's Table นอกสถานที่เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจและหรูหรา โดย Chef's Table เป็นการบริการอาหารที่มีเด็กเยาวชนในระบบและเชฟลูกเหรียง ในการทำอาหารจะทำอาหารแบบเมนูใหม่ และเฉพาะบุคคลสำหรับลูกค้าที่จองล่วงหน้า และประสบการณ์ที่ได้รับ
- อาหารที่ปรับแต่ง : Chef's Table นอกสถานที่มีเมนูที่ปรับแต่งให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของลูกค้า โดยเชฟจะสร้างเมนูพิเศษเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการ
- ประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำใคร : Chef's Table นอกสถานที่จะมีความหลากหลายและความพิเศษในทุกๆ รายลูกค้า โดยที่เด็กและเยาวชนต้องเตรียมทำการบ้านหลายๆอย่างเพื่อให้ลูกค้าที่จองมาได้ประทับใจ เช่น วัตถุดิบที่ลูกค้าไม่สามารถทานหรือแพ้ เป็นกระบวนการที่เราได้เรียนรู้จากการใส่ใจในรายละเอียดของลูกค้าที่มาใช้บริการ บางครั้งเชฟอาจให้ลูกค้าเข้าครัวเพื่อชมกระบวนการทำอาหารในครัวด้วย
- การแสดงทักษะ : Chef's Table เป็นโอกาสที่ให้เด็กและเยาวชนทำงานร่วมกับเชฟครัวลูกเหรียง สามารถแสดงความสามารถในการทำอาหารและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมนูที่อร่อยและน่าประทับใจ
- บรรยากาศพิเศษ : Chef's Table นอกสถานที่ที่เด็กเยาวชนต้องออกแบบตรีมงานให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงในวันนั้น และจะมีบรรยากาศพิเศษที่สร้างความอบอุ่นและน่าทึ่งสำหรับลูกค้า ที่จองล่วงหน้าและเสมือนเป็นการส่วนตัวในร้านอาหาร
18 สิงหาคม 2566 : ศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ณ ร้านสะหวา จังหวัดสงขลา จำนวน 15 คน
- ได้ประสบการณ์และเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารและเทคนิคการทำอาหารรูปแบบต่างๆรวมถึงวิธีการหั่นเนื้อและผักให้เป็นรูปทรงต่างๆให้เหมาะกับเมนูอาหารและวิธีการจัดเสิร์ฟ การจัดจานมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ให้จานอาหารดูสวย น่ารับประทานและอร่อย ในครั้งนี้ได้รับประสบการณ์โดยตรงจากเชฟ แอนดี้ ยังเอกสกุล (แอนดี้ หยาง) มากด้วยประสบการณ์
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
" การเรียนรู้ที่มีประสบการณ์จริง คือประสบการณ์ที่ทำให้เราเรียนรู้ผ่านการพฤติกรรม และการกระทำ สามารถมองเห็นแนวทางที่ดี การปฏิบัติที่เป็นมาตราฐาน และได้เรียนรู้โดยตรง และสามารถนำมาพัฒนาต่อในงานบริการได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ และจะเกิดมาตรฐานใหม่ที่เกิดจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน และสามารถนำไปต่อยอดและประกอบอาชีพที่ชื่นชอบในอนาคตอีกด้วย " นายศิริวุฒิ ศิริพันธ์
" สิ่งที่ทำให้หนูได้เรียนรู้ ระบบการจัดการ การคิดเบื้องหลังก่อนการออกแบบเมนู ออกแบบการจัดการอาหาร ออกแบบการจัดโต๊ะ พร้อมการสร้างบรรยากาศภายในงาน รวมไปถึงได้สัมผัสการชิมอาหารจากร้านอาหารชื่อดัง เห็นกระบวนการจัดการ การต้อนรับ การใส่ใจกับผู้มาใช้บริการ ระบบจัดการ การตกแต่งจานอาหาร การแนะนำอาหารต่างได้เป็นอย่างดีมีคุณภาพ สร้างความประทับใจ เป็นการเรียนรู้จากการได้สัมผัสของจริง และได้ลองทำจริง และสิ่งสำคัญคือการได้ลงมือทำในสิ่งใหม่ๆที่หนูเองไม่เคยได้ทำ ไม่เคยได้ลอง และได้ผ่านความท้าทายชีวิตของเด็กคนหนึ่งสามารถทำได้ และจะฝึกต่อไปเพื่อความฝันที่ตัวเองอยากเป็น และมีรายได้ให้กับตัวเอง และดูแลคนในครอบครัวต่อไป " นางสาวรุสมีนี สนิบากอ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน | เยาวชนนอกระบบที่เข้า ที่ผ่านคัดเลือก ฝึกอบรมหลักสูตร LOCAL CHEF ที่มีความตั้งใจ มุ่งมานะที่โดนเด่น และมีทักษะที่สามารถไปฝึกต่อ ทีมีภูมิลำเนา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 15 คน | หลังจากได้รับการเข้าร่วมโครงการเยาวชนได้เปลี่ยนแปลงหลายด้านในชีวิตและอาชีพ ดังนี้
|
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : ฝึกงานวันแรกผุ้จัดการภัตตาคารไลลาแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
ภาพ : ทีมเสิร์ฟพร้อมปฏิบัติ
ภาพ : ทีมจัดจานเตรียมอาหารลงจาน
ภาพ : ทีมเยาวชน รวบรวมไอเดีย จุดเด่นของอาหาร และลิซเมนูอาหาร
ภาพ : เอาไอเดียที่ได้มาแบ่งหมวดหมู่ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารมลายูใต้
ภาพ : ฝึกปฏิบัติจริงในการทำอาหาร
ภาพ : ผู้เข้าเรียนลองช่วยลองทำเมนูใหม่ เพื่อให้ทีมเชฟแบล็คชิ่ม
ภาพ : เยาวชนฝึกทักษะการตกแต่งโต๊ะ และวาง ตกแต่งจานอาหาร โดยมีทีมชีพคอยให้คำแนะนำ
ภาพ : ถอดบทเรียนหลังเสร็จงาน
ภาพ : ศึกษาดูงานนอกพื้นที่ chef table ณ ร้านสะหวา จ.สงขลา และสังสรรค์เมนูโดยเชฟแอนดี้ หยาง
ภาพ : ผลงานที่ทำที่เรียนอาหาร
ภาพ : ผลงานและบรรยากาศ งาน Memories of haji sulong ณ เมืองปัตตานี
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ฉันรู้ว่า...ฉันชอบทำอาหาร
ฉันรู้ว่า...ฉันอยากเป็นเชฟ
ฉันมีความสุข...ที่เห็นคนกินอาหารของฉัน
ฉันมีความฝันที่อยากไปเรียนรู้การทำอาหารกับเชฟมืออาชีพ เพื่อพัฒนาตัวฉันเองให้ดีขึ้น
เด็กนอกระบบมีความหวังที่จะประกอบอาชีพเป็นแรงงานในร้านอาหารที่มีชื่อเสียงในพื้นที่และนอกพื้นที่ แต่ด้วยยังขาดประสบการณ์จึงถูกปฏิเสธในการทำงาน สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ จึงอยากเพิ่มโอกาสเด็กๆนอกระบบที่มีฝันอยากเป็นเชฟ เนื่องจากมีข้อจำกัดของฐานะทางครอบครัวยากจน จึงทำให้เด็กกลุ่มเหล่านี้ไม่สามารถทำตามความฝัน ด้วยการชวนทุกคนมาร่วมสนับสนุนทุนให้เด็กๆนอกระบบการศึกษามีโอกาสในการต่อยอดLocal chef มีพัฒนาทักษะ ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการด้านการบริการงานครัวอย่างมืออาชีพ ในร้านอาหารขึ้นชื่อ เพื่อการสร้างการทำงานลัมีอาชีพการทำงานในอนาคต และการเพิ่มพื้นที่ทางธุรกิจให้กับคนในชุมชนต่อไป
เราได้ความร่วมมือกับ ร้านสำรับสำหรับไทย เป็นต้น ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ไปฝึกฝน พัฒนาทักษะเฉพาะทาง และคล่องแคลวอย่างมืออาชีพ และสามารถต่อยอดงานในชุมชนของตนเองได้
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. คัดเลือกเยาวชนเยาวชนนอกระบบ จำนวน 15 คน ที่ผ่านเข้าฝึกอบรมโครงการเชฟชุมชน(local chef)ที่มีความตั้งใจ มุ่งมานะที่โดดเด่น และมีทักษะที่สามารถไปฝึกต่อในขั้นต่อได้
2. ศึกษาดูงานในสถานประกอบ และฝึกประสบการณ์จริงระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในสถานประกอบการร้านอาหารนอกพื้นที่ เช่น ร้านสำรับสำหรับไทย, ร้าน Locus native food lab เป็นต้น
3. ติดตามการฝึกประสบการณ์เยาวชนนอกระบบ ทั้ง 15 คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้(กลุ่มลูกเหรียง)

ปั้นเด็กเป็น LOCAL CHEF ในสามจังหวัดชายแดนใต้ 15 คน
25 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2566 : ทดลองฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการในพื้นที่ ณ ภัตตาคารไลลา จังหวัดยะลา จำนวน 20 คน
- เป็นกิจกรรมที่ส่งเยาวชนในโครงการไปฝึกในสถานประกอบการซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ให้เยาวชนเข้าปฏิบัติและตั้งใจบ่มเพาะเยาวชนที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นเชฟ และรองรับตลาดในวงการอาหารที่กำลังขาดบุคคลทีมีความสามารถทางด้านอาหารอีกด้วย ในการทำกิจกรรมครั้งนี้เยาวชนได้เรียนรู้หลายๆอย่าง ดังนี้
- ได้ฝึกการบริการลูกค้า การจัดห้องอาหาร เรียนการวิธีการรับออร์เดอและการจัดการกับลูกค้าในกรณีต่างๆ
- ได้เรียนรู้การปฏิบัติการทำตามมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัยในร้านอาหาร เพื่อให้ร้านมีมาตรฐานสูงสุดในด้านอาหารและบริการ
- ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นในร้านอาหาร เพื่อให้การทำงานเป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ และการแก้ไขเฉพาะหน้า
- การฝึกปฏิบัติครังนี้ทำให้เยาวชน ได้รับการถูกจ้างจากผู้ประกอบการ 3 คน
8 – 11 สิงหาคม 2566 : กิจกรรม Workshop สอนอาหาร ณ ครัวลูกเหรียง จำนวน 15 คน
- เป็นกิจกรรม Workshop สอนอาหาร วิธีการคิด การจัดการ การนำเสนอ การถ่ายภาพ การเล่าเรื่องราว โดยมีเชฟแบล็ก ภานุภน บุลสุวรรร Blackitch Artisan kitchen พี่ใหม่ สะบัดบ๊อบ สตูดิโอ และพี่ต้อมชิว เฟดเฟ่
- ในวันสุดท้ายมีการเปิดจองอาหาร Dinner มือพิเศษ การนำความรู้ที่เรียนมาตลอด 4 วันมารังสรรเมนูอาหารใหม่จากฝีมือเด็กและเยาวชน โดยมีทีมเชฟคอยสนับสนุนอย่างใกล้ชิด
- ตลอดกระบวนการทำ Workshop ทั้ง 4 วัน เด็กและเยาวชนให้ความสนใจกับการเรียนและสามารถต่อยอด นำวัตถุดิบที่มีอยุ่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า และอาหารท้องถิ่นที่รับประทานในแต่ละวันแปลงเป็นเมนูใหม่ๆ แต่ยังคงมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพิ่มเติมคือความทันสมัย และน่าทานเพิ่มมากขึ้น
ออกปฏิบัติจริงในงาน event The Memories of haji sulong ณ เมืองปัตตานี จำนวน 15 คน
การทำ Chef's Table นอกสถานที่เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจและหรูหรา โดย Chef's Table เป็นการบริการอาหารที่มีเด็กเยาวชนในระบบและเชฟลูกเหรียง ในการทำอาหารจะทำอาหารแบบเมนูใหม่ และเฉพาะบุคคลสำหรับลูกค้าที่จองล่วงหน้า และประสบการณ์ที่ได้รับ
- อาหารที่ปรับแต่ง : Chef's Table นอกสถานที่มีเมนูที่ปรับแต่งให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของลูกค้า โดยเชฟจะสร้างเมนูพิเศษเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการ
- ประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำใคร : Chef's Table นอกสถานที่จะมีความหลากหลายและความพิเศษในทุกๆ รายลูกค้า โดยที่เด็กและเยาวชนต้องเตรียมทำการบ้านหลายๆอย่างเพื่อให้ลูกค้าที่จองมาได้ประทับใจ เช่น วัตถุดิบที่ลูกค้าไม่สามารถทานหรือแพ้ เป็นกระบวนการที่เราได้เรียนรู้จากการใส่ใจในรายละเอียดของลูกค้าที่มาใช้บริการ บางครั้งเชฟอาจให้ลูกค้าเข้าครัวเพื่อชมกระบวนการทำอาหารในครัวด้วย
- การแสดงทักษะ : Chef's Table เป็นโอกาสที่ให้เด็กและเยาวชนทำงานร่วมกับเชฟครัวลูกเหรียง สามารถแสดงความสามารถในการทำอาหารและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมนูที่อร่อยและน่าประทับใจ
- บรรยากาศพิเศษ : Chef's Table นอกสถานที่ที่เด็กเยาวชนต้องออกแบบตรีมงานให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงในวันนั้น และจะมีบรรยากาศพิเศษที่สร้างความอบอุ่นและน่าทึ่งสำหรับลูกค้า ที่จองล่วงหน้าและเสมือนเป็นการส่วนตัวในร้านอาหาร
18 สิงหาคม 2566 : ศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ณ ร้านสะหวา จังหวัดสงขลา จำนวน 15 คน
- ได้ประสบการณ์และเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารและเทคนิคการทำอาหารรูปแบบต่างๆรวมถึงวิธีการหั่นเนื้อและผักให้เป็นรูปทรงต่างๆให้เหมาะกับเมนูอาหารและวิธีการจัดเสิร์ฟ การจัดจานมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ให้จานอาหารดูสวย น่ารับประทานและอร่อย ในครั้งนี้ได้รับประสบการณ์โดยตรงจากเชฟ แอนดี้ ยังเอกสกุล (แอนดี้ หยาง) มากด้วยประสบการณ์
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
" การเรียนรู้ที่มีประสบการณ์จริง คือประสบการณ์ที่ทำให้เราเรียนรู้ผ่านการพฤติกรรม และการกระทำ สามารถมองเห็นแนวทางที่ดี การปฏิบัติที่เป็นมาตราฐาน และได้เรียนรู้โดยตรง และสามารถนำมาพัฒนาต่อในงานบริการได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ และจะเกิดมาตรฐานใหม่ที่เกิดจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน และสามารถนำไปต่อยอดและประกอบอาชีพที่ชื่นชอบในอนาคตอีกด้วย " นายศิริวุฒิ ศิริพันธ์
" สิ่งที่ทำให้หนูได้เรียนรู้ ระบบการจัดการ การคิดเบื้องหลังก่อนการออกแบบเมนู ออกแบบการจัดการอาหาร ออกแบบการจัดโต๊ะ พร้อมการสร้างบรรยากาศภายในงาน รวมไปถึงได้สัมผัสการชิมอาหารจากร้านอาหารชื่อดัง เห็นกระบวนการจัดการ การต้อนรับ การใส่ใจกับผู้มาใช้บริการ ระบบจัดการ การตกแต่งจานอาหาร การแนะนำอาหารต่างได้เป็นอย่างดีมีคุณภาพ สร้างความประทับใจ เป็นการเรียนรู้จากการได้สัมผัสของจริง และได้ลองทำจริง และสิ่งสำคัญคือการได้ลงมือทำในสิ่งใหม่ๆที่หนูเองไม่เคยได้ทำ ไม่เคยได้ลอง และได้ผ่านความท้าทายชีวิตของเด็กคนหนึ่งสามารถทำได้ และจะฝึกต่อไปเพื่อความฝันที่ตัวเองอยากเป็น และมีรายได้ให้กับตัวเอง และดูแลคนในครอบครัวต่อไป " นางสาวรุสมีนี สนิบากอ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน | เยาวชนนอกระบบที่เข้า ที่ผ่านคัดเลือก ฝึกอบรมหลักสูตร LOCAL CHEF ที่มีความตั้งใจ มุ่งมานะที่โดนเด่น และมีทักษะที่สามารถไปฝึกต่อ ทีมีภูมิลำเนา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 15 คน | หลังจากได้รับการเข้าร่วมโครงการเยาวชนได้เปลี่ยนแปลงหลายด้านในชีวิตและอาชีพ ดังนี้
|
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : ฝึกงานวันแรกผุ้จัดการภัตตาคารไลลาแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
ภาพ : ทีมเสิร์ฟพร้อมปฏิบัติ
ภาพ : ทีมจัดจานเตรียมอาหารลงจาน
ภาพ : ทีมเยาวชน รวบรวมไอเดีย จุดเด่นของอาหาร และลิซเมนูอาหาร
ภาพ : เอาไอเดียที่ได้มาแบ่งหมวดหมู่ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารมลายูใต้
ภาพ : ฝึกปฏิบัติจริงในการทำอาหาร
ภาพ : ผู้เข้าเรียนลองช่วยลองทำเมนูใหม่ เพื่อให้ทีมเชฟแบล็คชิ่ม
ภาพ : เยาวชนฝึกทักษะการตกแต่งโต๊ะ และวาง ตกแต่งจานอาหาร โดยมีทีมชีพคอยให้คำแนะนำ
ภาพ : ถอดบทเรียนหลังเสร็จงาน
ภาพ : ศึกษาดูงานนอกพื้นที่ chef table ณ ร้านสะหวา จ.สงขลา และสังสรรค์เมนูโดยเชฟแอนดี้ หยาง
ภาพ : ผลงานที่ทำที่เรียนอาหาร
ภาพ : ผลงานและบรรยากาศ งาน Memories of haji sulong ณ เมืองปัตตานี
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าเดินทาง จำนวน 5,000 บาท(ไป – กลับ) จากยะลาและกรุงเทพ | 15 คน | 75,000.00 |
2 | ค่าที่พักระหว่างฝึกประสบการณ์ จำนวน 15 คืน x ห้องละ 1,200 บาท | 8 ห้อง | 90,000.00 |
3 | ค่าอาหาร ระหว่างฝึกประสบการณ์ จำนวน 500 บาท x 15 วัน | 15 คน | 112,500.00 |
4 | ค่าใช้จ่ายศึกษาดูงานหลังฝึกประสบการณ์ 3,500 บาท | 15 คน | 52,000.00 |
5 | ทุนสนับสนุน และติดต่อประสานงานระหว่างดำเนินโครงการ | - | 10,000.00 |