“สมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง” เพื่อพลิกชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง (ฉบับปรับปรุงใหม่ 2565)

โรคมะเร็งถือเป็นปัญหาของคนทั่วโลก และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันกับ 1 ของคนไทย ผู้เสียชีวิตส่วนมากจะมีฐานะยากจนหรือมีรายได้ระดับปานกลาง จากการดำเนินโครงการแจกสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งครั้งแรกในปี 2560 ให้กับผู้ป่วยใน 13 รพ. จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 91.74 มีความรู้ความเข้าใจโรคมะเร็ง สามารถวางแผนและติดตามผลได้อย่างเป็นระบบ เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เห็นว่าสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งนี้ ช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้ หรือในกรณีฉุกเฉินสามารถให้เป็นสมุดส่งตัวของผู้ป่วยได้ ร่วมสมทบทุนทำสมุดเล่มละ 200 บาทเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ต่อไป
ระยะเวลาโครงการ 01 ก.พ. 2565 ถึง 31 ธ.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
475,645 บาทเป้าหมาย
470,800 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการบันทึกพิชิตมะเร็ง จำนวน 34 โรงพยาบาล
โครงการบันทึกพิชิตมะเร็งมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 34 โรงพยาบาล ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- โรงพยาบาลตำรวจ
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลศิริราช
- โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
- โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
- โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
- โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
- โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
- โรงพยาบาลจุฬารัตน์อินเตอร์ 3
- โรงพยาบาลสุรินทร์
- โรงพยาบาลน่าน
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น
- โรงพยาบาลสมุทรปราการ
- โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- โรงพยาบาลนครปฐม
- โรงพยาบาลราชบุรี
- โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
- โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
- โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
- โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
- โรงพยาบาลระนอง
- โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลกระบี่
- โรงพยาบาลตระการพืชผล
- โรงพยาบาลชัยภูมิ
- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
ส่งมอบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งจำนวน 20,000 เล่ม
- จุดแจกจ่ายตามโรงพยาบาล จำนวน 17,500 เล่ม
- ช่องทางออนไลน์ 2,500 เล่ม
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งนั้น เมื่อทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งจะประสบกับความรู้สึกสับสนและตกใจ ความไม่รู้และความวิตกกังวล ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากพยายามที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อวางแผนการรักษาให้กับตนเอง
อย่างไรก็ตามยิ่งผู้ป่วยตามหาข้อมูลมากขึ้นเท่าไหร่กลับยิ่งสร้างความสับสนเพิ่มมากขึ้นจากวังวนของข้อมูลที่มากเกินไป โดยเฉพาะข้อมูลที่ค้นพบได้จากอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงง่าย หากแต่ไม่มีสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ข้อมูลชุดใดมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่เชื่อถือได้ นำไปปฏิบัติตามได้ โดยไม่มีผลเสียต่อร่างกายและการวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง
ดังนั้นเมื่อ บันทึกพิชิตมะเร็งได้รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยมะเร็งเอาไว้แล้ว โดยเนื้อหานั้นได้มีที่มาที่ชัดเจน มีเอกสารอ้างอิงมากพอจะน่าเชื่อถือและทำให้ง่ายต่อการไปค้นคว้าต่อได้นั้น จึงทำให้ผู้ป่วยมะเร็งปรับตัวง่ายขึ้นต่อการที่จะต้องอยู่ร่วมกับมะเร็ง
ความรู้สึกของผู้ป่วยหลังทราบว่าเป็นมะเร็ง
“คือตอนนั้นทันทีที่เรารู้ปุ๊บเราหาข้อมูล เพราะงั้นข้อมูลจะไหลเข้ามาเยอะมาก คนนั้นว่าอย่างนั้น อ่อ คนนั้นผ่าตัดที่นั้นสิ กินอันนั้นสิ ทุกอย่างจะเข้ามาแบบรวดเร็วมาก คือตอนนั้นรู้สึกทางกายก็คือทำอะไรไม่ทัน รู้สึกว่าฉันมีทางเลือกแบบเยอะมาก คือทุกอย่างมันจะมีข้อมูลแบบถาโถมเข้ามาในช่วงแรก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำให้เราผ่านมาได้ คือเราศึกษาไปเรื่อย ๆ เราก็จะเข้าใจมากขึ้น ความกังวลเราก็จะลดลงเรื่อย ๆ” (ผู้ป่วยคนที่ 1, 17 พฤศจิกายน 2565)
“ได้ยินครั้งแรกก็ตอนหลังผ่าตัดมดลูก ก็มาทราบผลชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัด คุณหมอบอกว่าเป็นมะเร็งชนิดแพร่กระจายเร็ว ณ ตอนนั้น ก็ไม่อยากจะเชื่อ แล้วเราก็เต็มไปด้วยความสงสัย ตอนนั้นคือยังไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เราโฟกัสในสิ่งที่เราสามารถทำได้ แล้วก็ควบคุมได้ ก็คือดูแลตัวเองในเรื่องของจิตใจ อาหาร การออกกำลังกายและการดูแลจิตใจของคนรอบข้างเพราะว่ามันก็ส่งผลรวมกันค่ะ” (ผู้ป่วยคนที่ 2, 17 พฤศจิกายน 2565)
“ก็เหมือนทุกท่านเลยนะคะ ก็รู้สึกช็อคนะคะ คุณหมอบอกว่าผลจากเมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์นะคะประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังอีก 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยเราก็ยังมีความหวังนะคะ ก็เลย ก็ยังมีหวังแต่ว่าพยายาม พยายามที่จะหวัง ไม่คิดในแง่ร้ายก่อน เหมือนให้กำลังใจตัวเองก่อนค่ะ แต่ว่าพอช่วงระหว่างการรอคอยผลนะคะ มันก็ทำให้เราเริ่มหาข้อมูล สมมติว่าเราเป็นเราจะต้องรักษายังไง ตัดสินใจทำยังไง” (ผู้ป่วยคนที่ 3, 17 พฤศจิกายน 2565)
อ่านต่อ »
โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องกันมา 10 ปี โดยคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งปีละประมาณ 130,000 คนต่อปี มีผู้เสียชีวิตปีละ 67,000 ราย (กรมควบคุมโรค, 2558 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2557) โดยหลังจากที่ผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งมักจะรู้สึกตื่นตระหนก หมดกำลังใจ บางครั้งอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักมากขึ้น หรือไม่รับการรักษาทำให้โรคลุกลามมากขึ้น และยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจในการรับมือกับโรคมะเร็ง อีกทั้งยังมีทัศนคติและความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรค และการรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการรักษาและอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเป็นอย่างมาก.
ด้วยเหตุนี้อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทอาร์ต ออฟ ไลฟ์ วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่มีพันธกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง ก่อตั้งโดยคุณไอรีล ไตรสารศรี ซึ่งเป็นอดีตผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย ที่ได้ผ่านช่วงเวลายากลำบากระกว่าการรักษา ทำให้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับมะเร็ง และเกิดแรงบันดาลในการจัดทำ “โครงการสานพลังพลิกชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง 13,000 ราย” โดยได้รับการสนับสนุนหลักจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวมถึงภาคเอกชนต่างๆ ในการจัดพิมพ์ “สมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง Survivor Planner” เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแล ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ป่วยวางแผนการรักษาได้อย่างเป็นระบบ โดยการจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญระหว่างการรักษา และยังบันทึกความรู้สึกนึกคิด ได้ระบายความในใจ ทำให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองและสร้างพลังใจที่ยิ่งใหญ่ต่อสู้กับโรค นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแล จำนวน 13 ครั้ง โดยมีผู้ป่วยมะเร็งเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 1,234 ราย
จากการดำเนินโครงการแจกสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งครั้งแรกในปี 2560 ผลสำรวจผู้ใช้งานสมุดบันทึกฯ พบว่าร้อยละ 94.50 เห็นด้วยว่าโครงการนี้ทำให้ผู้ป่วยมีความหวังกำลังใจในการรักษามากขึ้น จากการเข้าร่วมงานเสวนาและการใช้สมุดบันทึกช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลใจในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยมีความหวังในการดำเนินชีวิต และร้อยละ 91.74 ทำให้มีความรู้ความเข้าใจโรคมากขึ้น โดยให้ความเห็นว่าสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งทำให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนและติดตามผลได้อย่างเป็นระบบ ร้อยละ 80.73 เห็นว่าโครงการทำให้ได้รู้จักผู้ป่วยด้วยกันมากขึ้น เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เห็นว่าสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งนี้ ช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้ หรือในกรณีฉุกเฉินสามารถให้เป็นสมุดส่งตัวของผู้ป่วยได้
ตัวอย่างสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ตามที่ได้กล่าวถึงปัญหาข้างต้น อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ ได้ดำเนินโครงการสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง (ฉบับปรับปรุง 2565) โดยมีการ
- ปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านการดูแลตัวเอง การรับประทานอาหาร ข้อห้ามข้อควรระวัง เทคโนโลยีการรักษาใหม่ๆ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนข้อมูล โดยสถาบันการแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ผู้ดูแลผู้ป่วย และอดีตผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อทำให้ให้ผู้ใช้งานมีความรู้ความเข้าใจในโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการเรียบเรียงเนื้อหาให้อ่านง่าย ทำให้เห็นความสำคัญและทำความเข้าใจในโรคมะเร็ง ทำให้สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
- ออกแบบเพื่อให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสมและปรับใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ โดยลดการใช้ศัพท์ทางการแพทย์และเรียบเรียงให้อ่านง่าย จนกึงการออกแบบใช้มีความสดใจน่าใช้งาน
- จัดทำสื่อ VDO แนะนำวิธีการใช้สมุดบันทึกฯ อย่างถูกต้อง
- จัดพิมพ์จำนวน 20,000 เล่มเพื่อมอบให้แก่ผู้ป่วยที่รักษาโรคมะเร็งใน 20 โรงพยาบาล. 5 ภูมิภาคในประเทศไทย ร่วมถึงแจกจ่ายช่องทางออนไลน์
- จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการเพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ดูแล และเข้าถึงโครงการและทราบแหล่งที่สามารถเข้าถึงและขอรับสมุดบันทึกฯ ได้
- จัดเสวนาให้ความรู้ แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแล เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง และแนะนำวิธีการใช้สมุดบันทึก รวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์จากอดีตผู้ป่วยมะเร็งเพื่อส่งเสริมกำลังใจแก่ผู้ป่วยใหม่ตามรพ.เป้าหมายอย่างน้อย 10 แห่ง
โดยในการนี้อาร์ ฟอร์ แคนเซอร์ ได้ขอรับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อระดมทุนในการจัดพิมพ์สมุดบันทึกฯ จำนวน 20,000 เล่ม ซึ่งคิดเป็น 15% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งใหม่ในประเทศไทย แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ส่งผลต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้โครงการไม่สามารถขอการสนับสนุนจากภาคเอกชนได้ตามเป้า
สำหรับภาคของประชาชนมีความประสงค์ขอเปิดการระดมทุนจากภาคประชาชนอีกครั้งที่จำนวน 2140 เล่ม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ธารินี ใจดี Project manager Art for Cancer

Facebook: https://www.facebook.com/artforcancerbyireal
Website: https://artforcancerbyireal.com/
กิจกรรมโครงการสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง (ฉบับปรับปรุงใหม่) เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง
กิจกรรมโครงการ
- เดือนกรกฏาคม – กันยายน 64 ดำเนินการหาความร่วมมือเพื่อขอการสนับสนุนโครงการ (ยังไม่ครบตามเป้าของโครงการ จึงต้องดำเนินการเสาะหาการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนเพิ่มเติม)
- เดือนสิงหาคม – กันยายน 64 ดำเนินการประสานสถาบันทางการแพทย์เพื่อขอข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง การดูแลตัวเอง วิธีการรักษาและปฏิบัติตัว และฟังก์ชั่นการใช้งาน
- เดือนกันยายน – ตุลาคม 64 ดำเนินการออกแบบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง
- เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 64 ดำเนินการจัดพิมพ์สมุดบันทึกฯ
- เดือนกุมภาพันธ์ 65 เปิดตัวสมุดบันทึกและเริ่มดำเนินการแจกจ่ายไปตามรพ. เป้าหมาย
- เดือนมีนาคม 65 จัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้ผู้ป่วยมะเร็งใน 11 รพ.เป้าหมาย
ภาพประกอบ
อัพเดทกิจกรรมโครงการสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง (ฉบับปรับปรุงใหม่ 2565) เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเดือนเมษายนถึงกันยายน 65
เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทางผู้ดำเนินงานจึงได้มีโครงการทำให้แผนดำเนินการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้
เดือนเมษายน - กันยายน 2565 : ทาง Art For cancer ได้จัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งและกิจกรรมสอนใช้สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งร่วมกับ 11 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในรูปแบบออนไลน์ ตามรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1 : วันที่ 22 เมษายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ความหวังใหม่! วัคซีนรักษาเฉพาะบุคคลและเครื่องฉายแสงแบบตรงจุด” ร่วมกับโรงพยาบาบจุฬาลงกรณ์
ครั้งที่ 2 : วันที่ 17 พฤษภาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ไขความจริงเรื่องมะเร็ง เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์” ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ครั้งที่ 3 : วันที่ 10 มิถุนายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “วิธีตั้งรับกับมะเร็งระยะลุกลามและระยะสุดท้าย” ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น
ครั้งที่ 4 : วันที่ 3 กรกฎาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “การฉายรังสี ความเข้าใจใหม่ที่ผู้ป่วยมะเร็งต้องรู้” ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ครั้งที่ 5 : วันที่ 27 กรกฎาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “มะเร็ง มรดกทางพันธุกรรม คุณเสี่ยงแค่ไหน?” ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
ครั้งที่ 6 : วันที่ 24 สิงหาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “รู้ทันมะเร็ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง เช็คค่ามะเร็งจากเลือด สำคัญยังไง?” ร่วมกับโรงพยาบาลตำรวจ
ครั้งที่ 7 : วันที่ 2 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ป่วยมะเร็ง” ร่วมกับโรงพยาบาลภูมิพล
ครั้งที่ 8 : วันที่ 6 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ถอดรหัส ทำนายวิธีการรักษามะเร็งที่เหมาะกับเรา” ร่วมกับสถานวิทยามะเร็ง ศิริราช
ครั้งที่ 9 : วันที่ 8 กันยายน 2022 งานเสวนาออฟไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “LIVE AND DIE AS YOU DESIGN อยู่ได้อย่างใจ ตายอย่างที่ออกแบบ” ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ครั้งที่ 10 : วันที่ 22 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ชีวิตใหม่หลังการรักษาของผู้ป่วยมะเร็ง” ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
ครั้งที่ 11 : วันที่ 28 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ตรวจจับมะเร็งเต้านม รู้ไว รักษาเร็ว หายได้” ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 : เริ่มลงพื้นที่สอนใช้สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งตาม รพ.ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันโครงการบันทึกพิชิตมะเร็งมีจุดแจกจ่ายสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งที่เข้าร่วมโครงการ 25 โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยโครงการยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถส่งมอบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งให้ถึงมือผู้ป่วยได้ครบจำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการบันทึกพิชิตมะเร็ง จำนวน 34 โรงพยาบาล
โครงการบันทึกพิชิตมะเร็งมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 34 โรงพยาบาล ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- โรงพยาบาลตำรวจ
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลศิริราช
- โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
- โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
- โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
- โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
- โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
- โรงพยาบาลจุฬารัตน์อินเตอร์ 3
- โรงพยาบาลสุรินทร์
- โรงพยาบาลน่าน
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น
- โรงพยาบาลสมุทรปราการ
- โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- โรงพยาบาลนครปฐม
- โรงพยาบาลราชบุรี
- โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
- โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
- โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
- โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
- โรงพยาบาลระนอง
- โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลกระบี่
- โรงพยาบาลตระการพืชผล
- โรงพยาบาลชัยภูมิ
- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
ส่งมอบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งจำนวน 20,000 เล่ม
- จุดแจกจ่ายตามโรงพยาบาล จำนวน 17,500 เล่ม
- ช่องทางออนไลน์ 2,500 เล่ม
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งนั้น เมื่อทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งจะประสบกับความรู้สึกสับสนและตกใจ ความไม่รู้และความวิตกกังวล ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากพยายามที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อวางแผนการรักษาให้กับตนเอง
อย่างไรก็ตามยิ่งผู้ป่วยตามหาข้อมูลมากขึ้นเท่าไหร่กลับยิ่งสร้างความสับสนเพิ่มมากขึ้นจากวังวนของข้อมูลที่มากเกินไป โดยเฉพาะข้อมูลที่ค้นพบได้จากอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงง่าย หากแต่ไม่มีสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ข้อมูลชุดใดมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่เชื่อถือได้ นำไปปฏิบัติตามได้ โดยไม่มีผลเสียต่อร่างกายและการวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง
ดังนั้นเมื่อ บันทึกพิชิตมะเร็งได้รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยมะเร็งเอาไว้แล้ว โดยเนื้อหานั้นได้มีที่มาที่ชัดเจน มีเอกสารอ้างอิงมากพอจะน่าเชื่อถือและทำให้ง่ายต่อการไปค้นคว้าต่อได้นั้น จึงทำให้ผู้ป่วยมะเร็งปรับตัวง่ายขึ้นต่อการที่จะต้องอยู่ร่วมกับมะเร็ง
ความรู้สึกของผู้ป่วยหลังทราบว่าเป็นมะเร็ง
“คือตอนนั้นทันทีที่เรารู้ปุ๊บเราหาข้อมูล เพราะงั้นข้อมูลจะไหลเข้ามาเยอะมาก คนนั้นว่าอย่างนั้น อ่อ คนนั้นผ่าตัดที่นั้นสิ กินอันนั้นสิ ทุกอย่างจะเข้ามาแบบรวดเร็วมาก คือตอนนั้นรู้สึกทางกายก็คือทำอะไรไม่ทัน รู้สึกว่าฉันมีทางเลือกแบบเยอะมาก คือทุกอย่างมันจะมีข้อมูลแบบถาโถมเข้ามาในช่วงแรก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำให้เราผ่านมาได้ คือเราศึกษาไปเรื่อย ๆ เราก็จะเข้าใจมากขึ้น ความกังวลเราก็จะลดลงเรื่อย ๆ” (ผู้ป่วยคนที่ 1, 17 พฤศจิกายน 2565)
“ได้ยินครั้งแรกก็ตอนหลังผ่าตัดมดลูก ก็มาทราบผลชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัด คุณหมอบอกว่าเป็นมะเร็งชนิดแพร่กระจายเร็ว ณ ตอนนั้น ก็ไม่อยากจะเชื่อ แล้วเราก็เต็มไปด้วยความสงสัย ตอนนั้นคือยังไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เราโฟกัสในสิ่งที่เราสามารถทำได้ แล้วก็ควบคุมได้ ก็คือดูแลตัวเองในเรื่องของจิตใจ อาหาร การออกกำลังกายและการดูแลจิตใจของคนรอบข้างเพราะว่ามันก็ส่งผลรวมกันค่ะ” (ผู้ป่วยคนที่ 2, 17 พฤศจิกายน 2565)
“ก็เหมือนทุกท่านเลยนะคะ ก็รู้สึกช็อคนะคะ คุณหมอบอกว่าผลจากเมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์นะคะประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังอีก 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยเราก็ยังมีความหวังนะคะ ก็เลย ก็ยังมีหวังแต่ว่าพยายาม พยายามที่จะหวัง ไม่คิดในแง่ร้ายก่อน เหมือนให้กำลังใจตัวเองก่อนค่ะ แต่ว่าพอช่วงระหว่างการรอคอยผลนะคะ มันก็ทำให้เราเริ่มหาข้อมูล สมมติว่าเราเป็นเราจะต้องรักษายังไง ตัดสินใจทำยังไง” (ผู้ป่วยคนที่ 3, 17 พฤศจิกายน 2565)
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าจัดพิมพ์สมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ฉบับปรับปรุง 2565) เล่มละ 200 บาท | 2,140 เล่ม | 428,000.00 |