project เด็กและเยาวชน

เปิดโลกน้องๆบ้านห้วยพ่าน พาทัศนศึกษากรุงเทพและเที่ยวทะเลครั้งแรกในชีวิต

ช่วยจุดประกายความฝันให้น้องๆ 13 คน ได้ออกไปเห็นโลกภายนอกและวาดฝันของตัวเองได้กว้างขึ้น ผ่านโครงการพาน้องๆ มาทัศนศึกษาในกรุงเทพและทะเลชลบุรี ศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่านเป็นโรงเรียนขนาดเล็กของชุมชนที่อยู่นอกระบบของกระทรวงศึกษาธิการ แต่คนในชุมชนบ้านห้วยพ่านไม่อยากให้เด็กๆ ในชุมชนขาดการศึกษา จึงตั้งเป็นโรงเรียนชุมชน

ระยะเวลาโครงการ อัพเดทหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิท-19 เบาบางลงและเริ่มเดินทางได้ พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (ศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่าน)

ยอดบริจาคขณะนี้

83,390 บาท

เป้าหมาย

83,380 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 102

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สร้างระบบน้ำโดยใช้โซล่าเซลล์ ที่ศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน

13 มิถุนายน 2022

ขณะนี้ทางศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติบ้านห้วยพ่านได้สร้างระบบน้ำโดยใช้โซลาร์เซลล์เป็นที่เรียบร้อย โดยระบบนี้จะช่วยให้ทั้งประหยัดพลังงานไฟฟ้า และทำให้ตึกการเรียนมีน้ำใช้ตลอดปี และติดตั้งระบบกรองน้ำให้ใช้เป็นน้ำกินได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังซ่อมแซมห้องน้ำนักเรียนให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง หลังจากทำระบบเสร็จ น้ำก็ไหลแรง ส่งผลให้ห้องน้ำกลับมาใช้งานได้ สามารถต่อเข้ากับเครื่องกรองเป็นน้ำดื่ม ทำให้น้องๆ นักเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ไม่ต้องเดินไปไกลๆเพื่อเข้าห้องน้ำหรือต้องพกน้ำดื่มมาเรียนด้วย 

ในลำดับต่อไปจะเป็นการสร้างทางกันน้ำฝนไหลเซาะเข้าห้องเรียนทางด้านหลังอาคารเรียนที่ติดกันเนินดินสูง

ภาพประกอบ

ภาพของโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งและถังเก็บน้ำที่ติดตั้ง ซึ่งโซลาร์เซลล์จะช่วยระบบปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นมาจากลำน้ำในหมู่บ้าน

ท่อน้ำที่ลำเลียงน้ำขึ้นมายังศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน

หลังจากที่ทำระบบน้ำเสร็จแล้ว ระบบน้ำกินน้ำใช้ตรงบริเวณศูนย์การเรียนรู้ก็กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง จากเดิมที่จะมีน้ำเข้ามาบ้างไม่มีบ้าง ไม่สม่ำเสมอ

รวมถึงห้องน้ำที่เคยมีอาสาสมัครสร้างไว้ให้ แต่ขาดน้ำจึงไม่สามารถใช้งานได้ ตอนนี้น้ำไหลแรงและสามารถกลับมาใช้งานได้แล้วค่ะ

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ขอเชิญชวนทุกคนให้ช่วยจุดประกายความฝันให้น้องๆ ให้ได้ออกไปเห็นโลกภายนอกและวาดฝันของตัวเองได้กว้างขึ้น ผ่านโครงการพาน้องๆมาทัศนศึกษาในกรุงเทพและทะเลชลบุรี น้องๆจากศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่าน เป็นโรงเรียนขนาดเล็กของชุมชนที่อยู่นอกระบบของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนเพื่อเป็นการลดภาระทางงบประมาณ แต่คนในชุมชนบ้านห้วยพ่านไม่อยากให้เด็กๆในชุมชนขาดการศึกษา จึงตั้งเป็นโรงเรียนชุมชนและรับเงินบริจาคเพื่อให้ยังทำการเรียนการสอนให้น้องๆยังเรียนต่อไปได้ แต่จากเงินบริจาคที่ไม่แน่นอน และการขาดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ การพาน้องๆไปทัศนศึกษาเป็นเรื่องที่เกินฝันสำหรับโรงเรียนชุมชนแห่งนี้ น้องๆ ซึ่งมีกันอยู่ 13 คน แทบไม่เคยได้ออกไปนอกตัวจังหวัด ไม่เคยเห็นเมืองหลวง ไม่เคยเห็นทะเลเลยสักครั้ง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

     ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ไม่สามารถให้การศึกษาที่ครอบคลุมไปถึงชุมชนขนาดเล็กได้ เช่นการลดการสนับสนุนโรงเรียนขนาดเล็ก พยายามให้โรงเรียนขนาดเล็กควบรวมกับโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้น โดยมิได้คำนึงถึงมิติของชุมชนที่ต้องมีภาระการเดินทาง และอื่นๆตามมาอีกมาก ทำให้เด็กนักเรียนอาจจะขาดโอกาสที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพ ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพและสามารถกลับมาพัฒนาชุมชนต่อไปได้ 

     ในกรณีของศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่านนั้น เป็นโรงเรียนชุมชนที่อยู่นอกระบบของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่สอดคล้องวัฒนธรรมชุมชนเข้าไปกับแผนการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนมีขนาดเล็กเกินไป จึงไม่สามารถเข้าถึงแผนการพัฒนาของทางรัฐบาลในด้านการให้งบประมาณสนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่านไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ เป็นการกดดันโดยอ้อมให้ผู้ปกครองส่งเด็กๆไปเรียนในตัวอำเภอแทน อย่างไรก็ตามการเดินทางไปเรียนในตัวอำเภอนั้นไม่ได้ตอบโจทย์คนในชุมชนซึ่งเห็นว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและทำให้เด็กๆเสียโอกาสในการได้นำเวลาเดินทางไปพัฒนาศักยภาพด้านอื่น ทางชุมชนจึงยังคงจัดการเรียนการสอนต่อไปให้กับเด็กๆในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 13 คน เพื่อให้เด็กมีโอกาสเติบโต เท่าทันโลก และเติมเต็มในสิ่งที่แต่ละคนอยากเป็น

     ส่งผลให้โรงเรียนชุมชนแห่งนี้ต้องพึ่งพาแต่เงินบริจาคและเงินผ้าป่าเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำการเรียนการสอน และต้องประหยัดงบให้มากที่สุดเพื่อรักษาโรงเรียนไว้ต่อไปได้ ด้วยเงินบริจาคที่ไม่แน่นอน และการขาดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบจึงทำให้นอกจากเรื่องเรียนแล้วเรื่องทัศนศึกษาจึงเป็นสิ่งที่เกินฝันของนักเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ จินตนาการและความรู้ของเด็กๆ ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ภายในห้องเรียน เด็กๆไม่สามารถนึกภาพออกได้ว่าอนาคตของตนเองจะเป็นอย่างไรได้บ้าง 

     โครงการนี้จึงมีความตั้งใจสร้างโอกาสให้น้องๆ ได้ออกมาจากห้องเรียน พาน้องๆ มาทัศนศึกษาและศึกษาวิถีชีวิตของผู้คน มองเห็นโอกาสที่ตนเองสามารถมีได้ในอนาคต โดยแบ่งเป็นพาน้องๆมาทัศนศึกษาในกรุงเทพ สัมผัสบรรยากาศเมืองหลวง และได้ไปทะเลไปครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษจิกายนปี 2563 หลังจากที่กลุ่มครูอาสาได้ไปลงพื้นที่ที่โรงเรียนบ้านห้วยพ่านจังหวัดน่าน และได้เห็นปัญหาที่เกิดกับโรงเรียนแห่งนี้ และได้วางแผนดำเนินการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้ 

ธันวาคม 2563 ระบุปัญหาและศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้เหมาะกับความต้องการของศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่านมากที่สุด
มกราคม 2564วางโครงสร้างการแก้ปัญหาด้วยวิธีการพาน้องมาทัศนศึกษา ศึกษาความเข้ากับกับแผนการเรียนรู้และประโยชน์ที่นักเรียนจะได้
กุมภาพันธ์ 2564ทำแผนงบประมาณ ลงรายละเอียดสถานที่ที่จะไปให้เข้ากับแผนการเรียนรู้ และศึกษาความเป็นไปได้
มีนาคม 2564ทำแคมเปญหาเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนให้น้องๆสามารถทำตามฝันและมาทัศนศึกษาได้
เมษายน 2564พาน้องๆมาทัศนศึกษากรุงเทพและชลบุรี พร้อมวิเคราะห์ประโยชน์ที่ได้ และรายงานที่ต้องจัดทำต่อไป

โดยรายละเอียดการทัศนศึกษามีดังนี้




ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

โครงการนี้เป็นโครงการที่ครูอาสาที่เคยได้เข้าร่วมโครงการกับโรงบ่มอารมณ์สุข (https://www.facebook.com/HappySeedsGroup/) ได้เข้ามาช่วยกันทำ โดยแยกออกมาจากการทำงานหลักของโรงบ่มอารมณ์สุขเนื่องจากโรงบ่มอารมณ์สุขมีงานล้นมือแล้ว และต้องการให้มีการแตกภาคีออกไป จึงมีความคิดทำโครงการนี้ขึ้นในกลุ่มครูอาสาโรงเรียนบ้านห้วยพ่าน อย่างไรก็ดียังมีการทำงานร่วมกับโรงบ่มอารมณ์สุข ปรึกษาในการวางแผน และในการแชร์ไปในเครือข่าย

เลื่อนกำหนดการเดินทางเปิดโลกน้องๆบ้านห้วยพ่าน พาทัศนศึกษากรุงเทพและเที่ยวทะเลครั้งแรกในชีวิต

29 เมษายน 2021


ปรับแผน พาน้องบ้านห้วยพานทัศนศึกษาในจังหวัดน่าน

25 ตุลาคม 2021

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค Covid 19 ระลอกที่ 2 และ 3 ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา รวมไปถึงนโยบายป้องกันการแพร่ระบาด การล็อคดาวน์และการห้ามเดินทาง ส่งผลให้โครงการต้องเลื่อนจากกำหนดเดิมคือพฤษภาคม 2564 ไปอย่างไม่มีกำหนด ในปัจจุบันสถานการณ์ได้เริ่มคลี่คลายลง หลังจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทีมงานได้ปรึกษาหารือกับศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยพ่าน ทั้งกับคุณครูและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง พบว่า แม้สถานการณ์จะคลี่คลายลง ผู้ปกครองและนักเรียนยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางมากรุงเทพเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักเรียนยังคงไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ และสถานการณ์ยังไม่แน่นอนหากมีการเปิดประเทศในช่วงเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตามทางศูนย์การเรียนรู้ยังคงเห็นถึงความสำคัญในการจัดให้นักเรียนได้มีการทัศนศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะ และเป็นไปตามแผนการเรียนรู้ประจำปี จึงเสนอแนวทางการจัดการทัศนศึกษาให้เปลี่ยนมาเป็นการทัศนศึกษาในจังหวัดน่าน เพื่อศึกษาดูงานท้องถิ่นในต่างอำเภอ ซึ่งนักเรียนของศูนย์การเรียนรู้ก็ยังไม่เคยไป โดยจะปรับเนื้อหาการทัศนศึกษาจากการทำความเข้าใจอาชีพในมืองหลวง เป็นอาชีพในต่างอำเภอ โดยเบื้องต้นทางศูนย์การเรียนรู้มีความสนใจไปดูงานด้านการท่องเที่ยว และการทำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในอำเภอบ่อเกลือ ซึ่งทีมงานรับมาวางรายละเอียดต่อไป และจะรายงานข้อสรุปให้เทใจได้รับทราบอีกครั้ง 

ปรับแผนทัศนศึกษาพาน้องบ้านห้วยพ่านทัศนศึกษา มุ่งมากรุงเทพเมษายน 2022

3 ธันวาคม 2021

หลังจากมีการปรับแผนครั้งล่าสุดเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์โควิดเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา เพื่อพาน้องๆนักเรียนบ้านห้วยพ่านไปทัศนศึกษาในจังหวัดน่านแทนการเดืนทางมากรุงเทพนั้น ผลปรากฎว่าในสองอาทิตย์ก่อนกำหนดการ มีน้องนักเรียนได้เข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงส่งผลให้โรงเรียนต้องหยุดให้การเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นที่ ประกอบกับอำเภอเมืองจังหวัดน่านพบคลัสเตอร์โควิดใหม่ จึงทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการทัศนศึกษาในจังหวัดน่านไป

ทั้งนี้หลังการประชุมร่วมกับคุณครูและผู้ปกครองโรงเรียนบ้านห้วยพ่านนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการทัศนศึกษาในครั้งต่อไปที่ไม่กระทบกับแผนการเรียน และกิจกรรมชุมชนนั้นจะเป็นเดือนเมษายน - เดือนพฤษภาคม ปี 2022 ทางทีมงานจึงลงความเห็นเลื่อนการทัศนศึกษาไปยังช่วงเวลาดังกล่าว โดยตั้งเป้าหมายให้ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์เดิมคือ พาน้องๆนักเรียนมาเที่ยวกรุงเทพฯ และทะเลชลบุรี โดยจะเริ่มดำเนินการเตรียมการตามแผนอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 และจะแจ้งให้ทีมงานเทใจและผู้บริจาคทราบเป็นระยะ

ปรับโครงการทัศนศึกษา เป็นโครงการพัฒนาระบบน้ำพื้นฐาน ของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยพ่าน

3 พฤษภาคม 2022

ขออนุญาตมาอัพเดทโครงการกับผู้สนับสนุนของเราทุกท่านนะคะ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่านที่ยังเห็นถึงความตั้งใจและอดทนไปกับเรานะคะ

ตามที่ได้อัพเดทสถานการณ์มาในสองครั้งที่แล้ว โครงการทัศนศึกษาของเราติดปัญหาต้องเลื่อนมาถึงสองครั้งเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด ชุมชนมีผู้สูงอายุและเด็กเยอะ ทำให้มีความกังวลกับความเสี่ยงในการติดเชื้อ ผู้ปกครองไม่สบายใจหากมีการจัดการทัศนศึกษาในสถานการณ์แบบนี้ ในท้ายที่สุดเราได้ตัดสินใจต้องเปลี่ยนกิจกรรมของโครงการ โดยยังคงเป้าหมายให้เป็นประโยชน์กับพี่ๆนักเรียนที่ชุมชนเช่นเดิม

โดยเหตุผลที่ทำให้เราตัดสินใจเปลี่ยนลักษณะกิจกรรมมีดังนี้

  1. ความไม่แน่นอนของการจัดกิจกรรมเดิม เนื่องจากสถานการณ์โควิดยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดกิจกรรมได้ และทำให้อาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไปอีกหลายครั้ง ที่ผ่านมาก็มีการเตรียมการแต่ต้องเลื่อนมาแล้วถึง 2 ครั้ง
  2. ข้อจำกัดของระยะเวลาในการจัดกิจกรรมเดิม สามารถจัดขึ้นได้ในช่วงปิดเทอมเท่านั้น ทำให้ความยืดหยุ่นต่ำ เมื่อประกอบกับสถานการณ์โควิดแล้ว ทำให้ยากในการวางแผนการล่วงหน้า และดำเนินกิจกรรมให้ลุล่วง
  3. ความไม่สบายใจของชุมชนในการให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากกังวลถึงผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน และผู้ใหญ่ในชุมชน และยังต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักกว่านักเรียนทุกคนจะได้รับวัคซีนครบเนื่องจากเพิ่งได้รับเข็มเเรกกันไปไม่นานมานี้
  4. มีโครงการของโรงเรียนที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเข้ามา ที่มีงบประมาณใกล้เคียงกับงบประมาณเดิม

เราจึงตัดสินใจร่วมกับเทใจในการปรับโครงการทัศนศึกษามาเป็นโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างของศูนย์การเรียนรู้ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบน้ำพื้นฐานให้สามารถมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี ส่งผลให้สามารถซ่อมบำรุงห้องน้ำที่ชำรุดอยู่ให้กลับมาใช้งานได้ครบทุกห้อง รวมถึงสามารถพัฒนาต่อเป็นโครงการโรงเรือนการเกษตรตามแต่โครงการที่นักเรียนของศูนย์การเรียนรู้วางแผนจะทำในโอกาสต่อไป และจะได้ป้องกันปัญหาน้ำจากเนินสูงหลังห้องเรียนไหลเข้าสู่ศูนย์การเรียนในหน้าฝนซึ่งต้องทำให้มีการทำความสะอาดและซ่อมแซมพื้นที่บ่อยครั้งอีกด้วย

ด้านหลังห้องเรียนดินที่ได้รับผลกระทบ

ระบบน้ำเดิม

โดยมีรายละเอียดงบประมาณดังต่อไปนี้

งบโครงสร้างรวม 70,550 บาท โดยประกอบไปด้วย:

  • ระบบเก็บกักน้ำ 55,400 บาท
  • ซ่อมแซมห้องน้ำ 3,850 บาท
  • ทำกำแพงกั้นน้ำไหลเข้าท่วมห้องเรียนในหน้าฝน 11,300 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติมของค่าใช้จ่ายที่มีการประเมินไว้ตามตาราง

แผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี (พ.ศ.2565) : ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน (โครงสร้าง)


ทั้งนี้ จะมีงบประมาณเหลืออีก 5,259 บาท จากยอดรวม ทางผู้จัดจึงขออนุญาตจัดสรรงบตรงนี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ชุดตรวจ ATK ให้กับนักเรียนและบุคคลากรในศูนย์ เนื่องจากยังมีผู้ใหญ่ในชุมชนที่ต้องออกไปทำงานข้างนอก และยังมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในหมู่บ้านอยู่ โดยมีมูลค่าชุดละ 50 บาท สำหรับ 17 คน เพื่อตรวจเดือนละ 2 ครั้ง ตกเดือนละ 1,700 บาท โดยงบในส่วนนี้จะช่วยสนับสนุนค่าชุดตรวจได้ประมาณ 3 เดือนค่ะ 

สร้างระบบน้ำโดยใช้โซล่าเซลล์ ที่ศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน

13 มิถุนายน 2022

ขณะนี้ทางศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติบ้านห้วยพ่านได้สร้างระบบน้ำโดยใช้โซลาร์เซลล์เป็นที่เรียบร้อย โดยระบบนี้จะช่วยให้ทั้งประหยัดพลังงานไฟฟ้า และทำให้ตึกการเรียนมีน้ำใช้ตลอดปี และติดตั้งระบบกรองน้ำให้ใช้เป็นน้ำกินได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังซ่อมแซมห้องน้ำนักเรียนให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง หลังจากทำระบบเสร็จ น้ำก็ไหลแรง ส่งผลให้ห้องน้ำกลับมาใช้งานได้ สามารถต่อเข้ากับเครื่องกรองเป็นน้ำดื่ม ทำให้น้องๆ นักเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ไม่ต้องเดินไปไกลๆเพื่อเข้าห้องน้ำหรือต้องพกน้ำดื่มมาเรียนด้วย 

ในลำดับต่อไปจะเป็นการสร้างทางกันน้ำฝนไหลเซาะเข้าห้องเรียนทางด้านหลังอาคารเรียนที่ติดกันเนินดินสูง

ภาพประกอบ

ภาพของโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งและถังเก็บน้ำที่ติดตั้ง ซึ่งโซลาร์เซลล์จะช่วยระบบปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นมาจากลำน้ำในหมู่บ้าน

ท่อน้ำที่ลำเลียงน้ำขึ้นมายังศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน

หลังจากที่ทำระบบน้ำเสร็จแล้ว ระบบน้ำกินน้ำใช้ตรงบริเวณศูนย์การเรียนรู้ก็กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง จากเดิมที่จะมีน้ำเข้ามาบ้างไม่มีบ้าง ไม่สม่ำเสมอ

รวมถึงห้องน้ำที่เคยมีอาสาสมัครสร้างไว้ให้ แต่ขาดน้ำจึงไม่สามารถใช้งานได้ ตอนนี้น้ำไหลแรงและสามารถกลับมาใช้งานได้แล้วค่ะ

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเดินทางนักเรียนและครูผู้ดูแล (บ้านห้วยพ่าน - กรุงเทพฯ - ชลบุรี - บ้านห้วยพ่าน) โดยเป็นเช่าเหมารถตู้สองคัน 19 คน 32,000.00
2 ค่าทางด่วน หมอชิต - พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ - ที่พัก วันที่ 24 มี.ค. 2 คัน 800.00
3 ค่า BTS จากสถานี สนามกีฬาแห่งชาติ - สถานีช่องนนทรี (เด็ก และ ผู้ใหญ่) 19 คน 570.00
4 ค่าอาหาร 12 มื้อ 19 คน 13,490.00
5 ค่าเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ผู้ใหญ่) คนละ 300 (เด็กๆทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าฟรี) 6 คน 1,800.00
6 ค่าเข้า Skywalk ตึกมหานคร (เด็กและผู้ใหญ่) คนละ 250 19 คน 4,750.00
7 ค่าเข้ามิวเซียมสยาม (เด็กคนละ 50 และผู้ใหญ่ คนละ 100) 19 คน ได้รับการอนุเคราะห์ให้เข้าฟรี
8 ค่าเข้าเข้าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา (เด็กคนละ 40 และผู้ใหญ่ คนละ 80) 19 คน 1,000.00
9 ค่าเข้าสวนสัตว์เปิดเขาเขียว (เด็กคนละ 30 และผู้ใหญ่ คนละ 150) 19 คน 1,290.00
10 ค่าที่พัก กรุงเทพฯ 1 คืน พักโฮสเทลหัวละ 300 บาท 19 คน 5,700.00
11 ค่าที่พัก ชลบุรี 2 คืน พักโฮสเทลหัวละ 300 บาท 19 คน 11,400.00
12 อื่นๆ เช่นอาหารว่างเครื่องดื่ม 19 คน 3,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
75,800.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
7,580.00

ยอดระดมทุน
83,380.00