ใครๆก็เรียนได้ ปีที่ 3

พวกเราไม่ได้ คาดหวังให้น้องๆ “เด็กในชุมชนแออัด” กับ “เด็กเร่ร่อน” ที่เข้าร่วมโครงการ เรียนจบเพียงอย่างเดียว แต่เราคาดหวังให้ไม่ไปข้องแวะกับการเป็นยุวอาชญากร (ลักเล็กขโมยน้อย) งานขายบริการ หรือ ใช้สารเสพย์ติด เราจึงต้องจัดกิจกรรมนันทนาการ เช่น กีฬาต้านยาเสพย์ติดและกิจกรรมศิลปะบำบัด รวมทั้ง คอยแนะนำแหล่งความรู้ดีๆเพื่อพัฒนาตัวเองสู่เป้าหมายที่ฝันไว้
ระยะเวลาโครงการ 01 ส.ค. 2566 ถึง 30 พ.ย. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: • ชุมชนวัดดวงแข , • ชุมชนตรอกสลักหิน
ยอดบริจาคขณะนี้
49,626 บาทเป้าหมาย
79,200 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ในกรุงเทพฯ มีสลัมทั้งสิ้น 1,900 แห่ง ไม่นับหัวเมืองใหญ่ทั่ว โดยมีปัญหาหลัก 3 กลุ่มคือ 1.เด็กยากจนพิเศษ 2.เด็กติดยาเสพติด/ยุวอาชญากรรม และ 3.แม่วัยรุ่น กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ “เด็กในชุมชนแออัด” กับ “เด็กเร่ร่อน” จากชุมชนแออัดใจกลางเมืองอันได้แก่ ชุมชนวัดดวงแข, ชุมชนตรอกสลักหิน
พวกเราไม่ได้ คาดหวังให้น้องๆเรียนจบเพียงอย่างเดียว แต่เราคาดหวังให้เขาเป็นคนดี ไม่ไปข้องแวะกับการเป็นยุวอาชญากร (ลักเล็กขโมยน้อย) งานขายบริการ หรือ ใช้สารเสพย์ติด พวกเราอยากให้น้องมีวุฒิการศึกษา เพื่อมีงานดีๆทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ความเสี่ยงของเด็กและเยาวชนในชุมชนแออัดที่รู้กันดีคือเรื่องยาเสพติดซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น
"มากกว่าครึ่งหนึ่งของเพื่อนๆหนูที่นี่มีปัญหาเรื่องยาเสพติด ที่ใช้กันมากเมื่อก่อนก็เป็นกาว แต่ตอนนี้ที่มาแรงกว่าคือ 'โปร' เป็นยาแก้ไอผสมกับน้ำอัดลม เด็กวัยรุ่นจะชอบใช้ตัวนี้มากกว่ากาว ที่เห็นใช้กันก็มีทั้งเด็กผู้ชายผู้หญิง และใช้ระบาดไปถึงในโรงเรียนจนครูต้องพยายามออกกฎเพื่อห้ามไม่ให้เด็กใช้" น้องแกนนำเยาวชนคนหนึ่งที่ชุมชนนี้ได้ให้ข้อมูล
นอกจากเรื่องยาเสพติดแล้วอีกปัญหาหนึ่งที่พบคือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน
"เกือบ 1 ใน 3 ของเด็กวัยรุ่นผู้หญิงที่นี่เรียนไม่จบ ม.ต้น หรอกเพราะท้องก่อน เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีเพื่อนหนูคนหนึ่งที่ต้องออกจากโรงเรียนตอน ม.2 เพราะท้อง เรื่องเด็กท้องแล้วต้องออกจากโรงเรียนนี่ความจริงบางปีก็ไม่มีนะ แต่ถ้าปีไหนมีก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเห็นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยาเสพติดหรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียนนั้นล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากความไม่มั่นคงของวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนแออัด
แล้วเราจะมีส่วนช่วยเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้อย่างไร? ในเมื่อที่นี่คือบ้านของพวกเขา คือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวพวกเขา และเราคงไม่มีกำลังความสามารถพอที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบตัวพวกเขาเหล่านี้ได้
ที่พอจะทำได้จึงเป็นการเติมภูมิคุ้มกันความรู้เท่าทันต่อความเสี่ยงต่างๆในชีวิตที่พวกเขาจะได้หลีกเลี่ยงจากมันได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับมัน รวมทั้งเสริมจิตใจ ร่างกาย ให้เข้มแข็ง ด้วยการเล่นกีฬาต้านยาเสพย์ติด การทำกิจกรรมศิลปะบำบัด นั่นอาจเป็นทางออกเฉพาะหน้าเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนของเราไว้ก่อน โดยมีเป้าหมายระยะยาวให้น้องสามารถเรียนจนมีวุฒิการศึกษาและมีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
Plan ที่จะจัดกิจกรรม ทุก 2 อาทิตย์ ที่ชุมชนวัดดวงแข • ชุมชนตรอกสลักหิน•ละคาดว่าจะมีน้องๆเข้าร่วมกิจกรรม 10-20 คน/ ครั้งตัวอย่าง กิจกรรมกีฬาต้านยาเสพย์ติด ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของน้องๆในชุมชนเช่น ต่อยมวย, ฟุตซอล, แบดมินตัน, วอลเลย์บอล และ ศิลปะ เช่น การเพ้นต์กระเป๋าผ้าดิบ, การวาดการ์ตูนมังงะ, การประดิษฐ์ของใช้ในบ้านจากเศษวัสดุ เช่น ขวดน้ำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ธิดารัตน์ สุขะนินทร์ (เปิ้ล) ทำงานเป็นครูและอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย
น้องบางคนเคยผ่านการลักเล็กขโมยน้อย ขายบริการและใช้สารเสพย์ติด พวกเราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับน้องๆและผู้ดูแล เลยได้เล็งเห็นถึงปัญหาทางการศึกษา
ทางทีมงานจึงอยากมีส่วนร่วมในการช่วยให้น้องๆมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยการจัดกิจกรรมกีฬาและศิลปะ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพกายและสุขภาพจิต ให้น้องๆมีความพร้อมที่จะเรียนหนังสือได้มีประสิทธิภาพและมีชีวิตที่มีคุณภาพขึ้น และไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับ การลักเล็กขโมยน้อย ขายบริการ และการใช้สารเสพย์ติดอีก

แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | กิจกรรมศิลปะ (ค่าจัดกิจกรรม+อุปกรณ์+วิทยากร) 4,000/ครั้ว x 8 ครั้งต่อปี | 4000X8 | 32,000.00 |
2 | กิจกรรมกีฬา (ค่าจัดกิจกรรม+อุปกรณ์+วิทยากร) 5,000/ครั้ง x 8 ครั้งต่อปี | 5000x8 | 40,000.00 |