cover_1

กองทุนส่งเสริมเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนประมงพื้นบ้าน

สมาคมรักษ์ทะเลไทยสมาคมรักษ์ทะเลไทย
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนชุมชนประมงพื้นบ้านให้เป็นผู้เฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟูธรรมชาติให้กับเขตอนุรักษณ์ทะเลรอบ ๆ ชุมชน จำนวน5ชุมชน

ระยะเวลาระดมทุน

29 พ.ย. 2565 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

บ้านหลอมปืน จ. สตูล ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล 91110ชุมชนบ้านสะทัง ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 93130บ้านเกาะลอย อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราชบ้านนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลาบ้านทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เป้าหมาย SDGs

LIFE BELOW WATER

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ทะเล
5เขต
ชาวประมงพื้นบ้าน
5ชุมชน

ร่วมเทใจให้ทะเลบ้านเรา สนับสนุนชุมชนประมงพื้นบ้านให้เป็นผู้เฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟูธรรมชาติในทะเลรอบๆชุมชนให้กลับมาสมบูรณ์และสวยงาม ให้คนไทยเข้าถึงอาหารทะเลที่ปลอดภัย ต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

แม้ทะเลไทยจะถูกทำลายมาต่อเนื่องหลายสิบปี แต่ก็มีชุมชนประมงพื้นบ้านมากมายที่พร้อมลุกขึ้นมาดูแลปกป้องพื้นที่ทะเล คนเมืองเองก็ได้ประโยชน์ทั้งจากความสวยงามสมบูรณ์ของทะเลที่ฟื้นกลับมา ทำให้เข้าถึงอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากเครือข่ายประมงพื้นบ้านที่รวมตัวกันเป็นสมาคมที่เน้นกระบวนการจับ แปรรูป และจัดส่งอาหารทะเลที่ยั่งยืนและได้มาตรฐานเรื่องสุขภาพ

ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพจำพวกสารฟอร์มอลีนเพื่อรักษาความสดดังที่มักเป็นข่าว และยังเป็นการสร้างหลักประกันว่าคนไทยจะเข้าถึงอาหารทะเลได้ในราคาที่เป็นธรรมท่ามกลางกระแสภาวะโลกร้อนที่นำมาซึ่งวิกฤตอาหารทั่วโลกขณะนี้ จึงเป็นจังหวะสำคัญที่สมาคมรักษ์ทะเลไทยชวนทุนคนมาร่วมต่อยอดความสำเร็จโดยสนับสนุนกองทุนเพื่อเพิ่มเขตอนุรักษ์ทะเล

โดยชุมชนอีกอย่างน้อย 5 ชุมชนคือ  บ้านหลอมปืน จ. สตูล, ชุมชนบ้านสะทัง จ. พัทลุง, บ้านเกาะลอย  จ. นครศรีธรรมราช,  บ้านนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา,  บ้านทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจะต่อยอดออกดอกผล เพิ่มขึ้นในอนาคต

ปัญหาสังคม

กัมพลเป็นชาวประมงพื้นบ้าน ที่บ้านปากน้ำ สตูล ราวสิบปีที่แล้วทะเลหน้าบ้านเขาแทบจับปลาไม่ได้เลย เพราะการประมงทำลายล้างที่ใช้อวนลาก อวนรุน หรือเรือคราดหอย ที่เหมือนเอาคราดลากไปบนผิวทะเลทำให้สัตว์ พืช หรือประการังแทบตายหมด กัมพลต้องออกเรือเล็กๆไปไกลขึ้นทุกที

หลายคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากคลื่นลมทะเลลึก ความสวยงามหน้าหาดหายไปหมด แนวประการังโดนอวนลากทำลายสิ้น ปลาเล็กปลาน้อยไม่มีบ้านอยู่ 

เขาและสมาชิกชุมชนจึงลุกขึ้นมาเรียนรู้วิธีการทำเขตพื้นที่อนุรักษ์ทะเลหน้าหาดบ้านตน ทำซั้ง-ประการังเทียม บ้านปลา ธนาคารปู ดูแลหญ้าทะเล/ป่าชายเลน เฝ้าระวังไม่ให้ประมงทำลายล้างเข้าพื้นที่ จนตอนนี้ทะเลถูกฟื้นฟูจนกลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงาม ชาวบ้านก็จับปลาได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ใกล้บ้านตัวเอง แล้วนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อีก

นอกจากกัมพลก็ยังมีเครือข่ายประมงพื้นบ้านที่ทำเรื่องอนุรักษ์ทะเลเหมือนกันอีกหลายพื้นที่ที่ทำได้สำเร็จ เช่น บ้านคั่นกะได จ.ประจวบฯ บ้านในถุ้ง จ. นครศรีธรรมราช ที่เปลี่ยนชาวบ้านมาเป็นผู้เฝ้าระวัง ดูแล และอนุรักษ์ทะเลในพื้นที่ตนเอง  

ทะเลไทยถูกทำลายอย่างต่อเนื่องจนความหลากหลายของสัตว์-พืชทะเลแทบล่มสลาย ทั้งจากประมงผิดกฏหมาย เช่น อวนลาก อวนรุน หรือเรือคราดหอยลาย ที่เหมือนเอาคราดลากไปบนผิวทะเลทำให้สัตว์ พืช หรือประการังแทบตายหมด ประมงพาณิชย์จับสัตว์น้ำไม่เลือกขนาด ไม่ปล่อยให้ปลามีโอกาสเติบโต ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืนก็ทั้งทิ้งสมอทำลายบ้านปลา/ประการัง สัตว์ทะเลต้องหนีไม่มีที่อยู่

หากปล่อยไปเช่นนี้ชาวบ้านริมฝั่งทะเลนับล้านย่อมจะมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงอาหาร (ประมงพื้นบ้านจับปลาได้ลดลงถึงสามเท่าในรอบไม่ถึงสิบปี) การท่องเที่ยวทะเลยั่งยืนก็เกิดไม่ได้  ความสมบูรณ์ของทะเลไทยจะกลายเป็นเพียงอดีต  

จากปัญหาการลดลงของปลาในทะเลไทย (ข้อมูลกรมประมงพบว่าในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาจับสัตว์น้ำเค็มได้ลดลงกว่า 50%) ผู้บริโภคจึงเข้าถึงอาหารทะเลสดได้ยากมากขึ้น เพราะมีราคาสูงจนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง เข้าถึงได้ในโอกาสสำคัญๆเท่านั้น เด็กๆหรือครอบครัวในพื้นที่ห่างไกลจากทะเล ยิ่งแทบไม่มีโอกาสทานอาหารทะเลสดมีคุณภาพ หากเทียบกับการเข้าถึงอาหารโปรตีนอย่าง “นมโรงเรียน” ที่สังคมไทยสามารถสนับสนุนให้เด็กไทยได้ทานต่อเนื่อง โปรตีนจากสัตว์น้ำธรรมชาติจากต้นทุนทะเลไทยกลับเข้าถึงไม่ได้

โดยประชากรส่วนใหญ่จะมีโอกาสเข้าถึงอาหารทะเลราคาปานกลาง จากตลาดสัตว์น้ำแช่แข็งนำเข้า หรือผ่านการบดแปรรูปเป็นชิ้นก้อน ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยมากขึ้น มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพจำพวกสารฟอร์มอลีนเพื่อรักษาความสดมากขึ้น จนมีปรากฏเป็นอาการแพ้อาหารทะเลในผู้บริโภคในที่สุด 

แต่ยังมีตัวอย่างความสำเร็จจากการอนุรักษ์โดยชุมชนริมชายฝั่งมากมายที่เป็นความหวังได้ ชุมชนชายฝั่งทะเลหลายสิบแห่งได้เริ่มการทำเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนหน้าหาดบ้านของตัวเอง ทิ้งซั้งหรือสร้างพื้นที่ประการังเทียมให้ปลามีพื้นที่ปลอดภัย ทำธนาคารปู-บ้านปลาดูแลสัตว์น้ำวัยอ่อน กำหนดกติกาการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ร่วมมือกับภาครัฐในการประกาศเขตอนุรักษ์ทะเลในพื้นที่ซึ่งชุมชนร่วมกันดูแลฟื้นฟูได้ เชื่อมโยงพื้นที่หญ้าทะเลหรือป่าชายเลน จนหลายแห่งกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ธรรมชาติในทะเลฟื้นคืน เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ดังกล่าว และยังต่อยอดไปสู่การพัฒนาการแปรรูปและการขายอาหารทะเลแบบยั่งยืนปลอดภัยโดยชุมชนที่เรียกว่าเครือข่าย "ร้านคนจับปลา" อีกด้วย

เครือข่ายประมงพื้นบ้านได้ดำเนินการพัฒนาเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนสำเร็จแล้วในหลายพื้นที่ เช่น

กลุ่มอนุรักษ์บ้านในถ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดย อบต.ท่าศาลา มีสาระสำคัญคือ ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือผิดกฎหมาย ห้ามการใช้ตาอวนต่ำกว่า 2.5 ซม. และห้ามใช้เครื่องมือคราดหน้าดินทุกชนิดในพื้นที่ที่กำหนด เป็นต้น และได้ทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าบ้านเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายโดยเรือประมงขนาดใหญ่ โดยการทำ “ซั้ง” ด้วยไม้ไผ่เพื่อเป็นบ้านปลาให้หลบภัย และเป็นแนวเขตในการอนุรักษ์ทรัพยากรไปด้วยในตัว

นอกจากนี้ กลุ่มประมงพื้นบ้านในถุ้งยังได้ดำเนินกิจกรรม “ธนาคารปูม้า” อย่างจริงจัง จนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ธนาคารปูไข่นอกกระดองที่มีความโดดเด่นมาก จนในปี 2564 ได้รับรางวัลชนะเลิศศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเพื่อความยั่งยืน  จากสถาบันการวิจัยแห่งชาติ

สมาคมประมงพื้นบ้านปากน้ำ (ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล) และร้านคนจับปลาสตูล

รวมตัวเป็นกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านใน 7 ชุมชน รณรงค์ไม่ใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง การทำงานอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล เริ่มจากการวางซั้งกอสร้างบ้านปลาในอ่าวปากบารา  ทำกติกาชุมชนและลงนามระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวประมงพาณิชย์ และชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล มีการจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจ MOU โดยมีข้อตกลงของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากบริเวณซั้งกอบ้านปลา เช่น ไม่ใช้ล้อมอวนทุกชนิดในลักษณะล้อมซั้ง เพื่อป้องกันการจับสัตว์น้ำบริเวณซั้งกอบ้านปลาจำนวนมากเกินไป เป็นต้น จนได้รับการยอมรับว่าทำให้สัตว์น้ำในทะเลสตูลเพิ่มมากขึ้นจริง ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความสนใจ และได้นำกิจกรรมดังกล่าวเข้าไปบรรจุในแผนการพัฒนาพื้นที่ เช่น สำนักงานประมงจังหวัด สนับสนุนการจัดทำซั้งกอบ้านปลา จำนวน 600 ต้น ให้กับ 4 ชุมชน ในจังหวัดสตูล ฯลฯ 


ตัวอย่างเหล่านี้ และอีกหลายพื้นที่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของกระแสที่ชุมชนกลายมามีบทบาทเป็นผู้อนุรักษ์ดูแลทะเล เฝ้าระวังการเข้ามาทำลายพื้นที่ของกลุ่มประมงผิดกฏหมาย  และเป็นการตอบสนองกระแสอนุรักษ์ทะเลทั่วโลกที่มุ่งรักษาอย่างน้อย 30% ของทะเลทั่วโลกอีกด้วย จึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นกลไกที่ยั่งยืนในการขยายการสร้างเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนไปสู่ชุมชนที่มีความพร้อมอีกหลายสิบหลายร้อยแห่งตลอดชายฝั่งของไทย

(ขอบคุณภาพสุดท้ายจาก The Cloud ที่นำเสนอเรื่องร้านคนจับปลา ในงานสมาคมรักษ์ทะเลไทย)

(ขอบคุณภาพสุดท้ายจาก The Cloud ที่นำเสนอเรื่องร้านคนจับปลา ในงานสมาคมรักษ์ทะเลไทย)

สมาคมรักษ์ทะเลไทยชวนทุกท่านจัดตั้งกองทุนเพื่อการขยายความสำเร็จของเขตอนุรักษ์ทะเล เพื่อให้กลุ่มชาวบ้านที่มีความพร้อมอีกหลายสิบหลายร้อยแห่งตลอดชายฝั่งของไทยได้ร่วมโครงการไปด้วยกัน  

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีเขตอนุรักษ์ทรัพยากรเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภายใต้โครงการฯ ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับข้อมูลแนวคิดเรื่องการจัดการเขตอนุรักษ์ฯ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมงานอนุรักษ์ของชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการประมงที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีการวางปะการังเทียมพื้นบ้านบ้านปลา (ซั้ง กอ), มีธนาคารปูที่ผลิตลูกปูคืนทะเลได้ปีละอย่างน้อย 300 – 500 ล้านตัว และการอนุรักษ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ซึ่งแตกต่างออกไป เช่น อาจมีการฟื้นฟูป่าโกงกาง หรือหญ้าทะเลเป็นต้น เขตพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนสามารถวัดผลให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างขัดเจน มีตัวชี้วัดสำคัญเช่น การวัดเปรียบเทียบความหลากหลายทางชีวภาพ ขนาดและจำนวนของสัตว์น้ำ และพืชน้ำสำคัญ ความชุกชุม/อุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ เปรียบเทียบกับพื้นที่ภายนอก
  2. ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น 20 % เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ 1 ปี จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และ การจัดการผลผลิตในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนและมีการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์, ร้านคนจับปลา และการซื้อขายปกติ
  3. ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากสารเคมี จากการซื้อผลผลิตจากชาวประมงในพื้นที่โครงการ

ภาคีความร่วมมือ

ChangeFusion ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ   ร่วมสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อยกระดับการทำเขตพื้นที่อนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนของชุมชนประมงพื้นบ้านไทย ให้ได้แลกเปลี่ยนบทเรียนและพัฒนามาตรฐานจากต้นแบบความสำเร็จระดับนานาชาติ  รวมถึงการวัดผลทางนิเวศน์วิทยาอีกด้วย

UNDP ประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาเพื่อการวัดผลความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ของ SDG ข้อ 14  และมิติของความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity)

สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน  ร่วมขับเคลื่อนในเครือข่ายสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านทั่วประเทศไทยให้มาทำเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดย มีสาระสำคัญคือ ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือผิดกฎหมาย ห้ามการใช้ตาอวนต่ำกว่า 2.5 ซม. และห้ามใช้เครื่องมือคราดหน้าดินทุกชนิดในพื้นที่ที่กำหนด

  2. ทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าบ้านเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายโดยเรือประมงขนาดใหญ่ โดยการทำ “ซั้ง” ด้วยไม้ไผ่เพื่อเป็นบ้านปลาให้หลบภัย และเป็นแนวเขตในการอนุรักษ์ทรัพยากร

  3. ดำเนินกิจกรรม “ธนาคารปูม้า” อย่างจริงจัง จนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ธนาคารปูไข่นอกกระดองที่มีความโดดเด่นมาก จนในปี 2564 ได้รับรางวัลชนะเลิศศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเพื่อความยั่งยืน จากสถาบันการวิจัยแห่งชาติ

  4. รณรงค์ไม่ใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง เริ่มจากการวางซั้งกอสร้างบ้านปลาในอ่าวปากบารา

  5. ทำกติกาชุมชนและลงนามระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวประมงพาณิชย์ และชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล มีการจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจ MOU โดยมีข้อตกลงของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากบริเวณซั้งกอบ้านปลา

แผนการดำเนินงาน

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการเขตพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเพื่อความยั่งยืนในอนาคต

  2. ออกแบบแนวทาง/กติกาและขอบเขตการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล ที่สอดคล้องกับพื้นที่และภูมิปัญญาชุมชน

  3. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ภูมินิเวศน์ที่เหมาะสมและมีความพร้อม

  4. ออกแบบงานสื่อสารของชุมชนเรื่องเขตอนุรักษ์เพื่อสื่อสารกับสาธารณะ

  5. สนับสนุนผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ ชุมชน ที่มีผลผลิตหรือใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรทะเล

  6. ร่วมกับที่ปรึกษาทางวิชาการ ทำการศึกษาตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรจากการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ร่วมกับชุมชนพื้นที่

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
การจัดกระบวนการบ่มเพาะและออกแบบแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลในแต่ละพื้นที่

1.1) การประชุมปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชน พื้นที่ละ 4 ครั้งเพื่อสร้างความเข้าใจเป้าหมายโครงการ และการประเมินสมาชิกเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเขตพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่อความยั่งยืนในอนาคตเพื่อออกแบบแนวทาง/กติกาและขอบเขตการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล ที่สอดคล้องกับพื้นที่และภูมิปัญญาชุมชน 1.2) เข้าพบหารือย่อยกับหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ละ 4 ครั้ง 1.3) การประชุมหารือกับภาคีภาคส่วนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ละ 2 ครั้ง

1ปี264,000.00
สนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์การดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล

(เช่น แนวเขตอนุรักษ์,ป้าย,ทุ่น,ปะการังเทียมพื้นบ้าน-ซั้งกอ,ธนาคารปู ฯลฯ ) 5 ชุมชน ๆ เฉลี่ย 100,000 บาท

1ปี500,000.00
ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงรับผิดชอบพื้นที่

จำนวน 2 คน คนละ 18,000 บาท

1ปี432,000.00
การรณรงค์ผลักดันเพื่อสื่อสารกับสาธารณะในเรื่องการสร้างมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่

1ปี127,000.00
ค่าเดินทาง ติดต่อสื่อสาร ประสานงานของพี่เลี้ยงจำนวน 2 คน เดือนละ 10,000 บาท

1ปี120,000.00
ค่าตอบแทนผู้จัดการโครงการจำนวน 1 คน

(10% ของเงินเดือน) หรือเดือนละ 4,000 บาท

1ปี48,000.00
จัดกระบวนการติดตามการวัดผลทางนิเวศน์และผลทางสังคม เพื่อให้รายงานผลทางสังคมสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน

1ปี72,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,563,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)156,300.00
ยอดระดมทุน
1,719,300.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สมาคมรักษ์ทะเลไทย

สมาคมรักษ์ทะเลไทย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon