Donations for the project will ส่งต่อกำลังใจและวิธีรับมือกับมะเร็งเบื้องต้น to ผู้ป่วยมะเร็งไทยกว่า20,000ราย
อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล ภายใต้บริษัท อาร์ต ออฟ ไลฟ์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้ส่งมอบแนวทางในการรับมือกับโรคมะเร็งผ่าน “ยากำลังใจ” ในโครงการยากำลังใจ ให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ ผ่าน 37 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ยังมีสื่อความรู้และกำลังใจ จากการแชร์ประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยมะเร็ง และอดีตผู้ป่วยมะเร็ง รวมถึงวีดิโอสาธิตการทำ 7 เมนู สุขภาพเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งมีกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแล และผู้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ผ่านกิจกรรมของโครงการยากำลังใจ มากกว่า 1,275,101 คนทั่วประเทศ
ซึ่งออย ไอรีล ไตรสารศรี ผู้ก่อตั้งอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล และเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 กล่าวว่า
“ โครงการยากำลังใจปี 2566 ถือได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างมาก ที่เราต้องการให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล ได้เรียนรู้แนวทางและเทคนิคในการรับมือกับโรคมะเร็ง ด้วยความหวังและทัศนคติเชิงบวกควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ โดยทางอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล ยังคงมุ่งหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและภาคเอกชน ในการสนับสนุนต่อยอดในการขับเคลื่อนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และโครงการอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ไทยในอนาคตอย่างยั่งยืน ”
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ผู้ป่วย | ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล ทั่วประเทศไทย |
20,000 ราย | ได้เรียนรู้แนวทางและเทคนิคในการรับมือกับโรคมะเร็งด้วยความหวัง และทัศนคติเชิงบวกควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ |
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการยากำลังใจ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์โครงการ ในการส่งมอบยาเม็ดแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผ่านข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางในการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยมะเร็งในช่วงก่อนเข้ารับการรักษา ในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ที่ชื่อว่า “ยากำลังใจ” ที่ Glowfish Hall 3 สาทรธานี
โดยสื่อความรู้นี้จะถูกส่งต่อไปยังกว่า 30 โรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ ได้เสริมสร้างกำลังใจที่ดี เพิ่มเติมองค์ความความรู้เกี่ยวกับโรค เพื่อจะได้นำไปปรับใช้และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการรักษา และเพิ่มโอกาสอัตราการรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งไทย
ทั้งนี้มีพันธมิตรเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถานวิทยามะเร็งศิริราช ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อีกทั้งยังมีตัวแทนจากทางภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมให้โครงการได้ลุล่วงวัตถุประสงค์อีกมากมาย อาทิ เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ รมิดา ประภาสโนบล และอนุชิต คำน้อย
ซึ่งโครงการยังต้องการความสนับสนุนในการส่งต่อชุดยากำลังใจให้ครบตามเป้าหมายจำนวน 20,000 ชุดให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลทั่วประเทศ