Donations for the project will ใช้ในการเพิ่่มทักษะการวิเคราะห์ รายงานข่าว พร้อมความรู้เท่าทันสื่อ to ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี40คน
"วาระข่าวถูกกำหนดโดยสื่อกระแสหลัก ซึ่งมีบรรณาธิการไม่กี่คนที่กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ตัดสิน ทำให้มุมมองของชุมชนและปัญหาในพื้นที่ถูกละเลย ขาดการมีส่วนร่วมและการนำเสนอที่สะท้อนความจริง"
เราจึงตั้งใจเวทีให้ผู้เข้าร่วมรายงานข่าวจริงผ่านรายการทางโซเชียลมีเดีย สร้างวาระข่าวที่สะท้อนเสียงจากชุมชน โดยรายการจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและให้ข้อเสนอแนะ
โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 40 คน จะได้รับการอบรม 1 วัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะการรายงานข่าว การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ความรู้เท่าทันสื่อ ข่าวลวง และการใช้ AI ให้กับคนในชุมชน ในระยะเวลา 3 เดือน
ต้นตอของปัญหานี้เกิดจากโครงสร้างของสื่อกระแสหลักที่กระจุกตัวอยู่ในศูนย์กลางเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับวาระข่าวถูกกำหนดโดยบรรณาธิการเพียงไม่กี่คน ทำให้เนื้อหาข่าวสะท้อนมุมมองของคนในเมืองมากกว่าปัญหาและความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
นอกจากนี้ การขาดทักษะการวิเคราะห์และเท่าทันสื่อในหมู่ประชาชนทั่วไป ยิ่งส่งเสริมให้ข่าวสารที่บิดเบือนหรือมีอคติเข้ามาครอบงำความคิดได้ง่าย
ในยุคที่เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาท ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ , การสร้างและกระจายข้อมูลปลอม ยิ่งทำได้รวดเร็วและแนบเนียน ส่งผลให้ชุมชนขาดความสามารถในการตรวจสอบและนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและสะท้อนเสียงของตนเอง สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางข้อมูลและลดศักยภาพของชุมชนในการมีส่วนร่วมกำหนดวาระข่าวในสังคม
วิธีการแก้ไขปัญหาคือการจัดอบรม 1 วัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะการรายงานข่าว การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ความรู้เท่าทันสื่อ ข่าวลวง และการใช้ AI ให้กับคนในชุมชน
หลังจากนั้น เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมรายงานข่าวจริงผ่านรายการทางโซเชียลมีเดีย สร้างวาระข่าวที่สะท้อนเสียงจากชุมชน โดยรายการจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและให้ข้อเสนอแนะ
กลุ่มเป้าหมายเริ่มต้นคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 40 คน และผู้รับชมที่จะเข้าถึงรายการอย่างน้อย 2,000 คน (เชิงปริมาณ) โดยมุ่งเน้นการเสริมศักยภาพให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างข่าวสารที่มีคุณภาพ ทางด้าน สังคม สุขภาพ (เชิงคุณภาพ) โครงการจะดำเนินการเบื้องต้นในระยะเวลา 3 เดือน และมุ่งเน้นให้เกิดวาระข่าวที่หลากหลายและเชื่อมโยงผู้คนในสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงบันทึกข้อมูลจากรายการลงใน CHAT GPT เพื่อรวมรวมเรียบเรียง สามารถค้นหา และให้ Ai วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลในภายหลังอีกด้วย
โครงการ “วาระข่าวจากชุมชน เพื่อสังคมเท่าทันสื่อในยุค AI” จะใช้วิธีการดังนี้: 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 1 วัน • ให้ความรู้ในเรื่องการเป็นนักรายงานข่าวจากชุมชน จะต้องฝึกทักษะอะไรบ้าง • ให้ความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อและข่าวลวง พร้อมการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีจริยธรรม • ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-checking) และการผลิตเนื้อหาข่าวที่สะท้อนปัญหาในชุมชน • รู้จักเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น แอปพลิเคชัน Fact-check หรือการใช้ AI เพื่อช่วยตรวจสอบข่าว
2. การสร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารของชุมชน • เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเข้ากลุ่ม LINE ปรึกษาหารือกันเรื่องวาระข่าวของประชาชน โดยมีทีมโครงการช่วยให้คำปรึกษาและสนับสนุน • บางปัญหาอาจทำเป็น แบรนเนอร์ หรือ คลิป เพื่อรณรงค์เผยแพร่ผ่าน Facebook ข่าว UbonConnect
3. เวทีรายงานข่าวในระดับสังคม • เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม รายงานข่าวจริงผ่านรายการ "สื่อโดยประชาชน" เป็นเวทีออนไลน์ (Live streaming) ทาง Facebook และ youtube สื่อสารสาธารณะรายสัปดาห์ เพื่อให้ชุมชนรายงานความคืบหน้าในประเด็นที่สำคัญ • สร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
4. ให้ Ai เก็บรวบรวม เรียบเรียงข้อมูลที่เผยแพร่ ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
ผลลัพธ์จากการดำเนินการที่ผ่านมา วิธีการนี้เคยถูกใช้ในรายการ "สื่อโดยประชาชน" ที่ส่งเสริมการสื่อสารผ่านชุมชนจ.อุบลราชธานี โดยใช้สื่อชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างวาระข่าว ผลลัพธ์ที่ได้คือ: • ชุมชนสามารถนำเสนอปัญหาสำคัญ เช่น ปัญหาการเบิกจ่ายเงินภัยพิบัติที่ล่าช้า ที่ผู้ใหญ่บ้านเสนอตรงต่อรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และรองอธิบดีรับปากจะประสานเพื่อแก้ปัญหานี้ , เสนอวิธีบรรเทาปัญหาน้ำท่วมอุบลราชธานี โดยคุณสเตฟาน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด จนสามารถบรรเทาปัญหาได้ เมื่อเกิดการพร่องน้ำให้รวดเร็วก่อนฝนจะมา , การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าช่วงน้ำท่วมใหญ่อุบลฯปี 65 จำนวนมาก ผ่านรายการออนไลน์ ราษฎรถามราชการตอบ • เกิดช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ เช่น ซูปเปอร์โอเพนแชท เตือนภัยพิบัติอุบลราชธานี เป็นเวทีกลางที่ใช้แลกเปลี่ยน นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ปัญหาภัยพิบัติในจังหวัด ความแตกต่างจากหน่วยงานอื่น หน่วยงานอื่น เช่น สื่อกระแสหลักหรือโครงการ Fact-check ที่มีอยู่ มักมุ่งเน้นที่การตรวจสอบข่าวลวงในเชิงรับ โครงการนี้แตกต่างตรงที่: 1. มุ่งสร้างนักสื่อสารชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดวาระข่าวเอง 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมแบบสองทาง ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและเวทีเปิด 3. เน้นการปฏิบัติจริง ทั้งการอบรม การลงพื้นที่ และการรายงานข่าวที่สะท้อนปัญหาในชุมชนโดยตรง โครงการนี้จึงเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจทางปัญญา (Empowerment) ให้กับชุมชนในการกำหนดและเผยแพร่วาระข่าวที่มีคุณภาพและครอบคลุมมุมมองที่หลากหลาย
เดือนแรก จัดประชุมอบรม “วาระข่าวจากชุมชน เพื่อสังคมเท่าทันสื่อในยุค AI” ช่วงต้นเดือน จากนั้นกำหนดการรายงานข่าวทุกสัปดาห์ เป็นเวลารวม 12 สัปดาห์ และสรุปงานหลังครบ 12 สัปดาห์
กำหนดการรายงานข่าวทุกสัปดาห์ เป็นเวลารวม 12 สัปดาห์
สรุปส่งงานหลังครบ 12 สัปดาห์
Item | Quantity | Amount (THB) |
---|---|---|
จัดประชุมอบรม ค่าอาหาร,ค่าเดินทาง,ค่าสถานที่,ค่าวิทยากร,ประสานงาน | 40คน | 50,000.00 |
จัดทำรายการออนไลน์ ผลิตรายการ 5000x12 = 60,000 บาท ค่าอินเตอร์เน็ตผู้เข้าร่วม 3 คน 300x12=3,600 บาท ผู้ประสานงาน 3 เดือน 5000x3=15,000 บาท ผู้ดำเนินรายการ 1000x12=12,000 บาท หมายเหตุ.- *ทั้ง 40 คน จะได้รับการคัดเลือกเข้ารายงานข่าวในรายการ ครั้งละ 3 คน โดยรายการจะจัดสด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ช่วงเวลาแล้วแต่ทางกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมจะกำหนด ความยาวรายการประมาณ 40-60 นาที โดยสามารถชมย้อนหลังได้ หลังจากจบรายการสดแล้ว **กรณีที่ระดมทุนได้ไม่ครบ ทางโครงการจะลดกิจกรรมลงมา ให้สอดคล้องกับทุนที่ได้รับการระดมมา | 12ครั้ง | 90,600.00 |
ค่าดำเนินงาน | 11 | 14,060.00 |
Total Amount | 154,660.00 | |
Taejai support fee (10%) | 15,466.00 |
การศึกษา นิเทศศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรอบรมโปรดิวเซอร์ Nation Channel วิทยากรพิราบน้อย สถาบันอิศรา อดีต ผู้ประสานงานโครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ประกาศ , ผู้ดำเนินรายการ , โปรดิวเซอร์รายการ วิทยุเนชั่น กรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายผลิต,ผู้ช่วยผู้จัดการ ทีมงาน Harmony อุบลราชธานี ผู้ดำเนินรายการ,ผลิตรายการ ทาง NBT อุบลราชธานี ,โสภณเคเบิ้ลทีวี , RTV , VcableTV - บรรณาธิการโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนผ่านกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)) - ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมทุกข์ร่วมสุข (Life shared) เพื่อโครงการสะพาน สนับสนุนโดย USAID ผู้ชำนาญการประจำตัวสปช.อุบลราชธานี กรรมการมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉิน วิทยากรพิราบน้อย สถาบันอิศรา ผู้ดำเนินรายการ,ผลิตรายการ Headline วันนี้ ทางสถานีวิทยุ Cleanradio 92.5 MHz ที่ปรึกษาโครงการสื่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมมาธิการของสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ (สปท.) กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบโครงการต้นแบบทีวีชุมชนอุบลราชธานี ผู้ก่อตั้ง , เลขาธิการและกรรมการ มูลนิธิสื่อสร้างสุข ทีมงานผลิตสารคดีรายการ ทีวีชุมชนและอยู่ดีมีแฮง ออกอากาศทาง ThaiPBS ผู้ประสานงาน Suthichai live Mojos Lab ปัจจุบัน - สื่อสาธารณะท้องถิ่นอุบลราชธานี ADMIN PAGE , Youtube : UbonConnect ADMIN : Super Openchat และ GPTs : เตือนภัยพิบัติอุบลราชธานี ผู้ดำเนินรายการ,วิทยากรงานประชุมสัมมนาต่าง ๆ
View ProfileCollaborate to fundraise in support of this project
Create a fundraising page