cover_1
Nearly Funded

สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

Donations for the project will สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็น to หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังกลับคืนสู่ธรรมชาติ200ตัว

Donate to this Project

Donate

Donations for the project will สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็น to หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังกลับคืนสู่ธรรมชาติ200ตัว

Donate

Taejai supports e-Donation, offering tax deductions

Mar 27, 2024

Project Updateดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

Activity time

Mar 27, 2024 - Mar 27, 2024

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่ วันที่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม
1 มิถุนายน 2566 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
2 15 กรกฎาคม 2566 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
3 28 กรกฎาคม 2566 บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
4 3 สิงหาคม 2566 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
5 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566 อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

  • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
  • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
  • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
  • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

 

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

ลำดับที่ เดือน จำนวนนกที่รับเข้า (ตัว) จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1 มกราคม 18 1
2 กุมภาพันธ์ 10 4
3 มีนาคม 14 1
4 เมษายน 28 1
5 พฤษภาคม 38 4
6 มิถุนายน 34 4
7 กรกฎาคม 33 4
8 สิงหาคม 16 16
9 กันยายน 11 2
10 ตุลาคม 20 0
11 พฤศจิกายน 17 5
12 ธันวาคม 7 12
รวม   246 54

 

จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

Jan 5, 2024

Project Updateดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ

Activity time

Jun 1, 2022 - Apr 23, 2023

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่ วันที่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม
1 มิ.ย. - ก.ค. 65 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
2 24 ต.ค. – 2 พ.ย. 65 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 1 คน ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
3 17 ธ.ค. 65 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 4คน ฝึกจับบังคับนกและทำการเก็บตัวอย่างโลหิตเพื่อทำการศึกษาและ
การจำแนกเพศ และนำไปใช้ในรายวิชาเรียน
4 11 ก.พ. 66 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 60 คน ศึกษาดูงานการดูแลนกป่าเพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ฝึกจับบังคับและการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การให้ความรู้ในการช่วยเหลือ เลี้ยงดูและปฐมพยาบาลนกป่าเบื้องต้น
5 22 – 23 เม.ย. 66 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 คน กิจกรรมฝึกสตัฟฟ์นกเพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นตัวต้นแบบสำหรับเลี้ยงดูลูกนกเพื่อป้องกันการฝังใจต่อมนุษย์

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือ

ลำดับที่ เดือน จำนวนนกที่รับเข้า(ตัว) จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ(ตัว)
1 2565 195 49 (14%)
2 มกราคม 18 2
3 กุมภาพันธ์ 12 3
4 มีนาคม 14 0
5 เมษายน 28 1

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

พีรณัฐ วินิจมโนกุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา

“ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือนกป่าเบื้องต้น การดูแลนกป่า รวมถึงการจับบังคับนก การตรวจสุขภาพและวินิจฉัยโรคในนกเบื้องต้น ซึ่งเป็นความรู้และทักษะที่เพิ่มเติมมาจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เนื่องจากได้ฝึกปฏิบัติจริงกับนกป่า และยังได้เป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือนกร่วมกับทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา และร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ สิ่งที่ประทับใจคือ ทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าเปิดกว้างในการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้าไปขอฝึกงานหรือเรียนรู้ได้ตลอด ซึ่งทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหรือช่วยเหลือนกป่าได้อย่างถูกต้อง ”

พรกนก ธัญลักษณากุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา

“ หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือนกในธรรมชาติที่บาดเจ็บและพลัดหลงมา อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนคนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการฟื้นฟูนกตลอดจนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่องผ่านการนำเสนอข้อมูลผ่านเพจกองทุนฯ อย่างเต็มที่ด้วยบุคลากรที่ใส่ใจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกในพื้นที่และมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เมื่อมีการพบเจอนกบาดเจ็บหรือพลัดหลง การติดต่อเพื่อประสานการนำนกเข้ากระบวนการรักษาและฟื้นฟูก็เป็นไปด้วยดีและรวดเร็ว ”

ยศวดี กาญจนจิตต์ นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวแทนชมรมเพื่อนสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้มาฝึกงานที่นี่ก็ได้ฝึกหลาย ๆ อย่างค่ะ ตั้งแต่ฝึกจับบังคับนก ได้รู้จักธรรมชาติของนกแต่ละชนิด ทั้งนิสัย อาหารที่กิน วิธีการดูแลก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ”