cover_1

Homecoming พาใจกลับบ้าน

บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัดบริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด
Youth
Eldery
Other

Donations for the project will จัดนิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ to กลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต1กลุ่ม

project succeeded
Successfully

Period of time

Apr 24, 2024 - Sep 30, 2024

Location

Khet Prawet, Bangkok

SDG Goals

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

กลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1กลุ่ม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อบทบาทและคุณค่าของทุกคนในสังคม นอกจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย ยังพ่วงเรื่องสุขภาพใจมาด้วย ประเทศไทยพบว่าบุคลากรด้านจิตวิทยามีไม่เพียงพออย่างมาก เราในฐานะนักออกแบบเห็นว่าการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ และรู้จักป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นอีกหนทางสำคัญที่จะช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้จึงเกิดเป็น “Homecoming พาใจกลับบ้าน“ พื้นที่บำบัดใจในรูปแบบใหม่ที่ผสานระหว่างดิจิทัลอาร์ตและทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่ทำให้เรื่องสุขภาพใจเป็นเรื่องใกล้ตัว ปี 2567 นี้ เราตัดสินใจจัดงานขึ้นอีกครั้งโดยมีผู้สนับสนุนหลักแล้ว แต่ยังต้องการเงินอีกจำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าดำเนินงานตลอดทั้งปี

Social issues

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โรคระบาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยจำนวนมากมีสภาพจิตใจที่แย่ลง ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2021 จากฐานข้อมูลเดิม 7.37 ต่อแสนประชากร ความจริงแล้วอาจสูงถึง 10.08 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกและสูงกว่าเป้าหมายของกรมเป็นอย่างมาก (อ้างอิง ข้อมูลจากบทความในเว็ปไซต์ 101 PUB วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023)

เพื่อการเอาตัวรอดจากวิกฤติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่ต้องแบกรับความคาดหวังจากทั้งด้านการทำงาน การเงิน ความฝัน และครอบครัว พวกเขาต้องรีดเค้นศักยภาพและใช้ทุกพลังที่มีโดยแทบไม่ได้มีโอกาสหันกลับมาดูแลตัวเอง จนได้ชื่อว่าเป็น ‘ยุคแห่งความหมดไฟ’ ทำให้คนไทยมีความเครียดสูง และเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้า

ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้จำนวนจิตแพทย์ไม่เพียงพอ จากข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 จากสถิติของกรมสุขภาพจิตระบุว่า จิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งมีอัตราส่วน 1.28 คนต่อประชากรแสนคน / นักจิตวิทยา(คลินิก) รวม 1,037 คน ซึ่งมีอัตราส่วน 1.57 คนต่อประชากรแสนคน / พยาบาลจิตเวชรวม 4,064 คน ซึ่งมีอัตราส่วน 6.14 คนต่อประชากรแสนคน โดยบางจังหวัดไม่มีจิตแพทย์เลย (อ้างอิง ข้อมูลจากบทความในเว็ปไซต์ thaihealthreport เดือน มีนาคม ปี 2023)

จากตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นชัดว่าประเทศไทยขาดบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างมาก การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต (Promotion & Prevention Approach) จึงเป็นอีกหนทางสำคัญในการช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น

วิธีการแก้ไข

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดาทั่วไป แต่ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยเหตุนี้ บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ ร่วมกับภาคีต่างๆ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเชิงป้องกัน (Promotion & Prevention Approach) ด้วยการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เชิงบำบัด (Therapeutic Space) ผสานกับองค์ความรู้ด้าน Digital Art ที่เป็นรูปแบบของสื่อที่มีความดึงดูดน่าสนใจ ด้วยการใช้แสง, สี, เสียง และสัมผัส เพื่อเน้นการทำงานกับฐานกาย ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการทำงานกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ พร้อมร้อยเรียงเรื่องราวของเนื้อหา ภายใต้แนวคิดและตัวแปรทางจิตวิทยา ‘ความเมตตากรุณาต่อตัวเอง’ (Self-Compassion) เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และเอื้อให้เกิดการตระหนักรู้ด้านสุขภาพใจให้กับกลุ่มคนวัยทำงาน รวมถึงมุ่งเน้นการทำให้ปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันและลดปัญหาการตีตรา (Stigmatize) ทำให้งานนิทรรศการพาใจกลับบ้าน ที่เคยจัดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ได้รับผลตอบรับจากผู้ชมอย่างดีทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก

ความสำเร็จในเชิงกว้าง

นิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1-30 มิถุนายน 2566 ซึ่งออกแบบประสบการณ์และดำเนินการโดย บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และได้รับการสนับสนุนจาก Ooca, River City Bangkok และ Persona Health App มีจำนวนผู้ชมที่เข้าร่วมงานถึง 40,450 คน และมียอดผู้ชมที่พูดถึงประเด็นสุขภาพจิตผ่าน #พาใจกลับบ้าน จากทุก online platform มากกว่า 10 ล้านข้อความ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลแอดแมน อวอร์ส 2023 รางวัล Bronze ในสาขา Good for people ประเภทงานสุขภาพ และสุขภาวะ (Health & Well-being) โดยสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย

ความสำเร็จในเชิงลึก

ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านแอปพลิเคชั่นแบบสอบถาม ในนิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ ครั้งที่ 2 จากแบบสอบถามในประเด็นความผ่อนคลายในชีวิตหลังเข้าร่วมนิทรรศการ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่านิทรรศการนี้ทำให้ผู้เข้า ร่วมรู้สึกผ่อนคลายในระดับ 70-100 คะแนน (มาก-มากที่สุด) คิดเป็น 87.8% และผู้เข้าร่วมนิทรรศการมีความเข้าใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น ในระดับ 70-100 คะแนน (มาก-มากที่สุด) อยู่ที่ 78.51% ซึ่งสะท้อนว่าพื้นที่เชิงประสบการณ์แห่งนี้ไม่เพียงเอื้อให้ผู้เข้าร่วมนิทรรศการรู้สึกผ่อนคลายใจ แต่ยังช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพจิต และสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลจิตใจเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมนิทรรศการและมีแนวโน้มที่จะแนะนำต่อให้คนอื่นรูัจักนิทรรศการนี้อีกด้วย

จากความสำเร็จที่ผ่านมาทำให้ บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด ได้สานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับ MMAD, MunMun Srinakarin เพื่อจัด นิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ ครั้งที่ 3 เป็นระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อเป็นพื้นที่ที่ให้ผู้คนทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกและรู้จักวิธีการดูแลใจเบื้องต้น แต่ด้วยจำนวนเงินตั้งต้นของโครงการยังไม่เพียงพอ ทีมงานยังคงขาดในส่วนของค่าจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตทั้งในรูปแบบของ workshop และเสวนาระหว่างปี รวมถึงการจัดจ้างบุคคลากรในการดูแลและปรับปรุงพื้นที่นิทรรศการ เพื่อที่จะทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนตลอดระยะการดำเนินการของโครงการ

การดำเนินโครงการ

1. ขั้นตอนการออกแบบ (อยู่ระหว่างดำเนินการในขั้นตอน Design Development จะแล้วเสร็จ 30/04/24)

โดยออกแบบและปรับปรุงพื้นที่จากห้องร้านค้าภายในห้างให้กลายเป็นพื้นที่นิทรรศการที่เหมาะสม และออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมภายในงานร่วมกับกลุ่มนักจิตวิทยา เพื่อให้ได้ประสบการณ์เชิงบำบัดที่เหมาะสม 

2. ขั้นตอนการทดสอบ (อยู่ระหว่างดำเนินการ จะแล้วเสร็จ 15/06/24)

ทดสอบประสบการณ์และกระบวนการที่ได้จากขั้นออกแบบ กับกลุ่ม Focus group เพื่อพัฒนาเป็นฉบับสมบูรณ์ พร้อมกับการทดสอบวัสดุที่ใช้ภายในงานนิทรรศการทั้งหมด ทั้งวัสดุสำหรับสัมผัส, แสงเสียง รวมไปจนถึงกลิ่นภายในงาน เพื่อเริ่มผลิตชิ้นงาน Installation ภายในงาน

3. ขั้นตอนการก่อสร้าง (เริ่มดำเนินการ 18/04/24 จะแล้วเสร็จ 15/04/24 และทดสอบขั้นสุดท้ายถึงวันเปิดงาน)

ก่อสร้างตามแบบสร้าง  ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดภายในงาน ติดตั้งระบบ แสง, เสียง

4.ขั้นตอนเปิดงานและดำเนินงาน (เปิดงาน 24/06/24)

Staff Workshop ให้ความรู้และอบรมบุคคลากรที่ประจำที่งานด้วยทีมงานออกแบบประสบการณ์และนักจิตวิทยา เพื่อคอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เข้าร่วมงาน จัดกิจกรรม Workshop หรือเสวนาเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับกลุ่มคนที่อยากดูแลสุขภาพใจของตัวเอง 6 ครั้ง/ปี (ไม่นับรวมกิจกรรมจาก Partner นอกภาคี)

ตลอดการทำงานทางทีมต้องจัดการ ซ่อมบำรุงพื้นที่และชิ้นงานภายในนิทรรศการตลอด 1 ปี และดูแลช่องทางการสื่อสารพร้อมบุคคลากรที่ช่วยอำนวยความสะดวก Online

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Eyedropper Fill Co., Ltd.

Approaches to addressing issues

  1. ระดมทุนจัดนิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึงการบำบัด เป็นพื้นที่ที่ให้ผู้คนทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกและรู้จักวิธีการดูแลจิตใจเบื้องต้น

Operational Plan

  1. ก่อสร้างตามแบบสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดภายในงาน ติดตั้งระบบ แสง, เสียง

  2. Staff Workshop ให้ความรู้และอบรมบุคคลากรที่ประจำที่งานด้วยทีมงานออกแบบประสบการณ์และนักจิตวิทยา

  3. ซ่อมบำรุงพื้นที่และชิ้นงานภายในนิทรรศการตลอด 1 ปี และดูแลช่องทางการสื่อสารพร้อมบุคคลากรที่ช่วยอำนวยความสะดวก Online

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
สนับสนุนค่าบำรุงและปรับปรุงพื้นที่นิทรรศการ

เนื่องจากภายในนิทรรศการต้องใช้การสัมผัสจึงต้องใช้งบประมาณส่วนนี้ซื้ออุปกรณ์รวมถึง Service ในการค่าเชื้อให้สะอาดและปลอดภัยอยู่เสมอ 10,000 บาท/เดือน

12เดือน120,000.00
สนับสนุนค่าจัด Workshop หรือเสวนาเกี่ยวกับสุขภาพจิต

พื้นที่นิทรรศการขนาดไม่เกิน 30คน/1ครั้ง (กิจกรรมจัดทำโดยพาใจกลับบ้าน ไม่นับรวมกับกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย Partner นอกภาคีอื่นๆ) จำนวน 6 ครั้ง

12เดือน120,000.00
สนับสนุนค่าบุคลากรดูแลและอำนวยความสะดวกภายในนิทรรศการ

เนื่องจากงบประมาณของผู้สนับสนุนหลักคือ MMAD สามารถ Cover ค่าบุคลากรส่วนนี้ได้ 3 เดือน เราต้องการเงินสนับสนุนเพิ่มอีก 9 เดือน เป็นเงิน 1,350,000 บาท

12เดือน200,000.00
Total Amount440,000.00
Taejai support fee (10%)44,000.00
Total amount raised
484,000.00

Project manager

บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด

บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon