cover_1
Nearly Ended

ซ่อมสร้าง-บ้านเพื่อกลุ่มเปราะบาง

บริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัดบริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัด
Eldery
Statelessness

Donations for the project will ช่วยซ่อมแซมครัวเรือนที่ชำรุดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น to กลุ่มเปราะบาง2ครัวเรือน

Period of time

Jul 9, 2024 - Sep 30, 2024

Location

ชุมชนจักพรรดิพงษ์ Khwaeng Pom Prap, Khet Pom Prap Sattru Phai, Bangkok 10100ชุมชนบ้านบาตร Khwaeng Ban Bat, Khet Pom Prap Sattru Phai, Bangkok 10100ชุมชนวัดโสมนัส Khwaeng Wat Sommanat, Khet Pom Prap Sattru Phai, Bangkok 10100

SDG Goals

SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES

Beneficiary groups of the project

ประชากรกลุ่มเปราะบาง
2ครัวเรือน

“บ้าน” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 พื้นฐาน ของการดำรงชีวิตสำหรับทุกคน และ ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาในสังคมขนาดใหญ่ในสังคมที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางที่อาศัยในเมือง ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหา บ้านโทรม บ้านพัง ที่ก่อให้เกิด รายจ่ายเพิ่มเติม หรือยอมเป็นหนี้ในการซ่อมแซมบ้าน เพื่อทำให้บ้านเหล่านั้นยังคงสถานะของที่พักอาศัยต่อไปให้ได้

“โครงการซ่อมสร้าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ไขปัญหาครัวเรือนชำรุด ในกลุ่มเปราะบาง ผ่านการร่วมกันช่วยซ่อมแซมบริเวณที่มีการชำรุด และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ผู้อยู่อาศัย

Social issues

 

รู้หรือไม่? พื้นที่เล็กๆ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร….

  • 70% ครัวเรือน มี รายจ่าย มากกว่า รายได้
  • สภาพบ้านทรุดโทรม ไม่แข็งแรงถึง 63%
  • สมาชิกครอบครัวไม่ทำงาน 52% ในขณะที่ทำงาน 44%
  • กลุ่มเป้าหมายประมาณ 500 คนระบุว่าไม่ได้รับสวัสดิการสังคม คิดเป็น 25%

ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำและขาดคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม โดยมีความจำเป็นในการเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความเปราะบางในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องที่อยู่อาศัย 

บ้าน เป็น 1 ปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของทุกคน

ในปัจจุบันประเด็นปัญหาเรื่องบ้าน มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยในเมือง เช่น

  • ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยในราคาที่เอื้อมถึง
  • ค่าแรงการก่อสร้างที่สูงขึ้น ส่งผลให้การสร้าง/ซ่อมแซม มีสูงขึ้น
  • โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางในเมืองที่เผชิญกับปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย จึงมีแนวโน้มที่จะยอมเป็นหนี้ เพื่อมาซ่อมแซมบ้านเพิ่มขึ้น

จากการสำรวจพบว่าการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เพียงพอ ทั้งด้านระยะเวลาในช่วยเหลือ ความครอบคลุม มาตราฐานเกณฑ์และความเร่งด่วนของครัวเรือน จึงทำให้หลายครัวเรือนยังไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้

  • กระบวนการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยที่ใช้ระยะเวลาที่นานเกินไป
  • งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐที่มีเงื่อนไข และให้การช่วยเหลือที่ไม่ครอบคลุม
  • ระบบการจัดการเคส และการประเมินความเร่งด่วนของแต่ละเคสที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การช่วยเหลือไปไม่ถึงผู้ที่ต้องการ
  • มาตรฐานในการให้ความช่วยเหลือที่ไม่ชัดเจนว่าครัวเรือนไหนควรได้ความช่วยเหลือด้านใด

กลุ่มเป้าหมายของโครงการซ่อมสร้าง กลุ่มเปราะบาง ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้มีภาวะพึ่งพิง

จากโครงการซ่อมสร้าง ร่วมกับ พอช. เราสามารถลดหนี้ต่อครัวเรือนจากการกู้ยืมเงินมาซ่อมแซม ได้ถึง 60,000 - 150,000 บาท จากการใช้งบประมาณครัวเรือนละ 20,000 บาทเพื่อซ่อมแซมบริเวณสำคัญของบ้าน จากการสำรวจพบว่าการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เพียงพอ ทั้งด้านระยะเวลาในช่วยเหลือ ความครอบคลุม มาตราฐานเกณฑ์และความเร่งด่วนของครัวเรือน จึงทำให้หลายครัวเรือนยังไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้

“ซ่อมสร้าง” โดย ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) จึงเสนอ 4 แนวทางดังต่อไปนี้

1.สร้างระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล ครัวเรือนเปราะบาง

2.ออกแบบเกณฑ์มาตราฐานการช่วยเหลือ

3.ประสานร่วมมือกับองค์กรเอกชน เพื่อสร้าง ความร่วมมือเชิงสังคม

4.สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในชุมชน

 

รายละเอียดบ้านที่เข้าร่วมในการระดมทุนของโครงการซ่อมสร้าง

1. บ้านลุงมี (ชุมชนบ้านบาตร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย)

บ้านสองชั้นหลังนี้เป็นที่พักพิงของคนกว่า 10 คน รวมถึงผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อย พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านที่เคยแข็งแรงมั่นคง แต่ปัจจุบันสภาพพื้นและโครงสร้างบ้านได้เสื่อมสภาพลงอย่างน่าเป็นห่วง

ห้องของผู้สูงอายุที่ตั้งอยู่ในชั้นแรกของบ้าน (ภาพที่ 1) ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากเนื่องจากพื้นของชั้นสองที่อยู่เหนือห้องนี้มีการพุพัง หากเกิดการถล่มอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ สภาพในส่วนอื่นๆของบ้านอย่างเช่นเพดานและฝ้าก็มีหลายจุดที่ก็มีปัญหา รวมไปถึงโครงสร้างบ้านบางส่วนที่ไม่มั่นคงและมีรอยร้าวที่น่ากลัว

การอยู่ในบ้านที่ไม่ปลอดภัยทำให้ครอบครัวนี้ต้องใช้ชีวิตด้วยความเสี่ยงทุกวัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรง ที่ต้องเผชิญกับสภาวะเสี่ยงทั้งในด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยและความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามครัวเรือนนี้ไม่ได้มีทางเลือกมากนักเนื่องจากรายได้ที่จำกัด การซ่อมแซมบ้านให้กลับมาแข็งแรงเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ด้วยภาระที่มากมาย ทำให้ฝันนี้ยังคงอยู่ห่างไกล

บ้านที่ควรจะเป็นที่พักพิงและที่ปลอดภัยกลับกลายเป็นหนึ่งในความกังวลในการดำรงชีวิตของพวกเขา ด้วยความหวังเล็กๆ พวกเขายังคงหวังจะได้อยู่ในบ้านที่มั่นคงและปลอดภัย

 

โครงสร้างบ้าน ระดับสภาพบ้าน รายละเอียด
หลังคา เสี่ยง หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง  
ผนัง ดี  ผนังไม่มีรอยแตก วัสดุคงทน  
พื้น เสี่ยง  พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด  
บันได พออยู่ได้ บันไดผุพัง 1-3 จุด แต่โครงสร้างยังแข็งแรง  
ห้องน้ำ พออยู่ได้  สุขภัณฑ์เหมาะสม วัสดุคงทน แต่มีชิ้นส่วนหักพังไม่สมประกอบ มีระบบระบายน้ำ ระบบประปา พื้นทำจากวัสดุไม่คงทน/ลื่น มีการติดตั้งราวกันตก
สรุปโครงสร้างบ้าน เสี่ยง พื้น โครงสร้างคานและเสาผุพัง
ลักษณะครัวเรือน

ลักษณะครัวเรือน รายละเอียด
การพึ่งพิง แย่  มีกลุ่มเปราะบางในครัวเรือนในสัดส่วน 50% ขึ้นไปจากสมาชิกครัวเรือน
สุขภาพ พออยู่ได้  สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนมีปัญหาสุขภาพ 1-50% จากสมาชิกครัวเรือน
รายได้ พออยู่ได้  สมาชิกครัวเรือนมีรายได้ประจำบางคน และเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
หนี้สิน แย่  มีรายได้ไม่เพียงพอชำระหนี้สิน
การครอบครองที่อยู่อาศัย พออยู่ได้  เช่าที่ดิน / ที่ดินรัฐ / อาศัยที่ผู้อื่น (มีความมั่นคง) 2
สรุปลักษณะครัวเรือน แย่ มีสัดส่วนผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อยในครัวเรือนสูง 12

 

2. บ้านป้าอ้อย ชุมชนจักรพรรดิพงษ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

 
บ้านหลังนี้เป็นที่พักพิงให้กับผู้คู่สามีภรรยาสูงอายุ โดยผู้เป็นสามีนั้นมีปัญหาด้านสุขภาพและการมองเห็น จึงประกอบอาชีพรับจ้างบ้างเป็นยาวครั้งคราวและอาศัยเบี้ยผู้สูงอายุในการใช้จ่าย ส่วนผู้ที่เป็นภรรยานั้นประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น การรับจ้างเย็บผ้า โดยบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ในปัจจุบันเป็นอาคารที่มีอายุมาก ซึ่งเพดานและฝ้าต่างๆนั้นได้มีการพุพังลงตามกาลเวลา ทำให้พื้นที่หลายส่วนของบ้านไม่สามารถอยู่อาศัยหรือใช้การได้ ประกอบกับโครงสร้างของบ้านเช่นเสา หรือผนังต่างๆที่มีการทรุดโทรม และเสี่ยงต่อการอยู่อาศัย
 
โครงสร้างบ้าน ระดับสภาพบ้าน รายละเอียด
หลังคา เสี่ยง หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง  
ผนัง เสี่ยง ผนังผุ มีรอยแตกมากกว่า 3 จุด หลุดร่อน มีเชื้อรา 
พื้น เสี่ยง พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด 
บันได ดี  บันไดโครงสร้างแข็งแรง วัสดุคงทน  
ห้องน้ำ ดี ติดตั้งสุขภัณฑ์เหมาะสม วัสดุคงทน ใช้งานได้ดี มีระบบระบายน้ำ ระบบประปา พื้นทำจากวัสดุคงทน ไม่ลื่น มีการติดตั้งราวกันตก
สรุปโครงสร้างบ้าน ทรุดโทรม หลังคา ผนัง และเสาพุพัง โดยผนังมีการทรุดตัวแล้วในบางห้อง
ลักษณะครัวเรือน ลักษณะครัวเรือน รายละเอียด
การพึ่งพิง แย่  มีกลุ่มเปราะบางในครัวเรือนในสัดส่วน 50% ขึ้นไปจากสมาชิกครัวเรือน
สุขภาพ แย่  แย่ สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนมีปัญหาสุขภาพมากกว่า50% จากสมาชิกครัวเรือน
รายได้ พออยู่ได้  สมาชิกครัวเรือนมีรายได้ประจำบางคน และเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
หนี้สิน พออยู่ได้  มีรายได้เพียงพอชำระหนี้สิน
การครอบครองที่อยู่อาศัย พออยู่ได้  เช่าที่ดิน / ที่ดินรัฐ / อาศัยที่ผู้อื่น (มีความมั่นคง)
สรุปลักษณะครัวเรือน แย่  ครัวเรือนมีผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางสุขภาพ รวมไปถึงเป็นมีรายได้น้อยในครัวเรือน มีอัตาการพึ่งพิงสูง

 

Approaches to addressing issues

  1. ประเมินความต้องการ จากการสำรวจและลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์ และการใช้ฐานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ฐานข้อมูล

  2. หาความร่วมมือ จากภาครัฐภาคเอกชน (เช่นหากพบมีผู้ป่วยติดเตียงอาจจะต้องประสานหน่วยงานอื่นๆเข้ามาช่วยดูแล)

  3. จัดสรรทรัพยากร เมื่อได้ทรัพยากร เช่น ทุน วัสดุ และแรงงาน โดยจะจัดสรรตามการประเมินความเร่งด่วน เพื่อนำไปจัดสรรความช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อประสานการเข้าช่วยเหลือต่อไป โดยเรียงลำดับความเร่งด่วนจากมากไปน้อย

  4. เข้าให้ความช่วยเหลือ

  5. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

Operational Plan

  1. บ้านหลังที่ 1 บ้านลุงมี ชุมชนบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย • ประเมินรายการที่ต้องซ่อม • จัดเตรียมวัสดุ และแรงงาน รวมไปถึงอาสาสมัครซ่อมสร้าง • รายการซ่อม - หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง - พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด

  2. บ้านหลังที่ 2 บ้านป้าอ้อย ชุมชนจักรพรรดิพงษ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย • ประเมินรายการที่ต้องซ่อม • จัดเตรียมวัสดุ และแรงงาน รวมไปถึงอาสาสมัครซ่อมสร้าง • รายการซ่อม - หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง - ผนังผุ มีรอยแตกมากกว่า 3 จุด หลุดร่อน มีเชื้อรา - พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ค่าวัสดุซ่อมบ้าน เช่น ฝ้า ผนัง หลังคา พื้น หน้าต่าง

2หลัง50,000.00
ค่าแรงช่างซ่อมบ้าน 2,000 บาท ต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน

2หลัง20,000.00
Total Amount70,000.00
Taejai support fee (10%)7,000.00
Total amount raised
77,000.00

Project manager

บริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัด

บริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัด

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon