cover_1

Free Pad Free Pride ผ้าอนามัยฟรีเพื่อน้องชาติพันธุ์

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย)มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย)
Youth

Donations for the project will จัดหาผ้าอนามัย to น้องชาติพันธุ์หญิงในน้องชาติพันธุ์หญิงใน100คน

project in progress
In Progress

Period of time

Jun 26, 2024 - Aug 30, 2024

Location

โรงเรียนบ้านพญาไพร , โรงเรียนบ้านจะตี , โรงเรียนบ้านแม่หม้อ , โรงเรียนแม่มอญวิทยา , โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม (จ.เชียงราย) Chiang Rai

SDG Goals

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGGENDER EQUALITY

Beneficiary groups of the project

Youth
100คน

โครงการ FREE PADS FREE PRIDE มุ่งช่วยเหลือน้องชาติพันธุ์หญิงในเขตพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย

จากการสัมภาษณ์พบว่า น้อง ๆ กว่า 70% เปลี่ยนผ้าอนามัยเพียง 1 ครั้งต่อวัน และบางครั้งต้องใช้วัสดุอื่นแทน เช่น ผ้าหรือทิชชู่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

คุณเองก็สามารถช่วยให้น้อง ๆ มีสุขอนามัยที่ดีและมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นได้ โดยบริจาคเพียง 100 บาท จะช่วยให้น้อง 1 คน มีผ้าอนามัยใช้ฟรีตลอดเดือน

Social issues

ปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยที่มีคุณภาพ เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจและมีความตระหนักถึงความสำคัญมากขึ้นในสังคมช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีการเข้าถึงผ้าอนามัยอย่างเหมาะสมยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการการสนับสนุน

น้อง ๆ ชาติพันธ์ุบนพื้นที่สูง ในจังหวัดเชียงราย ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการหาซื้อผ้าอนามัยที่มีคุณภาพในราคาที่จับต้องได้ ด้วยข้อจำกัดทางการเงินและทางเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัด ปัญหานี้สะท้อนถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างชัดเจน ความยากจนในช่วงมีประจำเดือน หรือ "Period Poverty" คือ ปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยที่ดีและมีคุณภาพเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง

รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละเดือนได้ นอกจากนี้จากการสำรวจนักเรียนหญิงในวัยที่มีประจำเดือนบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทยพบว่ากว่า 30% ใช้ผ้าอนามัยต่อแผ่นนานเกินมาตรฐาน 

นอกจากความยากจนแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการก็ คือ ความเขินอายเมื่อต้องพูดถึงเรื่องผ้าอนามัยหรือประจำเดือนกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ผู้ขายที่ร้านค้า หรือแม้กระทั่งเพื่อนในห้องเรียน บ่อยครั้งที่ประจำเดือนมีปริมาณเยอะ จนล้นเลอะกระโปรง สร้างความรู้สึกอับอาย ทำให้วันนั้นกลายเป็นวันที่แย่ไปทั้งวัน และทำให้สมาธิในการจดจ่อกับการเรียนลดลง เพราะกังวลว่าจะโดนเพื่อนล้อเรื่องประจำเดือน

"ไม่มีเงินจะซื้อผ้าอนามัย ต้องโกหกพ่อว่าเอาเงินไปซื้อขนมเพราะอายพ่อที่ต้องพูดถึงประจำเดือน 🩸" 

หนึ่งในคำบอกเล่าของน้องสะท้อนถึงความลำบากใจที่ต้องปกปิดปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัย เพราะความอายที่จะต้องพูดคุยเรื่องนี้กับพ่อ เพราะในบางครอบครัว เด็กอาศัยอยู่กับพ่อเพียงลำพังเนื่องจากพ่อและแม่แยกทาง ทั้งนี้ ในบางหมู่บ้าน การซื้อผ้าอนามัยในร้านขายของชำก็เป็นเรื่องน่าอายอีกด้วย ปัญหาทางวัฒนธรรมและวิถีปฎิบัติทางสังคมบางอย่างยิ่งเพิ่มอุปสรรคให้กับการเข้าถึงผ้าอนามัย

 

เป้าหมายของเรา คือ มอบผ้าอนามัยให้น้อง 100 คน มีผ้าอนามัยใช้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการประหยัด หรือเขินอายเมื่อต้องการใช้ผ้าอนามัย ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้

🫰โดยบริจาคเพียง 100 บาท เพื่อให้น้อง 1 คน มีผ้าอนามัยใช้ตลอด 1 เดือน 💖

เราทุกคน คือ ผู้สานต่อหนทางสู่สุขภาวะที่ดีของน้องๆ มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการให้บริจาคในวันนี้ เพื่ออนาคตของน้อง ๆ ที่ดีกว่า

Approaches to addressing issues

  1. วางแผนและสำรวจและพื้นที่ (พ.ค. - มิ.ย. 67) เลือกโรงเรียนเป้าหมาย โดยคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีนักเรียนหญิงในระดับชั้นมันธยมต้นในเครือข่ายที่มูลนิธิ ฯ มีความร่วมือเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมผู้เรียนร่วมกับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จ.เชียงราย  จากนั้นประสานไปยังโรงเรียนเป้าหมายเพื่อขอสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลสถานการณ์การขาดแคลนผ้าอนามัย เพื่อระบุปัญหาเชิงลึก รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และประเมินความต้องการและศักยภาพในการช่วยเหลือ

  2. ระดมทุนและหาผู้สนับสนุน (ก.ค. - ต.ค.67) จัดทำแผนการระดมทุนและประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ เทใจและจัดทำแคมเปนจ์ให้ความรู้เรื่องผ้าอนามัยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของทางมูลนิธิ ฯ เพื่อระดมทุนเพื่อจัดหาผ้าอนามัยให้กับกลุ่มเป้าหมาย

Operational Plan

  1. จัดหาผ้าอนามัย (ก.ย. - ต.ค. 67) ติดต่อ และจัดซื้อผ้าอนามัยจากผู้ผลิต เพื่อจัดหาผ้าอนามัยที่มีคุณภาพเพียงพอตามจำนวนที่ต้องการในราคาที่เหมาะสม

  2. การจัดส่งและแจกจ่ายผ้าอนามัย (พ.ย. 67) ประสานงานกับผู้ประสานงานโรงเรียน รวมถึงจัดกิจกรรมแจกจ่ายผ้าอนามัยพร้อมให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยที่ดี เพื่อให้น้องชาติพันธุ์หญิง 100 คน ได้รับผ้าอนามัยและมีความรู้เรื่องการมีสุขอนามัยที่ดี

  3. การติดตามและประเมินผล (1, 6 และ 12 เดือน หลังแจกจ่าย) ติดตามผลการใช้งานผ้าอนามัยและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผ้าอนามัยเพื่อประเมินผลสำเร็จของโครงการและเก็บข้อมูลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต

  4. รายงานและประชาสัมพันธ์ (1, 6 และ 12 เดือน หลังประเมินผล) จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ขององค์กรเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและขอบคุณผู้สนับสนุนและสร้างความโปร่งใสและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในองค์กร พร้อมทั้งกระตุ้นการสนับสนุนในโครงการต่อไป

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ค่าผ้าอนามัย เดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 12 เดือน

คิดเฉลี่ยแผ่นละ 5 บาท (20 แผ่น/เดือน)

100คน120,000.00
Total Amount120,000.00
Taejai support fee (10%)12,000.00
Total amount raised
132,000.00

Project manager

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย)

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย)

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon