cover_1
New

กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อฟื้นฟู เยียวยาชาวนาน่านจากภัยน้ำท่วม

Donations for the project will สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ และเมล็ดพันธุ์ข้าวฟื้นฟูเยียวยาชาวนาน่านจากภัยน้ำท่วม to ครอบครัวเกษตรกร5พื้นที่

Period of time

Mar 21, 2025 - Dec 31, 2025

Location

Nan

SDG Goals

NO POVERTYZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIESCLIMATE ACTIONLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

ครอบครัวเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
30ครอบครัว
ครอบครัวเกษตรกร(พื้นที่เสี่ยงภัย)
5พื้นที่

จากสถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือปี 2567 ที่ผ่านมา จังหวัดน่านได้รับผลกระทบในวงกว้าง 12 อำเภอ 67 ตำบล 443 หมู่บ้าน 22,442 ครัวเรือน เกิดความเสียหายในด้านต่างๆ มากมายเพราะน้ำท่วมหนัก และท่วมขังหลายวันทำให้เสียหายทั้งบ้านเรือน เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ข้าวสารข้าวเปลือกที่เก็บไว้กินในครอบครัว รวมไปถึงข้าวนา (ฤดูนาปี) ที่ปลูกไว้สำหรับไว้กินในปีหน้าด้วย ซึ่งบางครอบครัวเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อไม่มี เงินลงทุนครั้งใหม่ก็ไม่มี ด้วยพื้นที่นาในจังหวัดน่านมีน้อย ใช้ปลูกข้าวไว้เพื่อกินในครอบครัวเท่านั้น ทำให้พอได้รับความเสียหายก็จะทำให้ครอบครัวไม่มีข้าวกินเลย ต้องซื้อมากินทำให้เกิดรายจ่าย เกิดภาวะหนี้สินตามมาอีกมากมาย

ปี 2567 ทางมูลนิธิฮักเมืองน่านได้สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับครอบครัวผู้ได้รับความเสียหายสำหรับนำไปปลูกต่อ บางครอบครัวสามารถปลูกทันในฤดูนาปี บางครอบครัวรอปลูกในฤดูนาปรัง ซึ่งจะทำให้มีข้าวกินในครอบครัว และสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อในครอบครัวได้ แต่นั่นเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ทางมูลนิธิฮักเมืองน่านหาวิธีการส่งเสริมให้ชาวนามีความรู้ สามารถปรับตัวภายในสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมไปถึงส่งเสริมให้มีกองทุนเมล็ดพันธุ์ หรือธนาคารเมล็ดพันธุ์ไว้รองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากภัยพิบัติต่างๆ สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งคนในชุมชน และนอกชุมชนต่อไป 

โครงการนี้เป็นโครงการที่ต้องการความเร่งด่วนในการดำเนินการเนื่องจากต้องดำเนินการตามห้วงเวลาของการปลูกข้าว

Social issues

จากผลกระทบของน้ำท่วมจังหวัดน่าน มีพื้นที่นาข้าวประสบภัยน้ำท่วมคาดว่าจะเสียหาย 16,982.74 ไร่ แต่ทางมูลนิธิฮักเมืองน่านได้รับการประสานขอความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวนาทั้งหมดมี 3 อำเภอ 7 ตำบล 20 หมู่บ้าน มีเกษตรกรผู้เสียหาย 320 ครอบครัว พื้นที่ 900 ไร่ 1 งาน

ในห้วงของการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ทางมูลนิธิฮักเมืองน่านได้ระดมทุนมาก้อนหนึ่งเพื่อที่จะจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับทั้ง 320 ครอบครัว แต่พบว่ายังไม่สามารถช่วยเหลือได้ทุกครอบครัว และการช่วยเหลือบางครอบครัวก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่เนื่องจากทุนที่ระดมมายังไม่พอกับการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว และอีกประเด็นที่พบคือเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีเหมาะสมกับการปลูกต่อเกิดการขาดแคลนเพราะไม่ได้มีการเก็บเมล็ดพันธุ์สำรองไว้เผื่อการเกิดเหตุภัยพิบัติ

เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาในระยะยาว ทางมูลนิธิฮักเมืองน่านจึงได้มีแนวทางในการส่งเสริมให้ความรู้ การปรับตัว ทดลองปลูกข้าวที่เหมาะสมในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม และมีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์สำหรับรองรับความเสี่ยงในอนาคต โดยมีเครือข่ายชาวนาของมูลนิธิฮักเมืองน่านเป็นผู้จัดทำแปลงผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ 

Approaches to addressing issues

  1. จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มูลนิธิฮักเมืองน่านได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหา 2 ระยะ ดังนี้ แนวทางระยะสั้น 1. ระดมทุนจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับครอบครัวที่ประสบภัย เพื่อใช้ปลูกทดแทนที่เสียหาย 2. ร่วมกับทางวิทยาลัยชุมชนน่าน จัดทำหลักสูตรเรียนรู้ให้กับกลุ่มชาวนาที่สนใจเพิ่มองค์ความรู้ทั้งด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี และการปรับตัวของชาวนาภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  2. แนวทางระยะยาว 1. จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดน่าน เพื่อให้มีเมล็ดพันธุ์ที่ดี เหมาะสม หลากหลายไว้ให้ชาวนาได้ใช้ประโยชน์ต่อไป โดยมี 3 กลุ่มชาวนาในเครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่านเป็นผู้จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์และตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ 2. จัดทำแปลงเรียนรู้/แปลงทดลองการปลูกข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (ร้อน แล้ง น้ำท่วม แมลง/โรคระบาด) เพื่อให้มีเมล็ดพันธุ์ดี หลากหลาย เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยจัดทำใน 5 พื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม

Operational Plan

  1. Jun - Dec 2568

    จัดทำหลักสูตรเรียนรู้/อบรมให้กับกลุ่มชาวนาในพื้นที่น้ำท่วม 4 พื้นที่ 1.ต.ถืมตอง อ.เมืองน่าน จ.น่าน 2.ต.จอมจันทร์ อ.เวียงสา จ.น่าน 3.ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน 4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่านได้แก่ หลักสูตรการผลิตผลิตเมล็ดพันธุ์ดี การทำแปลงผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดน่าน

  2. Jun - Dec 2568

    จัดทำแปลงเรียนรู้/แปลงทดลองการปลูกข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในการปรับตัว และรับมือกับภัยพิบัติสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว และการมีข้าวพอกินในครอบครัว

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
จัดทำหลักสูตรเรียนรู้/อบรมให้กับกลุ่มชาวนาที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับพื้นที่น้ำท่วม

เสริมทักษะความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้กับเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการผลิตเมล็ดสนับสนุนพื้นที่น้ำท่วม โดยมีจำนวนกลุ่มเป้าหมายรวม 30 คน ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1.ต.ถืมตอง อ.เมืองน่าน จ.น่าน 2.ต.จอมจันทร์ อ.เวียงสา จ.น่าน 3.ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน 4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน จ.น่าน โดยจะมีการใช้จ่ายในกิจกรรม ได้แก่ - การฝึกอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี - การทำแปลงผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ - จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดน่าน

3พื้นที่250,000.00
ค่าจัดทำแปลงเรียนรู้ / แปลงทดลองปลูกข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

นำพื้นที่แปลงนาใน 5 พื้นที่ ที่ประสบภัยน้ำท่วม ขนาดไม่เกิน 1-3 ไร่ เพื่อเรียนรู้ทดลองพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์น้ำท่วม ทำให้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในการปรับตัว และรับมือกับภัยพิบัติสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว และการมีข้าวพอกินในครอบครัว

5พื้นที่100,000.00
Total Amount350,000.00
Taejai support fee (10%)35,000.00
Total amount raised
385,000.00

Project manager

ฮักเมืองน่าน คือ องค์กรภาคประชาสังคมจังหวัดน่านที่เกิดจากการรวมตัวของพระสงฆ์ แกนนำชาวบ้าน กลุ่มและเครือข่ายต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตน ก่อนจะหลอมรวมเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคมในจังหวัดน่าน จุดเริ่มต้นของการรวมตัวกลุ่มต่างๆ ทำงานอย่างอิสระในด้านศาสนา การพัฒนาอาชีพ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มเหล่านี้เริ่มพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดและร่วมกิจกรรม เช่น การบวชป่าชุมชนครั้งแรกที่บ้านกิ่วม่วง ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การก่อตั้ง "กลุ่มฮักเมืองน่าน" โดยมีศูนย์ประสานงานที่วัดอรัญญาวาส ฮักเมืองน่านขยายบทบาทผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งส่งเสริมการอนุรักษ์และสร้างเครือข่ายองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์ป่า แม่น้ำ เกษตรผสมผสาน และพัฒนาเยาวชน ฮักเมืองน่านจึงเติบโตเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนชุมชน วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคนเมืองน่านโดยไม่แบ่งแยกเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา 2. เพื่อส่งเสริมให้มีการดำรงรักษาสิ่งแวดล้อม 3. เพื่อส่งเสริมกระบวบการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น 4. ดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือมีส่วนร่วมกับองค์กรการอื่นๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์ 5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใด

View Profile

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon