cover_1

ต้องแฉ (Must Share) – พื้นที่สร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันสำหรับประชาชน

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัดบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
Other

Donations for the project will จัดตั้งทีมงาน Admin และผลิตสื่อในการสื่อสาร to เพจต้องแฉ1เพจ

project succeeded
Successfully

Period of time

Dec 20, 2022 - Dec 31, 2023

Location

Nationwide in Thailand

SDG Goals

PEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONSPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

เพจต้องแฉ
1เพจ
ประชาชน
1ประเทศ

กรณี เสาไฟกินรี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ “เพจต้องแฉ” มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ทำให้เกิดการสืบสวนแบบสาวลึกไปถึงต้นตอ และเกิดปรากฎการณ์ตรวจสอบการจัดซื้อเสาไฟประติมากรรมทั่วประเทศ จุดเริ่มต้นจากการเป็นหูเป็นตาของภาคประชาชนผ่านเพจ Facebook เพจต้องแฉ ที่เป็นพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส ติดตาม ตรวจสอบ แลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชันโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน วันนี้ทุกท่านสามารถร่วมสนับสนุนการทำงานได้แล้วที่นี่

Social issues

กรณี เสาไฟกินรี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ “เพจต้องแฉ” มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ทำให้เกิดการสืบสวนแบบสาวลึกไปถึงต้นตอ และทำให้เกิดการตรวจสอบการจัดซื้อเสาไฟประติมากรรมทั่วประเทศ จุดเริ่มต้นจากการเป็นหูเป็นตาของภาคประชาชนผ่านเพจ Facebook เพจต้องแฉ ที่เป็นพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส ติดตาม ตรวจสอบ แลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชันโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน วันนี้ทุกท่านสามารถร่วมสนับสนุนการทำงานได้แล้วที่นี่

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นภัยร้ายที่อยู่กับสังคมมานาน สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก กลไกหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา คือการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน และสื่อ แต่กลไกการทำงานนั้นก็มีอุปสรรคเนื่องจากการทำงานของสื่อสืบสวนสอบสวนและการนำเสนอข่าวการทุจริตคอร์รัปชันยังมีไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนและขนาดของปัญหา การสืบค้นเข้าถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก

ในส่วนของภาคประชาชนนั้น คนจำนวนมากในสังคมยังมองเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องที่ไกลตัว หลายคนไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้เบาะแสเพราะเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิต แต่หากเราไม่ร่วมมือกันแก้ไข การทุจริตคอร์รัปชันก็จะยังอยู่คู่สังคมต่อไปและจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

จากปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ยังคงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อทุกด้านของสังคม ได้แก่

  • ด้านสังคม ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไปจนถึงการพัฒนาร่างกายและจิตใจของมนุษย์
  • ด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในภาคครัวเรือน เพิ่มต้นทุนการดำเนินงานในภาคเอกชน ไปจนถึงการลดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
  • ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งใกล้ตัวและโดยภาพรวม

เพจต้องแฉ (Must Share) เป็นโครงการหนึ่งที่มีความตั้งใจแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันรอบตัวและสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคมโดยอาศัยกรอบแนวคิด ESG ในการดำเนินงาน เพื่อให้สังคมเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สิ่งแวดล้อม (Environmental) คือ เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสอดส่องและขับเคลื่อนปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การตระหนักรู้ และเกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นริมตลิ่งทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ใช้งบประมาณสูงแต่ส่อไม่ได้มาตรฐาน เกิดความเสียหายชำรุดเสียหาย ส่งผลต่อความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (ตัวอย่าง https://bit.ly/3rXyXcu)

สังคม (Social) คือ สร้างผลกระทบต่อสังคมให้เกิดความโปร่งใส ลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จากการเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมสอดส่องและแชร์ข้อมูลปัญหาคอร์รัปชันรอบตัว เพื่อนำไปสู่ทั้งการป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน

ธรรมาภิบาล (Governance) คือ ดำเนินงานโดยยึด 3 หลักที่สำคัญของธรรมภิบาล ได้แก่

  • หลักการมีส่วนร่วม คือ สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อระดมปัญหาทุจริตคอร์รัปชันหรือความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างปลอดภัย นำไปสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลง นำเสนอประเด็นที่เข้าใจง่าย พร้อมกับเสริมความรู้ ข้อมูลที่ช่วยเสริมพลังให้กับทุกภาคส่วนในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
  • หลักความโปร่งใส คือ สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส ผ่านการร่วมกันหาคำตอบและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวส่อทุจริตคอร์รัปชัน จากชุดข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ เช่น เครื่องมือ Big Open Data อย่าง ACT Ai หรือ actai.co เป็นต้น
  • หลักความรับผิดชอบ คือ ประชาชนและสื่อต่าง ๆ สามารถร่วมติดตามประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้รวมถึงภาครัฐสามารถร่วมอธิบาย ชี้แจงและแก้ไขปัญหาด้วยได้



ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ขั้นตอนในการทำงานของเพจต้องแฉ สามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบดังนี้

  1. สร้างการรับรู้ : ขั้นตอนที่ให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ เช่น การให้ข้อมูลแบ่งปันความรู้ด้านธรรมาภิบาลหรือการต่อต้านคอร์รัปชัน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Infographic หรือบทความ รวมไปถึงข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. สร้างการมีส่วนร่วม : ขั้นตอนที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือส่อเค้าการทุจริตคอร์รัปชันด้วยกระบวนการ Crowdsourcing เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมรักษาผลประโยชน์สาธารณะ และเพิ่มความตระหนักในปัญหา และความสามารถในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในภาคพลเมืองได้ รวมไปถึงการให้ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ทางออกของปัญหา และสื่อต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเด็น
  3. สร้างการเปลี่ยนแปลง : ขั้นตอนที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริต สื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อหลักและสื่อท้องถิ่น รวมถึงสำนักงาน ป.ป.ช. ฯลฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นปัญหาหรือขยายผลจนเกิดการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างความสำเร็จของเพจต้องแฉ (Must Share) ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ มีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาส่อทุจริตคอร์รัปชันใกล้ตัว

ประเด็นโครงการเสาไฟประติมากรรมกินรี อบต.ราชาเทวะ สมุทรปราการ เหตุสงสัยความคุ้มค่าการใช้งบประมาณ                                                                      

                                                                                                           

  • เนื่องจากทีมงานได้รับแจ้งผ่านทาง inbox ของเพจต้องแฉ เรื่องเหตุสงสัยโครงการติดตั้งเสาไฟกินรี จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีการติดตั้งเสาไฟในพื้นที่รกร้าง จากนั้นจึงได้รวบรวมข้อมูลและทำการสืบค้นเพิ่มเติมจากสำนักข่าวอิศรา และเครื่องมือ ACT Ai พบว่าโครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.ราชาเทวะ เมื่อรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยจึงจัดทำประเด็นเพื่อ Crowdsource ร่วมกับผู้ติดตามเพจ
  • หลังการเผยแพร่ประเด็นในเพจต้องแฉ เกิดปรากฏการณ์ที่สื่อหลายสำนักและประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจจนกลายเป็นประเด็นที่อยู่ในกระแสสังคม นำไปสู่การลงพื้นที่ตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. สตง. และกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการดังกล่าว และในขณะนี้กำลังอยู่ในการไตร่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช.
  • นอกจากนี้ยังมีการขยายผลเพื่อตรวจสอบโครงการลักษณะเช่นเดียวกันในพื้นที่ อื่น ๆ ได้แก่ โครงการเสาไฟโซลาร์เซลล์ อบจ.อ่างทอง เสาไฟแม่ค้าพายเรือ จ.นนทบุรี เสาไฟหงส์ จ.ตรัง เป็นต้น และในปัจจุบันโครงการติดตั้งเสาไฟกินรี อบต.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ กำลังอยู่ในขั้นตอนไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช
  • ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/3krmcTb 

ประเด็นโครงการก่อสร้างอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ โครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ เทศบาลนครสมุทรปราการ และ อบจ.สมุทรปราการ เหตุสงสัยการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้งาน

                                                           

  • เนื่องจากทีมงานได้รับแจ้งผ่านทาง inbox ของเพจต้องแฉ เรื่องเหตุสงสัยอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ ที่ได้ก่อสร้างมานานนับ 10 ปี แต่ไม่เคยเปิดให้ใช้บริการเพียงสักครั้งเดียว จากนั้นทีมต้องแฉจึงได้รวบรวมข้อมูลและทำการสืบค้นเพิ่มเติมจากแหล่งข่าว และเครื่องมือ ACT Ai พบว่าเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ เทศบาลนครสมุทรปราการ และ อบจ.สมุทรปราการ ช่วยกันออกแบบโครงการไว้ตั้งแต่ปี 2542 ใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าโครงการจะได้รับการดำเนินงานจริง โดยใช้งบประมาณ 593,733,000 บาท เมื่อรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยจึงจัดทำประเด็นเพื่อ Crowdsource ร่วมกับผู้ติดตามเพจ
  • หลังการเผยแพร่ประเด็นในเพจต้องแฉ เกิดปรากฏการณ์ที่สื่อหลายสำนักและประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจจนกลายเป็นประเด็นที่อยู่ในกระแสสังคม นำไปสู่การลงพื้นที่ตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการดังกล่าว พบว่าเหลือการส่งมอบงานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบปรับอากาศ ไฟฟ้า การออกแบบภายใน ให้เสร็จเรียบร้อยและจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชม
  • จนในที่สุด อุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้งานได้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2565
  • ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/3i5pLRb, https://bit.ly/3GLjOTQ 

แคมเปน (Campaign) #ถนนไทยเป็นอะไรได้บ้าง



  • เนื่องจากปัญหาถนนพังเสียหาย ส่อไม่ได้มาตรฐาน เกิดขึ้นมาโดยตลอดในหลายพื้นที่ เห็นได้จากการได้รับแจ้งทางเพจต้องแฉ และตามข่าวต่าง ๆ ที่ผ่านมา จึงต้องการให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องปัญหาถนนพัง ที่อาจเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน ร่วมกันเปลี่ยนแปลง และตระหนักรู้กับปัญหาคอร์รัปชันใกล้ตัว ผ่านแคมเปน (Campaign) #ถนนไทยเป็นอะไรได้บ้าง
  • การร่วมกิจกรรมแคมเปน (Campaign) #ถนนไทยเป็นอะไรได้บ้าง คือให้ทุกคนร่วมถ่ายภาพถนนพังที่ส่อไม่ได้มาตรฐานที่พบเห็น พร้อมแจ้งพิกัดพื้นที่หรือข้อมูลโครงการที่เกี่ยวข้อง ลงบนสื่อโซเชียลของตนเอง เช่น Facebook TikTok เป็นต้น หรือส่งข้อมูลผ่านเพจต้องแฉ เพื่อประชันกันว่าถนนไทยเป็นอะไรได้บ้าง โดยการติดแฮชแทกของแคมเปน
  • หลังการทำกิจกรรมในแคมเปน (Campaign) #ถนนไทยเป็นอะไรได้บ้าง ทำให้เกิดการระดมข้อมูลปัญหาถนนในหลายพื้นที่ ที่ส่อไม่ได้มาตรฐานและอาจเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน นำไปสู่การร่วมเผยแพร่ประเด็นจากสื่อต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบโครงการถนนต่าง ๆ ที่อมาจากการระดมข้อมูลและเผยแพร่ผ่านแคมเปน
  • ดูตัวอย่าง https://bit.ly/3rSWVWn 

ตื่นรู้คอร์รัปชันใกล้ตัวด้วย #Trickสังเกตโกง

                                                                


  • เนื่องจากเพจต้องแฉได้รับความสนใจและความร่วมมือจากภาคประชาชนในประเด็นส่อทุจริตคอร์รัปชันต่าง ๆ แต่บางส่วนยังขาดข้อมูล วิธีการสังเกตปัญหาและการเข้าถึงเครื่องมือ ช่องทางการแจ้งเรื่องราวต่าง ๆ กับสื่อหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • เพจต้องแฉจึงต้องการสร้างการรับรู้ ตื่นรู้และนำไปสู่การเกิด Active Citizen ให้กับภาคประชาชนที่สนใจร่วมแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างง่าย ๆ โดยร่วมมือกับเพจ The Qallout เผยแพร่ Cilp video และ Infographic #Trickสังเกตโกง ผ่าน Page Facebook และ TikTok ที่ให้ข้อมูลข้อสังเกตการทุจริตคอร์รัปชันใกล้ตัว คือ การจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ถนน ทางเท้า สะพาน เสาไฟ เป็นต้น และการใช้ของหลวง เข่น เงินหลวง รถหลวง เป็นต้น
  • หลังจากการเผยแพร่ข้อมูลผ่าน #Trickสังเกตโกง ทำให้เห็นทิศทางการมีส่วนร่วมที่ดียิ่งขึ้นจากการมีผู้ร่วมส่งประเด็นปัญหาส่อทุจริตคอร์รัปชันที่ได้จากทริกข้อสังเกตในเพจต้องแฉ รวมไปถึงความร่วมมือจากเครือข่าย ที่ได้ร่วมกันผลักดันประเด็นปัญหาเหล่านั้นให้เกิดการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น
  • ดูตัวอย่างได้ที่ https://www.tiktok.com/@theqallout  


ผู้รับผิดชอบโครงการ

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

Facebook: https://www.facebook.com/HANDenterprise 

Website: https://www.hand.co.th/ 


ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ทีมงาน Admin 2 คน (เต็มเวลา) /20,000 ต่อเดือน 2 คน 240,000.00
2 ผลิตสื่อในการสื่อสาร 50 เรื่อง 75,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
315,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
31,500.00

ยอดระดมทุน
346,500.00
อื่นๆ

Cover

Targets

ประเภทอื่นๆ ระบุจำนวนรายละเอียดเปลี่ยนแปลงใช้งาน
ประชาชนทั่วไปประชาชนทั้งประเทศไทยประชาชนที่มีความสนใจหรือให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาทุจริตคอร์รัปชันใกล้ตัว และต้องการจะหาช่องทางปลอดภัยในการแจ้งเบาะแสการส่อทุจริตซึ่งโครงการต้องแฉจะส่งผลให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมถึงประชาชนมีช่องทางในการแจ้งเบาะแสที่สะดวกและปลอดภัย สังคมเกิดความโปร่งใส ลดการเกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่มีส่วนช่วยสอดส่องและแก้ไขเหตุทุจริตคอร์รัปชันใกล้ตัวTrue

Approaches to addressing issues

  1. ระดมทุนจัดตั้งทีมงาน Admin และผลิตสื่อในการสื่อสารให้กับเพจต้องแฉ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมถึงประชาชนมีช่องทางในการแจ้งเบาะแสที่สะดวกและปลอดภัย สังคมเกิดความโปร่งใส ลดการเกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน

Operational Plan

  1. สร้างการรับรู้ : ขั้นตอนที่ให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ เช่น การให้ข้อมูลแบ่งปันความรู้ด้านธรรมาภิบาลหรือการต่อต้านคอร์รัปชัน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Infographic หรือบทความ รวมไปถึงข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  2. สร้างการมีส่วนร่วม : ขั้นตอนที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือส่อเค้าการทุจริตคอร์รัปชันด้วยกระบวนการ Crowdsourcing เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมรักษาผลประโยชน์สาธารณะ และเพิ่มความตระหนักในปัญหา และความสามารถในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในภาคพลเมืองได้ รวมไปถึงการให้ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ทางออกของปัญหา และสื่อต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเด็น

  3. สร้างการเปลี่ยนแปลง : ขั้นตอนที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริต สื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อหลักและสื่อท้องถิ่น รวมถึงสำนักงาน ป.ป.ช. ฯลฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นปัญหาหรือขยายผลจนเกิดการเปลี่ยนแปลง

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ทีมงาน Admin

2 คน (เต็มเวลา) / 20,000 ต่อเดือน

2คน240,000.00
ผลิตสื่อในการสื่อสาร

50เรื่อง75,000.00
Total Amount315,000.00
Taejai support fee (10%)31,500.00
Total amount raised
346,500.00

Project manager

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon