cover_1

“สมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง” เพื่อพลิกชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง (ฉบับปรับปรุงใหม่ 2565)

Donations for the project will ถูกนำไปเป็นค่าจัดพิมพ์สมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง to ผู้ป่วยโรคมะเร็ง2,140คน

project succeeded
Successfully
Mar 31, 2023

Project Updateโครงการบันทึกพิชิตมะเร็ง ฉบับปรับปรุง ปี 2565

Activity time

Mar 31, 2023 - Mar 31, 2023

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งกับการเป็นเข็มทิศให้กับผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว

จากการที่ผู้ป่วยต้องเจอกับความสับสนจากข้อมูลที่ถาโถมเข้ามาเยอะมาก และยากต่อการประมวลข้อมูล ซึ่งตัดสินใจได้ยากว่าข้อมูลใดจริงเท็จ ข้อมูลใดสามารถนำมาปฏิบัติตามได้ รวมทั้งควรจะตัดสินใจรับการรักษา และการดูแลตัวเองอย่างไร

การที่มีสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง เปรียบเสมือนการมีเข็มทิศชี้แนวทางในการดูแลรักษา และการดูแลให้แก่ตัวผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวซึ่งเป็นผู้ดูแล

“ อันดับแรกเลยที่ผู้ป่วยมะเร็งทุกคนกังวลคืออาหาร ทุกคนเป็นเหมือนกันหมด การกิน กินอะไรได้ กินอะไรไม่ได้เพราะว่าอาหารมันคือชีวิตประจำวันของมัน พี่ก็เปิดดูเลยอาหารที่เรากินได้ อาหารที่กินไม่ได้ ตอนแรกก็ยังงง อย่างเช่นพวกอาหารแปรรูป บางทีก็ไม่เข้าใจ เนื้อแดงก็ไม่รู้เนื้อแดงคืออะไร หมูกินได้ไหม ตอนนั้นที่มีเรื่องอบรม แล้วก็มีสอนใช้สมุดก็ได้เข้า ไปฟังเรื่องอาหารแล้วก็จะมีคุณหมอต่างๆที่ทำคอนเทนต์ต่าง ๆ ของ Art for cancer พี่จะเข้าไปทุกอัน แล้วก็จะเริ่มเข้าใจมากขึ้น ” (ผู้ป่วยคนที่ 4, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ การมีสมุดมันคือการแพลน แพลนเนอร์เลยว่าเขียนว่าเราจะต้องเริ่มจากอะไร อย่างเช่นของพี่นะ ให้คีโม พี่ก็จะไปถามคุณหมอว่าคีโมที่ให้เขาเรียกว่าสูตรอะไร ผลข้างเคียงคืออะไร พี่ก็จะมาจดไว้ ยาที่ได้พอ หลังจากพี่ได้คีโมมาแล้วพี่ต้องมากินอะไร ผลข้างเคียงที่พี่ต้องเจอต้องกินอะไรบ้าง กินเท่าไร ฉันต้องไป เจาะเลือดวันไหน อาหารที่เราจะต้องกินเข้าไปเพื่อเพิ่มเม็ดเลือดขาว และก็จะจดแพลน ” (ผู้ป่วยคนที่ 4, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ ในเรื่องของการบันทึกมันทำให้เรารู้แต่ละสเต็ปที่สำคัญ แล้วเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ มันเหมือนเป็นแผนที่ชีวิตให้เรา ไม่เคว้งคว้าง ” (ผู้ป่วยคนที่ 5, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ คนรู้จักที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์บางทีก็ให้ข้อมูลได้ไม่ตรงกัน พอเราจด นอกจากได้รักษาแล้วเนี่ยตัวเราก็จะเข้าใจและได้รู้จักกระบวนการรักษาที่เกิดขึ้น คือเราอยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าก่อนหน้านี้ พอคำว่าคีโมก็นึกถึงแต่ภาพอาการแพ้ แต่พอเรามาได้เรียนรู้ว่าคีโมเป็นยังไงเราก็คุยปรึกษากับคุณหมอ แล้วเราก็จดบันทึกมันก็จะเป็นอาการของเราที่ไม่ใช่มันฟุ้ง พอเขาบอกว่าแพ้ก็จะแพ้ตาม แต่อันนี้มันทำให้ เราอยู่กับปัจจุบัน เพราะเราจดสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริงเป็นการวิจัยตัวเราเองจริงๆที่ไม่ได้ฟังชาวบ้านมา คิดว่ามันเป็นประโยชน์มาก ” (ผู้ป่วยคนที่ 2, 17 พฤศจิกายน 2565)

สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งกับการเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยมะเร็งกับบุคคลรอบข้าง

การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยมะเร็งกับบุคคลรอบข้างนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแลหรือระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ผู้ป่วยมะเร็งนั้นประสบกับทั้งปัญหาทางด้าน ร่างกาย และจิตใจที่มีความเครียดจากอาการของโรคมะเร็งที่เป็น

เมื่อมีบันทึกพิชิตมะเร็งเป็นสื่อกลางนั้นก็ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยมะเร็งและคนรอบข้างดีขึ้น ทำให้ผู้ดูแลเข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังคิดรู้สึกและมุ่งหวังได้มากขึ้น ซึ่งนั้นทำให้ผู้ดูแลเองก็ปรับตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการการดูแล

“ ตอนนั้นเราจากที่ไม่เคยมีสมุดตัวจดบันทึก คุณแม่ก็เหมือนจดสะเปะสะปะตามกระดาษบ้างล่ะ หรือติดหน้าตู้เย็นบ้างล่ะ หรือไม่ได้จดบ้างฝากบอกเราแต่เราก็ลืมค่ะ แล้วตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าเราจะหาวิธีช่วยให้ท่านได้จดจำได้ยังไง แล้วบังเอิญได้มาเจอในเพจของกลุ่มมะเร็ง ก็เลยได้รู้จักแล้วก็ส่งไปให้คุณแม่ค่ะ ท่านก็เลยบอกว่ามันดีมากๆดีตรงที่สามารถจดรายละเอียดได้หลากหลาย ” (ผู้ดูแลผู้ป่วยคนที่ 1, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ สำหรับของน้องชอบใช้สติ๊กเกอร์บอกความรู้สึกคือน้องก็จะแปะลงไป ก็คือน้องเขียนด้วย คุณแม่เขียนด้วย ก็คือจากเดิมเนี่ยเราไม่มีสมุดเนี่ยคือเราก็จะเขียน ของน้องก็จะมีเพจของน้อง น้องก็เขียนระบายลงในเพจหรือว่าเขียนเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ แต่ว่าเพจเนี่ยก็จะเลื่อนขึ้นเลื่อนลง มันก็จะไม่สามารถรวมเหตุการณ์ได้ว่าเหตุการณ์ในแต่ละปี 5-6 ปีที่น้องเจอมา แล้วก็สมุดมันจะมีในเรื่องของความรู้สึก แล้วก็มีอย่างหนึ่งที่น้องเขียนไว้ก็คือ 10 สิ่งที่อยากทำ บางทีเราก็ไม่รู้ เขาเก็บของเขาบางทีเขาก็ไม่ได้ให้เราอ่าน แต่ว่าเราไปเจอเราก็ อันนี้ลูกเราอยากทำ เราก็มาเช็คว่าอันไหนบ้างที่เขาทำไปแล้วบ้าง บางทีบางอย่างมันก็เป็นเรื่องธรรมดา ” (ผู้ดูแลผู้ป่วยคนที่2, 17 พฤศจิกายน 2565)

ไม่เพียงแต่การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแลเท่านั้น แต่สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งยังมีส่วนช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ราบรื่นขึ้นอีกด้วย เช่น ในการบันทึกอาการข้างเคียงหลังจากรับการรักษา

เมื่อถึงเวลานัดครั้งต่อไปการที่ผู้ป่วยสามารถแจ้งได้ว่าการรับการรักษาครั้งก่อนหน้ามีอาการหรืออาการข้างเคียงอย่างไรบ้างนั้น ช่วยให้การวางแผนการรักษาในขั้นต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“ คิดว่าช่วยนะคะเพราะว่าถ้าเกิดคนได้เล่มนี้เห็นแล้วว่ามันจะมีว่าได้ยาอะไรแล้วมีอาการข้างเคียงอะไร แล้วให้บันทึก แล้วก็บางทีมันมีให้โน็ตในจุดที่ว่าเหมือนอยากจะถามอะไรคุณหมอ เวลาเจออาการสำหรับ Care Giver ถ้าเกิดว่าเจอปัญหาอะไรในคนไข้มันมีให้จด ก็จะแนะนำให้จดไว้เพราะว่ามันเจอปัญหาเวลา ดูแลคนไข้ เจอแต่พอมาหาคุณหมอลืมหมดอาการต่างๆ เออบางทีจดไว้นะ พอมาเจอคุณหมอเตรียมๆไว้ เลยว่าจะเปิดหน้าไหนให้คุณหมอดูแบบเนี้ยมันก็จะช่วยได้ บางทีได้ยาไปแล้ว side effect อะไรบ้างที่ เกิดขึ้นแบบนี้อ่ะค่ะ เพราะหมอเขาค่อนข้างเอาใจใส่และเข้าใจคนไข้ อยากรู้จริงๆว่าเกิดปัญหาอะไรบ้างในการรับยา ” (บุคลากรทางการแพทย์คนที่ 1, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ ก็ในส่วนของตัวเองนะคะที่เห็นรู้สึกว่าเล่มนี้มันมีประโยชน์กับคนไข้ที่แบบในเคสรายใหม่ ซึ่งเหมาะมาก ซึ่งมันรวมทุกอย่างเลยเท่าที่ดูมีตั้งแต่การจะปฏิบัติตัว การจะเตรียมตัวยังไงแล้วก็ตลอดจนกำลังใจ เพราะว่าบางทีในคนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งอ่ะ บางทีเขายังอยู่ในระยะปฏิเสธอยู่ บางทีเขาก็ยังไม่ได้ยอมรับ การที่ใครจะไปคุยหรือไปให้ความรู้เขาก็ยังไม่รับ แต่หมอรักษาเขาก็รักษาไปแต่เขาก็ยังคิดว่าฉันยังไม่ใช่ๆ ” (บุคลากรทางการแพทย์คนที่ 2, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ ประโยชน์ที่ได้จากเราชัดๆเลยคือการบันทึก การทบทวน ซึ่งถ้าเราถามย้อนไปเหมือนคุณหมอนัด 1 เดือน หมอถามย้อนไปคนไข้บอกว่าปวด ปวดตรงไหนจำไม่ได้แล้ว อะไรที่ส่งผลต่อการปวดเขาจะจำไม่ได้ แต่ว่าจะมีประมาณ 2 รายนะคะที่เอาสมุดกลับมาให้เราดู ก็คือเขาจะปวดวันนี้ ซึ่งคุณหมอจะทำนายได้ พยากรณ์โรคได้ว่าคือมันน่าจะสาเหตุมาจากปวดแบบชนิดนี้เพื่อที่จะจัดการอาการรบกวนคนไข้ได้ค่ะ ” (บุคลากรทางการแพทย์คนที่ 3, 17 พฤศจิกายน 2565)

นอกจากนี้โดยทั่วไปเวลาอันจำกัดของการรักษาทำให้บุคลการทางการแพทย์ไม่สามารถพูดคุยกับผู้ป่วยได้มากนัก โดยเฉพาะด้านความคิดความรู้สึกและสุขภาพทางใจ ที่ไม่ใช่ผลจากการรักษาอาการของโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามข้อความที่ถูกบันทึกในบันทึกพิชิตมะเร็งกลับเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อความดังกล่าว และส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

“ เราจับทางไม่ถูก คือไม่ได้ดูแลยายตั้งแต่ต้นนะคะจะเป็นน้องอีกคนดูแล ทีนี้เราก็ได้เอาสมุดเล่มนี้ฝากพยาบาลเอาเข้าไปให้คุณหมอ เราก็เลยได้เข้าไปพบหมอพอคุณหมออ่านคุณหมอก็รู้สึกว่า คุณยายก็เหมือนแบบยังมีความผูกพันกับคุณหมอ คุณหมอก็เลยบอกว่างั้นส่งกลับไปโรงพยาบาลต้นสังกัด ก็คือคุณหมออีกคนหนึ่งที่เป็นทีมเดียวกันค่ะ เป็นระยะประคับประคองที่แบบคุณยายไม่ต้องกังวลนะ คุยกับคุณหมอเลยคุณหมอคนนี้เป็นคนที่เข้าใจ ก็ได้ส่งกลับไปที่โรพยาบาลต้นสังกัดค่ะ เป็นระยะประคับประคองใจค่ะ ทำให้มีกระบวนการต่อไปได้จากที่เขาไม่นัดแล้วค่ะ ” (ผู้ดูแลผู้ป่วยคนที่ 3, 17 พฤศจิกายน 2565)

สามารถดูวิดีโอกิจกรรมได้ที่ : สรุปโครงการ"บันทึกพิชิตมะเร็ง" ฉบับปรับปรุงปี 2565

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบาง
  1. ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแลและบุคลากรทางการแพทย์
  2. บุคคลทั่วไป
67,453 ราย
1,138,811 ราย
ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : รายงานผลการดําเนินงาน โครงการบันทึกพิชิตมะเร็ง ฉบับปรับปรุง ปี 2565

Jan 18, 2023

Project Updateโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการบันทึกพิชิตมะเร็ง จำนวน 34 โรงพยาบาล

Activity time

Jan 18, 2023 - Jan 18, 2023

โครงการบันทึกพิชิตมะเร็งมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 34 โรงพยาบาล ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่

  • โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
  • โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
  • โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
  • โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
  • โรงพยาบาลจุฬารัตน์อินเตอร์ 3
  • โรงพยาบาลสุรินทร์
  • โรงพยาบาลน่าน
  • โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น
  • โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • โรงพยาบาลนครปฐม
  • โรงพยาบาลราชบุรี
  • โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
  • โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
  • โรงพยาบาลระนอง
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลกระบี่
  • โรงพยาบาลตระการพืชผล
  • โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ส่งมอบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งจำนวน 20,000 เล่ม

  • จุดแจกจ่ายตามโรงพยาบาล จำนวน 17,500 เล่ม
  • ช่องทางออนไลน์ 2,500 เล่ม

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งนั้น เมื่อทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งจะประสบกับความรู้สึกสับสนและตกใจ ความไม่รู้และความวิตกกังวล ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากพยายามที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อวางแผนการรักษาให้กับตนเอง

อย่างไรก็ตามยิ่งผู้ป่วยตามหาข้อมูลมากขึ้นเท่าไหร่กลับยิ่งสร้างความสับสนเพิ่มมากขึ้นจากวังวนของข้อมูลที่มากเกินไป โดยเฉพาะข้อมูลที่ค้นพบได้จากอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงง่าย หากแต่ไม่มีสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ข้อมูลชุดใดมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่เชื่อถือได้ นำไปปฏิบัติตามได้ โดยไม่มีผลเสียต่อร่างกายและการวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง

ดังนั้นเมื่อ บันทึกพิชิตมะเร็งได้รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยมะเร็งเอาไว้แล้ว โดยเนื้อหานั้นได้มีที่มาที่ชัดเจน มีเอกสารอ้างอิงมากพอจะน่าเชื่อถือและทำให้ง่ายต่อการไปค้นคว้าต่อได้นั้น จึงทำให้ผู้ป่วยมะเร็งปรับตัวง่ายขึ้นต่อการที่จะต้องอยู่ร่วมกับมะเร็ง 

ความรู้สึกของผู้ป่วยหลังทราบว่าเป็นมะเร็ง

“คือตอนนั้นทันทีที่เรารู้ปุ๊บเราหาข้อมูล เพราะงั้นข้อมูลจะไหลเข้ามาเยอะมาก คนนั้นว่าอย่างนั้น อ่อ คนนั้นผ่าตัดที่นั้นสิ กินอันนั้นสิ ทุกอย่างจะเข้ามาแบบรวดเร็วมาก คือตอนนั้นรู้สึกทางกายก็คือทำอะไรไม่ทัน รู้สึกว่าฉันมีทางเลือกแบบเยอะมาก คือทุกอย่างมันจะมีข้อมูลแบบถาโถมเข้ามาในช่วงแรก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำให้เราผ่านมาได้ คือเราศึกษาไปเรื่อย ๆ เราก็จะเข้าใจมากขึ้น ความกังวลเราก็จะลดลงเรื่อย ๆ” (ผู้ป่วยคนที่ 1, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ได้ยินครั้งแรกก็ตอนหลังผ่าตัดมดลูก ก็มาทราบผลชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัด คุณหมอบอกว่าเป็นมะเร็งชนิดแพร่กระจายเร็ว ณ ตอนนั้น ก็ไม่อยากจะเชื่อ แล้วเราก็เต็มไปด้วยความสงสัย ตอนนั้นคือยังไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เราโฟกัสในสิ่งที่เราสามารถทำได้ แล้วก็ควบคุมได้ ก็คือดูแลตัวเองในเรื่องของจิตใจ อาหาร การออกกำลังกายและการดูแลจิตใจของคนรอบข้างเพราะว่ามันก็ส่งผลรวมกันค่ะ” (ผู้ป่วยคนที่ 2, 17 พฤศจิกายน 2565)

“ก็เหมือนทุกท่านเลยนะคะ ก็รู้สึกช็อคนะคะ คุณหมอบอกว่าผลจากเมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์นะคะประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังอีก 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยเราก็ยังมีความหวังนะคะ ก็เลย ก็ยังมีหวังแต่ว่าพยายาม พยายามที่จะหวัง ไม่คิดในแง่ร้ายก่อน เหมือนให้กำลังใจตัวเองก่อนค่ะ แต่ว่าพอช่วงระหว่างการรอคอยผลนะคะ มันก็ทำให้เราเริ่มหาข้อมูล สมมติว่าเราเป็นเราจะต้องรักษายังไง ตัดสินใจทำยังไง” (ผู้ป่วยคนที่ 3, 17 พฤศจิกายน 2565)

Nov 2, 2022

Project Updateอัพเดทกิจกรรมโครงการสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง (ฉบับปรับปรุงใหม่ 2565) เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเดือนเมษายนถึงกันยายน 65

Activity time

Nov 2, 2022 - Nov 2, 2022

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทางผู้ดำเนินงานจึงได้มีโครงการทำให้แผนดำเนินการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้

เดือนเมษายน - กันยายน 2565 : ทาง Art For cancer ได้จัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งและกิจกรรมสอนใช้สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งร่วมกับ 11 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในรูปแบบออนไลน์ ตามรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1 : วันที่ 22 เมษายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ความหวังใหม่! วัคซีนรักษาเฉพาะบุคคลและเครื่องฉายแสงแบบตรงจุด” ร่วมกับโรงพยาบาบจุฬาลงกรณ์

ครั้งที่ 2 : วันที่ 17 พฤษภาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ไขความจริงเรื่องมะเร็ง เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์” ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ครั้งที่ 3 : วันที่ 10 มิถุนายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “วิธีตั้งรับกับมะเร็งระยะลุกลามและระยะสุดท้าย” ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น

ครั้งที่ 4 : วันที่ 3 กรกฎาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “การฉายรังสี ความเข้าใจใหม่ที่ผู้ป่วยมะเร็งต้องรู้” ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ครั้งที่ 5 : วันที่ 27 กรกฎาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “มะเร็ง มรดกทางพันธุกรรม คุณเสี่ยงแค่ไหน?” ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

ครั้งที่ 6 : วันที่ 24 สิงหาคม 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “รู้ทันมะเร็ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง เช็คค่ามะเร็งจากเลือด สำคัญยังไง?” ร่วมกับโรงพยาบาลตำรวจ

ครั้งที่ 7 : วันที่ 2 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ป่วยมะเร็ง” ร่วมกับโรงพยาบาลภูมิพล

ครั้งที่ 8 : วันที่ 6 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ถอดรหัส ทำนายวิธีการรักษามะเร็งที่เหมาะกับเรา” ร่วมกับสถานวิทยามะเร็ง ศิริราช

ครั้งที่ 9 : วันที่ 8 กันยายน 2022 งานเสวนาออฟไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “LIVE AND DIE AS YOU DESIGN อยู่ได้อย่างใจ ตายอย่างที่ออกแบบ” ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ครั้งที่ 10 : วันที่ 22 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ชีวิตใหม่หลังการรักษาของผู้ป่วยมะเร็ง” ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี

ครั้งที่ 11 : วันที่ 28 กันยายน 2022 งานเสวนาออนไลน์ให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ตรวจจับมะเร็งเต้านม รู้ไว รักษาเร็ว หายได้” ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 : เริ่มลงพื้นที่สอนใช้สมุดบันทึกพิชิตมะเร็งตาม รพ.ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันโครงการบันทึกพิชิตมะเร็งมีจุดแจกจ่ายสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งที่เข้าร่วมโครงการ 25 โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยโครงการยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถส่งมอบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็งให้ถึงมือผู้ป่วยได้ครบจำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ

 

 

Mar 2, 2022

Project Updateกิจกรรมโครงการสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง (ฉบับปรับปรุงใหม่) เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง

Activity time

Mar 2, 2022 - Mar 2, 2022

กิจกรรมโครงการ

  • เดือนกรกฏาคม – กันยายน 64 ดำเนินการหาความร่วมมือเพื่อขอการสนับสนุนโครงการ (ยังไม่ครบตามเป้าของโครงการ จึงต้องดำเนินการเสาะหาการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนเพิ่มเติม)
  • เดือนสิงหาคม – กันยายน 64 ดำเนินการประสานสถาบันทางการแพทย์เพื่อขอข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง การดูแลตัวเอง วิธีการรักษาและปฏิบัติตัว และฟังก์ชั่นการใช้งาน
  • เดือนกันยายน – ตุลาคม 64 ดำเนินการออกแบบสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง
  • เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 64 ดำเนินการจัดพิมพ์สมุดบันทึกฯ
  • เดือนกุมภาพันธ์ 65 เปิดตัวสมุดบันทึกและเริ่มดำเนินการแจกจ่ายไปตามรพ. เป้าหมาย
  • เดือนมีนาคม 65 จัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้ผู้ป่วยมะเร็งใน 11 รพ.เป้าหมาย