cover_1
New

ชวนทำบุญช่วยชีวิตปลา โดยไม่ต้องซื้อปลามาปล่อย ปี#2

กลุ่มใบไม้กลุ่มใบไม้
Animals
Environment

Donations for the project will ช่วยชีวิต และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของพ่อแม่พันธุ์ปลา ลูกปลา ในธรรมชาติ to พื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำแควน้อย(ลุ่มน้ำแม่กลอง)1พื้นที่ต้นน้ำ

Period of time

Apr 24, 2025 - Aug 15, 2025

Location

อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ และอ.สังขละบุรี Kanchanaburi

SDG Goals

ZERO HUNGERCLEAN WATER AND SANITATIONRESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTIONCLIMATE ACTIONLIFE BELOW WATERLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

Animal
100,000ตัว
Community
15แห่ง
Forest
200,000ไร่
River
4สาย

การช่วยชีวิตปลาในฤดูมีไข่ ช่วย 1 ชีวิต = รอดเป็นร้อยเป็นพันชีวิต เพราะการช่วยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีไข่เต็มท้อง ในฤดูพร้อมวางไข่ เปรียบเสมือนการต่อชีวิตปลาที่กำลังจะถือกำเนิดตามฤดูกาลของธรรมชาติ อาสาสมัครกลุ่มใบไม้พร้อมที่จะเดินทางไปเพื่อนำ ทักษะ แรงกาย หัวใจ เพื่อเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัย ร่วมสนับสนุนภารกิจครั้งนี้ไปกับเรา

Social issues

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

"ถ้าเราปล่อยปลาแล้วเขาไปตาย เราจะยังได้บุญอยู่ไหม แล้วถ้าปลาที่เราปล่อยแท้จริงคือปลาผู้ล่าที่กำลังไปไล่ล่ากินปลาตัวอื่นในแหล่งน้ำ เราจะยังได้บุญอยู่ไหม แล้วถ้ามีงานอยู่งานหนึ่ง ที่เราไปช่วยชีวิต ปลดปล่อย แม่ปลาที่มีไข่เต็มท้อง ให้รอดจากความตาย ช่วย 1 ชีวิต รอดอีกเป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสนชีวิต เรามาร่วมบุญครั้งนี้กันดีไหม"

เราศึกษาติดตามเรื่องการทำบุญปล่อยปลา ที่เห็นว่าผู้ที่อยากทำบุญมีความปรารถนาดีต่อชีวิตสัตว์ด้วยใจบริสุทธิ์ ในขณะที่ชนิดของปลาและสัตว์น้ำที่ปล่อย รวมทั้งวิธีการและสถานที่ในการปล่อยปลาส่วนใหญ่นั้น อาจไม่ได้ทำความตั้งใจในการทำบุญเป็นดั่งหวัง อาจจะยกมาเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

  1. "ปลาดุก" เป็นชนิดของปลาที่นิยมปล่อยตามหน้าวัดมากที่สุด ในขณะที่ปลาดุกดังกล่าวเป็น "ปลาผู้ล่า" ที่ล่าปลาชนิดอื่น ๆ เป็นอาหาร รวมทั้งปลาผู้ล่าชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลาไหล ฯลฯ การปล่อยปลาเหล่านี้ครั้งละมาก ๆ ในพื้นที่เดียว จึงเสมือน "เรากำลังปล่อยผู้ล่า ลงไปล่าปลาและสัตว์น้ำวัยอ่อนในธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วให้หมดไป"
  2. "ปลาที่เราซื้อมาปล่อย กำลังให้ให้ปลาในธรรมชาตินั้น ๆ มีชีวิตลำบาก" ปลาที่สามารถหาซื้อ นำมาปล่อย ส่วนใหญ่เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อการบริโภคโดยเฉพาะ เป็นคนละชนิดกับที่มีในธรรมชาติ การปล่อยปลาเหล่านี้ลงแหล่งน้ำครั้งละมาก ๆ ยังเป็นการแย่งอาหาร แย่งทรัพยากร ทำให้ปลาชนิดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติถูกแย่งชิงอาหาร ส่งผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่นั้น ๆ
  3. "ปล่อยผิดที่ เขาก็ตาย" ปลาและสัตว์น้ำแต่ละชนิด ต้องการถิ่นอาศัย (Habbitat) ที่แตกต่างกัน ปลาบางชนิดชอบพื้นโคลน ปลาบางชิดชอบน้ำไหล ปลาบางชนิดชอบพื้นที่รก ๆ เต่าบกอยู่ในแม่น้ำลึกไม่ได้ ตะพาบก็ต้องการพื้นทรายพื้นดินเลน ในขณะที่การทำบุญส่วนใหญ่เกิดขึ้นหน้าวัดบ้าง ท่าน้ำบ้าง มีสัตว์น้ำจำนวนมากที่ถูกปล่อยด้วยความปรารถนาดีจากผู้ทำบุญ แต่เขาอาจต้องตายลง หิว และไม่มีที่อยู่ จากการปล่อยในพื้นที่ไม่เหมาะสม

* จริง ๆ แล้วยังมีผลกระทบอีกไม่น้อย จากการปล่อยปลาหรือสัตว์น้ำ ในแบบที่ยังมีข้อมูลไม่พอ ว่าปล่อยอย่างไรเขาถึงจะรอด "เพื่อให้เราได้บุญที่แท้จริง"

วิธีการแก้ปัญหานี้เพื่อให้การทำบุญ ได้บุญ ได้ช่วยเหลือ อย่างแท้จริง

โครงการในปีนี้ เราตั้งใจทำงานเพื่อ "ช่วยชีวิตแม่ปลาในธรรมชาติที่มีไข่เต็มท้อง" ที่มนุษย์ควรจะเว้นวรรคช่วงเวลาฤดูวางไข่ ให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้ออกลูกหลานตามธรรมชาติ โดยการค้นหาและเก็บกู้ตาข่าย เบ็ดราว อวน เครื่องมือประมงผิดกฎหมายออกจากผืนน้ำในพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ฯ และ "ใช้กรรไกรตัดตาข่าย เชือก ช่วยเหลือปลา ปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำ" การช่วยปลา 1 ตัว จึงไม่ใช่แค่ 1 ชีวิต แต่คือการช่วยชีวิตลูกปลาในท้องแม่ ที่กำลังจะลืมตาดูโลก อีกเป็นร้อย เป็นพัน หรือเป็นหมื่นตัว ยิ่งเราทำงานช่วยพ่อแม่พันธุ์ปลาได้มากแค่ไหน จึงเสมือนการช่วยเหลือชีวิตน้อย ๆ ทวีคูณ เป็นล้าน ๆ ชีวิต ตลอดฤดูกาลที่เขาควรจะเกิดมาสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศแหล่งนี้

ปัญหาการลักลอบทำการประมงในฤดูปลาวางไข่ เป็นปัญหาใหญ่ของพื้นที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ นอกจากจะปิดโอกาสให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้สืบเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติแล้ว เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย เครื่องมือเก่า ขยะจากกิจกรรมในน้ำ ยังเป็นอุปสรรค์ต่อการเดินทางว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นสู่พื้นที่วางไข่ในบริเวณทุ่งน้ำท่วมของฝูงปลา และสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ

ดังนั้นหากสูญเสียประชากรปลาแล้ว จะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารของชาวบ้าน ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ และพวกเราทุกคน หากประชากรปลาลดลงจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศที่จะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย

ใน 1 ปี จะมีเพียงครั้งเดียวที่สัตว์น้ำจะขึ้นวางไข่ ถ้าเรารักษาได้ก็เหมือนรักษาปลาได้ทั้งปี แต่ถ้ารักษาไว้ไม่ได้ เพียงไม่กี่ฤดูกาลปลาและสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก็จะหมดไปจากผืนน้ำ แม้จะกว้างใหญ่ไพศาลเพียงใด

โครงการครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน และอาสาสมัครกลุ่มใบไม้ วางแผนล่องท้องน้ำประมาณ 2 แสนกว่าไร่ โดยออกเดินทางจำนวน 6 ครั้ง ๆละ 4  วันตลอดฤดูฝน โดยใช้เรือในการเดินทางขึ้นสู่ต้นน้ำ ที่เป็นพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมที่ปลาจะใช้วางไข่ ผสมพันธุ์ และปฏิบัติภารกิจเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลารวมทั้งสัตว์น้ำอื่น ๆ

แต่ละครั้งเราจะมีผู้ปฏิบัติภารกิจราว 10-15 คน จึงทำให้ต้องระดมทุนเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือ เสบียงอาสาสมัคร และอุปกรณ์เก็บกู้เครื่องมือประมง 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ระบบจัดการอาสาสมัคร : ประชุมร่วมกับเครือข่าย ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม ชุมชน และทีมอาสาสมัครผู้ร่วมปฏิบัติงาน เพื่อเปิดรับอาสาทั่วไปให้เข้าร่วมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (กลุ่มใบไม้มีสถานะเป็นเครือข่ายอาสาสมัครผู้ร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานฯ)

2. ขั้นปฏิบัติงาน ลงพื้นที่ทำงาน ประเมินสถานการณ์ตามฤดูกาล : ลงพื้นที่ทำงานในฤดูฝน (เดือน มิถุนายน - เดือนกันยายน) ประมาณ 6 ครั้ง

ตามสถานการณ์ของฝน และการไหลของน้ำป่าจากพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนัก เป็นช่วงที่ปลาสำคัญ เช่น ปลาค้าวดำ ปลาค้าวขาว ปลากด ฯลฯ ขนาดใหญ่หลายสิบกิโลต่อตัว เลือกผสมพันธุ์ในช่วงนั้น ทางทีมอาสาสมัครจะเข้าพื้นที่ทำงานเข้มข้นขึ้น และสนับสนุนทรัพยากร น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์การทำงาน ให้กับเครือข่ายงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ด้วย 3 ภารกิจย่อยในการช่วยชีวิตพ่อแม่พันธุ์ปลา ได้แก่

  • ค้นหา : ตาข่าย เบ็ดราว อวน เครื่องมือทำการประมงผิดกฎหมาย ในพืนที่อนุรักษ์ พื้นที่วางไข่ของปลา โดยใช้อาสาสมัครออกเรือกระจายไปตามลำห้วยต่าง ๆ ที่ต้นน้ำ
  • ปลดปล่อย : ใช้กรรไกรตัด ปลดปล่อย ช่วยชีวิตแม่ปลาที่เคราะห์ร้ายเข้ามาติดตาข่าย และรีบปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำในธรรมชาติให้ปลาได้ว่ายขึ้นสู่พื้นที่วางไข่อย่างปลอดภัย
  • เก็บกู้ : เมื่อปล่อยปลาแล้ว เราจะเก็บกู้ตาข่าย และเครื่องมือประมงผิดกฎหมายเหล่านั้น รวมทั้งขยะในลำน้ำ ขึ้นมาบนเรือแต่ลำ ก่อนจะขนย้ายกลับมาขึ้นฝั่ง เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ฝูงปลาได้มีพื้นที่วางไข่ตามฤดูกาลของธรรมชาติ

3. ขั้นประชาสัมพันธ์ สร้างความร่วมมือกับชุมชน และประชาชนในพื้นที่ : นอกจากงานลงพื้นที่เก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ปลา จะมีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากชาวบ้าน ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจกรรมทางน้ำหรือคนที่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำงานระยะยาวต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายโชคนิธิ คงชุ่ม และอาสาสมัครงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่

โดยการขับเคลื่อนการทำงานของกลุ่มใบไม้

 

Approaches to addressing issues

  1. ระดมทุนเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือ เสบียงอาสาสมัคร และอุปกรณ์เก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายออกจากพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ฯ ในช่วงฤดูวางไข่ เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้ออกลูกหลานตามธรรมชาติ สร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศ

  2. สนับสนุนทรัพยากรการทำงานให้เจ้าหน้าที่หน่วยประมงฯ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ คณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานภาคสนามตลอดฤดูกาล

  3. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากชาวบ้าน ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจกรรมทางน้ำหรือคนที่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ

Operational Plan

  1. เปิดรับอาสาทั่วไปให้เข้าร่วมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับคณะทำงานภาคส่วนต่าง ๆ

  2. ลงพื้นที่ทำงานในฤดูฝน (เดือน มิถุนายน - เดือนกันยายน) จำนวน 6 ครั้ง หรือ สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาคสนามเพื่อเพิ่มจำนวนความถี่ในการออกลาดตระเวนป้องกันและปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย

  3. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากชาวบ้าน ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจกรรมทางน้ำหรือคนที่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ

  4. สนับสนุนทรัพยากรการทำงานให้เจ้าหน้าที่หน่วยประมงฯ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ คณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานภาคสนามตลอดฤดูกาล

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
สนับสนุนการทำงานภาคสนามของอาสาสมัคร

*จำนวนอาสา/คณะทำงาน 10-15 คน ลงพื้นที่ทำงาน 6 ครั้ง ครั้งละ 4 วัน รวม 24 วัน ค่าใช้จ่าย 1 วัน 8,000 บาท แบ่งเป็น - ค่าเสบียงอาหาร 3,000 บาท/วัน - ค่าน้ำมัน ออกเรือทำงาน 5,000 บาท/วัน - ค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ในการทำงาน 10,000 บาท ตลอดฤดูกาล

24วัน192,000.00
ค่าผลิตสื่อ ป้าย ติดตั้งในพื้นที่

- สร้างความเข้าใจระยะยาวกับชาวบ้าน / สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างแนวร่วมในการทำงานอนุรักษ์ - เดือนละ 5,000 บาท

3เดือน15,000.00
สนับสนุนเสบียง อาหาร ยาสามัญ และอุปกรณ์การทำงาน ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

เดือนละ 5,000 บาท

3เดือน15,000.00
สนับสนุนชุดการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

- เปลสนาม 600 บาท - หมวกกันแดด 250 บาท - เสื้อกันฝนภาคสนาม 500 บาท - ไฟฉาย 150 บาท - ถ่านไฟฉาย 300 บาท

10ชุด18,000.00
แบตเตอรี่สำรองภาคสนาม (powerbox)

แบตเตอรี่สำรองภาคสนาม (powerbox) 1 ชุด

1ชุด15,000.00
Total Amount255,000.00
Taejai support fee (10%)25,500.00
Total amount raised
280,500.00

Project manager

กลุ่มใบไม้

กลุ่มใบไม้

นครนายก

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon