cover_1
Recurring
+1

สนับสนุนการรักษานกป่วย นกบาดเจ็บ และลูกนกตกรัง

Donations for the project will สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็น to หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังกลับคืนสู่ธรรมชาติ780ตัว

Period of time

Dec 12, 2024 - Dec 31, 2028

Location

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา Chiang Mai

SDG Goals

PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

Animal
780ตัว
Youth
600คน

การดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังมีข้อจำกัดอย่างมาก อาทิขาดแคลนโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถดูแลรักษานกป่าได้

เพราะส่วนมากคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์มักจะไม่ค่อยรับนกป่ามารักษา ต้องอาศัยทักษะการดูแลที่เฉพาะเจาะจง แตกต่างไปจากสัตว์กลุ่มอื่น เช่น แมว หรือสุนัข

ประชาชนที่พบเจอนกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังจึงขาดพื้นที่เพื่อส่งรักษา ประกอบกับการนำนกป่าไปรักษาในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไปยังสร้างค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่พบนกอีกด้วย

บ่อยครั้งทำให้ผู้พบนกเลือกที่จะไม่ส่งรักษา  จึงทำให้นกที่บาดเจ็บจึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เป็นผลทำให้นกป่าตายมากขึ้น

 

Social issues

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของนกป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูทำรังที่มักมีผู้พบเจอลูกนกตกรังอยู่เป็นประจำ จึงได้เปิดพื้นที่ขึ้นเพื่อรับนกป่ามาดูแลรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โดยมีสัตวแพทย์และสัตวบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลนกป่าโดยเฉพาะเป็นผู้ดูแลรักษา และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปล่อยนกที่ได้รับมากลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ให้นกเหล่านั้นได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างอิสระและเติมเต็มหน้าที่ในระบบนิเวศ

ก่อนหน้านี้มีเพียงคลินิกสัตว์ป่า ภายใต้การดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถรับดูแลนกป่าในจังหวัดเชียงใหม่ได้ ทำให้ยังไม่สามารถดูแลรักษานกป่าได้อย่างทั่วถึง การดำเนินงานของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาจึงเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานของคลินิกสัตว์ป่าในด้านการดูแลรักษานกป่าที่นำส่งโดยประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

ค่าใช้จ่ายในการรักษนกบาดเจ็บและลูกนกตกรัง

  • ค่ารักษานกบาดเจ็บ เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดใหญ่ & เหยี่ยว ตกรัง เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดเล็ก ตกรัง เฉลี้ย 2,000 บาท/ตัว

Approaches to addressing issues

  1. สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรัง เพื่อให้มีโอกาสได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง เป้าหมาย ช่วยนกเฉลี่ยปีละ 260 ตัว หรือ 3 ปี 780 ตัว มีเด็กร่วมกิจกรรมปีละ 200 คน หรือ 3 ปี 600 คน

Operational Plan

  1. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่พบเจอนกป่าบาดเจ็บหรือตกรังผ่านทางเพจ Facebook รวมถึงผลิตสื่อความรู้เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการดูแลรักษานกป่า

  2. ในกรณีที่ผู้พบนกไม่สามารถดูแลนกตัวดังกล่าวได้เอง สามารถนำนกมาส่งให้กับหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น  นกที่พิการถาวร ไม่มีโอกาสในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และนกพิราบ (Feral Pigeon) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการกระจายโรคสู่นกตัวอื่นภายในหน่วยฟื้นฟู

  3. นกทุกตัวที่เข้ามาในหน่วยฟื้นฟูจะได้รับการลงทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานด้านการรักษา รวมถึงหลักฐานทางกฎหมายเพื่อแสดงต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

  4. สัตวแพทย์และสัตวบาลทำหน้าที่ดูแลรักษานกทุกตัวอย่างดีที่สุดเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง

  5. นำนกที่พร้อมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปปล่อยในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของนกชนิดนั้นๆ

  6. เปิดพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกงานของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  7. จัดกิจกรรมด้านการศึกษา อาทิ กิจกรรม open house เปิดพื้นที่หน่วยฟื้นฟูให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกิจกรรมออนไลน์ เช่น งานเสวนาเกี่ยวกับการดูแลนกป่าผ่านทาง Facebook ของหน่วยฟื้นฟู และชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ค่ายารักษานก

36เดือน36,000.00
ค่าอาหาร

36เดือน540,000.00
ค่ารักษาพยาบาล

36เดือน1,080,000.00
Total Amount1,656,000.00
Taejai support fee (10%)165,600.00
Total amount raised
1,821,600.00

Project manager

กองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา (Lanna Wild Bird Rescue) และชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ได้รับการก่อตั้งโดยนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ (หมอหม่อง) อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผู้ออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสื่อสารเรื่องธรรมชาติมาเป็นเวลานาน โดยกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนาถือเป็นหน่วยงานภายใต้ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ที่เน้นบทบาทด้านการช่วยเหลือนกป่าที่บาดเจ็บ ลูกนกตกรัง รวมถึงปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่นำนกป่ามาส่งปัจจุบัน "หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์สงเคราะห์สัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 และมีความร่วมมือกับคลินิกสัตว์ป่า ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในด้านการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังซึ่งถูกนำส่งโดยประชาชนทั่วไป รวมถึงคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในด้านการรักษาพยาบาล และเป็นสถานที่เรียนรู้ฝึกงานของนักศึกษาสัตวแพทย์

View Profile

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon