project Covid-19 กลุ่มคนเปราะบาง

“ปลูก ปันอิ่ม” สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง

พื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าว นำมาเป็นพื้นที่สร้างแหล่งอาหาร ผลิตวัตถุดิบในการทำอาหาร เพื่อมาแบ่งปันให้คนไร้ที่พึ่งและผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ โดยใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต เสริมความมั่นคงในชีวิต สร้างโอกาส และรายได้ในรูปแบบของค่าแรงเพื่อเป็นเงินทุนในการใช้ชีวิต

Duration 6 เดือน Area กรุงเทพมหานคร,นครปฐม, สมุทรสาคร

Current donation amount

65,005 THB

Target

249,535 THB
ดำเนินการไปแล้ว 26%
จำนวนผู้บริจาค 88

สำเร็จแล้ว

Project updates

คนไร้บ้าน 5 คน ได้ร่วมกันปลูกพืชสวนครัว สร้างรายได้

15 September 2021

มูลนิธิอิสรชน เริ่มดำเนินโครงการมาแล้วระยะหนึ่ง ในระหว่างโควิด-19 รอบที่ 2 เราได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เพื่อส่งเสริมอาชีพ มีการดำเนินการถางหญ้า เตรียมพื้นที่ ลงพืชพันธ์ แล้วนำมาประกอบอาหาร เน้นในสวนของพืชผักสวนครัวในช่วงแรก ๆ เช่น พริก กระเพรา มัน มะนาว ตระไคร้ เป็นต้น ในช่วงแรกของผลผลิตจะไม่มาก จึงนำมาทำอาหาร และเน้นการแบ่งปัน 

สิ่งที่พบหลังจากทำกิจกรรม

เกิดผลผลิต และคนไร้เร่ร่อน ที่มาร่วมโครงการได้รู้สึกได้พัฒนาตนเอง รู้สึกมีคุณค่า ออกแรงทำงาน มีสติในการทำงานสวน นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่เขาได้ระบายแรง ระบายความรู้สึก ได้พูดคุยระหว่างคนเร่ร่อน ไร้บ้าน และถามกับมูลนิธิฯ ตลอดว่า จะได้ไปทำอีกเมื่อไหร่ วันไหน จะได้เตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์รอลงพื้นที่

ความประทับใจจากคนไร้บ้าน

เท่ห์ คนเร่ร่อนไร้บ้าน มีอาชีพนวดในถนน ช่วงโควิดระบาดได้มาทำสวนกับเรา เพราะไม่มีรายได้ รู้สึกว่าได้ใช้แรงมาก แต่ทำได้ไม่มาก เพราะแขนไม่ค่อยดี "สนุกดีแต่เหนื่อยมาก ได้ลองทำ เพราะไม่เคยได้ทำมาก่อน ได้ออกกำลังกาย สนุกดีนะ" เขาแรงไม่เยอะเพราะแขนมีเหล็ก แต่ภูมิใจที่ตัวเองได้ทำประโยชน์

พี่แอ๋ว คนในกลุ่มเปราะบาง ช่วงที่ว่าง ไม่มีงานก็มาทำเพื่อจะได้มีรายได้ "ว่างมีอะไรทำก็จะได้รู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ ได้ช่วยคนอื่น แม้จะระยะเวลานาน ได้เจอเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน"

พี่วาสนา "เมื่อไหร่จะได้ไปอีก พี่ไม่ดื่มเหล้าแล้วนะ " "สนุกดี ได้ออกแรง มีคุณค่านะทำให้คนมากมาย แม้จะไม่ใช่ตอนนี้ที่ได้ของกินเลยแต่เราได้ลงมือทำ " ทุกครั้งจะถามและพยายามจะดื่มเหล้าน้อยลง

ภาพประกอบ

ผลผลิตที่ได้

Read more »
See all project updates
ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ไร้บ้าน ซึ่งหากมองโดยผิวเผินแล้วคนกลุ่มนี้อาจไม่ได้เป็นปัญหากับสังคมโดยชัดเจน

หากในทางกลับกันพวกเขาคือ กลุ่มคนที่ถูกกระทำ ทั้งการดูถูก การถูกรังเกียจ กระทั่งถึงการที่พวกเขาเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการในหลายๆ ด้าน ทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาเองที่ย่ำแย่ แต่หากมองในเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมอาจพบว่า ปัญหาคนเร่ร่อน ไร้บ้าน เป็นผลสะท้อนของปัญหาที่หลากหลาย เช่น การเข้าไม่ถึงการศึกษา ความยากจน การไม่มีงานทำ ฯลฯ ซึ่งแม้มีการพยายามจัดการเรื่องต่างๆ เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างครอบคลุมและเข้มแข็งเพียงพอให้คนทุกคนในสังคมสามารถอยู่ได้อย่างเท่าเทียม มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ ในขณะเดียวกันในการที่คนหนึ่งคนจะต้องออกมาเป็นคนเร่ร่อน สังคมก็ต้องสูญเสีย “ผลิตภาพ” กำลังการผลิตที่จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลุ่มเล็กๆ ด้วย

ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนเร่ร่อน นอกจากจะเป็นการทำงานในเชิงสิทธิมนุษยชน ผ่านการสร้างช่วยเหลือดูแลคนแต่ละคนเพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการพร้อมทั้งเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะเคารพตัวเองพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในฐานะมนุษย์แล้ว ยังเป็นการสร้างผลิตภาพที่สำคัญแม้จะเป็นส่วนเล็กๆ ให้กับสังคมอีกทางหนึ่งเช่นกัน


โครงการ “ปลูก ปันอิ่ม” เป็นแนวความคิดที่มูลนิธิอิสรชนคาดหวังจะใช้พื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าวที่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากเจ้าของสวนซึ่งเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิอิสรชนให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหลือว่างในสวน เพื่อ“เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง” โดยการใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต พร้อมผลิตวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อมาแบ่งปันให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ด้านคือ

  1. ผลิตวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนกิจกรรมแบ่งปันอาหารให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งจะเป็นวัตถุดิบที่เพื่อนคนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เป็นผู้ลงมือปลูก และดูแลเพื่อแบ่งปันแก่กันด้วยตนเอง
  2. ใช้กิจกรรมการปลูกและแบ่งปันอาหารให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเพื่อผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ
  3. สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับเพื่อผู้ใช้ชีวิตพื้นที่สาธารณะ ในรูปแบบของค่าแรงเพื่อเป็นเงินทุนในการใช้ชีวิต(แม้อาจเล็กน้อยแต่ถือเป็นคุณค่าทางใจ) ให้กับคนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะที่เข้าร่วมโครงการ
  4. บริหารผลผลิตให้เป็นรายได้ให้กับเพื่อนที่มาช่วยดำเนินการและแปรรูปรายได้บางส่วน(หากพอมี) เพื่อไว้เป็นอุปกรณ์ของใช้จำเป็นเพื่อแจกจ่ายเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือเป็นต้นทุนในการทำกิจกรรมอื่นๆ ของมูลนิธิฯ ต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ 

  1. ชักชวนเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งได้รับการพูดคุยพัฒนาโดยมูลนิอิสรชนในเบื้องต้นแล้วจนสามารถเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิฯ ให้เข้าร่วมโครงการฯ
  2. ศึกษาธรรมชาติของพืชผักชนิดต่างๆเพื่อคัดเลือกพืชผักที่สามารถนำมาใช้ทำอาหารเลี้ยงเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะปลูก โดยเน้นคัดเลือกผักระยะเวลาสั้นและเก็บเกี่ยวได้เร็วในช่วงประมาณ 45 วัน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม
  3. พัฒนาพื้นที่เหลือว่างในสวนมะพร้าวให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามแผนที่ออกแบบไว้
  4. แบ่งทีมอาสาสมัครเพื่อจัดการดูแลพื้นที่สวน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  5. เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้รับ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสนับสนุนกิจกรรมเลี้ยงอาหารผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งมูลนิธิอิสรชนมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทุกวันอังคารในพื้นที่สนามหลวง
  6. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน ที่เข้ามารับแจกอาหารได้ทราบว่าเป็นผลผลิตจากการทำงานของเพื่อนของเขาเอง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันแก่กัน
  7. จัดการผลผลิตบางส่วนที่เหลือออกจำหน่ายเพื่อจัดสรรเป็นรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ที่เข้าร่วมโครงการฯ และใช้เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์ของใช้จำเป็นเพื่อแจกจ่ายเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือเป็นทุนในการทำกิจกรรมอื่นๆของมูลนิธิฯต่อไป

เป้าหมาย:

กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาในเรื่องกรจัดการตัวเอง ทักษะชีวิตมีน้อย และจำนวนมากที่มีปัญหาในด้านอาการซึมเศร้า ท้อแท้ หรือมีภาวะไร้จุดหมายในการดำเนินชีวิต


  1. กลุ่มที่ได้รับประทานอาหารจากผลผลิตของสวนประมาณ 300 คน ต่อสัปดาห์
    - กลุ่มคนที่มารับประทานอาหารซึ่งมูลนิธิอิสรชนจัดเลี้ยงทุกวันอังคาร ได้รับประทานอาหารที่ดีปลอดสารพิษ พร้อมทั้งได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานของเพื่อนเพื่อเป็นกำลังใจในการ ปรับปรุงตนเอง
  2. กลุ่มที่ได้เข้าร่วมโครงการประมาณ 10 คน
    - มีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งเกิดแรงบันดาลใจในการกลับไปสร้างอาชีพของตนเองในอนาคต
    - มีรายได้บางส่วนเพื่อใช้ชีวิตต่อไป
    - เกิดความภาคภูมิใจที่สิ่งซึ่งตนเองทำสามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเพื่อนๆของตนเองได้


เริ่มทดลองให้คนไร้ที่พึ่งมาทำกิจกรรมปลูกผัก ทำสวน

7 May 2021

เมื่อต้นเดือนเมษายน 64 ที่ผ่านมา มูลนิธิอิสรชน พร้อมทั้งทีมงานได้พาผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ และคนไร้ที่พึ่งมาทำกิจกรรม ทำสวน ปลูกผัก



เสียงจาก พี่วาด หนึ่งในผู้ใช้ชีวิตสาธารณะ บอกว่า "สนุกดี ได้ออกแรง ทำนั่นนี่"

แม้จะเป็นเพียงประโยคสั้นๆ แต่ได้ใจความ ที่อย่างน้อย เขาได้รู้ว่าตัวเองมีคุณค่า และสามารถทำอะไรเพื่อคนอื่นๆ ได้ และมีกิจกรรมทำ

คนไร้บ้าน 5 คน ได้ร่วมกันปลูกพืชสวนครัว สร้างรายได้

15 September 2021

มูลนิธิอิสรชน เริ่มดำเนินโครงการมาแล้วระยะหนึ่ง ในระหว่างโควิด-19 รอบที่ 2 เราได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เพื่อส่งเสริมอาชีพ มีการดำเนินการถางหญ้า เตรียมพื้นที่ ลงพืชพันธ์ แล้วนำมาประกอบอาหาร เน้นในสวนของพืชผักสวนครัวในช่วงแรก ๆ เช่น พริก กระเพรา มัน มะนาว ตระไคร้ เป็นต้น ในช่วงแรกของผลผลิตจะไม่มาก จึงนำมาทำอาหาร และเน้นการแบ่งปัน 

สิ่งที่พบหลังจากทำกิจกรรม

เกิดผลผลิต และคนไร้เร่ร่อน ที่มาร่วมโครงการได้รู้สึกได้พัฒนาตนเอง รู้สึกมีคุณค่า ออกแรงทำงาน มีสติในการทำงานสวน นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่เขาได้ระบายแรง ระบายความรู้สึก ได้พูดคุยระหว่างคนเร่ร่อน ไร้บ้าน และถามกับมูลนิธิฯ ตลอดว่า จะได้ไปทำอีกเมื่อไหร่ วันไหน จะได้เตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์รอลงพื้นที่

ความประทับใจจากคนไร้บ้าน

เท่ห์ คนเร่ร่อนไร้บ้าน มีอาชีพนวดในถนน ช่วงโควิดระบาดได้มาทำสวนกับเรา เพราะไม่มีรายได้ รู้สึกว่าได้ใช้แรงมาก แต่ทำได้ไม่มาก เพราะแขนไม่ค่อยดี "สนุกดีแต่เหนื่อยมาก ได้ลองทำ เพราะไม่เคยได้ทำมาก่อน ได้ออกกำลังกาย สนุกดีนะ" เขาแรงไม่เยอะเพราะแขนมีเหล็ก แต่ภูมิใจที่ตัวเองได้ทำประโยชน์

พี่แอ๋ว คนในกลุ่มเปราะบาง ช่วงที่ว่าง ไม่มีงานก็มาทำเพื่อจะได้มีรายได้ "ว่างมีอะไรทำก็จะได้รู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ ได้ช่วยคนอื่น แม้จะระยะเวลานาน ได้เจอเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน"

พี่วาสนา "เมื่อไหร่จะได้ไปอีก พี่ไม่ดื่มเหล้าแล้วนะ " "สนุกดี ได้ออกแรง มีคุณค่านะทำให้คนมากมาย แม้จะไม่ใช่ตอนนี้ที่ได้ของกินเลยแต่เราได้ลงมือทำ " ทุกครั้งจะถามและพยายามจะดื่มเหล้าน้อยลง

ภาพประกอบ

ผลผลิตที่ได้

Budget plan


รายการจำนวนจำนวนเงิน(บาท)
1.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสวน เช่น จอบ เสียม เครื่องตัดหญ้า
     -จอบ 5 อัน x 220 บาท = 1,100 บาท
     -เสียม 3 อัน x 100 บาท = 300 บาท
     -กระบวยรดน้ำ 5 อัน x 100 บาท = 500 บาท
     -เครื่องตัดหญ้า 2 เครื่อง x 2,000 บาท = 4,000 บาท
     -กรรไกรตัดหญ้า ตัดกิ่ง 5 อัน x 250บาท = 1,250 บาท
     -ถังใส่ผัก ใส่เมล็ด ต้นกล้า 50 อัน x 50 บาท = 2,500 บาท
     -ไม้ไผ่ข้ามคู่ ไม่สาน 10 อัน x 250 บาท =2,500 บาท



12,150 บาท

2.ค่าเมล็ดพันธ์ และกล้าพันธ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 20 ชนิด ชนิดละ 100 เมล็ดพันธ์
   ราคาเฉลี่ยที่ 15 บาท 20 ชนิด x 100 กล้า/เมล็ด x 15 บาท

30,000 บาท

3.ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น
     -น้ำมันเติมเครื่องตัดหญ้า 200 บาท x 30 ครั้ง =6,000 บาท
     -ไม้หลัก ไม้ไผ่ทำหลักหรือค้างผัก ยาว 80 ซม. 1มัดมี 100 ซี่ 5 มัด x 200 บาท=1,000 บาท
     -ไม้หลัก ขนาด 2 ม. และ 1.2 ม 1 มัดมี 50 ท่อน 5 มัด x 200 บาท =1,000 บาท
     -ไม้หลัก ไม้ปักหลักต้นไม้ ไม่ไผ่ผ่าซีก ความยาว 50 ซม. 1มัด 50อัน จำนวน 10 มัด x 150
       บาท = 1,500 บาท
     -เชือกมัดพันธ์ไม้ 50 ม้วน x 40 บาท = 2,000 บาท
     -ตาข่าย scrog net ตาข่ายปลูกผัก ตาข่ายไม้เลื้อย ตาข่ายไนลอน ตาข่ายทำค้างผักเลื้อยเน็ต ตาข่าย ตาข่ายHDPE ตาข่ายไนล่อน Nylon net 5 ชิ้นx 200 บาท =1,000 บาท
     -ตาข่ายกันแมลง กันUV ผ้าคลุมปลูกผักสร้างโรงเรือน ขนาดกว้าง 2.5 ม. ยาว 30 ม. 5,000 บาท




17,500 บาท

4.ค่าดูแล ค่าเฉลี่ย ดิน ปุ้ย การบำรุง น้ำหมัก ตลอด 6 เดือน จนเก็บเกี่ยวผลผลิต 
30,000 บาท
5.ค่าแรงเพื่อนคนไร้ที่พึ่งและอาสาสมัครที่มาช่วยงาน
350 บาท x 8 คนx 30ครั้ง
8 คน 6 เดือน (30 ครั้ง)91,200 บาท
6.ค่าอาหารเครื่องดื่มคนที่มาช่วยงานและอาสาสมัคร
50 บาท x 8 คน x 30 (สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งที่เขาไปทำสวน ซึ่งเฉลี่ยที่ 30 ครั้งตลอดโครงการใน ทั้งหมด 6 เดือน)

12,000 บาท
7.ค่าบริหารจัดการโครงการ ค่าประสานงาน ค่าเดินทาง น้ำมันรถ ตลอดโครงการ
ค่าน้ำมันรถ 500 บาท x30 ครั้ง = 15,000
ค่าประสานงาน 300 บาท x 30 ครั้ง =9,000 บาท

24,000 บาท
8.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นเฉพาะหน้า ค่าสิ่งของสิ้นเปลืองตลอดโครงการ
10,000 บาท
9.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

22,685 บาท
รวมเป็นเงินทั้งหมด
249,535 บาท