logo

วิสาหกิจชุมชนพัฒนาเมืองพะเยา

พะเยา
เข้าร่วมกับเทใจ2567

โครงการที่เปิดรับบริจาค

ยังไม่เปิดโครงการ

เกี่ยวกับองค์กร

เกิดจากการดำเนินโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะเดิมและสร้างทักษะใหม่ ให้กับชุมชนในเมืองพะเยาตั้งแต่ปี 2563-2564 ผ่าน โครงการย่อย 3 โครงการ คือ 1) โครงการกลไกบริหารจัดการเมือง 2) โครงการสร้างเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ และ 3) โครงการออกแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับเทศบาลเมืองพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา (อบจ.) สำนักพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพะเยา หอการค้าจังหวัดพะเยา และการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อต่อยอดผลจากการดำเนินงานพบจุดแข็งของพื้นที่พะเยาว่าเป็นเมืองที่เหมาะกับการใช้องค์ความรู้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน (City of Local Wisdom) บูรณาการกับองค์ความรู้วิชาการในมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชน ผ่านหลักการวิจัยบนพื้นฐานของ UNESCO Global Network of Learning Cities (GNLC) 6 ข้อ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีการดำรงชีพอย่างยั่งยืน และ BCG โมเดล ทำให้เกิดเส้นทางการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานรอบกว๊านพะเยาที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้ชุมชน 3 เท่า เกิดแพลตฟอร์มการเรียนรู้ นวัตกรชุมชน การพัฒนาสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 (21st century skill) และ ชุดความคิด (Mindset) รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลดปล่อยคาร์บอนเครดิตต่ำกว่า 0.1 kgCO2e อีกทั้ง การเรียนรู้ยังทำให้เกิดโมเดลธุรกิจ เพื่อสังคม (Social enterprises) บนฐาน BCG โมเดล ที่สามารถสร้างงานที่มีคุณค่า (Decent Work) ตามหลักการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ดังนั้น การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน “พัฒนาเมืองพะเยา” จึงเป็นการขับเคลื่อนพะเยาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน (City of Local Wisdom) นอกจากจะสอดคล้องกับนิยามของเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโกแล้ว พะเยายังมีศักยภาพจะพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ด้านอาหาร (City of Gastronomy) บนพื้นฐาน BCG ควบคู่กันได้ เพื่อทำให้การเรียนรู้เป็นฐานสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนบนพื้นที่พะเยาในระยะยาว

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATIONSUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIESCLIMATE ACTION

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กและเยาวชน
ผู้สูงอายุ
ผู้ประสบภัยพิบัติ
ชุมชน
หน่วยงาน

โครงการ/ผลงานที่ผ่านมา

น.เอ๋ย น.นก: ช่วยดึงเด็ก ๆ ออกจากมือถือที

1.กิจกรรมเทศกาลดูนกเมืองพะเยาครั้งที่ 1 เป็นการแข่งขันดูนกของเด็กและเยาวชน ทั้งหมด 40 คน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนและเยาวชนกลุ่มเปราะบางได้เข้าถึงกิจกรรมการเรียนรู้และเครื่องมือการเรียนรู้ที่เข้าได้ถึงยาก (อุปกรณ์ดูนกและหนังสือคู่มือดูนกมีราคาแพง) รวมถึงยังเป็นการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ดูนกที่ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองเล็งทราย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอมีอยู่แล้วแต่ไม่ได้ใช้ออกมาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และยังได้พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะการถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้อีกด้วย 2.จากผลการประเมินภาวะติดเกมส์และสุขภาพจิตหลังเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันดูนก พบว่า จำนวนเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าลดลง เหลือเพียง 2 คน และเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่มีภาวะติดเกมส์แล้ว แสดงว่าการจัดกิจกรรมแข่งขันดูนกเมืองพะเยานี้สามารถลดความเสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าและภาวะติดเกมส์ในเด็กได้จริง

ติดต่อ

โครงการทั้งหมด (1)