project ผู้สูงอายุ

ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง 2024

ผู้สูงอายุในสังคมเมืองยังเผชิญการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เหงา และการขาดพื้นที่แสดงศักยภาพ มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา จึงร่วมกับ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เทใจ และยังแฮปปี้ จัดโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง จัดโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง 2024 ขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ สังคม และปัญญา ให้กับผู้สูงอายุ และพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม สามารถไปถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองสู่สังคมได้ โดยคาดหวังว่ามีผู้สูงอายุที่มีศักยภาพผ่านเกณฑ์การสมัครคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 300 คน และผ่านกระบวนการในโครงการจนจบหลักสูตร 120 คน ครอบคลุมทั้ง 6 โซน 50 เขตในกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้สูงอายุและชุมชนได้รับประโยชน์จากการจัดโครงการกว่า 5,000 คน

ระยะเวลาโครงการ 01 ก.พ. 2567 ถึง 30 ก.ย. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: กรุงเทพมหานคร (พื้นที่ 6 โซนครอบคลุม 50 เขตในกรุงเทพมหานคร)

ยอดบริจาคขณะนี้

1,200,992 บาท

เป้าหมาย

2,640,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 45%
154 วัน จำนวนผู้บริจาค 9

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

การเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าจำนวนผู้สูงอายุในสังคมไทยตอนนี้มีจำนวนมากที่สุด
ในรอบหลายทศวรรษ เมื่อสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา จำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึง 12 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวน 19.21% ของประชากรทั่วประเทศ (https://www.the101.world/yannawa-elderly-school/) โดยจำนวนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตโดยลำพังซึ่งเสี่ยงต่อภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (social isolation) หรืออยู่ในภาวะเหงา อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตลอดจนความคิดฆ่าตัวตาย สาเหตุหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความเหงาคือการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมตั้งแต่ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ไปจนถึงขาดการติดต่อกับเครือข่ายสังคม (active network) เดิมของตัวเอง ขาดพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและขาดส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม (https://www.the101.world/elderly-assisted-living-housing/)
ปัญหาอีกประการคือผู้สูงอายุที่มีทักษะความรู้และภูมิปัญญาไม่ได้รับการส่งเสริมบทบาทเมื่อเข้าสู่วัยชรา ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยจะมีสมรรถนะทางด้านร่างกายที่เสื่อมถอยลง แต่มีประสบการณ์และภูมิปัญญาความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้
การส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุจึงเป็นหมุดหมายสำคัญในการแก้ปัญหาความเหงา การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการขาดพื้นที่แสดงศักยภาพ มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เทใจ และยังแฮปปี้  จึงมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ สังคม และปัญญา ให้กับผู้สูงอายุ และพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สังคม และสามารถไปถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองสู่สังคมได้
โดยคาดหวังว่ามีผู้สูงอายุที่มีศักยภาพผ่านเกณฑ์การสมัครคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 300 คน และผ่านกระบวนการในโครงการจนจบหลักสูตร จำนวน 120 คน ครอบคลุมทั้ง 6 โซน 50 เขตในกรุงเทพมหานคร และผู้สูงอายุและชุมชนได้รับประโยชน์จากการจัดโครงการกว่า 5,000 คน ตลอดจนเกิดโครงการพัฒนาสังคมจากผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 โครงการ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. คัดเลือกผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการจาก 6 พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร

2. จัดกิจกรรม Orientation Day ให้กับผู้เข้าร่วม เพื่อบอกวัตถุประสงค์ และภาพรวมกิจกรรมตลอดโครงการ

3. จัดกิจกรรม Workshop 10 ครั้ง และให้ผู้เข้าร่วมลงพื้นที่สำรวจปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และนำมาสู่การจัดโครงการเพื่อแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่

4. ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มเริ่มดำเนินโครงการ และรับคำปรึกษาในการทำโครงการจากผู้เชี่ยวชาญตลอดการทำโครงการ

5. สรุปโครงการและประเมินผลโครงการ

6. นำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่ม

7. ติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อสอบถามผลลัพธ์หลังจากจบโครงการไปแล้ว



ผู้รับผิดชอบโครงการ

บริษัท ยังแฮปปี้ จำกัด 

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าคอร์สส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุคนละ 8,000 บาท 300 คน 2,400,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
2,400,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
240,000.00

ยอดระดมทุน
2,640,000.00

บริจาคให้
ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง 2024

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน