project เด็กและเยาวชน

โครงการฝึกอบรมงานฝีมือเพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชนไทยกะเหรี่ยง

พัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนชนชุมชนไทยกะเหรี่ยง ด้วยการฝึกอาชีพให้พวกเขามีรายได้ และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของพวกเขาให้คงอยู่ในรูปแบบร่วมสมัย

ระยะเวลาโครงการ 01 ส.ค. 2564 ถึง 31 ต.ค. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี (โรงเรียนบ้านตะโกล่าง), ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี (ชุมชนห้วยเกษม)

ยอดบริจาคขณะนี้

10,896 บาท

เป้าหมาย

59,400 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 18%
จำนวนผู้บริจาค 30

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

จัดอบรมงานฝีมือเพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชนไทยกะเหรี่ยง พฤศจิกายน 2564

14 ธันวาคม 2021

โครงการได้จัดขึ้น ณ วันที่ 23-24 พฤษจิกายน 2564 ณ.ศาลากลางบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ชุมชนห้วยเกษม ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้า จ.เพชรบุรี โดยที่มีคนในชุมชนเข้าร่วมโครงการนี้ 9 คน และทีมผู้สอนอีก 6 คน เริ่มแรกคนที่มีพื้นฐานการตัดเย็บมีเพียงคนเดียวจาก 9 คน ทีมยังเยาว์ได้เริ่มสอนตั้งแต่การใช้แพทเทินไปจนถึงการตัดเย็บผ่านสินค้าของยังเยาว์ โดยที่ทุกคนจะต้องสามารถผลิตสินค้านี้ได้อย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น ทีมได้ซื้อจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมมือสอง จำนวน 3 เครื่อง จักรพ้งอุตสาหกรรม 1 เครื่อง กลุ่มชาวบ้านสามารถเรียนรู้ได้และตั้งใจเป็นอย่างดีและเมื่อจบโครงการวันที่ 24 ก็ได้มอบการบ้านไว้ให้เป็นการเย็บหมวกโดยใช้ผ้าทอกี่กระตุก โดยที่ผลลัพธุ์จะต้องได้อย่างน้อย 20 ใบ และวันที่ 7 ธ.ค. ได้ตามลงไปดูผลงานอีก1ครั้ง และทุกคนสามารถทำได้ดี และมีผลงานที่ผ่านเกณฑ์สามารถขายได้จริงจำนวน 27 ใบ และได้ให้ลอกคิดและออกแบบโดยให้ลองออกแบบลายปักลงบนหมวกโดยที่ไม่มีแพทเทินให้ และให้นำลายปักดั้งเดิมกะเหรี่ยงมาปัก และพี่ ๆ ชาวบ้านในชุมชนก็สามารถทำออกมาได้ดีมาก

ภาพรวมวันสุดท้ายของโครงการวันที่ 24 พ.ย. 64 กับผู้ร่วมโครงการและทีมจิตอาสา


บรรยากาศการเรียนการสอน (สอนการใช้แพทเทินในการทำสินค้า)


บรรยากาศการเรียนการสอน (ใช้จักรเย็บผ้าเย็บสินค้า)


ตัวอย่างลายปักดั้งเดิมที่พี่ในชุมชนออกแบบมาปักในสินค้าของยังเยาว์

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

นางกลอน บุญเลิศ (พี่กลอย)

รู้สึกว่าน้อง ๆ ที่ทำโครงการเขามีความตั้งใจที่จะช่วยกลุ่มพี่จริง ๆ มีความมุ่งมั่นมากที่จะหาจักร ไม่ใช่ว่าจะหามาได้ง่าย ๆ และยังเรียนอยู่ด้วยก็ยังต้องหาเงินมาหาจักรให้เราเพื่อที่เราจะมีรายได้เสริม ดีใจมาก ๆ และปลื้มกับเด็ก ๆ มาก ประทับใจมาก และทั้งพี่และกลุ่มก็สัญญาว่าจะไม่ให้เด็ก ๆ เสียแรงเปล่า ก็จะทำต่อและเรียนรู้ต่อไป รวมถึงได้เห็นวิธีการขายวิธีการโพสลงเพจในเฟสบุ๊ค จากที่ตามน้อง ๆ ก็คิดว่าจะนำมาใช้ต่อได้ รวมถึงขอบคุณที่พาครูย่าและทีมจิตอาสาก็มาสอน เพราะพวกเขาเก่งมาก ๆ สอนได้เข้าใจง่ายมาก

 นางธิดา สุลิลา(พี่ติ้ก)


นางสมใจ บุญยง (พี่สมใจ)


พี่ติ้กและพี่สมใจ-ดีที่ทำให้มีรายได้เสริม ปกติได้ทำอาชีพหลักเป็นทำไร่ทำสวน แต่พอได้เข้าร่วมโครงการในทีมมีหน้าที่ปักลายและเย็บ คิดว่าความรู้ที่ได้เรียนไปก็จะได้เอาไปใช้ต่อเป็นอาชีพเสริม และครั้งหน้าถ้ามีอีกก็อยากเข้าร่วมอีก สินค้าที่เรียนก็มีประโยชน์ ขายได้



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ตลอดเวลา 2 ปี Youngเยาว์ ได้ทำงานร่วมกับคนในชุมชนหลากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะชุมชนไทยกะเหรี่ยง พื้นที่อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา Youngเยาว์ พบว่าเยาวชนในชุมชนส่วนใหญ่นิยมศึกษาต่อในสายอาชีพ และ ต้องการหารายได้เสริม Youngเยาว์ จึงริเริ่มการฝึกอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมช่องทางการเข้าถึงรายได้ของเยาวชน และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของพวกเขาอีกด้วย โครงการฝึกอบรมงานฝีมือของ Youngเยาว์ในครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนไปพร้อมกับการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้วัฒนธรรมของพวกเขายังคงอยู่ในรูปแบบร่วมสมัย ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Youngเยาว์

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ด้วยเป้าหมายสำคัญที่จะส่งเสริมอาชีพและพัฒนาทักษะของกลุ่มชุมชนไทยกะเหรี่ยง ใน 2 พื้นที่ ได้แก่โรงเรียนบ้านตะโกล่าง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และกลุ่มชาวบ้านชุมชนห้วยเกษม อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี Youngเยาว์ จึงริเริ่มโครงการฝึกอบรมงานฝีมือ ไปพร้อมๆกับการพัฒนาสินค้าเพื่อคนรุ่นใหม่ และเป็นตัวกลางในการหาจิตอาสาหรือผู้ร่วมบริจาคที่อยากจะสนับสนุนโครงการในการสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับเด็กนักเรียนและชาวบ้านในชุมชน โดยการฝึกอบรมในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่

1)โครงการฝึกอบรมงานฝีมือ สำหรับ เด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านตะโกล่าง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

2)โครงการฝึกอบรมงานฝีมือ สำหรับ กลุ่มชาวบ้านชุมชนห้วยเกษม อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี

Youngเยาว์เชื่อว่า การฝึกอบรมงานฝีมือในครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมทักษะและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงรายได้ให้กับกลุ่มเยาวชนและชาวบ้านในชุมชนดังกล่าว อีกทั้ง 2 พื้นที่ยังมีวัฒนธรรมที่น่าสนใจเช่น ผ้าทอกี่เอว ผ้าทอกี่กระตุก ที่ได้รับการสืบทอดมาเป็นเวลานาน รวมถึง การปักลายกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่มีความสวยงามและมีความละเอียดสูง Youngเยาว์จะนำวัฒนธรรมผ้าของพวกเขาเหล่านี้มาพัฒนาเป็นสินค้าร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมและส่งเสริมอาชีพให้พวกเขาต่อไป

นอกเหนือจากการนำวัสดุในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าแล้ว จากการทำงานของYoungเยาว์ที่ผ่านมาพบปัญหาเรื่องการขนส่ง และ ต้นทุนการผลิตสินค้าโดยเฉพาะการตัดเย็บ ดังนั้น การฝึกทักษะเหล่านี้ให้กับชุมชน จะทำให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้และลดปัญหาอื่นๆที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่พวกเขาสามารถพัฒนาสินค้าได้ด้วยตนเองอีกด้วย


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เราต้องการที่จะทำให้โครงการนี้มีอยู่ตลอดทั้งปี เพื่อการันตีว่าพวกเขาจะได้มีรายได้และได้ความรู้อย่างยั่งยืน โดยที่โครงการนี้จะทำต่อทุกปีจากนักศึกษา โดยที่เราตั้งใจว่าจะเปิดรับบริจาคในการมำโครงการเพียงครั้งแรกครั้งเดียว เพื่อเป็นต้นทุนในการซื้อวัสดุในการทำสินค้า และในการเรียนรู้ รวมถึงการซื้อจักรเย็บผ้า เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้และฝึกอาชีพเพื่อนำมาใช้งานได้จริงในอนาคต มีกระบวนการดังนี้

1. วางแผนโครงการและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่

2. ฝึกอบรมอาชีพ โดยโครงการนี้จะเกิดขึ้น 3 ครั้ง เป็นกลุ่มนักเรียน 2 ครั้ง และกลุ่มชาวบ้าน 1 ครั้ง โดยที่เราจะสอนตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้นในงานผ้าไปจนถึงการทำสินค้าได้จริง หลังจากจบโครงการ พวกเขาสามารถทำสินค้าของเราและสินค้าอื่นๆได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง

3. ติดต่อหาผู้ที่สนใจในสินค้าเชิงวัฒนธรรมเพื่อขยายฐานตลาดลูกค้าให้เราเป็นที่รู้จักมากขึ้น

4. จัดแสดงผลงานในงาน Bangkok Design Week ที่จะจัดขึ้นในต้นเดือน พฤษภาคม และช่วงระหว่างเทอมที่นักศึกษาปิดเทอม เราจะยังคงการติดตามผลงานและให้การบ้านกับพวกเขาเพื่อฝึกฝีมือไว้สำหรับโครงการครั้งต่อๆไป อีกด้วย


ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

สังกัดห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงสังคมและวัฒนธรรม (social and cultural innovation lab) คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เลื่อนจัดกิจกรรมฝึกอบรมงานฝีมือเพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชนไทยกะเหรี่ยง

23 กันยายน 2021

เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่หนักขึ้น โครงการไม่สามารถดำเนินการตามเวลาที่กำหนดได้ จากกำหนดเดิมที่จะดำเนินโครงการให้ช่วงพฤษภาคม-สิงหาคม 64 จึงทำให้ต้องเลื่อนออกไปเป็นช่วง พฤศจิกายน-ธันวาคม 64  โดยที่แบ่งเป็น 2 plan สำหรับ plan A ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว สามารถลงพื้นที่ได้ตามมาตรการของรัฐ ก็จะยังคงรูปแบบเดิม แต่จำกัดคนและอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ plan B เป็นในรูปแบบ on-site และ online แบบ long distance learning โดยดำเนินการแบบ hybrid โดยการลงพื้นที่นำวัสดุ จักรเย็บผ้าอุปกรณ์ไปให้ และเป็นการเรียนการสอนผ่านคลิป หรือออนไลน์ รวมถึงการให้การบ้านไว้ฝึกทักษะอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ทั้ง plan A และ plan B จะเน้นไปที่กลุ่มชาวบ้านที่ชุมชนห้วยเกษมก่อน เพราะยังไม่สามารถเข้าไปสอนที่โรงเรียนบ้านตะโกล่างได้เนื่องจากมาตรการของรัฐที่ยังไม่ให้เด็กนักเรียนมาโรงเรียน โดยที่เงินบริจาคจะมีส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการทำคลิปการเรียนการสอนและลดค่าเดินทางลง

ภาพกิจกรรมโครงการ

ทำ collection ใหม่ โดยให้น้องๆเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโกล่างมีส่วนร่วมด้วย โดยที่ collection นี้ได้collabกับ artist (proundfa) โดยนำรายได้มาสมทบกับโครงการ

จัดนิทรรศการ Bangkok design week ที่อาคารไปรษณีย์กลาง tcdc Bangkok วันที่ 15-20 กรกฎาคม 2564

มี Fluencers  7 ท่านมาช่วยโปรโมท

a day magazine สัมภาษณ์ถ่ายทอดเรื่องราวของ youngyao ลงใน คอลลัมน์ founder

จัดอบรมงานฝีมือเพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชนไทยกะเหรี่ยง พฤศจิกายน 2564

14 ธันวาคม 2021

โครงการได้จัดขึ้น ณ วันที่ 23-24 พฤษจิกายน 2564 ณ.ศาลากลางบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ชุมชนห้วยเกษม ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้า จ.เพชรบุรี โดยที่มีคนในชุมชนเข้าร่วมโครงการนี้ 9 คน และทีมผู้สอนอีก 6 คน เริ่มแรกคนที่มีพื้นฐานการตัดเย็บมีเพียงคนเดียวจาก 9 คน ทีมยังเยาว์ได้เริ่มสอนตั้งแต่การใช้แพทเทินไปจนถึงการตัดเย็บผ่านสินค้าของยังเยาว์ โดยที่ทุกคนจะต้องสามารถผลิตสินค้านี้ได้อย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น ทีมได้ซื้อจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมมือสอง จำนวน 3 เครื่อง จักรพ้งอุตสาหกรรม 1 เครื่อง กลุ่มชาวบ้านสามารถเรียนรู้ได้และตั้งใจเป็นอย่างดีและเมื่อจบโครงการวันที่ 24 ก็ได้มอบการบ้านไว้ให้เป็นการเย็บหมวกโดยใช้ผ้าทอกี่กระตุก โดยที่ผลลัพธุ์จะต้องได้อย่างน้อย 20 ใบ และวันที่ 7 ธ.ค. ได้ตามลงไปดูผลงานอีก1ครั้ง และทุกคนสามารถทำได้ดี และมีผลงานที่ผ่านเกณฑ์สามารถขายได้จริงจำนวน 27 ใบ และได้ให้ลอกคิดและออกแบบโดยให้ลองออกแบบลายปักลงบนหมวกโดยที่ไม่มีแพทเทินให้ และให้นำลายปักดั้งเดิมกะเหรี่ยงมาปัก และพี่ ๆ ชาวบ้านในชุมชนก็สามารถทำออกมาได้ดีมาก

ภาพรวมวันสุดท้ายของโครงการวันที่ 24 พ.ย. 64 กับผู้ร่วมโครงการและทีมจิตอาสา


บรรยากาศการเรียนการสอน (สอนการใช้แพทเทินในการทำสินค้า)


บรรยากาศการเรียนการสอน (ใช้จักรเย็บผ้าเย็บสินค้า)


ตัวอย่างลายปักดั้งเดิมที่พี่ในชุมชนออกแบบมาปักในสินค้าของยังเยาว์

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

นางกลอน บุญเลิศ (พี่กลอย)

รู้สึกว่าน้อง ๆ ที่ทำโครงการเขามีความตั้งใจที่จะช่วยกลุ่มพี่จริง ๆ มีความมุ่งมั่นมากที่จะหาจักร ไม่ใช่ว่าจะหามาได้ง่าย ๆ และยังเรียนอยู่ด้วยก็ยังต้องหาเงินมาหาจักรให้เราเพื่อที่เราจะมีรายได้เสริม ดีใจมาก ๆ และปลื้มกับเด็ก ๆ มาก ประทับใจมาก และทั้งพี่และกลุ่มก็สัญญาว่าจะไม่ให้เด็ก ๆ เสียแรงเปล่า ก็จะทำต่อและเรียนรู้ต่อไป รวมถึงได้เห็นวิธีการขายวิธีการโพสลงเพจในเฟสบุ๊ค จากที่ตามน้อง ๆ ก็คิดว่าจะนำมาใช้ต่อได้ รวมถึงขอบคุณที่พาครูย่าและทีมจิตอาสาก็มาสอน เพราะพวกเขาเก่งมาก ๆ สอนได้เข้าใจง่ายมาก

 นางธิดา สุลิลา(พี่ติ้ก)


นางสมใจ บุญยง (พี่สมใจ)


พี่ติ้กและพี่สมใจ-ดีที่ทำให้มีรายได้เสริม ปกติได้ทำอาชีพหลักเป็นทำไร่ทำสวน แต่พอได้เข้าร่วมโครงการในทีมมีหน้าที่ปักลายและเย็บ คิดว่าความรู้ที่ได้เรียนไปก็จะได้เอาไปใช้ต่อเป็นอาชีพเสริม และครั้งหน้าถ้ามีอีกก็อยากเข้าร่วมอีก สินค้าที่เรียนก็มีประโยชน์ ขายได้



แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ผ้าcanvas สำหรับฝึกสอนทำprototype เมตรละ 60 บาท 30 เมตร 1,800.00
2 ผ้ากาว สำหรับฝึกสอน เมตรละ 25 บาท 40 เมตร 1,000.00
3 ผ้าทอกี่กระตุกสำหรับทำสินค้าสีพื้น เมตรละ 150 บาท 30 เมตร 4,500.00
4 ผ้าทอกี่กระตุกสำหรับทำสินค้ามีลาย เมตรละ 210 บาท 20 เมตร 4,200.00
5 ยางยืด + ไหมปัก + ด้าย add-on อื่นๆ 35 ชุด 500.00
6 ค่าเดินทางไปกลับ สำหรับครูฝึกสอนพิเศษ 3 ครั้ง 3,000.00
7 จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมมือสอง ยี่ห้อ juki เครื่องละ4500 บาท 6 เครื่อง 27,000.00
8 จักรโพ้งอุตสหกรรมมือสอง เครื่องละ 6000 บาท 2 เครื่อง 12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
54,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
5,400.00

ยอดระดมทุน
59,400.00